ในบรรดาสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยของเราแล้ว ผมภูมิใจกับการ “ไหว้” ซึ่งเป็นเครื่องแสดงออกถึงการทำความเคารพอย่างหนึ่ง ส่วนเรื่องการ “กราบ” นั้น ผมเคยเขียนเป็นของเสริมลงในเรื่อง “ถูกหรือผิด ... คนเป็นผู้กำหนดกันทั้งนั้น” ตั้งแต่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐ (นานมาแล้ว อย่างไม่น่าเชื่อ) วันนี้จะไม่ลงรายละเอียดถึงเรื่องลักษณะการไหว้ ๓ แบบ และการรับไหว้ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องที่ทราบกันดีอยู่แล้ว หากใส่ใจในรายละเอียดเรื่องดังกล่าวสักนิด แต่จะกล่าวถึง ความตั้งใจหรือความเต็มใจในการไหว้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งการแสดงความเคารพเป็นหลัก ก่อนจะเข้าเรื่อง จะขอท้าวความไปถึงเรื่องส่วนตัวของผู้เขียนตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็กน้อยสักหน่อย คนที่ปลูกฝังและเน้นย้ำเรื่องการ “ไหว้” ก็ไม่ใช่ใครอื่นไกล คือ แม่ของผม คนบ้านนอกหรือต่างจังหวัด คงพอวาดภาพการเป็นอยู่ร่วมกันแบบเป็นญาติหรือเป็นพี่เป็นน้องกันทั้งหมู่บ้าน-ตำบลในสังคมดังกล่าวได้ดี ผมจำอย่างฝังใจได้ว่าแม่จะสอนให้ผมไหว้ผู้ใหญ่ทุกคน ที่เป็นญาติหรือไม่ใช่ญาติก็ตามที่ไม่ค่อยได้เจอเป็นประจำทุกวัน “ไหว้ ป้า (น้า, อา ฯลฯ) .... เสียซิลูก” ส่วนที่บ้านเอง วันที่ไปโรงเรียน ก่อนออกและกลับมาถึงบ้าน ก็ต้องไหว้ พ่อ-แม่ และญาติทุกคนในบ้าน แม่พูดพร่ำสอนเสียจนบางครั้งผมรู้สึกเบื่อ (ขอโทษนะครับแม่) ในตอนนั้น แต่ในที่สุดผมทำเองเป็นอัตโนมัติ โดยไม่ต้องรอให้แม่บอกเมื่อเจอผู้ใหญ่ เวลามีงานบุญ หรือเทศกาลที่ญาติพี่น้องในหมู่บ้านกลับมารวมตัวกันทีคราวละมาก ๆ เช่น ปีใหม่, สงกรานต์, ออกพรรษา ฯ ต้องเตรียมตัว เตรียมใจ เรื่องการไหว้ไว้ได้เลย ว่าจะต้องยกมือกันไม่หวาดไม่ไหว และสิ่งดี ๆ ที่ได้ติดตัวมาตั้งแต่เด็ก ผมก็เอามาถ่ายทอดต่อแก่ลูกของผม ในสภาพแวดล้อมของเด็กที่ไม่ค่อยได้เจอคนไทยมากนักของการมาใช้ชีวิตอยู่ที่เบอร์ลิน ก็เป็นอีกแบบหนึ่ง น้องเอมลูกสาวคนเล็ก (ตอนนี้อายุ ๕ ขวบเต็ม) ตอนมาเยอรมนีใหม่ ๆ มือไม้แข็ง ไม่ค่อยยอมไหว้ใคร กว่าจะยกมือไหว้ใครสักคนก็มักจะเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โต เราทั้งคู่ก็ไม่สบายใจ แต่ก็อาศัยภาษิตที่ว่าไม้อ่อนดัดง่าย ก็พยายามพร่ำสอนกันไปเรื่อย ๆ เหมือนที่แม่เคยสอนผมมา ซึ่งในที่สุดก็ได้ผล ตอนนี้เธอเปลี่ยนไปแล้ว เมื่อประมาณ ๓ เดือนที่แล้ว ภริยาผมเล่าให้ฟังว่า ระหว่างที่กำลังเดินข้ามถนนบนทางม้าลายหน้าโรงเรียน รถคันแรกที่จอดรอให้ข้ามไม่ใช่รถของคนเยอรมันเหมือนทุกครั้ง แต่กลายเป็นรถ “อาก้อย” ภริยาของอัครทูตที่ปรึกษา กำลังขับมาส่งลูก ๒ คน ซึ่งเรียนอยู่โรงเรียนเดียวกัน ภริยาผมชี้ให้ลูกดูพร้อมกับพูดว่า “น้องเอม นั่นรถอาก้อยนี่” ไม่ต้องบอกอะไรมากกว่านั้น น้องเอมก็หันไปหยุดยืนยกมือไหว้โดยทันที บนทางม้าลายนั่นเอง เป็นการประกาศให้ชาวต่างชาติทั้งหลายที่ผ่านไป ผ่านมา ได้เห็นถึง เอกลักษณ์ของความเป็นไทย ซึ่งไม่มีชาติใดเหมือนในต่างแดน โชคดีที่ชีวิตบนท้องถนนในกรุงเบอร์ลินค่อนข้างปลอดภัย และไม่เร่งรีบนัก ... เปิดโอกาสให้ลูกสาวผมยืนไหว้ผู้ใหญ่บนถนน โดยที่ผมและภริยาไม่ต้องเป็นห่วงสักเท่าไร
และผมเองก็รู้สึกชื่นชมและภูมิใจเรื่องมารยาทในเรื่องการไหว้ของลูกหลานไทยซึ่งเป็นบุตรของข้าราชการประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลินหลาย ๆ คนเช่นกัน ที่กล่าวมาทั้งหมด ถือเป็นการเรียกน้ำย่อย ก็แล้วกันนะครับ ประเด็นของเรื่องนี้อยู่ที่ว่า การแสดงออกทางกายด้วยการไหว้นั้น มันถูกกลั่นกรองมาจากหัวใจเพียงใด ผมมีตัวอย่างดี ๆ และประทับใจกับการรับแสดงความเคารพของบุคคลหนึ่ง ผมรู้จักเขาตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ เขาเป็นรุ่นพี่ผม ๑ ปี เขาเคยเป็นนายทหารคนสนิทและอยู่หน้าห้องของผู้ใหญ่ที่เคยทำงานสำคัญในปี ๒๕๔๙ ชื่อดั้งเดิมของพี่เขา เป็นคำไทยและมีพยางเดียว ... แต่ตอนหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นอะไรผมก็จำไม่ได้ รู้แต่ว่าชื่อใหม่ของแกเพราะ (เหมือนเด็กรุ่นหลัง) และมีมากพยางค์ขึ้น แต่เท่าที่สังเกต คนที่รู้จักคุ้นเคย ก็ยังคงเรียกชื่อเดิมแกอยู่ สมมติตัวย่อว่า พี่ ย. ก็แล้วกัน ตอนเป็นนักเรียน พวกเราถูกฝึกให้เป็นคน “หูไว ตาไว” เพื่อเป็นการฝึกสำหรับไว้เป็นนักรบนั่นเอง ซึ่งหูไวตาไวที่ถูกนำมาใช้บ่อยที่สุด คือ ให้คอยสังเกตและทำความเคารพรุ่นพี่ ๆ ให้ทันและถูกต้อง ผลของการไม่ตอบสนองในเรื่อง “หูไว ตาไว” ก็จะลงเอยด้วย ความเหนื่อย จากการถูกซ่อม (ภาษาทหารใช้คำว่า “แดก”) จากรุ่นพี่ ๆ มีทั้ง เหนื่อยเดี่ยว, เหนื่อยเป็นหมู่, เหนื่อยเป็นหมวด ... ไล่เป็นจนถึง เหนื่อยทั้งรุ่น ก็มี และในบรรดารุ่นพี่ ๆ จำนวนมากที่พวกผมต้องทำความเคารพเป็นประจำโดยมิให้ขาดตกบกพร่องนั้น มีพี่ ย. นี่แหละ ที่แกตั้งใจ “รับการทำความเคารพ” จากบรรดาน้อง ๆ อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ด้วยลักษณะ “สบตา ก้มหัว โน้มลำตัวเล็กน้อย และมือชิดลำตัวในท่าตรง” และตอนเป็นนักเรียนไม่มีการแสดงความเคารพด้วยการ “ไหว้” เป็นภาพที่ประทับใจและติดตาผมจนถึงทุกวันนี้ แม้กระทั่งแกอยู่ชั้นสูงสุดในปีที่ ๕ พี่ ย. ก็ยังคงรับการเคารพจากน้อง ๆ แบบนี้ ไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อจบออกมาแล้ว หากไม่อยู่ในเวลาที่เป็นพิธีการ เราใช้การ “ไหว้” เป็นหลักในการทำความเคารพ พี่ ย. แกเป็นคนตรง เสียงดัง โผงผาง ... แสดงออกถึงความจริงใจ และให้เกียรติ แก่ผู้น้อยหรือเด็กกว่า ... ผมไม่รู้ว่าเพื่อน ๆ หรือน้อง ๆ ของผมคิดในเรื่องนี้อย่างไรกับ พี่ ย. คำสั่งล่าสุด เห็นว่าโยกไปเป็นผู้บังคับหน่วยคุมกำลังที่ไหนสักแห่ง ... ยินดีด้วยครับพี่ ย. ส่วนเรื่องการแสดงความเคารพผู้ใหญ่กว่านั้น แน่นอนว่า เราต้องระมัดระวัง และทำให้ถูกต้องขึ้นไปอีก จากประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมากว่าครึ่งชีวิตแล้ว ผมได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ใหญ่เสมอในการรับไหว้ ซึ่งการไหว้ผู้ใหญ่ของผม แน่นอนว่าผมทำการไหว้ตามหน้าที่โดยหลักผู้น้อยผู้ใหญ่ ไม่ให้บกพร่อง โดยแสดงออกถึงความเป็นคนที่รู้จัก “หน้าที่” เป็นอันดับแรก และที่นอกเหนือกว่านั้น คือการส่งความจริงใจออกไปทางสายตาและอาการ “ไหว้” ทุกครั้งไป แต่ก็ใช่ว่า ผู้ใหญ่ (เฉพาะบางคนผมชอบเรียกกว่า แค่คนที่เกิดก่อนผม) ทุกคนจะตอบสนองหรือให้เกียรติเด็กอย่างผมที่ตั้งใจไหว้ทุกคนไป ในบรรดาผู้ใหญ่หรือรุ่นพี่ของผมทั้งหมด มีอยู่คนเดียวเท่านั้น ที่ผมขอเชิญมาเป็นตัวอย่าง (ที่เลว) เราเคยทำงานอยู่ที่เดียวกันแต่คนละกรมกอง เวลาเจอกันผมก็ยกมือไหว้ เหมือนที่ไหว้รุ่นพี่ทุกคน แต่แปลก ... แกไม่เคยยกมือขึ้นรับไหว้ แค่ผงกหัวเล็กน้อยเท่านั้น หรือบางครั้งก็ไม่แสดงอาการตอบรับใด ๆ ไม่ว่าจะเจอกันเดี่ยว ๆ จัง ๆ หรือเดินมาเป็นกลุ่ม ทีแรกก็คิดว่าแกอาจไม่เห็น หรือเห็นไม่ชัด จึงไม่รับไหว้ ผมก็ยกมือไหว้ทำความเคารพเหมือนเดิม ๒ ครั้งก็แล้ว ๓ ครั้งก็แล้ว ... เอาว่ะ พอกันที หลังจากนั้น เวลาที่ผมเจอแก ผมไม่เคยยกมือไหว้ ... เพราะคิดว่า เพียงพอแล้ว แต่ผมก็ยังทำ “หน้าที่” ของตนเองไม่ให้บกพร่อง ด้วยการ “โค้ง” ทำความเคารพตามระเบียบสำหรับรุ่นพี่คนดังกล่าวเป็นการเฉพาะ ในขณะที่ผมยกมือไหว้เพื่อนร่วมรุ่นของพี่ทุกคน หรือพี่คนดังกล่าวอาจชอบให้น้องทำอะไรตามระเบียบแบบแผนก็ได้ ... เมื่อมองโลกในแง่ดี แล้วในมุมมองของการเป็นผู้ใหญ่ที่มองเด็กบ้างเล่า เด็กที่ไหว้ผมก็ไม่ต่างจากผู้ใหญ่ มีทั้งตั้งใจ เต็มใจไหว้ และทำแบบเสียไม่ได้ หรือปล่อยปละละเลย ประเภทหลังนี้ มีเหมือนกัน แต่น้อย ผมอาจไปทำอะไรที่เป็นเหตุให้เขาไม่ถูกชะตา ไม่เคารพ หรือไม่ชอบผมเป็นการส่วนตัว ... ซึ่งเป็นไปได้เช่นกัน ผมไม่เคยตำหนิ หรือใส่ใจเด็กประเภทนี้ (เพียงแค่พอจำได้) เพราะการไหว้หรือไม่ไหว้ การเคารพหรือไม่เคารพของเขาไม่ได้มีผลกระทบอะไรกับชีวิตผมเลย แต่น่าจะเป็นผลเสียกับเขามากกว่า เพราะเขาจะไม่ได้รับโอกาสดี ๆ (หากจะมีขึ้นในอนาคต) จากผมแน่นอน แนวคิดเรื่องการไหว้หรือทำความเคารพซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นนั้น ผมก็ปฏิบัติตนในลักษณะเดียวกับเรื่องอื่น ๆ ในชีวิต นั่นก็คือ ใครอาจทำอะไรที่บกพร่อง ขาด ๆ เกิน ๆ ไม่เหมาะสมกับผม ... ไม่เป็นไร เหมือนดังคำพูดที่ว่า “เคร่งครัดต่อตน ผ่อนปรนต่อผู้อื่น” |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
At Your Side : The Corrs | ||
![]() |
||
When the daylight's gone, and you're on your own And you need a friend, just to be around I will comfort you, I will take your hand And I'll pull you through, I will understand |
||
View All ![]() |
<< | ธันวาคม 2010 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |