การมีน้ำใจ กับ การเคารพในสิทธิส่วนบุคคล อาจนับได้ว่าเป็นข้อแตกต่างที่ค่อนข้างเด่นชัดระหว่างผู้คนในแต่ละภูมิภาคของโลก (โดยเฉพาะชาวตะวันตกและตะวันออก) ผมจะขอเล่าให้ฟังถึงตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศเยอรมนี ซึ่งอาจช่วยอธิบายข้อความข้างต้นให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น มันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับคู่ชีวิตของผมเองเมื่อตอนที่พวกเรามาถึงกรุงเบอร์ลินใหม่ ๆ เหตุการณ์แรก เกิดขึ้นเมื่อประมาณต้นเดือนตุลาคม ๒๕๕๑ ระหว่างที่ครอบครัวของเรากำลังพักอยู่ที่โรงแรมในเมือง Steglitz, Berlin เป็นเวลา ๑๕ วันเต็ม ก่อนเข้าบ้านพัก ภริยาผมได้ขนเสื้อผ้าจำเป็นซึ่งใส่แล้วของเราทั้ง ๔ ชีวิต ใส่กระเป๋าลากไปซักที่ร้านซักผ้าอัตโนมัติใกล้ ๆ โรงแรม ในตอนเย็นวันหนึ่ง วิธีการใช้เครื่องซักผ้าอัตโนมัติในร้านดังกล่าวไม่เป็นที่คุ้นเคยสำหรับภริยาผม มันแตกต่างจากเครื่องที่เราเคยใช้เป็นประจำที่บ้านในเมืองไทย รวมทั้งแตกต่างจากเครื่องที่เธอเคยใช้สมัยเรียนอยู่อเมริกาเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว และที่สำคัญมันเป็นภาษาเยอรมันที่เธอยังไม่สามารถทำความเข้าใจได้ดีนักในตอนนั้น เธอลองกดปุ่มโน่น ปุ่มนี่อยู่พักใหญ่ ก็ยังไม่สามารถซักผ้าได้ ในขณะที่เธอกำลังพยายามหาหนทางเพื่อให้เครื่องซักผ้าทำงานอยู่นั้น ก็มีผู้คนในละแวกนั้น (ส่วนใหญ่เป็นชาวเยอรมัน) ทะยอยกันเข้ามาใช้บริการในร้านตามปกติ ทุกคนทำราวกับว่าไม่รู้ไม่เห็นและไม่สนใจว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับบุคคลแปลกหน้าที่เป็นหญิงชาวต่างชาติคนนี้ จนกระทั่งเธอคิดว่าไม่ได้การแล้ว หากมัวเสียเวลาลองผิดลองลองถูกอยู่เช่นนี้ อีก ๓ ชีวิต ที่รอคอยที่จะกินอาหารเย็นร่วมกันอยู่คงจะต้องแขวนท้องรอเป็นแน่ เธอจึงได้ตัดสินใจเอ่ยปากถามหญิงชราชาวเยอรมันผู้หนึ่งที่มาซักผ้าในร้านเดียวกันนี้ คำอธิบายวิธีการใช้งานเครื่องซัก/อบผ้าอัตโนมัติก็พรั่งพรูออกจากปากหญิงใจดีผู้นั้นด้วยความเต็มใจ แม้คุณยายจะพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ในขณะที่ภริยาผมก็ยังพูดภาษาเยอรมันไม่ได้ แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรค เพราะคุณยายได้อธิบายให้เข้าใจด้วยการแสดงตัวอย่างการใช้งานจริงที่ตัวเครื่อง ทำให้การซักผ้าในร้านดังกล่าวของภริยาผมในวันนั้นและวันต่อ ๆ มา เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและราบรื่น เหตุการณ์ที่สอง เกิดขึ้นประมาณเดือน ธ.ค. ๕๑ ภายหลังที่ภริยาผมได้เดินไปส่งลูกสาวคนเล็กเข้าโรงเรียนอนุบาลใกล้ ๆ บ้านเป็นที่เรียบร้อยในตอนเช้า เธอมีความต้องการจะเดินทางไปซื้อใช้บางอย่างให้ลูกตามลำพังด้วยรถโดยสารประจำทาง โดยไม่อยากรอคนขับรถประจำตัว (ผมเอง) หลังเลิกงานในตอนเย็นเหมือนที่ผ่านมา
การซื้อตั๋วรถประจำทาง (สามารถใช้ร่วมกับรถไฟฟ้า S-Bahn, U-Bahn และ Tram) ของบริษัท BVG ในเบอร์ลินจะมีอยู่ ๒ แบบ ขึ้นอยู่กับรุ่นของรถประจำทาง บางคันก็สามารถจ่ายค่าโดยสารให้กับคนขับด้านหน้า บางคันก็ต้องเดินเข้าไปหยอดเหรียญจากตู้จ่ายตั๋วอัตโนมัติตอนกลางของรถ
บังเอิญที่การขึ้นรถประจำทางครั้งแรกในเบอร์ลินของภริยาผม จะต้องเดินผ่านคนขับเพื่อไปหยอดเหรียญเอง ทำให้เธอประสบปัญหาขลุกขลักในเรื่องการเลือกแบบของตั๋ว (มีหลายประเภท) อีกเช่นกัน เหตุการณ์บนรถประจำทางก็คล้าย ๆ กับเหตุการณ์ในร้านซักผ้า กล่าวคือ คนที่นั่งอยู่ก่อนบนรถ ไม่ได้มีใครสนใจหรือเสนอให้ความช่วยเหลือภริยาผมระหว่างที่เธอกำลังพยายามซื้อตั๋วโดยสารในขณะนั้น เมื่อดูแววว่าจะไม่ประสบความสำเร็จในการซื้อตั๋ว ในที่สุดภริยาผมได้ตัดสินใจสอบถามเด็กสาววัยรุ่นคนหนึ่งที่ขึ้นมาภายหลังถึงวิธีการซื้อตั๋ว โดยถามเป็นภาษาอังกฤษ หลังจากที่เธอได้เอ่ยปากออกไปแล้ว เด็กสาวชาวเยอรมันผู้นั้นก็ได้อธิบายและให้คำแนะนำในการซื้อตั๋วรถประจำทางสายนั้นเป็นอย่างดี เมื่อประมวลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ผมย้อนคิดกลับไปว่า หากมีคนต่างชาติต้องเผชิญกับอุปสรรคในเรื่องทำนองดังกล่าวในบ้านเรา น่าจะพอมีคนไทยผู้หวังดีคอยสอบถามและให้ความช่วยเหลือ (แม้ผู้คนจะแตกแยกออกเป็นสี ๆ ในปัจจุบันก็ตาม) โดยอาจไม่ต้องรอให้นักท่องเที่ยวต่างแดนผู้นั้นต้องร้องขอเลยก็ได้ แต่เหตุการณ์แบบนี้ ยากที่จะเกิดขึ้นในเยอรมนี ... มันจึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการค้นหาคำตอบในเรื่อง คนเยอรมัน ของผม อาจเป็นเพราะ ดังนั้น การที่จะเสนอตัวเข้าไปช่วยเหลือผู้อื่น (โดยที่ไม่ได้รับการร้องขอนั้น) อาจถูกมองว่า เป็นการไม่เคารพสิทธิส่วนบุคคล หรือเป็นการไม่ให้เกียรติผู้อื่นได้หรือไม่ หรือหากพูดกันแบบตรง ๆ ก็คือ กลัวเจอข้อกล่าวหาว่า ชอบยุ่ง (เสือก) เรื่องของคนอื่น โดยไม่จำเป็น ซึ่งมันไม่คุ้มกันเลยยิ่งกับผู้คนแปลกหน้าที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนด้วย ในเรื่องคล้าย ๆ กันนี้ หากมองในมุมที่ไม่เปิดกว้าง ก็อาจตีความไปว่าผู้คนที่นี่ ไม่มีน้ำใจ ได้เช่นกัน ซึ่งจริง ๆ แล้ว อาจไม่ใช่เลย มันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม การปลูกฝังแนวคิด และวิถีการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันมากกว่า ตัวอย่างเหตุการณ์ทั้งสองครั้ง แม้จะไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเพื่ออธิบายถึงคุณลักษณะของคนเยอรมันนับล้านคนในประเทศ แต่อย่างน้อยมันก็เป็นเรื่องที่สะดุดตา สะดุดใจ ต่อผู้ที่เคยชินกับสภาพแวดล้อมอีกแบบหนึ่งจากคนละฝั่งของโลกอย่างผมและภริยา อย่างไรก็ตาม ในช่วงก่อนวันคริสต์มาสที่ผ่านมา ครอบครัวเราก็ได้เจอคนเยอรมันในแบบฉบับที่เราค่อนข้างคุ้นเคย เป็นเหตุการณ์ในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งของเมือง Potsdam คุณแม่ชาวเยอรมันที่มีลูกในวัยใกล้เคียงกับเรา ได้เสนอตัวเข้ามาแนะนำในเรื่องการใช้แลก Token สำหรับการยืมรถเข็นเด็ก (แทนที่จะเป็นเหรียญยูโรเหมือนตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป) โดยที่เราไม่ทันได้เอ่ยปากขอความช่วยเหลือ หลายคนที่อยู่มาก่อนผมได้พูดว่า คนเยอรมันนั้น หากได้ทำความรู้จักและคบหาเป็นกันเพื่อนแล้ว เขามีน้ำใจและมีความจริงใจต่อเพื่อนไม่แพ้ชนชาติได้เลย ซึ่งผมก็สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเองว่าเป็นความจริง จะว่าไปแล้ว คุณลักษณะนิสัยในการพึ่งพาตนเอง ทำอะไรให้สำเร็จด้วยตนเองก่อนเป็นหลัก ผนวกเข้ากับการเคารพในสิทธิ เสรีภาพผู้อื่น ซึ่งก็คือการเคารพกฎเกณฑ์ของการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน หรือเคารพกฎหมาย/ระเบียบที่กำหนดไว้ นี้เอง มีส่วนทำให้เยอรมันกลายเป็นชนชาติที่กอปรด้วยผู้คนที่มีคุณภาพมาก ๆ ได้หรือไม่ ในอุดมคติ เราคงอยากเจอผู้คนที่เข้มแข็งด้วยตนเองตามแบบฉบับชาวตะวันตกและมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้คนรอบข้างไม่เลือกหน้าแบบฉบับชาวตะวันออกในคนคนเดียวกันมาก ๆ แต่มันคงเป็นไปได้ยาก เพราะการก้าวข้ามเส้นแบ่งเขตระหว่างการเคารพในสิทธิส่วนบุคคล (อื่น) เพื่อการแสดงความมีน้ำใจออกไปนั้น มันเป็นเรื่องที่ต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ของบุคคลล้วน ๆ ในการแสดงออก หากทำได้ไม่ดี ก็จะเป็นการเปลืองตัวได้เช่นกัน ประสบการณ์ตรงที่ภริยาผมได้เจอทั้ง ๒ ครั้งข้างต้นนี้ ช่วยทำให้เราทั้งสองค่อย ๆ ปรับมุมมองของเราเองต่อผู้คนในประเทศที่เราจำเป็นต้องอยู่อาศัยและทำงานต่อไปได้เป็นอย่างดี การทำความเข้าใจผู้คนที่อยู่รอบข้างเราให้ได้มากเท่าไร จะยิ่งทำให้เราสามารถใช้ชีวิตร่วมกับเขาได้อย่างมีความสุขเป็นเงาตามตัว เพราะนิสัยหยาบ ๆ ของคนที่ไม่ได้ผ่านการฝึกจิต มักจะเที่ยวว่าคนโน้นคนนี้ก่อนเป็นหลัก การปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทำแต่สิ่งดี ๆ ล้วน ๆ ยังเป็นเรื่องยากเลย แล้วนับประสาอะไรกับการพยายามจะไปเปลี่ยนหรือทำให้คนอื่นเป็นได้ดังใจเรา |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
At Your Side : The Corrs | ||
![]() |
||
When the daylight's gone, and you're on your own And you need a friend, just to be around I will comfort you, I will take your hand And I'll pull you through, I will understand |
||
View All ![]() |
<< | กุมภาพันธ์ 2009 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |