![]() ญี่ปุ่นกำลังปรับทิศทาง การเดินไปสู่อนาคต เพื่อให้ประเทศกลับสู่ความยิ่งใหญ่เหมือนในอดีต โดยเฉพาะการรักษาระดับความเป็น "ผู้นำเศรษฐกิจโลก" และ "ผู้นำในภูมิภาคเอเชีย" ต่อไปให้ได้ หากมองย้อนกลับไปในอดีตไม่นานนัก ตั้งแต่ยุคเมจิ (Meiji Restoration) ในปี 2411 เป็นช่วงที่ญี่ปุ่นเจริญรุ่งเรือง ก้าวเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว กระทั่งนำไปสู่การเพิ่มแสนยานุภาพทางการทหาร ในปี 2448
แม้ต่อมาญี่ปุ่นจะพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 และโลกเข้าสู่ยุคสงครามเย็นก็ตาม แต่เมื่อได้รับเอกราชใน 2495 ก็มุ่งสู่การค้าการขายเต็มที่ โดยภาครัฐส่งเสริมให้เอกชนออกไปลงทุนนอกประเทศ พร้อมทั้งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดีกับฝ่ายตะวันตก จนญี่ปุ่นขึ้นมาเป็นประเทศที่พัฒนา มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สุดของโลก ส่งผลให้ขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก มายาวนานถึง 42 ปี รองจากสหรัฐอเมริกา
ญี่ปุ่นจึงกลายเป็นโมเดล ที่หลายประเทศให้การยอมรับ และนำแนวทางการพัฒนาไปใช้
มายุคปัจจุบัน ที่สถานการณ์โลกผันผวน เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ได้เกิดวิกฤตการณ์สำคัญ ที่นำไปสู่กำเนิดของปัญหาภายในของหลายประเทศ เช่น วิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ภัยธรรมชาติ การก่อการร้าย การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ญี่ปุ่นจึงเป็นประเทศหนึ่ง ที่ได้รับผลกระทบเต็มที่จากวิกฤตการณ์เหล่านั้น
จากประเทศที่เคยมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ กลับมีความไม่แน่นอน ส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นอยู่ในสภาวะชะงักงันต่อเนื่องยาวนานมาถึง 20 ปี และยังไม่มีทีท่าว่าจะกลับไปแข็งแรงเหมือนเดิม เพราะหนี้สินภาครัฐต่อ GDP ของประเทศสูงสุดในโลก คือ 226% ซึ่งหลายรัฐบาลที่ผ่านมา พยายามเข้าไปแก้ไข แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ
นอกจากนั้น ญี่ปุ่นยังต้องเผชิญกับคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญอย่าง จีน ซึ่งเมื่อกลางปี 2553 ญี่ปุ่นต้องสูญเสียการครองอับดับ 2 ของเศรษฐกิจโลกให้จีนไป อีกทั้งยังมีปัจจัยความมั่นคงระหว่างประเทศเข้ามาแทรกจากสถานการณ์ความตึงเครียดกับจีน กรณีการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะในทะเลจีนตะวันออก
ในปี 2555 เมื่อนายชินโซ อาเบะ เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศนโยบายทางเศรษฐกิจสำคัญ ที่เรียกกันว่า "อาเบะโนมิกส์" (Abenomics) ซึ่งเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่ แบ่งเป็น 3 มาตรการ คือ มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน เพิ่มงบประมาณรายจ่ายและการปฏิรูป ซึ่งในปีแรกของการดำเนินการตามนโยบายก็ประสบผลสำเร็จดี จนเชื่อกันว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะฟื้นตัวขึ้น ทำให้ความนิยมต่อรัฐบาลนายชินโซ อาเบะ สูงขึ้น รวมทั้งหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ก็เป็นขาขึ้นไปด้วย
แต่มาในปีนี้ เศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มออกอาการไม่ดีนัก เพราะคาดการณ์กันว่า เศรษฐกิจในไตรมาสเดือนเมษายน ถึง มิถุนายน 2557 จะหดตัวลงถึง 7.1% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ โดยมีสาเหตุมาจากการขึ้นภาษีขายจาก 5% เป็น 8% ทำให้การบริโภคลดลง
จึงเป็นเหตุที่ทำให้นายกฯชินโช อาเบะ ปรับคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ มีการแต่งตั้งรัฐมนตรีที่เป็นผู้หญิงมากถึง 5 คน ทำให้คิดกันว่า เขาต้องการความนิยมจากกลุ่มผู้หญิงมากขึ้นด้วย รวมทั้งจากสถานการณ์ปัญหาความมั่นคงระหว่างประเทศญี่ปุ่นและจีน นายกฯชินโซ อาเบะได้ขอปรับเพิ่มงบประมาณกลาโหมเป็น 48,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 3.5% ยิ่งเป็นตัวชี้วัดว่า ญี่ปุ่นเริ่มไม่มั่นใจในสถานการณ์ด้านความมั่นคง
จนถึงขณะนี้ นายกฯชินโซ อาเบะ ได้ผลักดัน 2 มาตรการ ไปเรียบร้อย คงเหลือมาตรการสุดท้าย คือ "การปฏิรูป" จะต้องทำให้สำเร็จ เพราะจะทำให้ญี่ปุ่นมีโอกาสหลุดพ้นจากปัญหาทางเศรษฐกิจและฟื้นตัวได้
แม้การปฏิรูปนี้ น่าเป็นส่วนที่ยากที่สุด เพราะจะถูกต่อต้านจากกลุ่มผู้สูญเสียประโยชน์ แต่ด้วยความนิยมของชาวญี่ปุ่นที่มีต่อนายกฯชินโซ อาเบะ อยู่ในระดับที่ดี จึงเชื่อมั่นว่าจะมีส่วนช่วยให้การปฏิรูปสำเร็จ
ผมเห็นว่า สาเหตุที่ญี่ปุ่นไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างรวดเร็ว ปล่อยให้เศรษฐกิจนิ่งมานานถึง 20 ปี ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดปกติของประเทศที่พัฒนาแล้ว น่าจะเกิดจากการไม่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ของโลก ที่ต้องการความรวดเร็ว มีนวัตกรรมใหม่ๆ ขณะที่ญี่ปุ่นยังใช้วิธีการสร้างความสำเร็จแบบเดิมๆ เช่น การรอฟังภาครัฐ ภาคราชการ ว่าจะวางแผนเศรษฐกิจให้ภาคประชาชน ภาคเอกชน อย่างไร
ก็ต้องยอมรับว่า ครั้งหนึ่งในอดีต การส่งเสริมและการเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับเอกชน มีส่วนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโต แต่มาในปัจจุบันนี้ การแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้นมาก ไม่มีเวลาพอที่จะรอภาครัฐมากำหนดทิศทางให้ นอกจากนั้น ภาคราชการก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพเหมือนในอดีต การปรับเศรษฐกิจให้เข้าสู่โหมดของการแข่งขันได้เท่านั้น จะเป็นกุญแจดอกสำคัญที่ญี่ปุ่นจะสู้จีนได้ และรักษาความเป็นแชมป์โลกทางเศรษฐกิจต่อไปได้
ญี่ปุ่นจึงอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ เพราะวันนี้ญี่ปุ่นไม่อยู่ในสภาพที่จะมุ่งแต่การค้า การขายแบบในอดีตต่อไป โดยไม่ต้องไปพะวงกับเรื่องอื่นๆ แต่ญี่ปุ่นกำลังประสบกับปัญหาใหม่ที่ท้าทายหลายเรื่อง บางเรื่องเป็นสถานการณ์ใหม่ บางเรื่องเคยเผชิญมาแล้วในอดีต ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น การสร้างแสนยานุภาพให้กองทัพ การเป็นชาตินิยม ซึ่งทั้ง 2 กรณีเป็น "ดาบสองคม"
ญี่ปุ่นคงต้องออกแบบการบริหารจัดการประเทศในรูปแบบใหม่ โดยอาศัยประวัติศาสตร์มาเป็นฐาน แล้วปรับตัวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ พร้อมทั้งสร้างความมั่นคงจากความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศ แต่ภารกิจเฉพาะหน้า คือ การปฏิรูปประเทศ ภายใต้มาตรการสุดท้ายของนโยบาย "อาเบะโนมิกส์" จะชี้อนาคตญี่ปุ่นครับ
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | กันยายน 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 |