![]() เศรษฐกิจโลกที่ผันผวนอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้นำทางการเมือง ในฐานะผู้กำหนดนโยบายและนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ มีความยากลำบากในการบริหารเศรษฐกิจของประเทศมากยิ่งขึ้น ผู้นำที่ล้าสมัย ไม่เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง (Change) จะไม่สามารถดำรงตำแหน่งผู้นำทางการเมืองได้ยาวนาน หรือเป็นที่ยอมรับของประชาชนในยุคปัจจุบันได้
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประชาคมโลกได้สัมผัสกับสถานการณ์ใหม่ๆ ของเศรษฐกิจที่ขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา บางช่วงประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างไม่ทันตั้งตัว โดยเฉพาะหลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลง ประเทศส่วนใหญ่เรียงแถวกันก้าวเข้าสู่การเป็นประชาธิปไตยและตลาดเสรีมากขึ้น ผลที่ตามมาคือ เศรษฐกิจโลกเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่ (Emerging countries)
เมื่อสถานการณ์โลกสงบลง ไม่มีสงครามขนาดใหญ่ ทำให้รัฐบาลที่เคยทุ่มทรัพยากรไปกับความมั่นคงทางทหารสามารถดึงทรัพยากรในประเทศไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจมากขึ้น ทำให้หลายประเทศสามารถยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรได้ดีขึ้นและลดความยากจน
ความสำเร็จทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ใด้ขึ้นอยู่กับการที่ประเทศเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตยและตลาดเสรีมากขึ้นเท่านั้น เพราะในความเป็นจริง ทุกวันนี้ ยังมีอีกหลายประเทศจมปลักอยู่กับความยากจนและหาทางออกไม่ได้ ขณะที่บางประเทศโดดเด่นเป็นที่ชื่นชมของชาวโลก นั่นเป็นเพราะ "ผู้นำทางการเมือง" มีประสิทธิภาพมากกว่า
ภายหลังวิกฤตการณ์การเงินในปี 2533 ประเทศที่ "ผู้นำ" สามารถเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสได้ ทำให้สถานะของประเทศปรากฎบนจอเรด้าเศรษฐกิจโลกอย่างชัดเจน ได้แก่ นายคิม แดจุง ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ระหว่างปี 2541– 2546 และนายวลาดีมีร์ ปูติน ซึ่งเป็นประธานาธิบดีรัสเซีย ตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปัจจุบัน นายหลุยส์ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ประธานาธิบดีบราซิล ตั้งแต่ปี 2546 – 2554 และนายเรเจป ไตยิป เอร์โดอัน นายกรัฐมนตรีตุรกี ตั้งแต่ปี 2546 – สิงหาคม 2557
บุคคลเหล่านี้ ได้รับการยอมรับ ในฐานะผู้นำ ที่ทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตระดับแนวหน้าของโลก มาจนกระทั่ง เข้าสู่ปี 2546–2550 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประเทศเหล่านี้ มีเศรษฐกิจเฟื่องฟู ขยายตัวสูงสุด
ภายหลังปี 2551 โลกประสบกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจอีกครั้ง หลายประเทศต้องปรับตัวและปฏิรูปเศรษฐกิจใหม่อีกครั้ง ไม่เว้นแม้กระทั่งจีน ที่เศรษฐกิจขยายตัวสูงสุดของโลก ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน
จากนี้ไป ความสำเร็จหรือล้มเหลวในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ จะขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้นำทางการเมืองโดยตรง
สำหรับภูมิภาคเอเชีย ที่นักลงทุนทั่วโลกประเมินว่า จะเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุด นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จะเพ่งไปที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาค โดยมีที่มาจากตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แรงงาน การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศเป็นหลัก แต่ปัจจุบันนี้ นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศต่างให้ความสนใจมากขึ้นกับผู้นำทางการเมืองที่เข้ามาบริหารประเทศควบคู่กับการดูพื้นฐานทางเศรษฐกิจด้วย เพราะผู้นำทางการเมืองจะเป็นผู้ขับเคลื่อนประเทศไปในทิศทางที่ถูกต้อง
วันนี้เราจึงเห็นผู้นำอย่าง นายชินโช อาเบะ นายกรัฐมนตรีที่ได้รับเลือกจากชาวญี่ปุ่นอย่างท่วมท้น เพราะเชื่อว่าภายใต้นโยบายและมาตรการทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน เขาจะสามารถกอบกู้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นให้ดีขึ้น ซึ่งนายอาเบะก็ไม่ทำให้ชาวญี่ปุ่นผิดหวัง เพราะแม้เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะยังไม่ฟื้นเต็มที่ แต่หากจะเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ญี่ปุ่นเป็น 1 ใน 3 ประเทศ ที่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุด ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ส่วน นายนเรนทรา โมดิ นายกรัฐมนตรีอินเดีย ก็เป็นผู้นำทางการเมืองอีกคนหนึ่ง ที่สามารถเอาชนะคู่แข่งได้อย่างขาดลอย เพราะประชาชนเชื่อว่า นายโมดิ จะสามารถปฏิรูปเศรษฐกิจอินเดียให้ทันสมัยขึ้น ประกอบกับมีนโยบายเศรษฐกิจที่ผสมผสานกับประชานิยม และเน้นการปราบปรามคอร์รัปชัน
หรือกรณี นายโจโก วิโดโด้ หรือที่เรียกกันว่า "โจโกวี" ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นคนแรกที่มาจากนักธุรกิจ ลุกขึ้นมาประกาศจะปฏิรูปเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน เพราะเจ้าตัวถือว่า เป็นคนของประชาชนที่เน้นการบริหารจากระดับล่างสู่ระดับบน (Bottom-up)
ดังนั้น ทั้งนายโมดิ และนายโจโกวี จึงเป็นที่คาดหมายล่วงหน้ามาก่อนวันเลือกตั้งว่า จะชนะการเลือกตั้งและเข้ามาเป็นผู้นำประเทศได้อย่างแน่นอน
เวลานี้ สถานการณ์โลกได้พัฒนามาถึงจุดที่ประชาชนมีอำนาจมากขึ้นและต้องการมีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมือง เสียงของประชาชนจึงเริ่มดังขึ้นเรื่อยๆ ฉะนั้น หากผู้นำทางการเมือง ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนในแต่ละช่วงเวลา ก็จะดำรงอยู่ในฐานะผู้นำได้ยากลำบากมาก
การเปลี่ยนแปลงผู้นำทางการเมืองที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ อย่างเช่น อินเดีย อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น ได้สะท้อนให้เห็นว่า ผู้นำทางการเมืองที่ประชาชนปรารถนา เป็นแบบใด ซึ่งผู้นำเหล่านั้นมักจะมีความชัดเจนทั้งนโยบายและมาตรการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ
ส่วนผู้นำทางการเมืองที่ไร้ประสิทธิภาพ ไม่เป็นบุคคลที่อยู่ในใจของคนในชาติ ประชาชนจะไม่อดทนนาน เพื่อให้อยู่ในตำแหน่งต่อไป
วันนี้บทบาทและบุคลิกภาพของผู้นำทางการเมือง ต้องถือว่า มีผลต่อทิศทางเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้นอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ และภายใต้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลก ที่ยังอ่อนไหวอยู่ในปัจจุบันนี้ สังคมจึงยังเรียกหาผู้นำทางการเมือง ที่มีความสามารถและทันสมัย ที่สำคัญมีความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับโลกในแต่ละช่วงเวลา
ฉะนั้น เศรษฐกิจของประเทศ จะดีขึ้นหรือแย่ลง จึงขึ้นอยู่กับ "ฝีมือ" ของผู้นำทางการเมืองเป็นสำคัญครับ
********************
22 ตุลาคม 2557
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | ตุลาคม 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |