วันอาทิตย์เป็นวันที่ผมตั้งใจนำเสนอภาพผลงานจิตรกรรมไทยไปอย่างต่อเนื่อง โดยจะพยายามคัดสรรภาพผลงานให้มีความหลากหลายในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้ท่านผู้อ่าน ผู้ชมได้รับรู้ถึงเรื่องราว เนื้อหา รูปแบบ เทคนิควิธีการต่าง ๆ ที่ศิลปินแต่ละท่านได้รังสรรค์ผลงานออกมา ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหากเมื่อท่านได้ชมแล้ว ก็จะบังเกิดความสบายตาสบายใจกับผลงานเหล่านี้ ได้อย่างแน่นอนขอรับ...กระผม
จิตรกรรมไทยภาพนี้นำเสนอแดนทิพย์ในความคำนึงของช่างไทย จากอดีตถึงปัจจุบัน นั่นคือ วรรณะของสีที่นุ่มนวลอ่อนหวาน ความงาม สงบเงียบ ไร้กาลเวลา ที่ที่ซึ่งไม่มีความร้อนของดวงตะวัน หากแต่ก็ไม่มีดวงเดือน ที่แดนทิพย์อันเป็นจุฬาตรีคูณของความคำนึงคิด ที่มีแสงพร่างแพร้วจากพรายดาวเสียงขับขานของหงส์เหมราช นกจากพราก และการเวก บนผาอัญมณีที่มีลำธารพันสายไหลผ่านป่าไม้กฤษณานานาพันธุ์จรุงกำจาย กลิ่นทิพย์ระงมแดนสรวง ระนาบของรูปแบบตานกมอง จิตรกรเข้าใจ ทวิบาท จตุบาท ถึกเถื่อน ลำเนาไพร และวางเวิ้ง อารมณ์ให้เราล่องลอยไปสู่แดนทิพย์ด้วยปีกปิติ ค่านิยม ความเชื่อในพระพุทธศาสนาอันมีกิจกรรมวิถีทางประเพณีหลายรูปแบบ หลายวิธีการ ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตในชุมชนในภูมิภาคต่าง ๆ ประเพณีแห่พระรับบัว นับได้ว่าเป็นประเพณีทางศาสนาของชุมชนภาคกลางที่ศิลปินได้ใช้ประเพณีดังกล่าว นำมาเป็นสื่อในการสะท้อนความคิด ความรู้สึก ศรัทธาจากความเชื่อของศิลปินออกมาเป็นงานศิลปะ การนำเสนอรูปแบบจิตรกรรมที่สืบสาน รูปทรง วิธีการแบบประเพณีไทยมีการใช้องค์ประกอบของภาพในมุมมองที่กว้าง แสดงความอลังการยิ่งใหญ่ทั้งกลุ่มสถาปัตยกรรม และกลุ่มบุคคลในบริเวณต่าง ๆ ทั้งบริเวณบนฝั่งและในน้ำ จุดเด่นจะอยู่ที่บริเวณส่วนกลางด้านล่างของภาพ โดยมีโครงสีที่แสดงความอบอุ่น แสดงความรุ่งเรือง มองเห็นเป็นพลังบารมีแห่งความศรัทธาของพุทธศาสนา ที่มีผลต่อพุทธศาสนิกชนทั่วไป
ความเป็นองค์รวมของงานศิลปะก็คงอยู่ที่ความมีเอกภาพ ซึ่งบังเกิดจากความประสานสัมพันธ์กันของรูปแบบ องค์ประกอบของภาพที่รวมไปถึง จังหวะ สัดส่วน น้ำหนัก สีสัน เทคนิค วิธีการ และเนื้อหาสาระ เรื่องราวของผลงานศิลปกรรมชิ้นนั้น ปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวที่สัมพันธ์กับความคิด ความรู้สึก ภายในของศิลปินนับได้ว่ามันคือเอกภาพที่เป็นหลักสำคัญของผลงานศิลปกรรมชิ้นนี้ ความสงบ จึงเป็นรูปแบบศิลปกรรมที่สืบสาน สร้างสรรค์ และพัฒนารูปแบบ วิธีการในการจัดวางภาพที่พัฒนามาจากจิตรกรรมไทยที่ก้าวหน้า มาในแบบแผนที่เป็นแนวประเพณีอันเป็นรูปลักษณ์ผลงานที่มีบุคลิกเฉพาะตน เป็นการพัฒนาอารมณ์ ความรู้สึกของศิลปินในแง่ความมีสมาธิ ความสงบ กลับยังสะท้อนความเชื่อในวิถีชีวิตของชาวพุทธทางภาคเหนือ อาจกล่าวได้ว่าเป็นผลงานภาพสะท้อนสังคมพุทธที่สื่อสารกับสังคมอื่น ๆ ที่แสดงเอกภาพของความเป็นจิตรกรรมไทยในแนวทางประเพณี ที่สืบสานพัฒนาขึ้นมาให้เหมาะสมกับสภาวะยุคสมัยของโลกปัจจุบัน
จิตรกรรมชิ้นนี้ จิตรกรได้แสดงความสามารถอันเป็นเลิศในการแสดงออกด้วยรูปทรง สี และองค์ประกอบแบบประเพณีไทยให้ความงาม ความน่าพอใจอย่างมากตามแบบจิตรกรรมไทย แต่จุดเด่นที่สร้างคุณค่าทางศิลปะให้แก่งานมากที่สุด คือแนวคิดในการผสมประติมากรรมนูนต่ำกับจิตรกรรมแบบประเพณีเข้าด้วยกัน ซึ่งนอกจากจะให้ความพอใจในด้านรูปทรง ในด้านการมองเห็นแล้วยังให้ความลึกซึ้งในแง่คิดทางพุทธศาสนา ที่ซ่อนลึกอยู่ภายในภาพนูนต่ำขององค์พระพุทธรูปซึ่งเป็นสีขาว ทำหน้าที่เป็นฉากหลังให้แก่งานจิตรกรรม พร้อมไปกับให้ความหมายเชิงนามธรรมแก่ผลงานส่วนรวม ในแง่ของความลวงตา ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ภาพของพระพุทธองค์บางครั้งก็มีอยู่ บางครั้งก็หายไป เปลี่ยนแปลงไปตามมุมของแสงที่สาดเข้ามากระทบ เมื่อแสงเข้ามาทางด้านข้างภาพของพระพุทธองค์ก็จะเด่นชัด เมื่อแสงเข้าด้านหน้าตรง ๆ กองทัพมารจะต่อสู้กับความว่างเปล่า ธรรมะของพระพุทธศาสนาย่อมสูงเกินกว่าจะมีมารใดมาทำลายได้ งานชิ้นนี้ จิตรกรมีแนวความคิดที่แยบยลมาก สร้างสรรค์งานจิตรกรรมแบบประเพณีของไทยขึ้นใหม่ ในความหมายใหม่ เป็นการสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ ด้วยผลงานที่มีคุณค่าทางศิลปะไม่ใช่การทำซ้ำลอกเลียนของเก่าอย่างจืดชืดไร้ชีวิต มุมมองของศิลปิน แนวความคิดและความรู้สึกของศิลปินที่เฝ้ามองสังคม เป็นแนวคิดทัศนคติที่นับได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ศิลปินได้นำมาเป็นโจทย์ในการตีความหมาย และการแก้ปัญหาออกมาเป็นผลงานทัศนศิลป์ ทัศนคติมุมมองที่เยาะเย้ย ถากถาง ประชดประชันสังคมนับได้ว่าเป็นแนวทางหนึ่งที่ศิลปินได้สะท้อนและมองผ่านกลุ่มสตรี ซึ่งนับได้ว่าเป็นกลุ่มสังคมที่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย นับได้ว่าเป็นสังคมบริโภคทางวัตถุนิยม ค่านิยมในแฟชั่น เสื้อผ้าอาภรณ์ รวมไปถึงการตกแต่งใบหน้า ร่างกายให้ทันยุคทันสมัย โดนที่พยายามปฏิเสธความเป็นจริงของวัย และอายุขัย ผลงานชื่อสาวพริ้งจึงเป็นการสะท้อนมุมมองทัศนคติของศิลปิน มองผ่านกลุ่มสตรีเพศในแง่ของการประชด เยาะเย้ย แต่ศิลปินก็มีวิธีการนำเสนอที่พัฒนาจากเทคนิค วิธีการ การวางองค์ประอบของภาพที่มีรากฐานมาจากจิตรกรรมแบบประเพณีไทย แต่ก็ยังแสดงเนื้อหาสาระที่ตรงเป้าหมายกับเจตนาของศิลปิน ที่ต้องการให้สังคมปัจจุบันได้เห็นเจตนา และมุมมองของศิลปิน สาครินทร์นำเสนอสารัตถะในงานจิตรกรรมไทยอย่างน่าสนใจ ทั้งรูปแบบที่แกร่งกร้าวสนิทนิ่งเป็นพลังศักยะ ที่แฝงเร้นวรรณะของสีที่เร้นลับ และกระหนกนาคคาบ ที่คาบเกี่ยวก้อนศิลาสู่ทารกในอ้อมหิน และทั้งเนื้อหาที่พันธนาการชีวิตแรกเกิด ในกรอบของแกร่งผาที่ลายไทยเลื้อยพาดผ่านตรวนจำไว้ ในรอยเท้าของกรงขังชีวิตในโกรกภู ช่างเขียนเป็นอิสระในอันที่จะรจนาความเป็นไทย ผ่านทอดกระแสลมหายใจร่วมสมัยของโลกอย่างองอาจกล้าหาญ ขณะเดียวกันกับที่รักษาความเป็นช่างที่มีวิญญาณไทยไว้ ในรูปของลายไทยที่เกี่ยวกระหวัดในเกลียวหิน บังเกิดรสของสุนทรียภาพใหม่ของจิตรกรรมไทยที่สะท้อนให้เห็นกาลเวลา ที่ช่างเป็นผู้เฝ้ามองพฤติกรรมของดวงจิต ผ่านความงามที่ล้ำลึกและทรงคุณค่าออกสู่สังคม งานชิ้นนี้แสดงให้เห็นความชาญฉลาด ในการสร้างบรรยากาศให้แก่งานจิตรกรรมแบบประเพณีของไทยขึ้นใหม่ ด้วยการประสานสีหม่นและสีที่สด รุนแรง เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน ถึงแม้การกำหนดตำแหน่งของรูปแบบและรายละเอียดของแต่ละส่วนจะเป็นไปตามแบบประเพณี แต่สีที่ปรุงขึ้นใหม่อย่างจัดจ้านตามความรู้สึกของจิตรกร ได้ให้รสชาติใหม่ความรู้สึกใหม่ ต่างจากจิตรกรรมฝาผนังเดิมของไทย งานชิ้นนี้จึงเป็นการสร้างสรรค์ศิลปะใหม่ขึ้นบนพื้นฐานของประเพณีไทย เป็นงานที่แสดงเรื่องมารผจญตอนมารพ่ายต่อพระบารมีของพระพุทธองค์ ด้วยการหลั่งน้ำของพระธรณี การวางรูปทรงที่ต่างขนาด ในแง่มุมที่น่าสนใจ ความประณีตละเอียดอ่อนอย่างยิ่งของฝีมือ ให้ความพอใจในด้านความงาม ตามแบบของจิตรกรรมแบบประเพณีไทย ผลงานทั้งหมดที่ผมนำมาเสนอต่อท่านผู้ชมนี้ เป็นผลงานที่ได้รับรางวัลจากการประกวดจิตรกรรมบัวหลวงในหลาย ๆ ครั้งที่ผ่านมา โดยมีการแสดงทัศนคติ ข้อคิดเห็น และคำวิพาก วิจารณ์จากคณะกรรมการตัดสินประกอบอยู่กับผลงานแต่ละชิ้นในสูจิบัตรนิทรรศการ คงพอที่จะทำให้ท่านผู้ชมเกิดความเข้าใจต่อผลงานชิ้นนั้น ๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้นใช่ไหมครับ ในโอกาสต่อไปผมจะได้นำเสนอผลงานในแบบร่วมสมัยบ้าง เพื่อเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศในการชมผลงานศิลปะของทุก ๆ ท่าน กับวันพักผ่อนอันแสนสบายเช่นนี้... ดีไหมครับท่านผู้ชม... |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
Thailand Blog Awards 2010 | ||
![]() |
||
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภท Education Blog |
||
View All ![]() |
หุ่นกระบอก | ||
![]() |
||
ไหว้ครูเบิกโรงหุ่นกระบอก |
||
View All ![]() |
<< | กันยายน 2007 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 |