สวัสดีครับท่านผู้อ่าน ผมเองได้ห่างหายจากการเขียน Blog แห่งนี้ไปพอสมควรเนื่องจากปัญหาน้ำท่วมซึ่งผมเองก็ไม่สามารถหนีมหาอุทกภัยครั้งนี้พ้นได้ ผมขอให้กำลังกับผู้ประสบภัยทุกท่านให้ผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปให้ได้นะครับ เรื่องที่ผมอยากจะเขียนในวันนี้ ผมเองอยากจะบอกว่าเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญสำหรับนักการตลาด เพราะหลาย ๆ ครั้งเรามักได้ยินเรื่องของ CSR หรือ Corporate Social Responsibilities ในแวดวงการสนทนาธุรกิจอยู่เรื่อย ๆ และ CSR นี่เองก็มักจะเป็นกลยุทธ์ที่ถูกหยิบมาใช้กันอยู่บ่อย ๆ เรื่องของ CSR นั้นไม่ต้องแปลในเชิงวิชาการให้เข้าใจยาก เอาเป็นว่าให้คิดง่าย ๆ ว่าเป็นการทำธุรกิจโดยสร้างความยั่งยืนให้แก่สังคม เรียกได้ว่าองค์กรเป็นบวก สังคมเป็นบวก ดังนั้นเรามักจะเห็นองค์การใหญ่ ๆ มากมายมักจะออก Campaign เกี่ยวกับ CSR อยู่เสมอไม่ว่าจะเป็น การปลูกป่าของ ปตท โครงการแบ่งปัน 1 วันใน 1 ปีของธนาคารไทยพาณิชย์ และอื่น ๆ อีกมากมาย เป็นต้น ตัวอย่างดังกล่าวนั้นจะเห็นได้ว่าทุก ๆ โครงการมีส่วนสำคัญในการสร้างตำแหน่งทางการตลาดและให้สังคมได้มีโอกาสรับรู้และรู้สึกดีกับแบรนด์ของตัวเอง ดังนั้นการทำ CSR ในหลาย ๆ ครั้งเรามักจะเห็นว่าจะมีเรื่องของการโปรโมทหรือการโฆษณามาควบคู่ไปด้วย เพราะถ้าทำไปแล้วแต่สังคมไม่มี Awareness ในเรื่องดังกล่าวก็เท่ากับว่าไม่มีใครทราบว่าเราได้ทำอะไรลงไปบ้าง ก่อนจะอ่านต่อไปผมขอให้ท่านผู้อ่านตระหนักว่าบทความนี้เพียงแค่ยกตัวอย่างของการเมืองมาประกอบการทำความเข้าใจเรื่องกลยุทธ์ทางการตลาดเท่านั้นนะครับ อย่าได้เข้าใจผิดว่าบทความนี้มีเจตนาที่จะเขียนอธิบายด้วยเหตุผลทางการเมืองนะครับ จากเหตุการณ์ในปัจจุบันนั้นเราคงได้ยินข่าวกันมาบ้างเกี่ยวกับเรื่องของบริจาคที่ศปภ. ที่มีการแปะป้ายชื่อของสส. ก่อนถึงมือประชาชน ผมไม่ขอวิจารณ์ในเรื่องของการเมือง แต่อยากจะนำเอาตัวอย่างดังกล่าวมาศึกษาในเชิงของการตลาดว่า วิธีดังกล่าวทำไมจึงแตกต่างจากการแจกถุงยังชีพของช่อง 3 หรือของกลุ่ม True ที่มีโลโก้ของแบรนด์ตัวเองหน้าถุงเหมือนกัน แต่กลับไม่โดนด่า แถมได้รับคำชมอีกต่างหาก ถ้าเราประเมินจากหลักการแล้วการแจกของให้กับประชาชนผู้ประสบภัย ช่วงที่เค้ากำลังลำบาก ถ้าได้ของบริจาคและเห็นชื่อของ สส. ก็น่าจะทำให้ชื่อนั้นแบรนด์ของพรรคนั้นน่าจะติดอยู่ในใจของผู้บริโภคแน่ ๆ แต่ความจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น สิ่งที่พอจะอธิบายได้ก็คือ Consumers expectation ระหว่างบริษัทเอกชน กับ หน่วยงานรัฐนั้นแตกต่างกันอย่างมากเมื่อมีเหตุการณ์วิกฤติ กล่าวคือหน่วยงานรัฐนั้นผู้บริโภคต่างมองว่า ความช่วยเหลือเป็นหน้าที่ แต่สำหรับเอกชนนั้นผู้บริโภคมองว่าเป็นทางเลือก ด้วยความคาดหวังที่แตกต่างกัน เมื่อของบริจาคของหน่วยงานรัฐเกิดความน่าสงสัยในความโปร่งใส เกิดความน่าสงสัยในการบริหารจัดการ เกิดความน่าสงสัยในการสื่อสาร จึงทำให้การบริหารของบริจาคของศปภ.ล้มเหลว และความล้มเหลวดังกล่าวก็ส่งผลกระทบต่อแบรนด์หลักของรัฐบาลหรือแบรนด์เพื่อไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หน่วยงานกลางอย่างศปภ.นั้นนอกจากจะทำให้แบรนด์เพื่อไทยเสียหายเพราะเรื่องการบริหารของบริจาคแล้ว ยังทำให้ให้แบรนด์เพื่อไทยขาดความน่าเชื่อถืออีก เนื่องจากการสื่อสารของศปภ. นั้นอย่างที่ได้ทราบกันว่ามีข้อมูลคลาดเคลื่อนจนทำให้ผู้บริโภคเข้าในผิดในหลาย ๆ ครั้ง ลองมาเปรียบเทียบกับการทำหน้าที่ของช่อง 3 ดูบ้าง ลักษณะการทำข่าวของช่อง 3 นั้นหลาย ๆ ครั้งมักจะแสดงเห็นผู้ชมเห็นว่ามีการเข้าไปช่วยเหลือแบบ ถึงลูกถึงคน ผู้สื่อข่าวนั่งเรื่องเข้าไปบริจาคของ เดินลุยน้ำไปในซอยเล็ก ๆ ซึ่งเรื่องแบบนี้ผู้ที่มีสื่ออยู่ในมือนั้นจะกุมความได้เปรียบมาก การทำหน้าที่ของช่อง 3 นั้นส่งผลต่อการสื่อสารในวงกว้างพอสมควร เพราะถ้าลองสังเกตดูหลาย ๆ ครั้งการจัดรายการข่าวจะมีเรื่องของการช่วยเหลือจากทางช่องสถานีมากกว่ารายละเอียดของน้ำท่วมซะด้วยซ้ำ ซึ่งนั่นก็หมายถึงสนามแห่งนี้กำลังจะกลายเป็นสนามของการแข่งขันระหว่างผู้สื่อข่าว และยิ่งมีเรื่องแบบนี้มากขึ้น ประชาชนหรือผู้บริโภคก็อดที่จะนำมาเปรียบเทียบกับหน่วยงานรัฐไม่ได้ ดังนั้นต้องบอกว่างานนี้เป็นโจทย์ที่ยากของภาครัฐ เพราะต้องเอาชนะองค์กรเอกชน และเอาชนะความคาดหวังของผู้บริโภคให้ได้ เรื่องแบบนี้ถ้าในฐานะนักการตลาด มีทางแก้หรือไม่ ก็ต้องบอกว่าเกมนี้มันผิดตั้งแต่การพยายามนำเรื่องของการโปรโมทแบรนด์ตัวเองมาใช้ในช่วงวิกฤติแล้วครับ ในแง่ของภาคเอกชนนั้นไม่ผิดเค้าพวกเค้าจะโปรโมทตัวเอง เพราะมันเป็นทางเลือกที่จะบริจาคก็ได้ ไม่บริจาคก็ได้ แต่ในแง่ภาครัฐนั้นมันเป็นงานที่ต้องทำ เป็นหน้าที่ ดังนั้นเรื่องของการสร้างภาพลักษณ์เป็นเรื่องรอง ไม่ใช่เรื่องหลัก ถ้าหน่วยงานรัฐมองเรื่องของการส่งของบริจาคให้กับประชาชนเป็นอันดับแรก แม้ว่าจะไม่ได้ติดชื่อสส.ไปบนถุง แต่ประชาชนก็ทราบอยู่ดีว่านี่มาจากรัฐบาลเพื่อไทย แบรนด์เพื่อไทยก็จะได้รับผลดีเอง ที่ได้กล่าวมานั้นดูเหมือนกับจะผิดจากหลักการปกติไปเล็กน้อย เพราะปกติถ้าจะทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคม เราควรจะประกาศให้สังคมรับรู้ว่าเราทำอะไร ดียังไงกับสังคม แต่กรณีวิกฤตินั้นถือว่าเป็นภาวะที่ไม่ปกติ ดังนั้นความคาดหวังของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไป อะไรที่เราต้องทำเป็นหน้าที่ เราก็ไม่ควรมาโปรโมทว่าเป็นฝีมือเรา สู้เราทำหน้าที่ของเราให้สำเร็จก่อน เดี๋ยว Awareness ก็จะมาเอง บทเรียนนี้เป็นบทเรียนที่ราคาแพงมาก และเป็นกรณีศึกษาที่ดีสำหรับนักการตลาดในการบริหารความคาดหวังของผู้บริโภคนะครับ ขอให้ทุกท่านมีความสุขในการชมโฆษณานะครับ
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | พฤศจิกายน 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 |