ในตอนที่แล้วผมได้เขียนเกี่ยวกับปัญหาของแบรนด์ประชาธิปัตย์ในประเด็นของการสื่อสาร โดยสิ่งที่เป็นปัญหาหลักก็คือเรื่องของช่องทางการสื่อสาร (Channel of Communication) ไม่ว่าจะเป็น Mass Media, Social Media หรือการสื่อสารแบบเฉพาะเจาะจงผ่านตัวแทน เช่น การสื่อสารผ่านกลุ่มหัวคะแนน หรือหัวหน้าชุมชน ก็ตาม ที่ผ่านมาผมเชื่อว่าแบรนด์ประชาธิปัตย์นั้นให้ความสำคัญกับ Social Media มากทีเดียวซึ่งก็ต้องถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควรสำหรับการสื่อสารในช่องทางดังกล่าว แต่ในแง่ของ Mass Media ผมคิดว่าข่าวความเคลื่อนไหวของแบรนด์ประชาธิปัตย์มีน้อยไปหน่อยในช่วงหาเสียงเลือกตั้งเมื่อเทียบกับแบรนด์เพื่อไทย เรื่องนี้เป็นโจทย์ที่ต้องไปปรับแก้ว่าจะทำอย่างไรจึงจะเอาชนะแบรนด์เพื่อไทยในแง่ของ Mass Media ได้ ลองไปดูแผงหนังสื่อวันนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าหนังสื่อแนว How to หรือ หนังสือเชิง PR (Public Relation) ของคุณยิ่งลักษณ์ มีออกมาให้เห็นเยอะมาก เหมือนกับสมัยของคุณทักษิณ สิ่งที่แบรนด์ประชาธิปัตย์ต้องทำก็คือเรื่องของการสื่อสารแบบ IMC หรือ Integrated Marketing Communication ถ้าประเมินกันอย่างตรงไปตรงมาสิ่งที่แบรนด์เพื่อไทยทำนั้นก็เป็น IMC เช่นเดียวกัน แบรนด์เพื่อไทยพยายามส่ง Single Message แต่ใช้หลายช่องทาง ลองนึกถึงการโปรโมทคำว่า นารีขี่ม้าขาว ในช่วงแรก ๆ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เราจะได้ยินประโยคนี้ผ่านสื่อทั้งทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ สื่อ Online หรือ Pocket Book ต่าง ๆ ทุก ๆ สื่อนั้นต่างพร้อมใจใช้คำ ๆ เดียวกันเพื่อให้การโปรโมทคุณยิ่งลักษณ์มีพลังมากขึ้น ช่วงก่อนเลือกตั้งถ้าท่านผู้อ่านที่ติดตาม Blog ของผมมาจะเห็นว่า ผมเคยเขียนเอาไว้ว่าแบรนด์ประชาธิปัตย์ต้องส่ง Single Message คำว่า ดับไฟประเทศไทย เพราะคำ ๆ นี้มีพลังในการสื่อสารและสามารถสื่อถึง Positioning ของตัวแบรนด์ประชาธิปัตย์ได้เป็นอย่างดี การสื่อสารในแง่ของ Mass Media นั้นเป็นการสื่อสารระหว่างแบรนด์ไปถึงผู้บริโภค ถ้าทำสำเร็จก็จะหมายถึงผู้บริโภคก็จะเดินเข้ามาหาสินค้าของเรา แต่แค่นั้นงานของแบรนด์ประชาธิปัตย์ยังไม่จบครับ งานต่อไปก็คือการสื่อสารผ่านหัวคะแนน หรือหัวหน้าชุมชน ผมอยากเปรียบเทียบกลุ่มคนเหล่านี้เหมือนกับพนักงานขายสินค้าซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้มีพลังการโน้มน้าวสูง ลองนึกดูนะครับว่าถ้าเราอยากซื้อสินค้า A แต่พอไปที่ร้านแล้วกลับไม่มี นอกจากไม่มีแล้วพนักงานขายยังมาโน้มน้าวให้ซื้อสินค้า B อีก สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของการสื่อสารแบบเฉพาะเจาะจงทั้งสิ้น แม้ว่าเราเอาชนะ Mass Media มาได้ แต่ถ้าเจอพนักงานขายเก่ง ๆ ลูกค้าก็เปลี่ยนใจได้ครับ ดังนั้นกลุ่มผู้นำในหมู่บ้าน หรือกลุ่มหัวคะแนนต่าง ๆ เหล่านี้ต่างเป็นผู้ที่รู้จักคนในท้องถิ่นจำนวนมาก ถ้าจะให้เปรียบเทียบก็คือพนักงานขายเหล่านี้มีฐานลูกค้าอยู่จำนวนมาก หน้าที่ของแบรนด์ประชาธิปัตย์คือต้องทำให้คนกลุ่มนี้มาหันมาเลือกแบรนด์ของตัวเองให้ได้ครับ ในแง่การเมืองจะต้องทำอย่างไรอันนี้เป็นโจทย์ของแบรนด์ประชาธิปัตย์ที่ต้องนำไปคิดและเริ่มทำให้เร็วที่สุดครับ แต่ในแง่ของธุรกิจนั้นมีหลายอย่างเช่น อาจจะต้องเข้าไปสอบถามถึงปัญหา ยอดขาย แรงจูงใจต่าง ๆ ว่าจะปรับเปลี่ยนอย่างไรจึงจะเหมาะสม โดยอาจจะมีการเพิ่มโปรโมชั่นสำหรับผู้ขาย หรือเพิ่ม Credit line ให้เมื่อแสดงให้เห็นว่ามียอดขายเพิ่มมากขึ้นจริง ๆ เป็นต้น ต่อจากนี้ไปสิ่งที่ผมกังวลก็คือข่าวของแบรนด์ประชาธิปัตย์ผ่าน Mass Media จะน้อยลงไปอีกเพราะเป็นเรื่องปกติที่สื่อมักเสนอข่าวเกี่ยวกับรัฐบาลมากกว่า กลยุทธ์นึงที่แบรนด์ประชาธิปัตย์เคยใช้และผมคิดว่าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ดีมาก ๆ ของแบรนด์ประชาธิปัตย์ก็คือ การแต่งตั้งรัฐมนตรีเงา ในแง่การเมืองนั้นการแต่งตั้งรัฐมนตรีเงาหมายถึงการตั้งทีมเพื่อรับผิดชอบและตรวจสอบตามกระทรวงที่ได้รับมอบหมาย แต่ในแง่การตลาดมันหมายถึง การใช้ แบรนด์ ชน แบรนด์ การแต่งตั้งรัฐมนตรีเงาจะหมายถึงการให้ผู้บริโภคได้เปรียบเทียบว่า นโยบายเพื่อไทย กับนโยบายของประชาธิปัตย์ใครดีกว่ากัน การทำงานของรัฐมนตรีจากรัฐบาลเพื่อไทย กับ รัฐมนตรีเงาประชาธิปัตย์ใครดีกว่ากัน ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ชื่อของรัฐมนตรีเงาของแบรนด์ประชาธิปัตย์จะยังอยู่บนหน้าสื่อตลอด เพราะสื่อมวลชนย่อมอยากรู้และอยากเปรียบเทียบระหว่างสองแบรนด์อยู่แล้ว ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการใช้กลยุทธ์นี้น่าจะดีต่อแบรนด์ที่แข็งแกร่งกว่า ถ้าแบรนด์ประชาธิปัตย์มั่นใจว่ามีแบรนด์ของรัฐมนตรีแต่ละท่านแข็งแกร่งก็ส่งลงไปชนเลยครับ ถ้าจะหาหลักฐานให้มั่นใจมากขึ้นก็ลองดูพวกบทวิเคราะห์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักวิเคราะห์การเงิน นักวิเคราะห์หุ้น ที่พร้อมใจกันโจมตีนโยบายหลาย ๆ ข้อจากแบรนด์เพื่อไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท หรือ เงินเดือน 15,000 บาทของเด็กจบปริญญาตรีใหม่ เป็นต้น ที่ผมกล่าวมาจะเห็นได้ว่าโจทย์เรื่องของการสื่อสารสำหรับแบรนด์ประชาธิปัตย์ยังมีงานที่หนักมาก ๆ รออยู่ครับ ประเด็นต่อไปที่ผมอยากจะพูดถึงก็คือเรื่องพลังของแบรนด์ (Brand Power) ผมมักได้ยินหลาย ๆ คนพูดถึงนโยบายการหาเสียงของแบรนด์เพื่อไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าแรง การแจงคอมพิวเตอร์ฟรี ว่าเป็นนโยบายที่โดนใจผู่บริโภคจึงทำให้ได้ชัยชนะอย่างถล่มทลาย ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง น่าจะหมายความว่าสิ่งที่เป็นตัวตัดสินแพ้ชนะก็คือ สินค้า ของแบรนด์เพื่อไทย นั้นเหนือกว่าแบรนด์ประชาธิปัตย์ ลองสมมุติกันดูเล่น ๆ นะครับท่านผู้อ่านว่า ถ้าแบรนด์ประชาธิปัตย์ประกาศนโยบายเดียวกับแบรนด์เพื่อไทยเลย เอาให้เหมือนกันทุกนโยบาย ท่านผู้อ่านคิดว่า กลุ่มลูกค้าเพื่อไทยจะเลือกแบรนด์ประชาธิปัตย์หรือไม่ คำตอบจริง ๆ นั้นผมคงตอบไม่ได้เพราะมันไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นจริง และคงไม่มีวันเกิดขึ้น (อ้างอิงกับบทสัมภาษณ์ของคุณกอปศักดิ์ที่ http://bit.ly/nOZd95) แต่สิ่งที่ผมสามารถประเมินได้ก็คือ ผมเชื่อว่าแม้นโยบายเหมือนกันจะแต่ผลก็คงไม่เหมือนกัน ซึ่งก็คือนอกจากจะไม่ได้คะแนนจากกลุ่มลูกค้าแบรนด์เพื่อไทยแล้ว ยังจะเสียกลุ่มลูกค้าตัวเองอีก สิ่งที่ทำให้ผมประเมินแบบนั้นก็เพราะว่าแบรนด์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ภูมิใจไทย หรือชาติไทยพัฒนา ต่างก็แจกไม่แพ้แบรนด์เพื่อไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบรนด์ภูมิใจไทยยังประกาศอีกว่า กล้าทำให้คนไทย พร้อมกับ Tagline ว่า ประชานิยม สังคมเป็นสุข แต่ผลก็ยังออกมาอย่างที่เห็น ดังนั้นจากเหตุผลดังกล่าวจึงนำไปสู่ประเด็นที่ผมกำลังจะบอกว่า แบรนด์เพื่อไทยแข็งแกร่งในแง่ของการทำประชานิยมมากครับ สินค้าแม้เหมือนกันหรือคล้ายกันแต่ผู้บริโภคกลับตัดสินใจเลือกอีกแบรนด์มากกว่า นั่นน่าจะเป็นปัญหาของแบรนด์แล้วล่ะครับ เพราะเหตุใดทำไมแบรนด์เพื่อไทยจึงสามารถ Positioning ตัวเองแบบนี้ได้ ติดตามอ่านได้ในตอนต่อไปนะครับ ขอให้ทุกท่านมีความสุขในการชมโฆษณานะครับ (ปล. ขออภัยที่ช่วงนี้ผมไม่ค่อยได้เขียนเกี่ยวกับโฆษณาเลย หลาย ๆ ท่านที่ส่ง mail มาเตือน ขอเวลาอีกนิดนะครับ ผมจะรีบเขียนลงนะครับ ^^) |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | กรกฎาคม 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |