*/
Autumn | ||
![]() |
||
บนเส้นทางแห่งน้ำใจ |
||
View All ![]() |
<< | มิถุนายน 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 |
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต มิตรที่รักและเคารพของเพลงกระบี่ฯ ได้แปลและเรียบเรียงบทความมาให้เพลงกระบี่ฯ นำลงในหนังสือพิมพ์ไทยต่างแดน เลยขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อ สวิสเขามีลักษณะพิเศษแบบสวิสๆ ไทยเราก็มีลักษณะพิเศษแบบไทยๆ.. ขอบคุณพี่กุหลาบผู้แปลและเรียบเรียงบทความมาให้คะ
ลักษณะพิเศษของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ลักษณะพิเศษที่ว่านั้นคือ ประชาชนมีอำนาจสูงสุด ระบบประชาธิปไตยแบบสวิส คือ อำนาจนิติบัญญัติอยู่ที่ประชาชนโดยตรง มิได้อยู่ที่สภา เพราะตามรัฐธรรมนูญ ประชาชนมีสิทธิในการออกเสียงประชามติ (referendum) และการริเริ่ม(initiative)นั่นคือ กฎหมายทุกฉบับที่ผ่านสภาแห่งสมาพันธ์ จะยังไม่มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย แต่จะต้องรอให้ครบ 90วัน ในระหว่างนั้นประชาชนจะมีสิทธิคัดค้าน โดยจะต้องเข้าชื่อร่วมกัน ไม่น้อยกว่า 50,000คน เพื่อให้มีการจัดประชามติ ส่วนอำนาจในการริเริ่ม (initiative) ของประชาชนจะสามารถใช้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยประชาชนต้องเข้าชื่อร่วมกันไม่น้อยกว่า 100,000คน ภายในเวลา 18 เดือน (ในระดับชาติ) เมื่อส่วนราชการตรวจสอบ และรับทราบแล้ว อาจยื่นข้อเสนออื่นๆ ให้เลือก ซึ่งข้อเสนอจากประชาชนผู้ยื่นเรื่อง และข้อเสนอแย้งจากทางส่วนราชการ จะผ่านสภาก่อนถึงการลงประชามติโดยประชาชนผู้มีสิทธิ์ทั้งประเทศ และนี่เป็นที่มา ที่ประชาชนชาวสวิส ต้องการเลือกเองว่าจะให้ใครเข้ามาในประเทศของพวกเขา ไม่ใช่สหภาพยุโรป เนื่องจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ใจกลางทวีปยุโรป ดังนั้น ถึงแม้ว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์ไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (European Union – EU) อันเนื่องมาจากการออกเสียงลงมติไม่เห็นชอบของประชาชนส่วนใหญ่ แต่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ลงนามในข้อตกลงเชงเกน (Schengen Agreement) และข้อตกลงทวิภาคีอื่นๆ ซึ่งมีผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายประชากรและกำลังแรงงานระหว่างประเทศคู่สัญญาและสมาชิกสหภาพยุโรป ดังนั้น การที่จะพิจารณาเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงจำเป็นจะต้องเข้าใจถึง การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีของกลุ่มประเทศประชาคมยุโรปด้วย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 พลเมืองอียูร่วม 500 ล้านคน มีเสรีภาพภาพในการเดินทางเข้ามาทำงานในสวิตเซอร์แลนด์เหมือนเช่นชาวสวิส ที่เป็นผลมาจากกฎหมายที่ผ่านการลงประชามติในปี ค.ศ. 2000 และตอนนี้ 1 ใน 4 ของประชากรราว 8 ล้านคนในสวิตเซอร์แลนด์ เป็นชาวต่างชาติ และในปี 2013 มีผู้อพยพใหม่เดินทางเข้าเมืองร่วม 80,000 คน ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต แต่รัฐบาลพรรคประชาชนสวิส (SVP) ที่เป็นพรรคสายอนุรักษ์ได้ผลักดัน การยกเลิกกฏหมายการเคลื่อนย้ายเสรี โดยกล่าวว่าเป็นการ “ตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง” ของประเทศ รัฐบาลพรรคSVP และกลุ่มล็อบบียิสต์ทางเศรษฐกิจ กลัวผลกระทบจากปัญหาในอียู จึงต่างสนับสนุนให้จำกัดจำนวนผู้อพยพจากยุโรป ภายใต้ระบบประชาธิปไตยทางตรง การตัดสินใจของรัฐบาลในประเด็นสำคัญๆ จะต้องผ่านการทำประชามติเสียก่อน โดยพรรค SVP ชี้ถึงความจำเป็นในการจำกัดผู้อพยพ เนื่องจาก ปัจจุบันมีพลเมืองอียูเดินทางเข้าสวิตเซอร์แลนด์ปีละราวๆ 80,000 คน จากที่ประเมินไว้ว่า จะมีแรงงานอียู ไหลเข้าเพียง 8,000 คนต่อปี รัฐบาลสวิส ชี้ว่า แรงงานอียูเข้ามาแย่งตำแหน่งงานของชาวสวิส เนื่องจากค่าแรงถูกกว่า และการที่ประชากรล้นเมือง ยังส่งผลให้ค่าเช่าแพงขึ้น เพิ่มภาระต่อระบบการศึกษา, สาธารณสุข และการคมนาคมของประเทศ ข้อตกลงเสรีภาพในการเคลื่อนย้าย ซึ่งรัฐบาลสวิสกับอียูทำกันไว้เมื่อปี 2550 และผ่านประชามติชาวสวิสในปี 2553 นั้น อนุญาตให้ประชากรอียูที่มี 500 ล้านคนสามารถเข้าไปทำงานในสวิตเซอร์แลนด์ได้อย่างเท่าเทียมกับชาวสวิส ผลประชามติครั้งใหม่ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 ที่ผ่านมานี้ ปรากฏว่า ประชาชนชาวสวิส สนับสนุนกฎหมายการจำกัดจำนวนคนเข้าเมืองจากประเทศในยุโรป ซึ่งรัฐบาลกลางสวิส ต้องไปเจรจาต่อรองข้อตกลงนี้กับอียูใหม่ภายใน 3 ปี รวมถึงการออกมาตรการกำหนดโควตาคนงานต่างด้าวในภาคต่างๆ ทั้งนี้ แม้สวิตเซอร์แลนด์จะยืนกรานไม่เข้าเป็นสมาชิกอียู แต่ประเทศใจกลางผืนทวีปยุโรปแห่งนี้ก็รับนโยบายหลายด้านของอียูมาใช้ รวมถึงการเป็นสมาชิกกลุ่มปลอดวีซ่า "เชงเกน" ด้วย และจากผลการลงประชามติ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 ที่ผ่านมานั้น ก็ยังส่งผลกระทบต่อมาคือ การไม่ได้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนทางการศึกษา “อีราสมัส+” (Erasmus+) ในปี ค.ศ. 2014 (สวิตฯเคยเข้าร่วมโครงการ ERASMUS MUNDUS ปี 2009-2013) สาเหตุอาจมาจากการลงประชามตินี้ และเพราะอียูเรียกเก็บเงินจาก สวิตฯถึง 305ล้านสวิสฟรังค์ ในช่วง ปี ค.ศ. 2014-2020 ซึ่งมากกว่าที่เคยตกลงกันไว้เกือบสองเท่า รวมทั้งสวิตเซอร์แลนด์ก็ไม่ได้เข้าร่วมในโครงการวิจัยและการศึกษา “โฮริซอนท์ 2020” ( Horizont 2020) ในฐานะประเทศสมาชิกที่เกี่ยวข้อง แต่เป็นจากประเทศที่สาม อีกเหตุผลที่สำคัญก็ไม่พ้นเรื่องเงินอีกเช่นกัน ใครจะนึก ว่าประเทศเล็กๆ อย่างสวิตเซอร์แลนด์ จะมีประชาชนเป็นใหญ่ที่สุด และ ทำไมจึงยอมไม่ได้ที่คนเจ้าของประเทศจะตัดสินใจอนุญาตให้ใครเข้ามาอยู่ในบ้าน ก็ขนาดเราเอง กว่าจะยอมให้ใครเข้าบ้านเราได้ ก็ยังดูแล้ว ดูอีกไม่ใช่หรือ... ที่มา: http://www.tagesanzeiger.ch Schweiz in Sicht (Demokratie, Politik, Institutionen) Lehrmittel der Interkantonalen Lehrmittelzentrale, Autor: Vincent Golay, 2011
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |