การได้เข้าอบรมในโครงการ "สานฝันสู่ผู้ประกาศรุ่นใหม่" สไตล์ NATION CHANNEL ที่ผ่านมาทำให้ได้รู้อะไรหลายๆ อย่างที่น่าสนใจที่หาไม่ได้ตามท้องถนนไม่ว่าจะเป็นในสัปดาห์ที่ 2 ได้เรียนเรื่องการเรียนใช้เสียงให้มีคุณภาพกับครูอ้วน มณีนุช เสมรสุต ในการเปล่งเสียงที่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยแต่ก็ไม่ยากหากมีการเรียนรู้ ฝึกฝน มีวินัย หรือแม้แต่การเรียนกับคุณอุ๊ ช่อผกา วิริยานนท์ในเรื่องบุคลิกภาพสำหรับผู้ประกาศข่าวและผู้ดำเนินรายการในมุมมองที่น่าสนใจในแบบของคุณอุ๊ รวมถึงการเรียนแต่งหน้ากับคุณม้ง ชาคริต ศีลเศวตกุล ว่าผู้ประกาศข่าวควรมีการแต่งหน้าลักษณะอย่างไรให้เหมาะสมซึ่งในและได้เจอกับคุณกนก รัตน์วงศ์สกุล,คุณวีณารัตน์ เลาหภคกุล,พี่จอย ศุนันทวดี อุทาโย ที่จะมาให้คำแนะนำในการอ่านข่าวซึ่งล้วนได้ประสบการณ์และความรู้ที่ดีมากๆ ซึ่งในสัปดาห์ที่ 3 ก็ได้เรียนรู้หลากหลายเช่นกันนั่นคือการฝึกอบรมมีทีมเบื้องหลังงานข่าว และสารคดีอย่าง อ.พิภพ พานิชภักดิ์ ที่ให้เห็นถึงความสำคัญของ Field Reporting ว่าเราอยู่ในสถานการณ์รายงานข่าวซึ่งบก.ภาคสนามก็มีความสำคัญในการเป็นหู ตาของช่อง เป็นนักสืบกึ่งนักจัดการในพื้นที่ บริหารนักข่าว การจัดทัพในแต่ละพื้นที่ให้เหมาะสมซึ่งต้องนักข่าวที่ดีต้องมี - ทักษะในเรื่องการฟังและการสังเกตที่ดี (เรดาห์ที่ดี) - ต้องมีพื้นฐานไปให้ประชาชนไม่ใช่รู้มากหรือรู้น้อยไป - ความซื่อสัตย์ ความน่าเชื่อถือ - สติสังคม เตือนสังคม ตั้งคำถามกับผู้มีอำนาจ ท้าทายเพื่อสังคม - การทำงานเป็นทีม เป็นกิจกรรมทางสังคมไม่ใช่แค่การอ่านข่าว ส่วนเรื่องทักษะของการเป็น Anchor ของ อ.พิภพ นั้นมีหลากหลายกิจกรรมที่น่าสนใจโดย Work Shopที่ 1 คือ การจับคู่แล้วให้อีกคนหนึ่งเล่าเรื่องในหัวข้อ คุณคือใคร? ให้อีกคนหนึ่งนั่งฟังอย่างเดียวห้ามถามในเวลา 5 นาที จากนั้นให้คนที่นั่งฟังเราเล่าเรื่องที่เราพูดมาแล้วให้คนเล่าเรื่องแนะนำคนฟังว่ายังขาดอะไรซึ่งประโยชน์ในเรื่องของEmotion,out of contxt ,Facts ทำให้เรารู้ว่าเราต้องมีสมาธิกับแหล่งข่าวซึ่งการที่แหล่งข่าวจะเปิดใจเล่าเรื่องให้ฟังนั้นต้องมาจากการที่เราเป็นคนตั้งใจที่จะฟังจริงๆ น่าไว้ใจ น่าเชื่อถือ นิยามที่ได้ "คุณต้องเป็นที่รัก ที่ประชาชนชอบ เป็นที่พึ่งของประชาชน" Work Shopที่ 2 วงเวียนชีวิต ซึ่งได้มีการยกตัวอย่างพร้อมทั้งให้ทุกคนมีส่วนร่วมในวงเวียนชีวิตโดยมีการแบ่งกลุ่มเป็น 2 หมู่บ้านที่ทะเลาะกันจากนั้นก็มีผู้ชายหนึ่งหมู่บ้านกับผู้หญิงอีกหนึ่งหมู่บ้านลงมาซื้อของที่ตลาดแล้วผู้หญิงคนนั้นหายไปพ่อแม่ของผู้หญิงก็ออกตามหาแม่ไปถามชาวบ้านอีกหมู่บ้านหนึ่งที่ไม่ได้โกรธกันซึ่งเขาก็บอกว่าเห็นว่าผู้ชายหมู่บ้านนั้นก็อยู่ด้วยพ่อแม่หมู่บ้านนั้นเลยเข้าใจผิดเลยไปหาเรื่องและฆ่าผู้ชายคนนั้นตายนักข่าวก็มาทำข่าวว่ามีคนตายเท่านั้นแต่อีกหมู่บ้านนึงคิดว่าเป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งฆ่าแน่นอนก็เลยทะเลาะกันเรื่อยมาจนเป็นเรื่องทำให้ครูตายนักข่าวเลยต้องไปทำข่าวอีกก็ไปถามที่นายอำเภอก็ไม่ได้คำตอบอะไรมากไปกว่าเดิมต่อมาทางNGOส่งข่าวไปที่CNNบอกว่าเป็นเรื่องของศาสนาที่แตกต่างกันซึ่งอาจส่งผลร้ายต่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งบอกตรงๆว่าการเรียนรู้ในเรื่องของวงเวียนชีวิตในครั้งนี้ถือเป็นการยกตัวอย่างที่ทำให้ได้มุมมองว่าผู้สื่อข่าวหรือคนทำข่าวต้องมองประเด็นให้ออกไม่ใช่วิ่งวุ่นอยู่รอบข่าวเพราะจะทำให้เราได้ข่าวที่ไม่ตรงความจริง อีกทั้งการทำข่าวการทำข่าวต้องมีความสมดุล เป็นกลาง ซึ่งในแต่ละคน แต่ละข่าวก็จะมีระบบคุณค่าที่เราต้องหาให้เจอ นิยามที่ได้ " It's not what you know as mush as what kind preson you are " มันไม่ใช่ว่าคุณรู้อะไรเท่ากับว่าคุณเป็นคนแบบไหน สำหรับการเรียนรู้กับ พี่อ้อย ธนานุช สงวนศักดิ์ ที่ให้ความรู้ในการเตรียมตัวว่าเราต้องนำมีทักษะที่มีอยู่ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น การสัมภาษณ์ เก็บข้อมูล ความสัมพันธ์กับแหล่งข่าว ทักษะในการประเมินสถานการณ์ เราต้องฟังคนอื่น วิธีการสัมภาษณ์ ต้องมีความรู้ในเรื่องแหล่งข่าว เช็คหน้าตา เช็คข่าว ทักษะความเป็นมนุษย์สูง การประเมินสถานการณ์เชิงประจักษ์ ความนิ่งในสถานการณ์ที่คับขัน การรักษามารยาท การตีความ การวางตัวเป็นกลาง การสังเกต ทำการบ้านก่อนลงพื้นที่ จากคำแนะนำของพี่อ้อย ธนานุช ทำให้ได้ข้อคิดอย่างหนึ่งที่ว่า ทักษะความเป็นมนุษย์ ซึ่งไม่เคยได้ยินมาก่อนแต่ทำให้รู้ว่าการที่เราเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ไปทำข่าวเพื่อประชาชนนั้นเราคิดว่าแค่ว่านั่นคือหน้าที่ จนบางครั้งอาจมองข้ามความเป็นมนุษย์ที่มนุษย์หรือประชาชนอยากพึ่งพาเราเพราะคิดว่าเราคือที่พึ่ง ซึ่งบางครั้งเราอาจมองข้ามไป ส่วนการเรียนรู้และรับความรู้จากพี่โจ้ ณัฐพงศ์ โอฆะพนม ในเรื่องของการทำข่าวภาคสนามที่ให้แบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม กลุ่มละ5 คนโดยมีสถานการณ์ให้ 3 สถานการณ์น้นคือ 1. ทุกวันเสาร์พนักงานเนชั่นจะมาเตะบอลที่โรงยิมชั้น11 2. การก่อสร้างที่หน้าตึกเนชั่น 3. การอบรม Work Shop ผู้ประกาศในการอบรมวันที่ 5 โดยทุกคนในแต่ละทีมจะมีการแบ่งแต่ละหน้าที่นั่นก็คือ Producer ,Co-Producer , Host/Mc , News Reporter , Co-Ordinator โดยแต่ละกลุ่มจะได้ทีมงานนั่นคือตากล้องให้เราสามารสั่งการได้ว่าต้องการภาพแบบไหน ให้ถ่ายอะไร ซึ่งแต่ละกลุ่มจะได้เวลาในการวางแผน 5 นาทีและการทำงาน 30 นาที เมื่อถ่ายทำเสร็จแล้วพี่ๆจะกลับไปตัดต่อมาให้และแนะนำของแต่ละกลุ่ม การได้ลงมือทำแบบนี้ถือว่าสนุกแถวได้ประสบการณ์ในการทำงานที่ต้องมีการทำงานเป็นทีมและมีไหวพริบอย่างมาเนื่องจากว่าการทำงานที่มีการเตรียมตัวน้อยนั้นทุกคนต้องตั้งใจทำและมีความพยายามอย่างมากทำให้เรารู้ว่าการทำงานไม่ได้มาง่ายๆ ต้องมีความพร้อมในเรื่องของร่างกายและจิตใจด้วย เห็นมั้ยละคะว่ากว่าพวกคุณจะได้เห็นหน้าคนทำข่าวที่เก่งๆ ตามหน้าจอโทรทัศน์ คุณไม่รู้หรอกว่ากว่าพวกเขาจะก้าวมาถึงจุดที่พวกคุณชื่นชอบ จุดที่คุณเห็นว่าเขาเก่งนี้มันยากแค่ไหน นี่ก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่ โครงการ "สานฝันสู่ผู้ประกาศรุ่นใหม่" สไตล์ NATION CHANNEL เปิดโอกาสให้มีโอกาสและให้คุณได้เป็นส่วนหนึ่งในการให้คำแนะนำแก่พวกเราที่อนาคตคนใดคนหนึ่งใน 26 คนจะได้ชื่อว่า เป็นคนทำข่าวตัวจริง
|