ความเปลี่ยนแปลงในชีวิต โดย อ. อับดุลเราะมัน เจะอารง
ธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง คืออะไรและทำไมเราต้องศึกษา ?? การเปลี่ยนแปลงหมายถึง การเปลี่ยนสภาพของมนุษย์จากการเคารพภักดีต่อมนุษย์ด้วยกัน ให้กลับเคารพภักดีบูชาพระองค์อัลลอฮ์
หมายถึงเปลี่ยนแปลงแปลงชีวิตตนเองจากการเป็นทาสของมนุษย์ เป็นทาสของรูปปั้น และเป็นทาสของอารมณ์ใฝ่ต่ำ กลับมาเป็นบ่าวและผู้รับใช้พระองค์อัลลอฮ์ และจงให้มีขึ้นจากพวกเจ้า ซึ่งคณะหนึ่งที่จะเชิญชวนไปสู่ความดีและใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ และห้ามมิให้กระทำสิ่งที่มิชอบ และชนเหล่านี้แหละพวกเขาคือผู้ได้รับความสำเร็จ (อาละอิมรอน : 104) อายะฮ์นี้ใช้ให้เราชักชวนมนุษย์ให้เปลี่ยนสภาพการเคารพบูชานอกเหนือจากพระองค์ให้บูชา อัลลอฮ์
ความหมายของการเปลี่ยนแปลง พระองค์อัลลอฮ์ มนุษย์ที่มีการเคลื่อนไหวและดวงอาทิตย์ที่มีการหมุนเวียนโคจรรอบโลกอยู่ตลอดเวลา เราไม่เรียกว่าการเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อมนุษย์เกิดการเจ็บป่วย ร่างกายซุบผอมลง หรือดวงอาทิตย์เปลี่ยนเป็นสีเหลืองเราพูดได้ว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกัน หากมนุษย์อยู่ในสภาพธรรมชาติที่รู้จักพระองค์อัลลอฮ์ สาเหตุการเปลี่ยนแปลงจากสภาพที่ถูกต้องไปสู่สภาพที่ไม่ถูกต้อง การเปลี่ยนแปลงจากสภาพที่ถูกต้องไปสู่สภาพที่ไม่ถูกต้อง หรือการเปลี่ยนแปลงจากสภาพที่ดีงามไปสู่สภาพที่ไม่ดีงามมีต้นเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น
การศรัทธาและการเชื่อมั่นในแนวทางปฏิบัติของบรรดาบรรพชนรุ่นแรกเริ่มอ่อนลงจนถึงไม่อาจแยกแยะสิ่งถูกต้องจากสิ่งผิดได้ ท่านอนัส บิน มาลิกรายงานว่า ท่านเราะสูล إنَّ بَني إسرائيلَ افْتَرَقَت على إحْدى وسبْعِينَ فِرقةً وإنَّ أمَّتِي ستفْتَرَقُ على ثنْتَينِ وسبْعِينَ فرْقةً كلُّها في النَّارِ إلاَّ واحِدةً ، وهي الجَماعة (رواه الإمام أحمد 120/3 ، وابنُ ماجَه 3993) แต่ประชาชาติของฉันจะแตกแยกเป็นเจ็ดสิบสองพรรคพวก ทุกพรรคพวกจะได้เข้านรกยกเว้นหนึ่งพวกเท่านั้นเอง คือ กลุ่มอัล-ยะมาอะฮ์ 2. การฝ่าฝืนบทบัญญัติของพระองค์อัลลอฮ์ พระองค์ได้ตรัสไว้ความว่า ความดีใด ๆ ที่ประสบแก่เจ้านั้นมาจากอัลลอฮฺ และความชั่วใด ๆ ที่ประสบแก่เจ้านั้นมาจากตัวของเจ้าเอง และเราได้ส่งเจ้าไปเป็นเราะสูลแก่มนุษย์ และเพียงพอแล้วที่อัลลอฮฺทรงเป็นพยาน พระองค์ได้ตรัสอีกไว้ความว่า พวกเขามิได้เห็นดอกหรือว่า กี่ประชาชาติมาแล้วที่เราได้ทำลายมาก่อนหน้าพวกเขา ซึ่งเราได้ให้พวกเขามีอำนาจและความสามารถในแผ่นดิน ซึ่งสิ่งที่เรามิได้ให้มีแก่พวกเจ้า และเราได้ส่งฝนมายังพวกเขาอย่างมากมาย และเราได้ให้มีแม่น้ำหลายสายไหลอยู่เบื้องล่างของพวกเขา แล้วเราก็ทำลายพวกเขาเสีย เนื่องด้วยบรรดาความผิดของพวกเขา และเราได้ให้มีขึ้นหลังจากพวกเขาซึ่งประชาชาติอื่น ท่านเราะสูล يا معْشَرَ المُهاجِرين ، خمْسٌ إ ذا ابْتُلِيتُم بِهنَّ وأعوذُ باللهِ أن تدْرِكوهنَّ : لم تظْهَر الفاحشةُ في قومٍ قَطُّ حتى يعْلِنوا بِها إلا فَشا فيهِم الطَّاعونُ والأوْجاعُ التي لم تكُنْ مضَتْ في أسْلافِهِم الذينَ مَضَوا โอ้บรรดาชาวมุฮาญิรีน(ผู้อพยพ)ทั้งหลาย มี 5 ประการเมื่อพวกเจ้าถูกทดสอบ และฉันหวังมิให้อัลลอฮ์ 1. เมื่อใดเกิดความชั่วในกลุ่มใดจนทำให้พวกเขาต้องเปิดเผยอย่างชัดแจ้งจะทำให้เกิดโรดอหิวตกโรคและโรคร้ายอื่น ๆที่ไม่เคยปรากฏในยุคก่อน ๆ 2. เมื่อพวกเขาโกงในการชั่งและตวงสินค้า พวกเขาจะถูกทดสอบด้วยแห้งแล้ง อดอาหารและความโหดเหิ้ยมของผู้ปกครอง 3. เมื่อพวกเขาไม่ยอมจ่ายซะกาตทรัพย์สินของพวกเขา พระองค์จะห้ามน้ำฝนจากฟากฟ้า หากไม่สงสารบรรดาสัตว์บกทั้งหลายพระองค์จะไม่ให้มีฝนเลย 4. เมื่อพวกเขาไม่ได้ทำให้สัญญาของพวกเขากับอัลลอฮ์ 5. เมื่อบรรดาผู้ปกครองของพวกเขาไม่ได้ปกครองด้วยคำสอนของกุรอานและยอมเปลี่ยนด้วยคำสอนอื่น พระองค์จะทำให้ความขัดแย้งในหมู่พวกเขารุนแรงมาก ๆ 3. ความอธรรมที่เกิดจากการกระทำของผู้ที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดของพระองค์อัลลอฮ์ พระองค์ได้ตรัสไว้ความว่า และเช่นนี้แหละคือการลงโทษของพระเจ้า เมื่อพระองค์ทรงลงโทษหมู่บ้านซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อธรรม แท้จริงการลงโทษของพระองค์นั้นเจ็บแสบสาหัส พระองค์ได้ตรัสไว้ความว่า แล้วก็เนื่องด้วยความอธรรมจากบรรดาผู้ที่เป็นยิว เราจึงได้ให้เป็นที่ต้องห้ามแก่พวกเขาซึ่งบรรดาสิ่งดี ๆ ที่ได้ถูกอนุมัติแก่พวกเขามาแล้ว และเนื่องด้วยการที่พวกเขาขัดขวางทางของอัลลอฮฺอย่างมากมาย ด้วย 4. ละทิ้งหน้าที่ชักชวนให้มนุษย์กระทำความดีและห้ามปรามกระทำความชั่ว เมื่อผู้มีความรู้ได้ละเลยหน้าที่สำคัญนี้ โดยปฏิบัติตรงข้าม คือชักชวนให้มนุษย์กระทำความชั่วและห้ามปรามมนุษย์กระทำความดี ผลเสียก็จะเกิดขึ้นดังคำเตือนของพระองค์อัลลอฮ์ บรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธาในหมู่วงศ์วานอิสรออีลนั้นได้ถูกสาปโดยถ้อยคำของดาวูด และอีซาบุตรของมัรยัม นั่นก็เนื่องจากการที่พวกเขาฝ่าฝืน และที่พวกเขาเคยละเมิดกัน ปรากฏว่าพวกเขาต่างไม่ห้ามปรามกันในสิ่งไม่ชอบที่พวกเขาได้กระทำมันขึ้น ช่างเลวร้ายจริง ๆ สิ่งที่พวกเขากระทำ มีหะดีษอธิบายอายะฮ์นี้ในเชิงเปรียบเทียบไว้ความว่า مثلُ المدْهِنِ في حُدودِ الله والواقِعِ فيها مثلُ قومٍ اسْتَهَموا في سفينةٍ ، فصار بعضُهُم في أسفَلِها وصارَ بعضُهم في أعلاها ، فكان الذي في أسْفلِها يمُرُّونَ بالماءِ على الذينَ في أعلاها فتأذَّوا بِه ، فأخَذَ فأساً فجعَلَ ينْقُرُ أسْفَلَ السفينةِ فأتَوه فقالوا : ما لكَ ؟ قالَ تأذَّيْتُم بِي ولا بدَّ لِي من الماءِ ، فإن أخَذُوا على يدَيْهِ أنْجَوه ونجَوا أنْفُسَهم ، وإن ترَكوا أهْلَكواه وأهْلَكوا أنْفُسَهم (رواه البخاري/2686) ผู้ที่อาศัยอยู่ชั้นล่างจึงใช้เครื่องมือเจาะเรือเพื่อเอาน้ำ ผู้ที่อาศัยอยู่ชั้นบนทวงว่าทำไมทำแบบนี้ พวกเขากล่าวว่า แล้วทำไมพวกคุณรำคาญพวกเราที่ต้องไปตักน้ำ พวกกลุ่มที่อยู่ชั้นบนได้ห้ามกลุ่มที่อยู่ชั้นล่างจากการเจาะเรือ พวกเขาทั้งหลายก็จะปลอดภัยกันทั้งหมด แต่เมื่อพวกเขาปล่อยให้กระทำตามอำเภอใจ พวกเขาทั้งหลายก็จะจมทั้งหมด 5. แย่งกันกอบโกยผลประโยชน์ในโลกดุนยานี้ ความโลภของมนุษย์ที่จะกอบโกยผลประโยชน์ส่วนตัว โดยไม่ให้ความสำคัญแก่ผลบุญของโลกอาคีเราะฮ์อันถาวรและนิรันคร์ คำอธิบายที่ดีที่สุดของข้อนี้ คือหะดีษที่รายงานว่า قَدِمَ أبو عُبيدةَ بمالٍ من البحْرَينِ فسَمِعَ الأنْصارُ بِقُدومِ أبي عُبيدةَ ، فوافَتْ صلاةَ الصبْحِ مع النبِيِّ ، فلمَّا صلَّى بِهِ الفجْرَ ، انْصَرَف فتَعَرَّضوا له ، فتبَسَّمَ رسولُ الله حينَ رآهمْ وقالَ : أظُنُّكم قد سمعْتُم أنَّ أبا عبيدةَ قد جاءَ بِشيْءٍ ، قالوا : أجلْ يا رسولَ الله قالَ : أبْشِروا وأمِّلوا ما يسَّرَكم ، فو اللهِ لا الفقْرَ أخْشى عليكم ولكن أخْشَى أن تبْسَطَ عليكم الدُّنْيا كما بُسِطَت على الذينَ مِن قبْلِكم فتَنافَسوها كما تنافَسوها وتهْلِكَكم كما كأهْلَكَتْهم (رواه البخاري/ 3158 ومسلم/2961)
ฉันเข้าใจว่าพวกเจ้ารู้ว่า อะบู อุบัยดะฮฺ ได้นำทรัพย์สินมาจากประเทศบาห์เรน ดังนั้นจงดีใจในสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์ ได้ประทานให้ ฉันขอสาบานด้วยพระองค์อัลลอฮ์ แท้จริง ฉันไม่ได้กลัวความยากจนสำหรับพวกเจ้าหรอก แต่ที่ฉันกลัว คือความร่ำรวยต่างหาก ฉันกลัวพระองค์จะอำนวยความสะดวกสบายเสมือนกับพระองค์ได้ให้ความร่ำรวยแก่ประชาชาติก่อน ๆ ทำให้พวกเจ้าแข่งขันและแย่งชิงกันเอง เหมือนกับที่พวกเขาเคยแย่งชิงกัน จึงทำให้พวกเจ้าพังพินาศเสมือนกับพวกเขาที่เคยพังพินาศ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
ศาสนสถานสำคัญในอิสลาม | ||
![]() |
||
ศาสนสถานสำคัญที่อิสลามส่งเสริมให้มุสลิมเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจและเยี่ยมเยียนในโลกนี้ |
||
View All ![]() |
<< | พฤศจิกายน 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 |