ความประเสริฐของเดือนรอมฎอนความประเสริฐของเดือนร่อมะฎอน อัลเลาะฮ์ตะอาลาได้ทรงเจาะจงเดือนร่อมะฎอนอันจำเริญนี้ด้วยความประเสริฐ ความดีงาม และบะร่อกะฮ์อันมากมาย 1. การเจาะจงเดือนร่อมะฎอนสำหรับการถือศีลอดที่เป็นฟัรฎูอัลเลาะฮ์ตะอาลาได้กำหนดให้การถือศีลอดเป็นฟัรฎูเหนือมุสลิมทั้งหลาย พระองค์ได้ทรงตรัสว่า
และการถือศีลอดนั้นเป็นหลักการพื้นฐานข้อหนึ่งของอิสลามซึ่ง อิสลามของบุคคลหนึ่งจะไม่สมบูรณ์หากปราศจากการถือศีลอด ท่านนะบีย์ได้กล่าวว่า อิสลามนั้นถูกสร้างอยู่บนพื้นฐานห้าประการ... และหนึ่งในนั้นคือ ...การถือศีลอดเดือนร่อมะฎอน (หะดีษรายงานโดยอัลบุคอรีย์, ฮะดีษเลขที่ 7, และมุสลิม, ฮะดีษเลขที่ 20) ดังนั้น การที่อัลเลาะฮ์ตะอาลาได้ทรงให้การถือศีลอดอยู่ในเดือนร่อมะฎอนเป็นการเฉพาะนั้นย่อมมีความประเสริฐอันมากมาย และพระองค์ได้ทรงทำให้เดือนนี้เป็นหัวหน้าของเดือนทั้งหลาย ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า หัวหน้าของเดือนทั้งหลายคือ ร่อมะฎอน (รายงานโดยอัลบัยฮะกีย์, ชุอะบุลอีมาน, เล่ม 1 หน้า 355) ดังนั้นในเดือนร่อมะฎอนจึงมีการอภัยโทษ การลบล้างความผิดพลาด .... การยกฐานันดร การเพิ่มพูนความดีงามเท่าทวีคูณ การตอบรับดุอาอฺ การปลดปล่อยจากไฟนรก นอกจากนั้นยังมีความบะร่อกะฮ์ และความดีงามและความเมตตาอันมากมาย 2. การประทานอัลกุรอานในเดือนร่อมะฎอนอัลเลาะฮ์ตะอาลาได้ทรงประทานความพิเศษให้แก่เดือนร่อมะฎอนด้วยการประทานอัลกุรอานในเดือนนี้ พระองค์ได้ทรงตรัสว่า
ท่านอิบนุอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวว่า อัลกุรอานนั้นถูกประทานลงมาทั้งหมดคราวเดียวจากเลาฮิลมะห์ฟูซ ในคืนลัยละตุลก็อดร์ของเดือนร่อมะฎอน โดยถูกวางไว้ ณ บัยตุลอิซซะฮ์ ในชั้นฟ้าของดุนยา ภายหลังญิบรีลจะทยอยนำลงมายังท่านนะบีย์มุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม .... ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในช่วงเวลา 23 ปี (ตัฟซีร อิบนุกะษีร, เล่ม 5 หน้า 127) 3. สรรพสิ่งทั้งหลายเฉลิมฉลองร่อมะฎอน และมีความดีงามอันมากมายในเดือนนี้ในเดือนร่อมะฎอนนี้บรรดาประตูแห่งความดีงามทั้งหลายจะถูกเปิด และบรรดาประตูแห่งความชั่วร้ายจะถูกปิด ดังกล่าวนี้ได้ถูกอธิบายโดยท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
คำว่า [فُتِّحَتْ] ถูกเปิด นั้นสามารถตีความได้ตามความหมายแบบผิวเผิน ดังนั้น มันจึงเป็นเครื่องหมายหนึ่งที่บ่งชี้ถึงความบะร่อกะฮ์ของเดือน และความดีงามอันเป็นความหวังของผู้ปฏิบัติอะมัล และสามารถตีความได้อีกเช่นกันว่า เป้าหมายของ การเปิดประตูสวรรค์ นั้นคือ ความมากมายมหาศาลของผลบุญของการถือศีลอดและการปฏิบัติอะมัลในเดือนนี้ ก็นำไปสู่สวรรค์ และคำว่า และประตูนรกถูกปิด หมายถึง ความมากมายของการอภัยโทษและไม่ถือสาเอาความผิด และคำว่า [صُدِّفَتْ] หมายถึง การล่ามด้วยโซ่ตรวน (อัลมุนตะกอ ชัรหุลมุวัฏเฏาะอ์, 2/75) หากมีผู้กล่าวว่า ยังมีการทำชั่วและการฝ่าฝืนมากมายในเดือนร่อมะฎอน ถ้าหากว่าชัยฏอนถูกล่ามแล้ว สิ่งดังกล่าวนี้ย่อมไม่เกิดขึ้น เราขอตอบว่า ดังกล่าวนี้หมายถึงสำหรับผู้ที่ถือศีลอดที่รักษาไว้ซึ่งหลักเกณฑ์และมารยาทต่างๆ ของการถือศีลอด บางคนกล่าวว่า ที่ถูกล่ามโซ่นั้นคือ บางส่วนของชัยฎอนที่ร้ายกาจ ไม่ใช่ทั้งหมด ดังนั้นเป้าหมายของการล่ามชัยฎอนก็คือ การทำให้ความชั่วน้อยลงในเดือนนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสามารถสัมผัสได้ว่า ในเดือนร่อมะฎอนนั้นความชั่วจะน้อยกว่าเดือนอื่นๆ และบางคนกล่าวว่า ไม่จำเป็นว่า การล่ามโซ่ชัยฎอนทั้งหมด จะทำให้ไม่มีความชั่วและการฝ่าฝืนเกิดขึ้นเลย เพราะยังมีสาเหตุอื่นๆ อีกสำหรับการทำชั่วและการฝ่าฝืน เช่น นัฟซูที่โสมม นิสัยที่น่ารังเกียจ และชัยฏอนในคราบมนุษย์ (อุมดะตุลกอรี, 10/386) 4. มีคืนลัยละตุลก็อดร์อัลเลาะฮ์ตะอาลาได้ทรงประทานความประเสริฐแก่เดือนร่อมะฎอนด้วยคืนลัยละตุลก็อดร์ โดยการที่พระองค์ได้ทรงทำให้มันอยู่ในคำคืนหนึ่งของเดือนอันจำเริญนี้ และมันคือค่ำคืนที่อัลเลาะฮ์ได้ทรงประทานอัลกุรอานให้แก่ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และทำให้มันมีความพิเศษกว่าคืนอื่นๆ ทั่วไป พระองค์ได้ทรงตรัสอย่างชัดเจนถึงเรื่องนี้ในอัลกุรอาน และอธิบายลักษณะของมันว่ามีความบะร่อกะฮ์ และดีกว่าคืนอื่นๆ ถึง หนึ่งพัน เดือน อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า
และพระองค์ทรงตรัสเช่นกันว่า
และความหมายก็คือ การปฏิบัติอะมัลที่ดีงามในคืนนี้ดีกว่าการปฏิบัติอะมัลในหนึ่งพันเดือนที่ไม่มีคืนลัยละตุลก็อดร์ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะอัลเลาะฮ์ตะอาลาประสงค์ให้คืนนี้มีประเภทต่างๆ ของความดีงามและบะร่อกะฮ์ มีคุณประโยชน์และการประทานริสกีต่างๆ มากมาย 5. มีการปฏิบัติความดีมากมายที่เป็นซุนนะฮ์เจาะจงสำหรับเดือนร่อมะฎอนเนื่องจากว่า อัลเลาะฮ์ตะอาลาได้ทรงเฉพาะให้แก่เดือนร่อมะฎอนซึ่งการประทานดีงามให้ต่างๆ อย่างเหลือคณานับ ดังนั้นจึงมีการปฏิบัติดีงามมากมายที่สนับสนุนให้กระทำในเดือนนี้ อาทิ เช่น - ทำการทบทวนอัลกุรอานและอ่านให้มากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามค่ำคืน อัลเลาะฮ์ตะอาลา ทรงตรัสว่า
กล่าว คือ จิตใจที่ตื่นขึ้นมาในเวลากลางคืนนั้น คือจิตใจที่เวลากลางคืนได้ขัดเกลาและปลุกให้ตื่นขึ้นมาอ่านอัลกุรอาน มันเป็นกระแสความคิดและความรู้สึกที่มาจากรัศมีนำทางจิตใจเพื่อเข้าหาอัลเลาะฮ์ในยามกลางคืน ตามที่ท่านอัลฟัครุดดีน อัรรอซีย์ได้กล่าวเอาไว้ในตัฟซีรของท่าน (มะฟาติหุลฆ็อบ, 30/175-176) ดังนั้นนูรรัศมีแห่งอัลกุรอานในยามค่ำคืนที่ได้ปลุก ขัดเกลา และจัดระบบจิตใจให้มีความหนักแน่นและมั่นคง ทำให้จิตใจสามารถรับรู้และประสบความสำเร็จในการได้มาซึ่งรัศมี(ทางนำ)แห่งอัลกุรอาน และยังเป็นการอ่านที่ชัดเจนยิ่ง เนื่องจากมีความบริสุทธิ์ใจให้เกิดขึ้นในการอ่านและดุอาจะถูกตอบรับเป็นพิเศษ... และในบางกิรออะฮ์ที่ถูกต้องอ่านว่า [وَهِيَ أَشَدُّ وِطْئاً] หมายถึง มีความสอดคล้องและต่อเนื่อง ซึ่งความสอดคล้องและต่อเนื่องนี้ได้เกิดขึ้นระหว่างหัวใจ ลิ้น และบรรดาอวัยวะในขณะที่อ่านอัลกุรอาน ดังนั้นก็ปรากฏเฉกเช่นเดียวกันซึ่งความสอดคล้องระหว่างคำสั่งใช้ของศาสนาให้อ่านอัลกุรอานในตอนกลางคืนกับสภาวะจิตใจที่มีความหนักแน่นและมั่นคงในการได้รับรัศมีทางนำของอัลกุรอาน ดังนั้นทุกครั้งที่มุสลิมคนหนึ่งได้อ่านอัลกุรอานในยามค่ำคืน ความสอดคล้องและต่อเนื่องนี้จะเพิ่มทวีคูณยิ่งขึ้น และยังจะเพิ่มทวียิ่งขึ้นไปอีกเมื่อได้อ่านอัลกุรอานในค่ำคืนของเดือนร่อมะฎอน จนกระทั่งถึงคืนลัยละตุลก็อดร์ซึ่งเป็นคืนที่ยิ่งใหญ่กว่าหนึ่งพันเดือน และในหะดีษระบุว่า แท้จริงท่านญิบรีล อะลัยฮิสลาม ได้พบกับท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในทุกคืนของเดือนร่อมะฎอน แล้วท่านนะบีย์ก็ทำการทบทวนอัลกุรอานกับท่านญิบรีล(รายงานโดยอัลบุคอรีย์, ฮะดีษเลขที่ 6, และมุสลิม, ฮะดีษเลขที่2308) - การอ่านอัลกุรอานให้จบเล่ม (ค็อตมุลกุรอาน)ส่วนหนึ่งจากแบบอย่างอันดีงามของชาวสะลัฟ ( ริฎวานุลลอฮิอะลัยฮิม) ก็คือการพยายามที่จะค่อตัมอัลกุรอานในเดือนร่อมะฎอน เพื่อเป็นการระลึกถึงท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มีรายงานจากท่านอิบนุอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า แท้จริงท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นั้นอัลกุรอานจะถูกนำเสนอแก่ท่านหนึ่งครั้งในทุกร่อมะฎอน นอกจากปีที่ท่านเสียชีวิต โดยในปีนั้นอัลกุรอานถูกนำเสนอ(ทบทวน)ให้แก่ท่านสองครั้ง (รายงานโดยอัลบุคอรีย์, ค็อลกุ อัฟอาลิลอิบาด, หน้า 74) และท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ถูกถามว่า การงานใดที่เป็นที่รักยิ่ง ณ อัลเลาะฮ์ตะอาลา ท่านตอบว่า อัลห้าล อัลมุรตะหิล เขากล่าวว่า โอ้ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ และอะไรคือ อัลห้าล อัลมุรตะหิล? ท่านร่อซู้ลตอบว่า การเริ่มอ่านอัลกุรอานและการปิดท้ายมันจากตอนต้นจนถึงตอนท้าย และจากตอนท้ายจนถึงตอนต้น(คือเมื่ออ่านอัลกุรอานจบแล้วก็อ่านซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์และช่วงต้นของซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์ทิ้งท้าย) ทุกครั้งที่มีการลงพัก ย่อมมีการเดินทางต่อไป (รายงานโดยอัดดาริมีย์, สุนัน อัดดาริมีย์, เล่ม 2 หน้า 56) และส่วนหนึ่งจากสิ่งที่มีรายงานมาจากการปฏิบัติของบรรดาศ่อฮาบะฮ์ในเรื่องนี้ คือ ท่านก่อตาดะฮ์ จะทำการค่อตัมอัลกุรอานในเดือนร่อมะฎอนหนึ่งครั้งในทุกๆ สามคืน และเมื่อเข้าช่วงสิบวันสุดท้าย ท่านจะค่อตัมหนึ่งครั้งทุกคืน - การบริจาคทานถือเป็นการปฏิบัติอันยิ่งใหญ่ที่มุสลิมจะได้รับผลบุญอันมากมาย อัลเลาะฮ์ตะอาลาได้ทรงตรัสว่า
ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
แม้ว่าการศ่อดะเกาะฮ์โดยรวมแล้วจะมีความประเสริฐ แต่การศ่อดะเกาะฮ์ในเดือนร่อมะฎอนนั้นมีความประเสริฐกว่าในเดือนอื่นๆ มีรายงานจากท่านอะนัส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้ถูกถามว่า ศ่อดะเกาะฮ์ใดที่ประเสริฐที่สุด? ท่านตอบว่า ศ่อดะเกาะฮ์ในเดือนร่อมะฎอน (รายงานโดยอัตติรมีซีย์, ฮะดีษลำดับที่ 663) - การละหมาดตะรอวีห์การละหมาดตะรอวีห์ถือเป็นซุนนะฮ์ของท่านนะบีย์ในพื้นฐานเดิมของมัน และเป็นซุนนะฮ์ (แนวทางของค่อลิฟะฮ์ผู้ทรงธรรม) ของท่านอุมัรในรูปแบบวิธีการปฏิบัติ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ผู้ใดก็ตามที่ละหมาดตอนกลางคืนของเดือนร่อมะฎอนด้วยความศรัทธา (เชื่อในภาคผลที่ได้ระบุรายงานมา) และมุ่งหวัง (บริสุทธิ์ใจต่ออัลเลาะฮ์) บาปที่เขาได้เคยกระทำมาจะถูกอภัยโทษให้แก่เขา (รายงานโดยอัลบุคอรีย์, ฮะดีษลำดับที่ 37, และมุสลิม, ฮะดีษเลขที่ 759) ท่านอัลฮากิมได้รายงานจากอันนุอฺมาน บิน บะชีร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา เขาได้กล่าวว่า เราได้เคยละหมาดตอนกลางคืน พร้อมกับท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในเดือนร่อมะฎอนคืนที่ 23 จนถึงหนึ่งในสามของคืน หลังจากนั้น เราก็ได้ละหมาด พร้อมกับท่านในคืนที่ 25 จนถึงครึ่งหนึ่งของคืน หลังจากนั้นเราก็ได้ละหมาดพร้อมกับท่านร่อซูลในคืนที่ 27 จนกระทั่งเราคิดว่าเราจะไม่ทันอัลฟะลาห์ เราเรียกมันว่า อัลฟะลาห์ พวกท่านเรียกมันว่า อัสสะหูร (อาหารยามดึก) ท่านอัลฮากิมได้กล่าวว่า ดังกล่าวนี้เป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่า การละหมาดตะรอวีห์ในมัสยิดร่วมกับบรรดามุสลิมีนทั้งหลายนั้นเป็นซุนนะฮ์ที่ถูกวางแบบฉบับเอาไว้และท่านอะลีย์บินอบีฏอลิบ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เร่งเร้าท่านอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ให้ดำรงไว้ซึ่งซุนนะฮ์ดังกล่าวนี้ จนกระทั่งท่านอุมัรได้กระทำสิ่งดังกล่าว (อัลมุสตัดร็อก อะลัศศ่อฮีฮัยน์, เล่ม1 หน้า 607) - การให้อาหารละศีลอดแก่ผู้ถือศีลอดท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ผู้ใดก็ตามที่ให้อาหารละศีลอดแก่ผู้ถือศีลอดคนหนึ่ง เขาก็จะได้รับผลบุญเหมือนกับที่ผู้ถือศีลอดได้รับ ไม่มีสิ่งใดที่จะพร่องไปจากผลบุญของผู้ถือศีลอดแม้แต่น้อย (รายงานโดยอัตติรมีซีย์, ฮะดีษลำดับที่ 807) และไม่มีเงื่อนไขให้มุสลิมต้องแบกรับเกินความสามารถของเขาในการให้อาหารแก่พี่น้องของเขา แต่ทว่าผลบุญของการให้อาหารละศีลอดแก่ผู้ถือศีลอดนั้นจะได้มาด้วยสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เพื่อทำให้ผู้คนทั้งหลายเคยชินกับการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อาทรต่อกัน และรวมตัวกันในเวลาเช่นนี้ เพราะมันเป็นช่วงเวลาของการซิเกร การตอบรับดุอาอ์ และความเบิกบานด้วยการละศีลอด ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า
- การทำอุมเราะฮ์ซึ่งเทียบเท่ากับการทำฮัจญ์ในด้านของผลบุญเมื่อกระทำในเดือนร่อมะฎอน (แต่ไม่ได้ทำให้ฟัรฎูของการทำฮัจญ์หมดไป) ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า การทำอุมเราะฮ์ในร่อมะฎอนเทียบเท่าการทำฮัจญ์ (รายงานโดยอัลบุคอรีย์, ฮะดีษเลขที่ 1690, และมุสลิม, ฮะดีษเลขที่ 1256) และในบางสายรายงานกล่าวว่า เท่ากับการทำฮัจญ์ครั้งหนึ่งพร้อมกับฉัน ท่านอิบนุอะร่อบีย์ได้กล่าวว่าหะดีษอุมเราะฮ์บทนี้ศ่อฮีห์ มันเป็นความประเสริฐและความโปรดปรานที่มาจากอัลเลาะฮ์ อุมเราะฮ์นั้นได้รับตำแหน่งเท่ากับฮัจญ์โดยการรวมร่อมะฎอนเข้าไปด้วย(หมายถึงต้องทำในเดือนร่อมะฎอนด้วย) ดังนั้น ผลบุญของการกระทำจึงเพิ่มขึ้นด้วยการเพิ่มความประเสริฐของช่วงเวลา หรือเจตนาที่แน่วแน่ หรือหัวใจที่มีอัลเลาะฮ์ตลอดเวลาของผู้ปฏิบัติ (ฟัตหุลบารีย์, เล่ม 3 หน้า 64-605) - การทำให้คืนลัยละตุ้ลก้อดร์มีชีวิตท่านร่อซูลลุลเลาะฮ์ ศ็อลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า ผู้ใดก็ตามที่ลุกขึ้นมา (ทำอิบาดะฮ์) ในคืนลัยละตุลก็อดร์ด้วยความศรัทธา (เชื่อในผลบุญที่ได้ระบุรายงานมา) และความมุ่งหวัง (เพื่ออัลเลาะฮ์ตะอาลาเท่านั้น) บาปของเขาที่เคยกระทำมาจะถูกอภัยโทษให้ (รายงานโดยอัลบุคอรีย์, ฮะดีษเลขที่ 1082) และเช่นเดียวกันท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เตือนถึงการขาดทุนอันใหญ่หลวงสำหรับผู้ที่ไม่ฉกฉวยความประเสริฐของค่ำคืนนี้ ท่านได้กล่าวว่า แท้จริงเดือนนี้ได้มายังพวกท่านแล้ว และในมันนั้นมีค่ำคืนหนึ่งที่ดีกว่าหนึ่งพันเดือน ผู้ใดที่ถูกห้ามมัน แน่แท้เขาได้ถูกห้ามความดีงามทั้งหมด และไม่มีผู้ใดที่ถูกห้ามความดีงามของมัน นอกจากผู้ที่ถูกห้าม (รายงานโดยอิบนุมาญะฮ์, สุนันอิบนุมาญะฮ์, เล่ม 1 หน้า 526) - การปฏิบัตินะวาฟิล (อะมัลที่เป็นสุนัต) ให้มากแท้จริงการฏออะฮ์ในเดือนร่อมะฎอนนั้นมีความพิเศษ และผลบุญของมันนั้นก็เพิ่มเป็นเท่าทวีคูณ ท่านร่อซูลุลเลาะอ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า ผู้ใดก็ตามที่แสวงหาความใกล้ชิดในเดือนร่อมะฎอน ด้วยประการหนึ่งจากประการต่างๆ ของความดี เขาก็เสมือนผู้ที่กระทำฟัรฎูในเดือนอื่นๆ จากร่อมะฎอน และผู้ใดก็ตามที่ปฏิบัติฟัรฎูหนึ่งในเดือนร่อมะฎอน เขาก็เสมือนกับผู้ที่ได้ปฏิบัติ 70 ฟัรฎูในเดือนอื่นๆ (รายงานโดยอิบนุคุซัยมะฮ์, ซอฮิห์อิบนุคุซัยมะฮ์, เล่ม 3 หน้า 191) และส่วนหนึ่งจากสุนัตนะวาฟิลนั้น ได้แก่ การซิเกรให้มาก เพราะการซิเกรนั้นจะช่วยให้หัวใจและอวัยวะต่างๆ มีนูรรัศมี (ผลักดันและชี้นำเข้าหาอัลเลาะฮ์และปฏิบัติอะมัลอิบาดะฮ์ต่อพระองค์) - การเอียะติกาฟและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสิบวันสุดท้ายของร่อมะฎอน เพราะการเอียะติกาฟในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นเป็นซุนนะฮ์มุอักกะดะฮ์(มุ่งเน้นให้กระทำ) ที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้เคยปฏิบัติไว้ มีรายงานจากอัลบุคอรีย์และมุสลิมว่า แท้จริงท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทำเอียะติกาฟสิบวันสุดท้ายของร่อมะฎอนจนกระทั่งอัลเลาะฮ์ได้เอาชีวิตของท่านไป หลังจากนั้นบรรดาภรรยาของท่านก็ได้เจริญรอยตามท่าน (รายงานโดยอัลบุคอรีย์, ฮะดีษเลขที่ 1922, และมุสลิม, ฮะดีษเลขที่ 1172) กิตาบุศศิยาม, ดารุลอิฟตาอฺ อัลมิศรียะฮ์, ฮ.ศ. 1431, หน้า 3- 10 |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
ศาสนสถานสำคัญในอิสลาม | ||
![]() |
||
ศาสนสถานสำคัญที่อิสลามส่งเสริมให้มุสลิมเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจและเยี่ยมเยียนในโลกนี้ |
||
View All ![]() |
<< | สิงหาคม 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |