![]() จากเมืองฮอยอัน พวกเราเดินทางย้อนกลับมาที่ดานัง (หลังจากที่นั่งรถผ่านไปโดยยังไม่ได้แวะเยี่ยมชม) เพื่อขึ้นเครื่องบินไปเมืองไซ่ง่อน แต่ก่อนจะไปสนามบิน พวกเราแวะกันที่พิพิธภัณฑ์ประติมากรรมจาม (Museum of Cham Sculpture) กันก่อน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2458 (ค.ศ. 1915) โดย อองรี ปาร์มองติเอร์ (Henri Parmentier) นักประวัติศาสตร์ศิลปะจาม และ หัวหน้าแผนกโบราณคดีของ สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ (École française d'Extrême-Orient) เพื่อเก็บรวบรวมประติมากรรม ศิลปะวัตถุ จากแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นอาณาจักรจามปาออันรุ่งเรือง ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ถูกออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส คือ Delaval กับ Auclair ซึ่งได้ประยุกต์เอาองค์ประกอบในศิลปะจาม มาผสมผสานกับสถาปัตยกรรมฝรั่งเศส ในตอนแรกสร้างไว้ไม่ใหญ่นัก แต่ต่อมามีการค้นพบโบราณวัตถุมากขึ้น จนในราวปี พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1935) ต้องขยายอาคารออกไปอีก และทำพิธีเปิดเป็นทางการในปีต่อมา โดยในตอนนั้นใช้ชื่อว่า Musée Henri Parmentier ![]() เมื่อผ่านประตูทางเข้า ก่อนถึงอาคารจะเห็นรูปสลักอยู่ทั้งสองข้างยืนอยู่ ข้าพเจ้าฟังไกด์ไม่ทัน ไม่ทราบว่าคืออะไร แต่ข้าพเจ้าเข้าใจว่า น่าจะเป็นหินที่สลักเป็นรูปเทพทวารบาล ซึ่งตามคติความเชื่อนั้น จะสร้างไว้ที่ประตูทางเข้าออก เพื่อช่วยปกป้อง รักษาสถานที่ ![]() อาณาจักรจามปา เป็นอาณาจักรโบราณในช่วงพุทธศตวรรษที่ 7 (บ้างก็ว่าตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เพราะ ในช่วงแรก ความสัมพันธ์กับอาณาจักร Lâm Ấp ยังไม่ชัดเจน) ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นตอนกลาง และ ตอนใต้ของเวียดนามปัจจุบัน มีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14-15 ![]() หลังจากนั้นอาณาจักรจามปาก็ค่อย ๆ เสื่อมถอยลง มีศึกสงครามกับอาณาจักรไดเวียด (Đại Việt) ทางเหนือ และ เขมรทางใต้ ตลอด แพ้บ้างชนะบ้าง (ที่ชนะนี่ก็เคยบุกไปถึงนครวัดมาแล้ว แต่ส่วนใหญ่ช่วงหลัง ๆ จะแพ้) ปี พ.ศ. 2014 (ค.ศ. 1471) จักรพรรดิ์เลถั่นตอง (Lê Thánh Tông) ของเวียดนามสามารถตีเมืองหลวงของอาณาจักรจามปาแตกได้ และในที่สุด จักรพรรดิ์มิงห์หม่าง (Minh Mạng) ก็ผนวกดินแดนส่วนที่เหลือของจามปาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเวียดนาม กลืนชาติชาวจามไปในปี พ.ศ. 2375 (ค.ศ. 1832) ![]()
![]() พิพิธภัณฑ์ชั้นบนจะมีภาพแสดงชีวิตของชาวจามในปัจจุบัน ข้าพเจ้าแวะขึ้นไปชมในส่วนนี้ก่อน (ภาพถ่ายใน blog entry นี้ก็ถ่ายจากภาพถ่ายที่แสดงในห้องนี้อีกที) ![]() ![]() ![]() จะเห็นได้ว่า ชาวจามมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่เหมือนกับชาวเวียดนามส่วนใหญ่เลย ออกจะคล้าย ๆ ทางกัมพูชา และ ทางอีสานบ้านเราด้วยซ้ำ ![]() ![]() ![]() ทางพิพิธภัณฑ์จะแสดงศิลปวัตถุในห้องต่าง ๆ ตามยุคสมัยของอาณาจักรจามปา ซึ่งโบราณวัตถุทั้งหมดที่มีมากกว่า 300 ชิ้นนี้ ผู้เข้าชมสามารถถ่ายรูปได้ ข้าพเจ้าขอแสดงภาพให้ชมเป็นบางส่วนเท่านั้น ![]() ศิวลึงค์ หรือ รูปนิมิตแทนองค์พระศิวะ ซึ่งทำเป็นรูปคล้ายอวัยวะเพศชาย เป็นศิลปวัตถุที่พบได้ทั่วไปในวัฒนธรรมฮินดู ![]() แต่อันที่เป็นเอกลักษณ์ของประติมากรรมจาม ที่มีแนวการสร้างที่ไม่มีแม้แต่ในอินเดีย (เค้าว่ามาแบบนี้นะ ข้าพเจ้าไม่เคยไปอินเดียเหมือนกัน เคยไปแต่ศรีลังกา) คือการสร้างศิวลึงค์ศิลาบนฐานโยนีทรงกลม แล้วรองรับด้วยฐานสี่เหลี่ยมอีกชั้นหนึ่ง เรียกว่าเป็นศิลปะแบบจ่าเกี่ยว (Trà Kiệu) มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 15 ถึง 16 ![]() ที่รอบฐานสี่เหลี่ยม ทางหนึ่งสลักเป็นภาพนูนต่ำ เป็นนางอัปสรกำลังร่ายรำ ![]() ลองมองดูอีกครั้ง ที่ด้านหนึ่งของฐานสี่เหลี่ยม สลักภาพนูนต่ำเล่าเรื่องราวของคนผู้หนึ่งกำลังยกคันธนูขึ้น ผู้รู้ให้ความเห็นว่า น่าจะเป็นภาพเหตุการณ์ในรามเกียรติ์ ตอนที่พระรามยกธนูโมลี (หนักพันแรงคนยก) และพบรักกับนางสีดา ![]() บางครั้ง ที่ฐานโยนีรูปกลมนั้น จะสลักตกแต่งเป็นรูปหน้าอกของสตรีไว้โดยรอบ ![]() ![]() รูปสลักหินในศิลปะแบบจ่าเกี่ยว (Trà Kiệu) อีกชิ้นที่แนะนำ คือ The Trà Kiệu Dancer เป็นนางอัปสร กำลังร่ายรำในท่าที่มือซ้ายไปทางขวาของลำตัว มือขวาหักข้อศอก งอเข่าย่อตัวลง ![]() ![]() หินสลักรูปครุฑ ศิลปะแบบเถิบเหมิ่ม (Thap Mam) สร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 17 ![]() หินสลักรูปมังกร ในศิลปะแบบเถิบเหมิ่ม ซึ่งในจุดนี้แสดงถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมเวียดนาม ซึ่งบูชามังกรเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ![]() พวกเราอยู่ที่นี่กันไม่ถึงชั่วโมง (ประมาณ 40 นาทีได้) ก็ต้องรีบเดินทางไปที่สนามบินดานัง (Đà Nẵng International Airport ) ![]() ![]() ![]() จุดหมายถัดไปคือ โฮจิมินห์ซิตี้ หรือ ไซ่ง่อน ![]()
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
วิธีเล่น ลูกข่างพื้นเมืองของชาวเหนือ | ||
![]() |
||
มีคนนำลูกข่างนี้มาให้ข้าพเจ้าเมื่อคราวที่ยังทำงานที่เชียงใหม่ เนื่องจากว่าแปลกดี จึงบันทึกวิธีเล่นไว้ |
||
View All ![]() |
<< | มีนาคม 2008 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |