
กลุ่ม TMFG
หรือ กลุ่มสหภาพลูกเรือประมงไทยและข้ามชาติ
Thai and Migrant Fishers Union Group
ที่มาของการจัดตั้งกลุ่ม
ภายหลังจาก มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงาน หรือ LPN ตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือลูกเรือประมง หรือ Seafarers Action Center (SAC) ดำเนินการช่วยเหลือลูกเรือประมงไทย และข้ามชาติที่ “ตกเรือ” และ “ติดค้าง” อยู่บนเรือ ณ เกาะอัมบน ตวน และเบนจิน่า ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี 2557 ทำให้เห็นภาพปรากฏการณ์ของปัญหาส่วนหนึ่งว่ามี “การละเมิดสิทธิแรงงาน” ปัญหาแรงงานทาสและค้ามนุษย์ โดยเหตุการณ์ก่อนหน้านี้หลายปียังไม่มีใครรับรู้เข้าใจสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น การเรียกร้องความเป็นธรรมไม่มีปรากฏชัด ความสูญเสียของแรงงานลูกเรือประมงนอกน่านน้ำถูกทำให้หายไป การทำงานช่วยเหลือลูกเรือประมงดังกล่าวได้ประสานความร่วมมือกับรัฐบาลไทย และรัฐบาลอินโดนีเซียเพื่อเป้าหมายสุดท้ายคือ ได้กลับภูมิลำเนา ให้มีสิทธิเรียกร้องขอความเป็นธรรมกรณีที่ถูกกระทำหรือถูกละเมิดสิทธิในร่างกาย ชีวิต จิตใจ และการคุ้มครองสิทธิที่พึงมีพึงได้ตามกฎหมายไทย
ปัญหาที่พบจากการช่วยเหลือลูกเรือประมง ทำให้เห็นถึงถึงสภาพปัญหา ตั้งแต่การสมัครงาน การจ้างงาน สภาพการทำงานที่ไม่เหมาะสม ค่าจ้างค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม สวัสดิการในการทำงานขาดความเป็นธรรม การละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน การค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน อิสรภาพของลูกเรือสมาชิกไม่ได้มีหน่วยงานรับผิดชอบ รวมไปถึงลูกเรือที่ยังอาจยังคงตกค้างตามเกาะต่างๆ และที่สำคัญลูกเรือประมงส่วนหนึ่งเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนเรือ การถูกทำร้ายร่างกายจากคนงานด้วยกันเอง และหรือจากผู้มีอำนาจหน้าที่บนเรือประมง ส่วนหนึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองที่เป็นธรรมจากนายจ้างเท่าที่ควร กลุ่มลูกเรือประมงที่เดินทางกลับมา ได้บทเรียนจากการที่ตนเองถูกหลอกให้ไปสมัครงาน บางคนตั้งใจไปทำงาน แต่ระบบคุ้มครองทางกฎหมายไม่ได้นำมาใช้กับกลุ่มสมาชิก การร้องขอความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนไม่สามารถที่จะได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ถึงความลำบากและการฟื้นฟู ทางด้านร่างกาย ทางด้านจิตใจ ของกลุ่มสมาชิกที่ถูกกระทำมาในการไปเป็นแรงงานประมงในต่างประเทศ กลุ่มลูกเรือประมงได้ร่วมกันคิดเพื่อที่จะเป็นช่วยเป็นฐานข้อมูลจากประสบการณ์จริง เพื่อใช้ในการคิดวิเคราะห์สภาพปัญหาให้กับบุคลทั่วไปหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับรู้และร่วมกันแก้ปัญหาการทำงานของผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหาย บุคคล กลุ่มลูกเรือที่ร้องขอความช่วยเหลือ เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้อง พร้อมทั้งการเข้าใจในสภาพการทำงาน ภูมิศาสตร์พื้นที่การทำงาน ลักษณะการทำงานที่ประสบด้วยตัวเอง การถูกเอารัดเอาเปรียบด้านค่าจ้างค่าแรงรวมถึงเวลาพักผ่อน ที่ส่งผลต่อสภาพร่างกายและจิตใจ

ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2558 จึงเป็นครั้งแรกของการกลุ่มลูกเรือประมงทั้งไทยและข้ามชาติ การรวมกลุ่มของแรงงานลูกเรือประมงนี้ เพื่อเป็นการสะท้อนมุมมองของลูกเรือที่ประสบปัญหานั้นจะนำมาประกอบกับการทำงานของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อจะได้ให้ความเป็นธรรมแก่ลูกเรือหรือแรงงานที่ประสบปัญหาและรวมถึงการรับฟังปัญหาอย่างรอบด้านให้นำไปสู่แนวปฏิบัติที่ดี หรือมีนโยบายที่ดีต่อการบริหารจัดการลูกเรือประมงไทยในและนอกน่านน้ำไทยในอนาคตต่อไป
เชื่อหรือไม่ว่า ที่ผ่านมาในประเทศไทย ยังไม่เคยมีปรากฏว่า มีการรวมกลุ่มของลูกเรือประมงไทยและข้ามชาติ หรือมี “สหภาพแรงงานลูกเรือประมง” เลยเนื่องจากยังไม่ได้รับการพัฒนาส่งเสริมเท่าที่ควร หรือมีนโยบายที่ดีทำให้เกิดการปฏิบัติต่อเนื่องได้

“กลุ่มสหภาพลูกเรือประมงไทยและข้ามชาติ” หรือ TMFG เป็น “ชื่อ” ที่ตั้งขึ้นจากการรวมกลุ่มของสมาชิกอดีตลูกเรือประมงไทยในประเทศอินโดนีเซีย และปัจจุบันกลับมายังคงทำงานในเรือประมงในประเทศไทย และบางส่วนประกอบอาชีพอื่นๆ และรวมถึงแรงงานลูกเรือประมงข้ามชาติที่เป็นสมาชิกใหม่ที่ทำงานเป็นลูกเรือประมง ปัจจุบัน มีสมาชิกมากกว่า 100 คน และยังคงเปิดรับสมัครสมาชิกขยายเครือข่ายความร่วมมือของลูกเรือประมงที่สนใจหรือมีจิตอาสาสมัครอยากมาทำกิจกรรมเชิงสังคมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน ภายในปี 2020 คาดว่าน่าจะมีลูกเรือสนใจเข้าร่วมกิจกรรมการรวมกลุ่มนี้ ไม่น้อยกว่า 500 คน


เป้าหมาย
เพิ่มระดับการช่วยเหลือลูกเรือประมงไทยและข้ามชาติที่ประสบปัญหาให้ได้รับความเป็นธรรม ได้รับการช่วยเหลือคุ้มครอง ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจเยียวยา ตลอดจนการฟื้นฟู การฝึกอาชีพ สนับสนุนด้านการส่งเสริมการใช้ชีวิตในสังคม การเปิดโอกาสให้ผู้ประสบปัญหาได้ใช้สิทธิของตัวเองอย่างเท่าเทียมทั้งการมีส่วนร่วมในการร้องขอเกี่ยวกับการคุ้มครองทางด้านกฎหมาย การคุ้มครองสวัสดิการ การนำเสนอปัญหาให้กับผู้เกี่ยวข้องนั้นได้ตระหนักถึงการแก้ปัญหาจากประสบการณ์จริงของกลุ่มสมาชิก
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้แรงงานลูกเรือประมงไทย และลูกเรือประมงข้ามชาติที่ประสบปัญหาที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ได้รับการช่วยเหลือด้านกฎหมายและคดีความ และการคุ้มครองสวัสดิภาพ ได้รับการบริการที่ดีจากรัฐในการเยียวยา ฟื้นฟูทางด้านร่างกาย และจิตใจเยียวยา ตลอดจนการส่งเสริมการมีงานทำ
- เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม และเสริมสร้างศักยภาพของกลุ่มลูกเรือประมงให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ และสื่อสารสู่สาธารณะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี
- เพื่อสามารถจัดตั้ง “สหภาพแรงงานลูกเรือประมง” ในอนาคต และหรือจัดตั้งเป็น “สมาคมลูกเรือประมงไทย” และรวมถึง การรณรงค์ในเชิงนโยบายต่อรัฐในการบริหารจัดการที่ดี การปกป้องคุ้มครองที่ดีต่อลูกเรือประมงในและนอกน่านน้ำไทย

ทั้งนี้ กลุ่มลูกเรือประมงไทย และข้ามชาติ ไม่ได้มีเจตนาวัตถุประสงค์เพื่อให้หยุดหรือทำลายอาชีพการประมงของไทยต้องเสียหายหรือเกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดี เพียงเพื่ออยากให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคผู้ประกอบการธุรกิจประมงได้คำนึงถึงความสำคัญของการพัฒนา “ทุนมนุษย์” และ “คุณภาพชีวิต” หรือทรัพยากรแรงงานหรือลูกจ้างที่มีคุณค่า ให้ได้รับสิทธิ ผลประโยชน์จากการเป็นลูกจ้างอย่างเท่าเทียมกัน ในด้านกฎหมาย การเงิน การคุ้มครองสิทธิในการเป็นลูกจ้าง ทั้งในและต่างประเทศอย่างถูกต้องและเป็นธรรม
ที่ตั้ง กลุ่มสหภาพลูกเรือประมงไทยและข้ามชาติ
เลขที่ 25/17-18 หมู่บ้านมหาชัยเมืองทอง ถนนสหกรณ์ ตำบลบางหญ้าแพรก
อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร 74000
โทรศัพท์ 034 434 726, 086 163 1390, 064 934 5254, 092 321 1516
และ LPN CALL CENTER 02 026 3479
ผู้ประสานงานกลุ่ม
- นายชัยรัตน์ ราชปักษี อดีตลูกเรือประมงชาวไทย
- นายทูนลิน อดีตลูกเรือประมงชาวเมียนมาร์
- นายสุรชัย มีนทุน อดีตลูกเรือประมงชาวเมียนมาร์
สมพงค์ สระแก้ว รายงาน
21/04/2561
LPN
|