ก่อนอื่นต้องขอให้กำลังใจกับทุกท่านที่กำลังประสบภัยน้ำท่วมอยู่ในขณะนี้นะครับ ขอให้กำลังใจกับทุกท่านให้ผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปให้ได้นะครับ บทความนี้ผมได้เขียนขึ้นหลังจากที่โลกของเราใบนี้ได้สูญเสียผู้ชายที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้สร้างนวัตกรรมอย่างมากมายบนโลกของเรา ชายผู้นั้นก็คือ สตีฟ จอบส์ บทความชิ้นนี้ผมจึงอยากเขียนขึ้นเพื่อสดุดีให้กับชายผู้นี้ หลาย ๆ ครั้งชื่อของสตีฟ หรือสินค้าต่าง ๆ ของ Apple นั้นถูกยกนำมาเป็นตัวอย่างหรือกรณีศึกษาในแง่มุมของการตลาด ทั้งนี้เนื่องจากว่าสินค้าหรือแบรนด์ Apple นั้นมีอะไรหลายอย่างให้น่าศึกษาเป็นอย่างมาก และหนึ่งในหัวข้อที่ชื่อของสตีฟ นั้นถูกยกมาเป็นลำดับต้น ๆ ก็คือเรื่องของ กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม (Blue Ocean Strategy) Core Concept ของ Blue Ocean Strategy นั้นก็คือการสร้างพื้นที่ของตัวเองในสนามแข่งขันที่ยังไม่มีแบรนด์ไหนเข้ามาจับจองพื้นที่ ซึ่งต่างกับ Concept ของ Red Ocean ที่จะฟาดฟันกันในสนามที่มีแบรนด์หรือสินค้าต่างๆ อยู่ในสนามแล้วอย่างมากมาย แน่นอนที่สุดว่าในสนามของ Red Ocean นั้นก็หนีไม่พ้นที่จะต้องฟาดฟันกันในเรื่องของราคาอย่างแน่นอน เมื่อเราย้อนกลับไปเมื่อปี 1979 นั้นเราจะพบว่าการกำเนิดของ Sony Walkman คือ สนามแข่งขันที่ Sony ได้สร้างมาเพื่อตอบรับกับการสร้างความบันเทิงรูปแบบใหม่ และนั่นก็คือแนวคิดภายใต้กรอบของ Blue Ocean Strategy นั่นเอง มาถึงในปี 2001 กลยุทธ์น่านน้ำสีครามก็ต้องถูกกล่าวถึงอีกครั้ง ด้วยการกำเนิด iPod ของสตีฟ จอบส์ นั่นเอง แม้ว่าในแง่มุมของ Functional Benefit ของสินค้าทั้งสองยุคสองสมัยอาจจะไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญมากนัก แต่ในแง่มุมของการสร้าง New Demand นั้นแตกต่างกัน สินค้า iPod ไม่ได้วาง Positioning ของตัวเองเพื่อสำหรับตอบสนองด้านความบันเทิงเพียงอย่างเดียวแต่ยังคงต้องการมีตำแหน่งด้านแฟชั่นพ่วงไปด้วย และสิ่งนี่เองทำให้ Segmentation ของ iPod ขยายไปได้อย่างมหาศาล การพกพา iPod ไม่ได้บ่งบอกว่าคน ๆ นั้นมีความต้องการเสียงเพลง แต่เป็นการบ่งบอกความเป็นตัวตนของคน ๆ นั้นผ่านแบรนด์ iPod อีกด้วย ถ้า iPod ถือได้ว่าเป็น Blue Ocean ในวงการเครื่องเล่นเพลงในปี 2001 การเปิดตัวของ iPhone ก็ถือว่าเป็นปฐมบทของ Blue Ocean ในวงการ Smart Phone ในปี 2007 เช่นกัน ในแวดวงของธุรกิจโทรคมนาคมในที่สุดแล้วโทรศัพท์จะต้องวิ่งหาสิ่งที่มากกว่ามือถือในที่สุด เมื่อเราย้อนกลับไปมองช่วงการเติบโตของวงการโทรศัพท์มือถือในช่วงที่ผ่านมาก็สามารถคาดเดาได้ว่าโทรศัพท์นั้นพัฒนาตัวเองให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเองมาหลายด้านไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การเป็นเครื่องเล่นเพลง, เกม, กล้องดิจิตอล หรือการถ่ายภาพวีดีโอ เป็นต้น และเมื่อพิจารณาถึงพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มความละเอียดของกล้อง หรือ การเพิ่มฟังชั่นถ่ายรูป ต่างก็เป็นการต่อสู้ในสมรภูมิของน่านน้ำสีแดงด้วยกันทั้งสิ้น การยกระดับการแข่งขันจากน่านน้ำสีแดงนั้น ต้องหลีกหนีจากสิ่งเดิม ๆ ที่ทำอยู่ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขีดจำกัดในเรื่องของกล้องดิจิตอล หรือการฟังเพลง สิ่งที่ iPhone ได้ทำคือการสร้าง Demand ใหม่โดยการวิ่งเข้าหาตลาดโทรศัพท์ที่เป็นสมาร์ทโฟน (Smart Phone) ซึ่งแน่นอนว่าสมาร์ทโฟนนั้นเน้นความเป็น Functional Benefit เป็นหลัก แต่ iPhone นั้นสามารถสร้าง New Demand จาก Emotional Benefit และกลายเป็นต้นแบบของสมาร์ทโฟนในตลาดอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของรูปแบบของ Multi-touch หรือจะเป็นเรื่องของรูปแบบอินเตอร์เฟส ก็ตาม การมีเซ็นเซอร์พิเศษที่สามารถจับได้ว่าผู้ใช้กำลังหันโทรศัพท์ในแนวตั้งหรือแนวนอน