ดูจากภาพ จำนวนหลุมทางด้านขวามือ แม้ยังไม่ได้ให้สัมปทานรอบที่ 21 ที่กินพท. ครอบคลุมภาคอีสานเกือบทั้งภาค อีสานบ้านเราก็มีการเจาะปิโตรเลียมไปทั่วแล้วค่ะ ในบทความนี้ จะขอกล่าวถึงการสำรวจปิโตรเลียมในอีสานใต้ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และ มหาสารคาม น่ะคะ แปลง L31/50 พื้นที่ 3,960 ตร.กม. ในสัญญสัมปทานจะให้ระยะเวลาในการสำรวจได้ 6 ปี เมื่อส่งรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมผ่านการพิจารณาแล้ว จึงจะเริ่มทำการผลิตได้ ที่ผ่านมา บริษัท ซ่านซี เหยียนฉาง ปิโตรเลียม (กรุ๊ป) ได้ทำการผลิตแล้ว 3 หลุม คือ YPT-1 , YPT-2 และ YPT-3 เหลือ พท.ให้ทำการสำรวจอีก 920 ตร.กม. ในจังหวัดบุรีรัมย์
วิธีการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน (Seismic Exploration) การสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน เป็นการสำรวจเพื่อตรวจสอบลักษณะ และโครงสร้างทางธรณีวิทยาใต้ผิวดิน โดยการทำให้เกิดสัญญาณคลื่น แล้ววัดระยะเวลาที่คลื่นเดินทางจากจุดกำเนิด ถึงตัวรับคลื่น (Geophone หรือ Hydrophone) ความเร็วคลื่น จะแปรผันตรง กับความหนาแน่นของชั้นหิน และชนิดของหินนั้น ชั้นหินที่มีความหนาแน่นตํ่า มีความพรุน และมีของเหลวแทรกอยู่ คลื่นเสียงจะเดินทางผ่านได้ช้ากว่า (ใช้เวลามากกว่า) การเดินทางในชั้นหินที่มีเนื้อแน่นนอกจากนี้รอยเลื่อน และการโค้งงอของชั้นหิน ทำให้เกิดการหักเหของคลื่น แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างธรณีวิทยาของชั้นหินอีกด้วย การเจาะ ( Drilling ) เจาะหลุมกำเนิดคลื่นตามแนวสำรวจที่รังวัดไว้ โดยใช้แรงคนเจาะ หรือเครื่องเจาะขนาดเล็กหลุมเจาะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 นิ้ว ความลึกประมาณ 3-4.5 เมตร โดยเจาะจำนวน 3 หลุมต่อจุดกำเนิดคลื่น ขึ้นกับความยากง่ายในการเจาะ การบันทึกสัญญาณคลื่น ( Recording ) สถานีรับคลื่นแต่ละสถานี จะมีตัวรับคลื่น (Geophone) พ่วงกันประมาณ 12-24 ตัว (Geophone Array) วางตามแนวสำรวจ แต่ละตัวห่างกันประมาณ 1-5 เมตร คลื่นสัญญาณ จะถูกส่งไปตามสายเคเบิล และถูกบันทึกบนเทปแม่เหล็ก โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ครั้งละ 48-120 สถานี ในช่วงเวลาประมาณ 5 วินาที การบันทึกสัญญาณคลื่นนี้ จะต้องไม่มีคลื่นเสียง หรือคลื่นสั่นสะเทือนชนิดอื่น เช่น จากคนเดิน จากลมพัด หรือจากรถบรรทุกเป็นต้น เป็นตัวรบกวนทำให้สัญญาณที่ บันทึกมีคุณภาพไม่ดี เนื่องจากตัวรับคลื่นนี้มีความไวต่อความสะเทือนมาก ตัวรับคลื่น ทำหน้าที่รับสัญญาณคลื่นที่วิ่งจากจุดกำเนิดคลื่นผ่านลงไปยังชั้นหินที่ระดับความลึก แล้วสะท้อนกลับขึ้นมายังตัวรับคลื่นสัญญาณผ่านไปตามสายเคเบิล สู่รถบันทึกที่มีเครื่องมืออิเล็กโทรนิกส์รับสัญญาณ และบันทึกลงเทปแม่เหล็ก ซึ่งจะต้องทำการแปรข้อมูล (Data Processing) คือ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบให้อยู่ใน รูปภาพตัดขวางไหวสะเทือน (Seismic Section) และนักธรณีฟิสิกส์จะทำการแปลข้อมูล (Data interpretation) หาลักษณะโครงสร้างธรณีวิทยา การวางตัวของชั้นหิน และกำหนดตำแหน่งหลุมเจาะต่อไป ปัญหาของการสำรวจ เนื่องจากกฏหมายปิโตรเลียม ให้สิทธิค่อนข้างสูงสำหรับผู้ได้รับสัมปทาน จึงเกิดการละเมิดสิทธิชุมชน เมื่อมีการสำรวจในพื้นที่ของชาวบ้าน ที่เป็นไร่นา เรือกสวน เมื่อบริษัทเข้ามาตีกริด ปักธง มีเพียงใบแจ้งใส่กระดาษไว้ ว่าจะเข้ามาสำรวจปิโตรเลียม หากได้รับผลกระทบให้ไปแจ้งทางราชการ ผลที่เกิดขึ้นคือ ชาวบ้านไม่ทราบว่าจะมีการขุดหลุม ฝังระเบิดคลื่นไหวสะเทือนในที่นาตัวเอง และหลังจากฝังระเบิดไปแล้ว พบว่า มีผลกระทบ น้ำในนาหายไป บางที่ที่เป็นสวนยาง เกิดหลุมยุบ มองเห็นชัดเจน ส่วนที่อยู่ใกล้ชุมชน พบว่ามีการทรุด และร้าวของบ้าน กว่า 100 หลัง มากบ้างน้อยบ้าง บริษัทเข้าพูดคุยทำการชดเชยให้เพียง 1000 บ้าง 8000 ในรายที่ร้าวทั้งหลัง บริษัทให้ 10,000 บาท เจ้าของบ้านจึงไม่ยอมรับ
ฟังการวิเคราะห์ของนักวิชาการ ในรายการที่นี่ไทยพีบีเอส ( 4 ส.ค.57 )
ปริมาณการใช้นํ้าหนักของระเบิดที่กำหนดทั่วไปโดยประมาณ 1 กิโลกรัมต่อหลุม แต่การใช้จริงในกรณีของจังหวัดบุรีรัมย์ หลุมละ 3 กิโลกรัม จำนวนหลุมระเบิดต่อหลุมสัญญาณ ที่ต้องมีถึง 3 หลุมต่อจุด การระเบิดซํ้าแล้วซํ้าเล่าต่อเนื่องกันไปโดยกระจายตามพื้นที่ กว่า 100 ตารางกิโลเมตร รวมเป็นหลุมระเบิดจำนวน 6,900 หลุม คิดเป็นนํ้าหนักระเบิดกว่า 20 ตัน ที่ผ่านมา การสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม บนบก โดยเฉพาะทางภาคอีสาน ได้มีการต่อต้านจากชาวบ้านมากมาย จนทำให้การทำ eia อาจจะไม่ได้ทำการสอบถามความคิดเห็นอย่างทั่วถึง บางท้องถิ่น มีการแจกสิ่งของ เพื่อแลกกับลายเซ็นต์ ซึ่งชาวบ้านอาจจะไม่รู้ตัวว่า ลายเซ็นที่ตนเซ้นไปนั้น เป็นการอนุญาติให้บริษัทมาตั้งแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมได้
รวมทั้งเวทีที่ กอ.รมน. เป็นผู้จัด ก็ได้รับการต่อต้านจากชาวบ้าน วันที่ 22 พ.ค. 2558 เวลา 9.00 น. กลุ่มเครือข่ายอนุรักษ์หนองตาด-บุรีรัมย์ จะยื่นหนังสือต่อ เอกอัครราชฑูตจีน ประจำประเทศไทย เพื่อร้องขอความเป็นธรรมต่อรัฐบาลจีน ในการหยุดยั้งบริษัทสัญชาติจีนที่เข้ามากระทำต่อราษฎรไทย จึงขอเชิญผู้สนใจ ร่วมให้กำลังใจกับชาวบ้านที่มาจากบุรีรัมย์ หน้าสถานฑูตจีน ถ. รัชดาภิเษก ในวันเวลาดังกล่าวข้างต้น |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
80'y Long Live the King | ||
![]() |
||
ความทรงจำฉลอง 60 ปีครองราชย์ |
||
View All ![]() |
<< | พฤษภาคม 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |