จากตอนที่แล้ว เราพูดถึ่งประเทศไทย ที่มีทรัพยากรปิโตเลียมเป็นของตัวเองมากพอสมควร คือมีการผลิตน้ำมันดิบติดอันดับโลกน่ะค่ะ ( น้ำมันอันดับที่ 32 ของ CIA , ก๊าซธรรมชาติ อันดับที่ 27 ของ eia ) เราจะมาตามต่อในเอ็นทรีนี้ว่าคนไทย และประเทศไทย ได้ประโยชน์อะไรบ้างจาก ปิโตเลียมที่เรามีอยู่ ก่อนอื่นต้องพาไปดูในอดีตว่า เมื่อเราพบน้ำมันดิบในประเทศไทยที่ อ.ฝาง เมื่อปลายรัชสมัย พระจุลจอมเกล้า รัชการที่ 5 ในตอนนั้นเราก็ยังไม่มีเทคโนโลยีในการขุดเจาะ หรือกลั่นได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2464 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการรถไฟ ได้ทรงริเริ่มนำเข้าเครื่องเจาะมาเพื่อทำการเจาะสำรวจหาน้ำมันดิบ ในบริเวณที่มีผู้พบน้ำมันดิบไหลขึ้นมาบนผิวดินที่บ่อหลวง และยังทรงว่าจ้างนักธรณีวิทยาชาวอเมริกันเข้ามาสำรวจหาน้ำมันดิบ และถ่านหินในประเทศไทยอีกด้วย ต่อมาสหรัฐอเมริกาได้ให้ทุนในการร่างกฏหมายปิโตเลียมแก่ไทย ในนาม ยูซ่อม United States Operations Mission (USOM) โดยว่าจ้างสวิตเซอร์แลนด์เป็นที่ปรึกษา โดยใช้ต้นแบบกฏหมายจากประเทศลิเบีย ( ตอนนั้นลิเบียเพิ่งหลุดจากการเป็นประเทศอาณานิคม ) จนได้เป็น พ.ร.บ. ปิโตเลียม ฉบับ 2514 http://thai-energy.blogspot.com/2013/03/blog-post_6587.html ( พรบ.ปิโตเลียม 2514 ) ประเทศไทยจึงเริ่มให้สัมปทานในการขุดเจาะน้ำมัน และก๊าซ โดยให้ไปแล้ว 20 รอบ ในรอบที่ 21 เดิมจะมีการให้ไปแล้ว แต่ชาวบ้านได้ยื่นจดหมายคัดค้านไว้ ทำให้เลื่อนการให้สัมปทานรอบที่ 21 ออกไป แต่กำลังจะเริ่มให้สัมปทานรอบใหม่ในปีนี้ ซึ่งความคิดของเราควรให้มีการปรับปรุงระบบให้สัมปทานที่ทันสมัยกว่านี้เสร็จเสียก่อน จึงค่อยเปิดให้ประมูลตามระบบที่เปิดเผย และเป็นธรรมต่อไป http://www.dmf.go.th/index.php?act=service&sec=map ( แผนที่ชัดๆ สามารถขยายดูรายละเอียดได้ ว่าบริษัทใดได้สัมปทานไปบ้าง ) กฏหมายสัมปทานใน พรบ. ปิโตเลียมปี 2514 มีการให้สัมปทานยาวนานถึง 52 ปี คือ แบ่งเป็นระยะเวลาการสำรวจ 5+4+3 ปี ในระหว่างสำรวจ ถ้าพบปิโตเลียมก็สามารถทำการผลิตได้เลย ช่วงเวลาสัมปทาน 30 ปี ต่อสัญญาได้อีกรอบหนึ่่ง 10 ปี เรียกสัมปทานนี้ว่า Thailand 1 ซึ่งมีปิโตเลียมที่ค้นพบกว่า 66 % ของที่ค้นพบทั้งหมด โดยมี บริษัท เชฟรอน ( Chevron ) ได้สัมปทานไปมากที่สุดโดยความเสี่ยงในการไม่พบน้ำมันแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้ เพราะกว่า 82 % ของการขุดเจาะสามารถเปิดผลิตได้ทั้งหมด ถึงขนาดบริษัทต่างชาติที่มาขุดเจาะในบ้านเรา บอกว่า ประเทศไทยเป็น Low cost ในการขุดเจาะ แถมได้น้ำมันคุณภาพดี กำมะถันต่ำ ราคาสูงในตลาดโลกอีกด้วย ในปี 2532 มีการแก้ พรบ.ปิโตเลียม อีกครั้งหนึ่ง ทำให้อายุสัมปทานลดลง เหลือ 39 ปี เรียกว่า Thailand 3 แบ่งเป็นระยะเวลาสำรวจ 3+3+3 ปี ระยะเวลาสัมปทาน 20 ปี ต่อได้อีก 10 ปี ยังมีการแก้กฏมายปิโตเลียมอีกหลายครั้ง บางเรื่องก็แก้ให้ดีขึ้น แต่ในบางเรื่องก็แก้ให้แย่ลงไป เช่น ในปี 2550 มีการแก้ พรบ.ปิโตเลียม ไม่จำกัดการถือครองจำนวนแปลงสัมปทาน ทำให้เกิดการผูกขาดสัมปทานของ 2 บริษัท ที่กินสัมปทานของประเทศไทยจำนวนมาก แต่ถึงอย่างไร กฏหมายปิโตเลียมของประเทศไทย ก็มีความล้าหลังกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก โดยในขณะที่เราใช้ระบบสัมปทาน ประเทศต่างๆ ได้เปลี่ยนเป็นระบบแบ่งบันผลผลิต PSC Production Sharing Contract กันไปหมด เช่น ประเทศอินโดนีเซีย เปลี่ยนเป็น PSC ในปี 2503 หรือ หลังจากได้รับเอกราช 11 ปี ประเทศเปรู เริ่มใช้ PSC ในปี 2514 ในปีเดียวกับที่ ไทยเริ่ม พรบ. ปิโตเลียม ประเทศลิเบีย ที่เป็นต้นแบบของเรา เลิกระบบสัมปทาน ในปี 2517 หรือ 3 ปี หลังจากที่ไทยไปลอกเขามา ประเทศ อียิปต์ ซีเรีย เริ่มใช้ระบบ PSC ในปี 2517 ส่วนประเทศเพื่อนบ้านเรา ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตกันหมดแล้ว ทั้ง พม่า เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา ประเทศในภูมิภาคอื่นๆ ที่เปลี่ยนมาใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต อินเดีย จีน อียิปต์ ไนจีเรีย ซีเรีย บังคลาเทศ ทรินิแดด และโทบาโก เป็นต้น ส่วนประเทศไทย จะเห็นได้ว่า ประเทศไทย ใช้ระบบสัมปทานมามากกว่า 30 ปี ประเทศได้แค่ค่าภาคหลวง จากการขุดเจาะปิโตเลียม ในสัญญา Thailand 1 เป็นเงินที่ได้จากการขายปิโตเลียมแล้ว 12.5 % ( หักภาษีได้ ) และ Thailand 3 เป็นแบบขั้นบันได 5-15 % จากข้อมูลจริง
และประชาชน ผู้ได้รับผลกระทบจากการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ ในพื้นที่ จึงไม่ได้อะไร มากกว่าคนไทยทั้งมวล แต่ผล ประโยชน์ส่วนใหญ่ ตกอยู่กับบริษัทสำรวจและขุดเจาะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นต่างชาติแทบทั้งหมด ซ้ำการแก้กฏหมายปิโตเลียม ในหลายครั้ง ก็ไม่มีการแก้ไขให้ดีขึ้น ประเทศที่มีสมบัติในพื้นดินมากขนาดนี้ ความเป็นอยู่ของประชาชนดีกว่าประเทศไทยทั้งนั้น หากประชาชนเรียกร้องให้มีการแก้กฏหมายให้ทันสมัยเทียบเท่าเพื่อนบ้าน ซึ่งบริษัทผู้รับสัมปทานรับได้อยู่แล้ว เพราะคุ้นเคยกับระบบนี้ดีอยู่แล้ว ในการขุดเจาะปิโตเลียมในประเทศอื่น ( ในเอนทรีต่อไป จะเปรียบเทียบระบบที่ประเทศไทยใช้อยู่ กับประเทศอื่นๆ ที่ใช้ระบบ PSC ) ลองมาคิดตัวเลขกันดูเล่นๆ หากมีการแบ่งระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตปิโตเลียมที่ขุดขึ้นมาเป็น 70:30 ( ในบางประเทศ มีเก็บสัดส่วนแตกต่างกัน บ้าง 60:40 จนถึง 90:10 ก็ยังมี ) ส่วนในที่ที่ไม่มีความเสี่ยง (แบบหัว Christmas Tree เปิดไหลจากก๊อก ดูภาพจากตอนที่ 1 น่าจะเป็นระบบจ้างผลิต ) ปิโตเลียมที่ขุดได้ในแต่ล่ะวัน จากข้อมูลสำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ( สนพ. ) 260,854 Barrels/Day x ราคาขายในตลาดโลก 100 Us / Barrels (ราคาน้ำมันไทย ในตลาดโลก สูงกว่าแถบอาหรับ ) x แปลงเป็นเงินไทย 30 บาท x แปลงเป็นปี 365 วัน x 70 % = 196,444,591,000 บาท หรือ เกือบ 2 แสนล้านบาท ( ยังไม่ได้คิดก๊าซธรรมชาติมารวม ซึ่งเรามีมาก ) จะเห็นได้ว่าเงินเพิ่มขึ้นต่อปีทันทีที่เปลี่ยนระบบสัมปทาน เป็นระบบแบ่งปันผลผลิต สูงถึง 2 แสนล้านบาท สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศมากมาย ( ยังไม่รวมภาษีอย่างอื่นอีก ) เช่น ให้เรียนฟรี จนอายุ 40 ปี กี่ปริญญาก็ได้ แบบที่ประเทศอิรักทำ นำมาอุดหนุนราคาน้ำมันในประเทศ แบบที่มาเลเซียทำ นำมาพัฒนาสาธารณสุข สร้างโรงพยาบาลเพิ่ม ให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ไม่ต้องรอคิวนาน นำมาพัฒนาสาธารณูปโภค อาจจะส่งเสริมพลังงานทางเลือก โดยติดโซล่าเซลให้หลังคาบ้านเรือนทุกบ้าน ลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าในครัวเรือนให้เหลือศูนย์ นำมาสร้างถนน รถไฟรางคู่ นำมาสร้างบ่อกักเก็บน้ำทุกตำบล ให้มีความมั่นคงด้านน้ำ หรืออาจจะนำมาช่วยเหลือคนยากจนในประเทศ ได้อีกมากมาย แล้วที่ผ่านมา 30 กว่าปีล่ะ จะโทษว่าเป็นความไม่รู้ หรือความโง่ของผู้บริหารประเทศ หรือเป็นความฉ้อฉลเฉพาะตัว ของคนให้สัมปทาน ที่ยังคงสัมปทานแบบนี้ กันแน่
--------------------------------------------------------------------------------- อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้องก่อนหน้า ประเทศไทย มีแหล่งปิโตเลียมจำนวนมาก จริงหรือไม่ ( ตอนที่ 1 ) ระบบสัมปทานปิโตเลียม เป็นระบบที่เหมาะสมที่สุดแล้ว สำหรับประเทศไทยจริงหรือ (ตอน3) |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
80'y Long Live the King | ||
![]() |
||
ความทรงจำฉลอง 60 ปีครองราชย์ |
||
View All ![]() |
<< | มีนาคม 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |