
หากจะพูดถึงเรื่องศาลในประเทศไทยเองก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายประเภท อาทิ ศาลรัฐธรรมนูญ, ศาลยุติธรรม, ศาลปกครอง และศาลทหาร แต่ศาลที่ดูจะใกล้ชิดกับชาวบ้านธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ มากที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นศาลยุติธรรมที่ถือว่าเป็นศาลอันมีหน้าที่ในการพิพากษาคดีทั้งหมดทั้งมวล ยกเว้นคดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายได้บัญญัติขึ้นให้ศาลอื่นเป็นผู้ตัดสิน
จำนวนชั้นของศาลมีอะไรบ้าง
สำหรับศาลยุติธรรมหลักๆ แล้วจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ซึ่งแต่ละชั้นก็จะมีหน้าที่ในการตัดสินคดีหรือมีสิทธิ์ในการตัดสินแตกต่างกันออกไป ดังนี้
- ศาลชั้นต้น – จะถูกแบ่งออกเป็นศาลประเภทต่างๆ ดังนี้
- ศาลแพ่ง มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งทั้งหมดและคดีอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นอื่นๆ
- ศาลอาญา มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาทั้งหมดในเขตกรุงเทพมหานคร
- ศาลจังหวัด ประจำอยู่ในแต่ละจังหวัดหรือบางอำเภอ มีอำนาจพิจารณาคดีทั้งแพ่งและอาญาที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นอื่นๆ กรณียื่นฟ้องคดีกับศาลจังหวัดแต่คดีเกิดขึ้นในพื้นที่ศาลแขวงและยังอยู่ในอำนาจของศาลแขวง ศาลจังหวัดต้องโอนหน้าที่ไปให้ศาลแขวงดังกล่าว
- ศาลภาษีอากรกลาง มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับภาษีอากร ที่จะแตกต่างไปจากคดีแพ่งทั่วไป
- ศาลแรงงานกลาง มีอำนาจในการพิจารณาคดีแรงงานที่จะแตกต่างไปจากคดีทั่วๆ ไป ส่วนมาใช้วิธีในการไกล่เกลี่ย และการระงับข้อพิพาทเป็นหลัก
- ศาลอุทธรณ์ – เป็นศาลสูงสุดที่อยู่ถัดมาจากศาลชั้นต้นจะมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับคดีที่มีการอุทธรณ์จากคำพิพากษาหรือจากอำนาจของศาลชั้นต้นที่อยู่ในเขตอำนาจ รวมถึงมีอำนาจในการวินิจฉัยคดีที่ศาลอุทธรณ์มีคำอำนาจให้ทำการวินิจฉัยได้จากกฎหมายอื่นในช่วงของเขตพื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ในเขตศาลอุทธรณ์ภาค ยกเว้นคดีที่อยู่นอกเหนือจากเขตศาลอุทธรณ์จะทำการอุทธรณ์ต่อศาลก็ได้ ซึ่งทั้งหมดก็อยู่ในดุลยพินิจของศาลเพื่อทำการรับอุทธรณ์ในคดีต่างๆ
ศาลฎีกา – เป็นศาลชั้นสูงสุดที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีที่มีการยื่นอุทธรณ์เพื่อพิพากษา ตามบทบัญญัติที่ว่าด้วยเรื่องของการฎีกา นอกจากนี้ยังมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดในคดีที่ศาลฎีกามีอำนาจในการวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่นๆ ซึ่งอย่างน้อยจะต้องประกอบไปด้วยผู้พิพากษา 3 ท่าน แต่ก็มีในบางกรณีที่อาจต้องใช้มากกว่านั้นหากว่าเป็นคดีที่มีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งศาลฎีกายังมีการแยกออกเป็นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาสำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อใช้สำหรับพิจารณาคดีที่มีนักการเมืองเป็นผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ ถือว่าเป็นการตัดสินที่ถูกแยกออกไปอย่างชัดเจน
กฎหมาย
- กฎหมายไทย - โบราณเรียกตัวบทกฎหมายว่า "พระอัยการ"
หน่วยงาน
- สำนักงานอัยการสูงสุด - ชื่อสำนักงานของไทยที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่ง และให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ ตลอดจนคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย, เดิมเรียก "กรมอัยการ"
- กรมอัยการสูงสุดแห่งออสเตรเลีย - ชื่อกรมหนึ่งของออสเตรเลียที่มีหน้าที่อย่างเดียวกับสำนักงานอัยการสูงสุดของไทย
บุคคล
- พนักงานอัยการ - เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล
- อัยการสูงสุด - หัวหน้าพนักงานอัยการ
- อธิบดีกรมอัยการแห่งอังกฤษ - หัวหน้าพนักงานอัยการของประเทศอังกฤษ
ประเทศไทย
- พนักงานอัยการไทย - เจ้าพนักงานของประเทศไทยผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดิน เพื่ออำนวยความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน, "ข้าราชการอัยการ" ก็เรียก, โบราณเรียก "พนักงานรักษาพระอัยการ" "ยกกระบัตร" หรือ "ยกบัตร"
- อัยการสูงสุด (ประเทศไทย) - หัวหน้าพนักงานอัยการไทย
..............................................
ศาลปกครองสั่งขสมก.จ่ายค่าโง่รถเมล์เอ็นจีวี1,160ล้านบาทให้'เบสท์ริน'
10 เม.ย.61- ศาลปกครองออก 2 คำสั่งในคดี รถเมล์เอ็นจีวี ระหว่างขสมก.กับบริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด ดังนี้
1.คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาของศาลปกครองกลาง ในคดีหมายเลขดำที่ 709/2561 ให้ทุเลาการบังคับตามมติของคณะกรรมการบริหารกิจการ ขสมก. (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ในคราวประชุมครั้งที่ 15/2560 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2560 ที่อนุมัติสั่งซื้อรถยนต์โดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 489 คัน เป็นเงินทั้งสิ้น 1,891,452,000 บาท และที่อนุมัติสั่งจ้างซ่อมแซมและบำรุงรักษารถโดยสารจำนวน 489 คัน เป็นเงินทั้งสิ้น 2,369,388,375 บาท กับกลุ่มร่วมทำงาน SCN-CHO โดยบริษัท ช.ทวี จำกัด (มหาชน) และบริษัทสแกนอินเตอร์ จำกัด (มหาชน) และตามมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ในคราวประชุมครั้งที่ 16/2560 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2560 ที่รับรองรายงานการประชุมของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ในคราวประชุมครั้งที่ 15/2560 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2560 โดยมิให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง (ขสมก.และคณะกรรมการบริหารกิจการ ขสมก. ตามลำดับ) นำมติดังกล่าวไปดำเนินการใดๆ ที่มีผลผูกพันผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น
2. คำพิพากษาศาลปกครองกลาง ในคดีหมายเลขดำที่ 502,955/2560 ให้ ขสมก. (ผู้ถูกฟ้องคดี) ชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องจากการไม่ชำระราคารถยนต์โดยสาร พร้อมดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2560 จนถึงวันฟ้อง (วันที่ 7 มิถุนายน 2560) รวมเป็นเงิน 1,048,499,346.44 บาท ค่าเสียหายจากการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงจำนวน 12,092,442 บาท ค่าจ้างซ่อมแซมบำรุงรักษารถยนต์โดยสาร จำนวน 89,830,336.35 บาท และค่าเสียหายจากการคืนหนังสือค้ำประกันล่าช้าเป็นเงินจำนวน 547,427.71 บาท รวมเป็นเงินที่ ขสมก.ต้องชดใช้เป็นจำนวน 1,159,969,552.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ให้แก่บริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด กับพวกรวม 4 ราย ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด เนื่องจาก ขสมก.เป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายและจ้างซ่อมแซมบำรุงรักษารถยนต์โดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) ตามสัญญาเลขที่ ร.50/2559 ลงวันที่ 30 กันยายน 2559.
อีกคดี! ศาลปค. สั่ง ขสมก. ชดใช้ค่าเสียหาย บ.เบสท์รินฯ 1 พันล. เลิกสัญญาเมล์เอ็นจีวีมิชอบ
ศาลปกครองชั้นต้น พิพากษาให้ ขสมก. ชดใช้ค่าเสียหายแก่ บ.เบสท์รินฯ 1.1 พันล. พร้อมคืนเเบงก์การันตี หลังยกเลิกสัญญารถเมล์เอ็นจีวีมิชอบ
(ซ้าย) นายสันติ ปิยะทัต ทนายความบริษัท เบสท์รินฯ (ขวา) นายคณิสสร์ ศรีวัชระประภา ผู้บริหาร บริษัท เบสท์รินฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 10 เม.ย. 2561 ศาลปกครองกลาง อ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำ ที่ 502, 955/2560 คดีหมายเลขแดงที่ 662,663/2561 ระหว่าง บริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด, บริษัท อาร์ แอนด์ เอ คอมเมอร์เชียล วิฮีเคิลส์ เอสดีเอ็น บีเอชดี, บริษัทรถยนต์เซินหลง (เซี่ยงไฮ้) จำกัด และบริษัท เทคโนโลยีพลังงานใหม่เป่ยฟังกวางโจว (ผู้ฟ้องคดีที่ 1-4) กับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือขสมก. (ผู้ถูกฟ้องคดี) ในคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ขอให้ตรวจรับมอบรถยนต์โดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (รถเมล์เอ็นจีวี) จำนวน 390 คัน ณ ศาลปกครอง ถ.แจ้งวัฒนะ
คดีนี้ผู้ฟ้องคดี ฟ้องว่า ขสมก.ผิดสัญญาซื้อขายและจ้างซ่อมแซมบำรุงรักษารถเมล์เอ็นจีวี สัญญาเลขที่ ร.50/2559 ลงวันที่ 30 ก.ย. 2559 กรณีไม่ตรวจสอบรับรถเมล์เอ็นจีวีจำนวน 390 คัน ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้ส่งมอบตามสัญญา โดยอ้างว่า สำนักงานอัยการมีความเห็นให้ผู้ถูกฟ้องคดีรอกรมศุลกากรตรวจสอบเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของสินค้าก่อน อันถือเป็นการอ้างเหตุนอกสัญญา โดยไม่มีเหตุผลความจำเป็น ผู้ฟ้องคดีได้แจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีตรวจรับมอบรถเมล์เอ็นจีวีดังกล่าวตามสัญญาจำนวนหลายครั้ง แต่ผู้ถูกฟ้องคดียังคงเพิกเฉย เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหาย
โดยศาลพิพากษาให้ ขสมก.ชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องจากการไม่ชำระราคารถยนต์โดยสาร พร้อมดอกเบี้ย นับตั้งแต่วันที่ 12 เม.ย. 2560 จนถึงวันฟ้อง (7 มิ.ย. 2560) รวมเป็นเงิน 1,048,499,346.44 บาท ค่าเสียหายจากการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง จำนวน 12,092,442 บาท ค่าจ้างซ่อมแซมบำรุงรักษารถยนต์โดยสาร จำนวน 98,830,336.35 บาท และค่าเสียหายจากการคืนเงินค้ำประกันล่าช้า เป็นเงินจำนวน 547,427.71 บาท รวมเป็นเงินที่ ขสมก.ต้องชดใช้เป็นจำนวน1,159,969,552.50 บาท พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 1,147,831,350.06 บาท นับจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จ
นอกจากนี้ยังให้ ขสมก.ส่งมอบหนังสือค้ำประกันของธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน) เลขที่HOB28301B600284 ลงวันที่ 30 ก.ย. 2559 ให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ หากไม่อาจคืนให้ได้ให้ชดใช้เงินตามจำนวนตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่
นายสันติ ปิยะทัต ทนายความ บริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาว่า ขสมก.บอกเลิกสัญญาโดยมิชอบ จึงให้ ขสมก. ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัทฯ 1,100 ล้านบาท จากจำนวนค่าเสียหายที่เรียกร้องไปทั้งหมด 3,900 ล้านบาท เนื่องจากศาลมองว่าการเรียกร้องค่าเสียหายบางส่วนไม่ได้เสียหายจริง เช่น ค่าซ่อมบำรุงในระยะ 10 ปี ซึ่งในเมื่อ ขสมก. ยังไม่ได้ใช้รถเมล์เอ็นจีวีของบริษัทฯ ศาลเลยกำหนดแค่ค่าเสียหายแค่เฉพาะบางส่วน นอกจากนี้ยังให้คืนแบงก์การันตีด้วย
อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้จะนำคำพิพากษาเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทฯ เพื่อได้ทำหนังสือกราบเรียน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ดำเนินการเกี่ยวกับรถเมล์เอ็นจีวีต่อไป เพราะแม้จะเป็นคำตัดสินของศาลชั้นต้น แต่พอพิสูจน์ได้แล้วว่า ความจริงเป็นอย่างไร ดังนั้น การปล่อยทิ้งรถไว้เป็นเวลานาน จะทำให้เสียประโยชน์
ด้านนายคณิสสร์ ศรีวัชระประภา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด ระบุเพิ่มเติมว่า แม้บริษัทฯ จะได้รับค่าเสียหายมา แต่ประชาชนกลับไม่ได้ใช้บริการรถเมล์เอ็นจีวี เพราะความจริงแล้ว บริษัทฯ ไม่ได้ต้องการความเสียหาย แต่ต้องการนำรถที่ดีและราคาถูกมาให้บริการ ทั้งนี้ จะไม่ยื่นอุทธรณ์เรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม เพราะไม่ใช่จุดประสงค์ของบริษัทฯ
ศาลปกครอง (ประเทศไทย)
ศาลปกครอง | |
---|---|
![]() ตราสัญลักษณ์ศาลปกครอง
|
|
สถาปนา 9 มีนาคม พ.ศ. 2544
เขตอำนาจ ประเทศไทย
ที่ตั้ง 120 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร10210 ไทย
พิกัด 13.8896519°N 100.5681273°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 13.8896519°N 100.5681273°E
ฐานอำนาจ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
งบประมาณประจำปี 2,971,621,600 บาท (ปีงบประมาณ 2560)[2]
เว็บไซต์ www.admincourt.go.th
ประธานศาลปกครองสูงสุด
ปัจจุบัน นายปิยะ ปะตังทา
ตั้งแต่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559
ศาลปกครอง (อังกฤษ: Administrative Court) เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 276 และมีการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีฐานะเทียบเท่าศาลยุติธรรมและมีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษา “คดีปกครอง” ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนกรณีหนึ่ง และข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันอีกกรณีหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและเพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องในการปฏิบัติราชการ
ศาลปกครอง เป็นศาลที่ใช้ระบบไต่สวน โดยในแต่ละคดีจะมีการพิจารณาโดยองค์คณะของตุลาการ ต่างจากศาลยุติธรรมซึ่งใช้ระบบกล่าวหา ศาลปกครองแบ่งออกเป็น "ศาลปกครองชั้นต้น" และ "ศาลปกครองสูงสุด"
- ศาลปกครองชั้นต้น
- ศาลปกครองกลาง มีเขตอำนาจตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ชัยนาท นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สมุทรปราการสมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง หรือคดีที่ยื่นฟ้องที่ศาลปกครองกลาง
- ศาลปกครองในภูมิภาค ปัจจุบันมี 11 แห่ง ดังนี้
- ศาลปกครองเชียงใหม่ มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในท้องที่จังหวัดน่าน พะเยา และแพร่[5]
- ศาลปกครองสงขลา มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดสงขลา ตรัง พัทลุง และสตูล และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในท้องที่จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา[6]
- ศาลปกครองนครราชสีมา มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดนครราชสีมาและชัยภูมิ และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในท้องที่จังหวัดบุรีรัมย์และสุรินทร์[7]
- ศาลปกครองขอนแก่น มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในท้องที่จังหวัดร้อยเอ็ด
- ศาลปกครองพิษณุโลก มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดพิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย และอุตรดิตถ์
- ศาลปกครองระยอง มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดระยอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว
- ศาลปกครองนครศรีธรรมราช มีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ภูเก็ต พังงา กระบี่ สุราษฎร์ธานี และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดชุมพรและระนอง
- ศาลปกครองอุดรธานี มีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดอุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู และเลย และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดนครพนม มุกดาหารบึงกาฬ และสกลนคร
- ศาลปกครองอุบลราชธานี มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญ
- ศาลปกครองเพชรบุรี มีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และสมุทรสงคราม[8]
- ศาลปกครองนครสวรรค์ มีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร อุทัยธานี และเพชรบูรณ์[9]
- ศาลปกครองสูงสุด มีอำนาจตัดสินคดีที่ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดโดยตรง หรือคดีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น
....................................................
11 เมษายน 2561