เขียนมาถึงตอนที่ 4 แล้วน่ะค่ะ สำหรับเรื่องพลังงาน อ่านต่อได้เลยค่ะ สำหรับท่านที่ยังไม่เคยอ่าน มีลิ้งค์ตอนเก่าๆ อยู่ท้ายเอนทรี หรือดูจากด้านข้างขวาก็ได้ค่ะ ภาพจากรายงานของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน จากกราฟ จาะเห็นว่า ประชาชนใช้จ่ายด้านพลังงาน เป็นส่วนของปิโตเลียมมากที่สุด ถึง 70 % การควบคุมกิจกรรมพลังงานในประเทศไทย ถือว่าเป็นบทบาทที่สำคัญของภาครัฐอย่างหนึ่ง เพราะต้องหาพลังงานให้เพียงพอกับการใช้ในประเทศ เพราะพลังงานถือเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของประชาชน เป็นต้นทุนของการผลิตสินค้าทุกชนิด เป็นการเดินทางติดต่อสัมพันธ์กัน เป็นต้นทุนการผลิตไฟฟ้า เป็นต้นทุนในการขนส่งสินค้า ฯลฯ แม้จะมีการขุดเจาะปิโตเลียมในประเทศไทย มาแล้วกว่า 30 ปี แต่คนไทยจำนวนมากกลับไม่เคยทราบเลยว่ามีปิโตเลียมในประเทศไทยมากแค่ไหน รู้แต่ว่าประเทศไทยยังต้องนำเข้าน้ำมันอยู่ เรื่องของน้ำมัน ที่ดิฉันได้พอทราบในครั้งแรก เมื่อ พตท. ทักษิณ มีการแปรรูป ปตท. และเรื่อง พท. ทับซ้อนไทยกัมพูชา ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการทับซ้อนของผลประโยชน์ใครเข้าด้วยรึเปล่า ( เรื่องการทับซ้อนในทะเล ดูเหมือนจะมีเรื่องปิโตเลียมในทะเลเป็นสิ่งสำคัญ ) การเริ่มต้นของการส่งออกน้ำมันครั้งแรกของประเทศไทยในปี 2543 และในปี 2544 ก็มีการแปรรูป ปตท. เกิดขึ้น การขายหุ้น ปตท. โดยการตีราคาทรัพย์สิน ต่ำกว่าความเป็นจริง และหุ้นไม่ถึงมือชาวบ้านเพราะขายหมดในเวลาอันรวดเร็ว และทำให้มูลค่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มสูงขึ้นทันทีในเวลาอันรวดเร็ว หลังจากการแปรรูป ปตท. ราคาน้ำมันในประเทศไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากการเพิ่มขึ้นของราคาในตลาดโลก แต่ถ้ามองในรายละเอียด ก็จะพบว่าเมืองไทยก็ยังขายน้ำมันในราคาที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน แล้วเราจะมามองให้ละเอียดอีกเอนทรีในเรื่องกลไกราคาน้ำมันของไทยโดยเฉพาะค่ะ ภาพจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ขอเริ่มจากในส่วนของก๊าซธรรมชาติ ที่มักจะมีอยู่ในบ่อปิโตรเลียมรวมกับน้ำมันด้วย ประเทศไทยมีแหล่งการผลิตก๊าซ จำนวนมากน่ะค่ะ ปัจจุบันเราผลิตก๊าซธรรมชาติได้ในระดับ 24 ของโลก ( การจัดอันดับของ eia ) การจะนำขึ้นมาใช้ต้องผ่านระบบท่อ ซึ่งเป็นมหากาพย์อีกเรื่องหนึ่ง เนื่องจากการแปรรูป ปตท. ได้ควบรวมเอาท่อส่งก๊าซ ซึ่งมีทั้งบนบกและในทะเล แปรรูปไปด้วย แต่ถ้าจะมาที่โรงแยกก๊าซ ต้องผ่านท่อซึ่งเดิมเป็นของการปิโตเลียมแห่งประเทศไทย ที่แปรรูปเป็น ปตท. การจะส่งก๊าซขึ้นบกจึงเป็นการผูกขาดต้องขายแก๊สให้ ปตท. เพียงเจ้าเดียวโดยปริยาย มีการฟ้องเรียกคืน ท่อก๊าซ ทั้งบนบกและในทะเลคืนจาก ปตท. และภาคประชาชนชนะคดีด้วย แต่ในที่สุด ปตท. ยอมคืนให้แต่บนบกบางส่วน ส่วนในทะเลยังไม่ยอมคืน ภาคประชาชนจึงไปฟ้องให้ศาลบังคับคดี แต่ ศาลบอกว่าผู้ฟ้องไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง ต้องให้ภาครัฐ โดยกระทรวงการคลังผู้เป็นผู้เสียหายโดยตรงต้องเป็นผู้ฟ้องบังคับคดี ในเมื่อภาครัฐเจ้าของทรัพย์ไม่ยอมเรียกคืนท่อ ท่อจึงยังตกอยู่กับ ปตท.จนปัจจุบัน และแถมมีการนำท่อก๊าซไปตีราคาใหม่ เป็นอายุ 50 ปี จากเดิม 25 ปี ทำให้มูลค่าการใช้ก๊าซผ่านท่อทั้งระบบ เพิ่มขึ้นจาก 20,000 ล้านบาท เป็น 22,000 ล้านบาท ซึ่งมีผลสะท้อนในค่าไฟฟ้าที่ประชาชนทุกเรือนจ่ายให้แก่ กฝผ. ( จากคำพูด ของ สว.รสนา โตสิตระกูล ) จะพามาดูกระบวนการผลิตก๊าซธรรมชาติ ได้ผลิตภัณฑ์หลายตัวค่ะ มาทำความเข้าใจกันก่อน
ขอขอบคุณภาพจาก ปตท. ก๊าซธรรมชาติ เอามาแยกแล้วจะได้ C1 มากที่สุด ประมาณ 70 % คือ NGV นั่นเอง ทำให้ ปตท. อยากให้คนไทยใช้ NGV เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์มากกว่า LPG ( ซึ่งเหตุผลเรื่องการลุกติดไฟง่าย คือ เหตุผลที่ยกขึ้นมาอ้าง ) แต่เนื่องจาก ปตท. มี NGV เหลือมากมาย C2 อีเทน ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น สามารถนำไปใช้ผลิตเม็ดพลาสติก เส้นใยพลาสติกชนิดต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้แปรรูปต่อไป ซึ่งทำให้เกิดมูลค่าสูงขึ้นมาก ซึ่งบริษัทปิโตรเคมี เป็นบรฺิษัทลูกของ ปตท. และทำปิโตรเคมีสำหรับส่งออกขยายตัวเพิ่มทุกปี ทำให้มาแย่งใช้กับภาคอื่นๆ ก๊าซโพรเพน C3 ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้นได้เช่น ใช้ผลิตโพรพิลีน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อใช้ในการผลิตเม็ดพลาสติกโพลีโพรพิลีน (PP) เช่น ยางในห้องเครื่องยนต์ หม้อแบตเตอรี่ กาว สารเพิ่มคุณภาพน้ำมันเครื่องรวมทั้งใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมได้อีกด้วย การใช้ก๊าซบิวเทน C4 โดยตรงคือ ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับจุดบุหรี่ เตาย่าง เตาผิง และอื่นๆ ทั้งนี้ัยังแยกได้ แก๊สโซลีนธรรมชาติ NLG ไปใช้ปิโตรเคมี
ขอขอบคุณภาพจาก ปตท. ปัจจุบันมีกำลังการผลิตทั้งหมดของโรงแยกแก๊ส 1- 6 และของที่จะนะ สงขลาอีก 2 โรง ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้ในภาคครัวเรือน (ก๊าซหุงต้ม ) แต่เนื่องจากมีมติสมัย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ให้ปิโตรเคมีสามารถใช้ LPG ก่อนได้เท่ากับภาคครัวเรือน ส่วนภาคขนส่ง และอุตสาหกรรม ใช้เป็นลำดับต่อไป ทำให้การเติบโตของภาคปิโตรเคมี มีการใช้สูงขึ้นอย่างมาก จนทำให้ปริมาณที่มีอยู่ไมพอใช้ในภาคอื่นๆ จึงต้องมีการนำเข้า การนำเข้า LPG ในรูปแบบของ โพรเพน และบิวเทน มาจากต่างประเทศ ( ตรงนี้ข้อตั้งข้อสังเกตุนิดหนึ่ง การนำเข้าโพรเพน และบิวเทน ( ราว 400,000 กก./ปี ) มีการเสียภาษีอัตราภาษีที่แตกต่างจากการนำเข้า LPG ซึ่งอาจจะรวมถึงต้นทุนราคาด้วย แต่กองทุนน้ำมัน มีการชดเชยราคา LPG ให้แก่ ปตท. ในอัตราเท่ากับการนำเข้า LPG ราคาตลาดโลก ในปีที่แล้ว ปตท.ได้เงินชดเชยจากกองทุนน้ำมัน 8,900 ล้านบาท/ ปี ) อ้างอิง การประชุม อนุกรรมการพลังงาน วุฒิสภา เรื่องก๊าซ LPG part2/2 https://www.youtube.com/watch?v=j9G6HLVoY7U#t=499 ก่อนหน้าที่จะมีการแปรรูป ปตท. คือหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ในการควบคุมราคาน้ำมันไม่ให้สูงเกินไป โดยใช้ระบบกองทุนน้ำมันเข้ามาควบคุม โดยเงินกองทุนน้ำมันจะอยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง และปั๊ม ปตท. จะเป็นปั๊มหลังๆ ที่ขึ้นราคาน้ำมัน กองทุนน้ำมันจะเก็บเงินเข้ากองทุนเมื่อราคาตลาดโลกต่ำ และนำมาชดเชยเมื่อราคาน้ำมันโลกสูงขึ้น ทำให้ระดับราคาน้ำมันไม่ขึ้นลงมากนัก ( ไม่เกิน 25 บาท ) ซึ่งช่วงนั้นก็ราคาใกล้เคียงกับมาเลเซีย หลังการแปรรูป ปตท. ปั๊มต่างๆ เริ่มปิดตัวลง ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กองทุนน้ำมันมีการบิดเบือนการทำงาน โดยสามารถให้เอาเงินกองทุนน้ำมันไปใช้ได้ในทางอื่น เช่น นำไปใช้ชดเชยการนำเข้า LPG โดยจ่ายส่วนต่างให้แก่ ปตท. ผู้ผูกขาดการนำเข้า LPG และ เอาเงินกองทุนน้ำมันมาชดเชยน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ซึ่งอ้างว่าเพื่อส่งเสริมเกษตรกรในการปลูกพืชพลังงานทดแทนการนำเข้า แต่ปัจจุบันโรงงานผลิตแอธานอลในประเทศไม่เพียงพอ ปตท.เป็นผู้ผูกขาดในการจัดการแอธานอล จึงเป็นการนำเอาเงินกองทุนน้ำมันซึ่งจ่ายโดยผู้ใช้น้ำมันจากทั่วประเทศ มาใช้อย่างไม่ผ่านการรับรู้ของสาธารณชน และทำให้ประชาชนเป็นผู้รับภาระทั้งหมด ในการจ่ายค่าน้ำมันที่สูงขึ้นมากกว่าที่ควรจะเป็น
ปตท.กลายเป็นบริษัทที่มีผลประกอบการดีในระดับโลก กำไรสูงติดลำดับโลกในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งเราควรจะยินดีน่ะค่ะ ถ้ากำไรที่ว่านั้น ไม่มีที่มาจากการผูกขาดราคาและผลประโยชน์จากคนไทยทั้งมวล ในขณะที่ประเทศไทย ไม่มีผู้ทำหน้าที่ควบคุมราคาพลังงาน ปตท. เป็นเอกชนย่อมต้องการทำกำไรสูงสุด เช่นเดียวกับบริษัทเอกชนทั่วไป รวมถึงได้ผูกขาดกิจการพลังงานของประเทศ ในฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ การควบคุมดูแล ปตท. ในฐานะรัฐวิสาหกิจ โดยการให้ ผู้กำกับดูแลเข้าไปนั่ง บอร์ด ปตท. ที่มีผลประโยชน์ตอบแทนสูง ทำให้การกำกับดูแล อาจกลายเป็นการฮั้ว เพื่อผลประโยชน์ตอบแทนที่สูงขึ้นนั่นเอง ทำให้การควบคุมดูแล ตรวจสอบ ถูกหักแขนขาไป ปตท. เกิดบริษัทลูกมากมาย ในประเทศไทยมีตัวเลขข้อมูล 200 - 300 บริษัท ในขณะที่ ต่างประเทศ รายงานว่ามีกว่า 2,000 บริษัท ในขณะที่ ปตท.ทำธุรกิจครบวงจร ทั้งการสำรวจและผลิต การกลั่น และการขายปลีก เช่นเดียวกับปิโตรนาส ของมาเลเซีย โดยมีขนาดธุกิจใกล้เคียงกัน แต่กำไรแตกต่างกันมาก ถึง 4-5 เท่า เป็นเพียงคำถามคำโตที่คนไทยสงสัย และคน ปตท. จะตอบอย่างไร ภาพจากหน้าเฟส สว.รสนา โตสิตระกูล เป็นไปได้หรือไม่ เกิดจากการไปลงทุนในต่างประเทศ กว่า 20 ประเทศ ที่คนไทยไม่รู้เลยว่า ปตท. ไปลงทุนอะไรบ้าง ทำไม จึงมีการไปผูกพันกับบริษัทที่จดทะเบียนที่เกาะที่มีชื่อเสียงในการฟอกเงินด้วย ซึ่ง ปตท. ชอบอ้างว่า การขายน้ำมันของ ปตท. ไม่ใช่กำไรมากมายของ ปตท.เลย ซึ่งก็ถูก เพราะกำไรส่วนใหญ่จะไปตกที่บริษัทลูก ของ ปตท. เช่น ปตท.สผ. 1 แสนกว่าล้านต่อปี บริษัทปิโตรเคมี ที่เอาเปรียบในการใช้ LPG กับภาคอื่นๆ โดยส่งเข้ากองทุนน้ำมันเพียง 1 บาท ปตท. ควบรวมกิจการ เติบโต ควบคุมตลาด ขยายไลน์ธุรกิจ แข่งกับ เอกชนรายอื่นๆ ซึ่งถ้ายังไม่แปรรูป ปตท. คงไม่ทำเกินหน้าที่ขนาดนี้ เช่น การที่ ปตท. ไปลงทุนสร้างเขื่อนไซยะบุรี ในประเทศลาว ปตท. ไปซื้อสัมปทานใน โมซัมบิก ( ได้ข่าวว่านายหน้าได้ฟันกำไรไป 25,000 ล้านบาททันที ) การซื้อที่ดินในติมอร์ ( จากการเปิดเผยของ อ. ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ )
ขอบคุณภาพจากกองทัพนิรนาม
อะไร คือสิ่งที่ควรจะเป็น ในอนาคต หากจะต้องมีการปฏิรูปพลังงานกี่ยวกับ ปตท. ปตท. ต้องแยกส่วนระห่างกิจการที่ผูกขาด และ กิจการที่แข่งขันได้ โดย ปทต.ควรไปอยู่ข้างที่เป็นเอกชนให้เต็มตัว ส่วนกิจการที่ผูกขาด และเกี่ยวพันกับความเป็นอยู่ของประชาชนโดยรวม ต้องสร้าง บริษัทใหม่ด้านพลังงานที่รัฐถือหุ้น 100 % มาดำเนินการแทน เช่นเดียวกับ ปิโตรนาส ของมาเลเซีย เราไม่จำเป็นต้องยึดคืน ปตท. โดยการเอาเงินของรัฐไปซื้อหุ้นคืนมา แต่ยึดคืนโดยการเอาส่วนที่ผูกขาดผลประโยชน์ของชาติ คืนมา เช่น ดูแลท่อก๊าซที่เอาคืนมาจาก ปตท. การสำรวจขุดเจาะ ควบคุมปริมาณการขุดเจาะในบริษัทเอกชน โดยเข้าไปถือหุ้นบริษัทเอกชนที่ทำสัญญากับรัฐ ดูแลราคาน้ำมันโดยใช้กลไกตลาด และค่าการตลาด รวมถึงลดภาษีซ้ำซ้อน ยกเลิกกองทุนน้ำมัน แต่ใช้เงินเพิ่มจากการแบ่งปันผลประโยชน์ในการขุดเจาะ มาชดเชยราคาน้ำมันแทนในบางส่วนที่จำเป็นต่อภาคเศรษฐกิจของไทย ซึ่งแน่นอนว่าต้องเลิกชดเชยราคา LPG ของ ปตท. ให้ ปตท. ได้ต้นทุนเช่นเดียวกับภาคส่วนอื่นๆ โดยควบคุมราคาปากหลุมที่สะท้อนต้นทุนจริงในการผลิตของไทย
ควบคุมราคาค่าการกลั่น การแยกก๊าซ การนำเข้าและการส่งออกน้ำมัน และก๊าซ ลดการทุจริตในนโยบาย และการลงทุน รวมทั้งผลประกอบการของ ปตท. ให้โปร่งใส ซึ่งยังไงรัฐก็ยังถือหุ้นส่วนใหญ่ใน ปตท. ซึ่งอาจจะต้องปรับโครงสร้างในการควบคุมดูแลกิจการของรัฐ ไม่ให้เป็นการหาประโยชน์ของข้าราชการ และนักการเมืองดังที่ผ่านๆ มา
_________________________________________________________ อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง ประเทศไทย มีแหล่งปิโตเลียมจำนวนมาก จริงหรือไม่ ( ตอนที่ 1 ) คนไทยได้ประโยชน์อะไรบ้าง จากการที่เรามีบ่อน้ำมันในประเทศ ( ตอนที่ 2 ) ระบบสัมปทานปิโตเลียม เป็นระบบที่เหมาะสมที่สุดแล้ว สำหรับประเทศไทยจริงหรือ (ตอน3)
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
80'y Long Live the King | ||
![]() |
||
ความทรงจำฉลอง 60 ปีครองราชย์ |
||
View All ![]() |
<< | มีนาคม 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |