ช่วงนี้เรื่องการเมืองมันร้อนเหลือเกิน ผมเลยคิดว่าถ้าเราลองมองภาพการเมืองให้เป็นเรื่องการตลาดเชิงกลยุทธ์ เราก็สามารถศึกษาเรื่องแบรนด์ผ่านเรื่องการเมืองได้เช่นเดียวกันครับ ขอออกตัวก่อนว่าบทความนี้ผมไม่ได้ต้องการสื่อสารเรื่องของการเมืองไม่ว่าจะเป็นแง่มุมใด ๆ ทั้งสิ้น ตัวอย่างที่ผมใช้ในบทความนี้จะเป็นการศึกษาเรื่องการตลาดเท่านั้น ซึ่งตัวอย่างที่ผมอยากจะชวนท่านผู้อ่านมาศึกษาก็คือ แบรนด์พันธมิตร (พธม.) ผมอยากให้ทุกท่านมองกลุ่มพันธมิตรเป็นแบรนด์ ๆ หนึ่งซึ่งแน่นอนว่าแบรนด์นี้ก็มีสินค้ามากมายไม่ว่าจะเป็น สื่อสิ่งพิมพ์ ข้าวสาร หรือแม้แต่การขาย content ต่าง ๆ เช่น sms เป็นต้น และเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดขึ้น แบรนด์พธม. นั้นก็มีกลุ่มลูกค้าเป็นของตัวเอง หรืออาจจะเรียกว่าเป็นลูกค้าประจำ (Royal customers) เช่น กลุ่มคนเสื้อเหลือง เป็นต้น ถ้าเราจะมาลองดูจุดเริ่มต้นของแบรนด์พธม. นั้นเราอาจจะต้องย้อนไปถึงเหตุการณ์ช่วงแรก ๆ ของการชุมนุมทางการเมืองซึ่งช่วงนั้นเป็นช่วงแรก ๆ ที่มีการชุมนุมเพื่อแสดงการต่อต้านทักษิณ ถ้าเรามองพธม.ในแง่ของแบรนด์จะเห็นได้ว่าแบรนด์ของพธม. นั้นค่อย ๆ สร้างขึ้นมาโดยเริ่มจากการมีลูกค้าที่ไม่มากนัก แต่แล้วกลุ่มลูกค้าของแบรนด์พธม. ก็เริ่มมีมากขึ้นเรื่อย ๆ มากพอที่จะบอกได้ว่าแบรนด์ของพธม. นั้นแข็งแกร่งขึ้นตามลำดับ แต่แล้วถ้าเรามาประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน เหตุการณ์กลับเริ่มเปลี่ยนไป จากคำสัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ คุณสมศักดิ์ โกศัยสุข ที่บอกว่าผู้มาฟังการปราศรัยเริ่มน้อยลง ยอดขาย sms น้อยลง จากเหตุการณ์ดังกล่าวท่านผู้อ่านอย่าพึ่งไปประเมินโดยใช้เหตุผลทางการเมืองอธิบายนะครับ เพราะที่เล่ามาเป็นเพียงตัวอย่างเพื่อศึกษาเรื่องแบรนด์ในเชิงของการตลาดเท่านั้น ผมอยากให้ลองนึกภาพดูว่าทำไมอยู่ดี ๆ ที่แบรนด์ ๆ หนึ่งจึงเสื่อมถอยลงไปได้ อยู่ดี ๆ ทำไมลูกค้าที่เคยชื่นชมแบรนด์ ๆ นี้ จึงตีจากแบรนด์นี้ไป ประเด็นที่ผมอยากให้ตระหนักก็คือ เราเข้าใจฐานลูกค้าของเรามากแค่ไหน ฐานลูกค้าของแบรนด์พธม. นั้นบางทีอาจจะไม่ใช่เพราะว่าเค้าชอบแบรนด์พธม. แต่เค้าอาจจะชอบในสินค้าบางอย่างของพธม. เช่น content ของพธม. เป็นต้น ประเด็นนี้เป็นการสื่อสารว่าแบรนด์ของเราอาจจะยังไม่ได้แข็งแกร่งพอ แต่สินค้าของเรามีจุดขายที่ลูกค้าพึ่งพอใจ ลูกค้าเลยเข้ามาหาเรา อย่างเช่น อาจจะมีลูกค้าหลายคนที่นิยมชมชอบแบรนด์ประชาธิปัตย์ และไม่ชอบคุณทักษิณ ดังนั้น content ของพธม. ในช่วงนั้นจึงตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มนี้ และดูเหมือนว่าลูกค้ากลุ่มนี้น่าจะมีขนาดใหญ่มาก จากเหตุผลดังกล่าวจะพอบอกได้ว่า ลูกค้ายังไม่ได้ภักดีต่อแบรนด์พธม. จริง ๆ แต่ชอบในตัวของสินค้า ดังนั้นพอ content ของพธม. ซึ่งหมายถึงสินค้าเปลี่ยนไป เริ่มหันมาโจมตีแบรนด์ประชาธิปัตย์ จึงทำให้กลุ่มลูกค้าเหล่านี้ตีจากแบรนด์นี้ไป สิ่งเหล่านี้เองเป็นบทเรียนของนักการตลาดว่า เรามีความจำเป็นที่จะต้องหาจุดแข็งของตัวเราให้ได้ ซึ่งเป็นโจทย์ที่ยากมากครับ บางครั้งอาจจะต้องใช้งานวิจัยประเภท Qualitative เข้ามาช่วย ความผิดพลาดของแบรนด์พธม. ก็คือการเข้าใจผิดว่าฐานลูกค้าที่มีอยู่นั้นเป็นฐานลูกค้าที่ชื่นชอบในตัวตนของแบรนด์พธม. จริง ๆ (Brand Identity) ดังนั้นจึงอาจจะเป็นที่มาว่าถ้าลองเปลี่ยนสินค้าดูลูกค้าก็น่าจะยังคงอยู่ แต่เหตุการณ์กลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น ผมอยากให้ท่านผู้อ่านลองเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ของโค้กในปี 1985 ที่โค้กได้ตัดสินใจยกเลิกโค้กและนำ นิวโค้ก เข้ามาแทนที่ซึ่งนิวโค้กนั้นได้รับการยอมรับว่ามีรสชาติที่ดีกว่าโค้กและน่าจะขายดีกว่า แต่แล้วนิวโค้กก็ถูกบันทึกว่าเป็นหนึ่งในกรณีศึกษาของเหตุการณ์ที่ล้มเหลวครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของโลกการตลาด สาเหตุหลักก็คือ โค้กเข้าไปผิดว่าฐานลูกค้าของตัวเองนั้นเลือกโค้กเพราะว่าชื่นชอบในรสชาติ แต่แท้ที่จริงแล้วลูกค้าของโค้กนั้นต่างชื่นชอบตัวตนของโค้ก (Brand Identity) มากกว่า ดังนั้นการยกเลิกแบรนด์สุดที่รักของพวกเขาจึงทำให้โค้กโดนประท้วงและในที่สุดก็ต้องยอมนำโค้กเดิมกลับมาอีกครั้ง ไม่ว่าแบรนด์ไหนก็ย่อมมีโอกาสเจอกับความยุ่งยากเสมอ ผมยกกรณีศึกษาเรื่องนี้ขึ้นมาก็เพื่ออยากให้นักการตลาดตระหนักว่าการสร้างแบรนด์นั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ บางครั้งเราอาจจะมีโอกาสแก้ตัว อย่างเช่นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับโค้ก เป็นต้น แต่ตามตัวอย่างกรณีศึกษาแบรนด์พธม. นั้นผมคงไม่สามารถบอกได้ว่าอนาคตของแบรนด์นี้จะเป็นเช่นใด คนที่บอกได้คงจะมีแต่ผู้บริโภคเช่นท่านผู้อ่านนั่นแหละครับ ขอให้ทุกท่านมีความสุขในการชมโฆษณานะครับ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | มิถุนายน 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 |