ทำให้ผู้ใช้ต่างรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของการใช้โทรศัพท์อย่างสิ้นเชิง ดังจะเห็นได้ว่า iPhone นั้นได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่สมาร์ทโฟนในตลาด นอกจาก iPhone จะสร้างมาตรฐานใหม่ของวงการสมาร์ทโฟนแล้วการก่อกำเนิด iPhone ทำให้เหล่าผู้บริโภคมีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เปลี่ยนไปอีกด้วยและนั่นก็เป็นการส่งสัญญาณของการสร้าง New Demand ใหม่ ๆ อีกมากมาย ผ่านการกำเนิดของ Application ต่าง ๆ นั่นเอง หลายสิ่งหลายอย่างนั้นต่างก็มีจุดเชื่อมต่อที่แตกต่างกัน ผู้บริโภคก็เช่นกัน การพัฒนาของสินค้าต่าง ๆ นั้นต่างก็ต้องการการเรียนรู้ของผู้บริโภคควบคู่กันไป ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือเรื่องของพัฒนาการของ Tablet PC ถ้ามองย้อนกลับไปก็จะพบว่า Tablet PC นั้นไม่ใช่เรื่องที่ใหม่ แต่ในยุคสมัยนั้นความต้องการในการใช้ internet ยังไม่มากเท่ากับปัจจุบัน จึงทำให้ Tablet PC อาจจะไม่ได้รับความนิยมเท่ากับปัจจุบัน ถ้าจะพูดอีกแบบอาจจะต้องบอกว่า Demand ของการใช้ Internet ยังไม่ถูกกระตุ้นมากมายขนาดนี้นั่นเอง แต่ในปัจจุบันนั้นเรามีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องพึ่งพา Internet แบบ real-time ตลอดเวลา และนั่นน่าจะกลายเป็นจุดเชื่อมต่อที่สร้าง New Demand ใหม่ให้กับ Tablet PC นั่นเอง แต่การกระตุ้นที่สำคัญที่สุดก็คงหนีไม่พ้นการเกิดขึ้นของ iPad ซึ่ง Apple ก็ได้ช่วยทำให้ตลาดของ Tablet PC นั้นมีความคึกคักยิ่งขึ้น และนี่ก็คือกลยุทธ์น่านน้ำสีครามหรือ Blue Ocean ของ Apple ในวันนี้เราอาจจะได้เห็น Blue Ocean มากมาย แต่เชื่อเถอะครับว่า ในที่สุดแล้ว Blue Ocean ในวันนี้ก็คือ Red Ocean ในวันข้างหน้า น่านน้ำสีครามอาจสร้างได้ด้วยนวัตกรรม แต่นวัตกรรมก็มักจะตามมาด้วยการแข่งขันเสมอ ความจริงที่เกิดขึ้นคือนักการตลาดไม่สามารถหนีจากทะเลสีแดงไปได้ เพราะ Blue Ocean เป็นกรอบการวิเคราะห์เชิง Static แต่วงจรของธุรกิจเป็น Dynamic ดังนั้น โจทย์ของนักการตลาดไม่เพียงแต่การสร้างน่านน้ำสีครามแห่งใหม่ขึ้นมาเพื่อหลีกหนีการต่อสู้ในทะเลสีแดงเพียงอย่างเดียว แต่นักการตลาดต้องปรับกลยุทธ์ของ Red Ocean เพื่อรับมือกับการแข่งขันในอนาคตอีกด้วย การจากไปของ สตีฟ จอบส์ นั้น อาจจะทำให้ใครหลายคนคิดว่า Apple จะเป็นอย่างไรต่อไป ในอนาคตเราจะยังมีนวัตกรรมใหม่ ๆ อีกหรือไม่ จริงอยู่ครับที่สตีฟ นั้นคือหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลแห่งวงการไอที แต่สิ่งที่สตีฟ จอบส์ ได้สร้างเอาไว้นั้นไม่เพียงแค่การสร้างผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ Apple เท่านั้น แต่สิ่งที่สตีฟ ได้สร้างมาตลอดชีวิตก็คือ การสร้าง DNA ของความเป็น Apple เอาไว้ สตีฟ จอบส์ นั้นเป็นถือได้ว่าเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวชีวิตส่วนตัวของสตีฟ หรือการพูดในที่สาธารณะต่าง ๆของเค้า หลาย ๆ คนยกย่องเค้าเป็นเหมือนกับศาสดาของ Apple กันเลยทีเดียว เขียนมาถึงตอนนี้ผมเองในฐานะของนักกลยุทธ์ที่ชื่นชอบ สตีฟ จอบส์ นั้นผมเชื่อโดยส่วนตัวว่า สตีฟไม่ได้จากเราไปไหน แรงบันดาลใจของสตีฟก็ยังคงอยู่ในสินค้าทุกชิ้น อยู่ในแบรนด์ของ Apple อยู่ในใจแฟน ๆ ของ Apple ทุกคน ในแง่ของการพัฒนาสินค้า DNA ของความเป็น Apple ที่สตีฟได้ลงทุนทั้งชีวิตก็ยังอยู่ และยังคงอยู่ตลอดไปอย่างแน่นอนครับ ขอบคุณอีกครั้งสำหรับการสร้างแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ให้กับผมและโลกใบนี้ ลาก่อน สตีฟ จอบส์ 1955-2011 ที่มา: http://www.yalibnan.com/wp-content/uploads/2011/02/steve-jobs1.jpg ปล.ข้อมูลบางส่วนผมนำมาจากหนังสือ Brandage Essential, Guru Series 3rd 2010, Tribute to Blue Ocean Guru ขอให้ทุกท่านมีความสุขในการชมโฆษณานะครับ
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | ตุลาคม 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |