ท่ามกลางพายุฝนที่พัดมาในเดือน กันยายน รถของเราวิ่งขึ้นสู่เส้นทางภาคเหนือของประเทศ จุดหมายปลายทางของเรา อยู่ที่ จ. อุตรดิตถ์ เรามาที่นี่เพื่อมาดูประเพณีเก่าแก่ของชาวล้านนา ซึ่งเชื่อว่าหลงเหลืออยู่ที่นี่เพียงแห่งเดียว ประเพณีนี้มีชื่อว่า “ ค้างบูยา “ เลยจาก จ. อุตรดิตถ์มาราวเกือบ 10 กม. เราก็จะพบป้ายประตูทาง เข้า เมืองลับแล เมืองที่ผู้คนอาจจะได้รับรู้จากนิยายปรัมปรามาแตกต่างมากมายหลายด้าน แต่ภาพที่เราเห็นในความรู้สึกแรก เมืองลับแลเป็นเมืองเล็กๆ ที่มีผู้คนไม่มากนัก และยังคงสภาพดั้งเดิมไว้อย่างดี สภาพบ้านไม้ที่เป็นที่อยู่อาศัยยังพอมองเห็นได้ทั่วไป เราผ่านออกมาจากนอกตัวเมืองลับแล ไปทางถนนลาดยางสองเลนแคบๆ ผ่านเนินเล็กๆ มากมาย ไม่นานเราก็มาถึงยัง “ ม่อนลับแล “ เราได้พบกับหญิงสาวชาวลับแล คุณกัญญาวีร์ ศิริกาญจนารักษ์ ผู้ซึ่งเป็นผู้นำหญิงแกร่ง ที่พลิกฟื้นรากวัฒนธรรมของชุมชนขึ้นมาใหม่ เราได้พูดคุยกับเธอในเบื้องต้น เพื่อได้ทราบถึงประวัติบางส่วนของ ลับแล ชุมชนลับแล เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีอายุยาวนานกว่า 1000 ปี ตั้งแต่ยุคอาณาจักร ล้านนา แต่ผู้คนทั่วไปอาจจะไม่ค่อยได้รับรู้เรื่องราวของเมืองนี้มากนัก อาจจะเป็นเพราะสภาพทางกายภาพที่ห้อมล้อมไปด้วยภูเขา ทำให้อาจจะไม่ค่อยมีผู้คนแวะเวียนเข้ามามากนักในอดีต แต่ก็ทำให้เกิดข้อดีคือ ที่นี่จะมีความคงอยู่ของวัฒนธรรมดั้งเดิมอยู่ค่อนข้างมาก ผู้คนที่นี่เป็นการผสมผสานของหลากหลายเชื้อชาติ พวกเขา การแต่งกาย วัฒนธรรม และมีภาษาพูดและเขียนของตัวเอง และเพิ่งจะถูกรื้อฟื้นขึ้นมาเป็นบทเรียนในกับอนุชนรุ่นถัดมา ในไม่กี่ปีนี้เอง กลับมาคุยเรื่อง ประเพณีบุญ ค้างบูยา ( ค้างหมายถึง กิ่ง ก้าน ต้นไม้ บูยา คือ มวนยา ) เป็นพิธีกรรมการทำบุญให้กับบรรพบุรุษ โดยจะจัดให้มีพิธี ค้างบูยา ในทุกวันพระ ตลอดเดือนของการเข้าพรรษา ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปในแต่ละวัดในละแวกบ้าน ชาวบ้านในแต่ละหมู่ จะจัดเตรียม ค้างบูยา ของตน ในคืนก่อนวันมีพิธี 1 คืน คืนนี้เราจึงมาดูการทำ ค้างบูยา ของชาวบ้านกันค่ะ ค้างบูยา เดิมอาจใช้เป็นกิ่งไม้ แล้วนำเอาสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆที่ชาวบ้านบริจาคมา มาห้อยแขวน คล้ายๆ ต้นกฐิน ทางภาคกลาง แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนรูปแบบไปบ้าง เป็นการทำค้างบูยา สูง มีก้านไม้สำหรับจับถือด้านล่าง วางผลไม้ต่างๆ ประดับด้วยมวนยา บางครั้งก็ใช้หลอดกาแฟตัดขนาดเท่ามวนยาทดแทน ประดับประดาด้วยของใช้ต่างๆ และมีใบเป็นธนบัตร ที่ชาวบ้านร่วมกันบริจาค จัดประดับอย่างสวยงาม
ชาวบ้านมาร่วมกันทำ และบริจาคเพื่อประดับตกแต่ง ค้างบูยา โดยความศรัทธา ในวันนี้ เรามาดูการทำค้างบูยา กันที่บ้านผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ผู้ใหญ่สวัสดิ์ ถายา
ชะลอมเล็กๆ เขามีไว้ทำอะไรกันน่ะ ฉันคิดในใจ แล้วคุณป้าก็อธิบายว่าเขาใส่อะไรลงไปในชะลอมบ้างค่ะ มีทั้งขนม ข้าว น้ำ ข้าวเหนียว กับข้าว เกลือ น้ำ หมากพลู และผลไม้ต่างๆ ประดับด้วยดอกไม้ ธูปปักบนชะลอมค่ะ พอตอนเช้าประมาณ 3 โมงเช้า ชาวบ้านจะมารวมตัวกันที่บ้านผู้ใหญ่ ต่างคนก็จะชะลอมของตัวเอง ใส่กระจาด ไม้คาน มาหาบเป็นขบวนเข้าวัดโดยพร้อมเพรียงกันค่ะ ในขบวนก็จะมีกลองยาวนำหน้าขบวน มีคนมาร้องรำทำเพลงเป็นที่สนุกสนาน แล้วก็ ค้างบูยา ขบวนหาบกระจาด
พอถึงวัด ก็จะมีการทำบุญตักบาตรข้าวเหนียว การฟังเทศน์ สวดมนต์ อุทิศส่วนกุศล
วันที่เราไปบันทึกภาพ เราไป 2 วัดด้วยกัน คือ วัดดอยมูล และวัดปทุมคงคา ซึ่งที่วัดปทุมคงคา จะมีวัดที่มาร่วมกันในปีนี้ 13 วัด ค้างบูยา ก็จะถูกถวายวัดต่างๆ โดยการจับฉลากว่าจะได้ของหมู่บ้านไหน หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนไปในแต่ละวัด
ชุมชนลับแล ได้มีการจัดประเพณี ค้างบูยา เป็นประจำทุกปีตามปฎิทินทางจันทรคติ สำหรับในปีนี้ ตรงกับวันต่างๆ ดังนี้ค่ะ ขึ้น 8 ค่ำเดือน 9 วันที่ 25 สิงหาคม ขึ้น 15 ค่ำเดือน 9 วันที่ 1 กันยายน แรม 8 ค่ำเดือน 9 วันที่ 9 กันยายน แรม 15 ค่ำเดือน 9 วันที่ 15 กันยายน ขึ้น 8 ค่ำเดือน 10 วันที่ 23 กันยายน ขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 วันที่ 30 กันยายน แรม 8 ค่ำเดือน 10 วันที่ 8 ตุลาคม สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะไปชมประเพณี "ค้างบูยา " ที่คงเหลืออยู่เพียงชุมชนลับแล ที่เดียวในประเทศไทย ไปเป็นหมู่คณะ ร่วมทำบุญประเพณี ค้างบูยา กับชาวบ้านลับแล ติดต่อไปที่ คุณรัศ เสือน้อย ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 089-8398094 ขอขอบคุณการอนุเคราะห์การเดินทาง ที่พัก และ ข้อมูลเรื่อง คุณกัญญาวีร์ ศิริกาญจนารักษ์ และชาวบ้านลับแล ที่น่ารักทุกคน ขอบคุณ คุณธีรภาพ โลหิตกุล ผู้แนะนำ ในเอนทรีหน้าจะพาไปชมหมู่บ้านลับแล ดูวิถีชุมชน ที่น่าสนใจ อย่าลืมติดตามกันนะคะ ชมภาพประเพณี ค้างบูยาเพิ่มเติม ที่ http://www.facebook.com/media/set/?set=a.3320076614546.115446.1647223067&type=3 ลิ้งที่เกี่ยวข้องย่าดา มนต์เสน่ห์ ลับแล ชมงานประเพณีค้างบูยา สัมผัสวิถีชาวบ้าน ตอนที่ 1 |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
80'y Long Live the King | ||
![]() |
||
ความทรงจำฉลอง 60 ปีครองราชย์ |
||
View All ![]() |
<< | กันยายน 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 |