จริงๆวันนี้ข่าวใหญ่ที่ใกล้บ้านเราที่สุดก็น่าจะเป็นเรื่องที่ประธานาธิบดีโฮเซ่ รามอส ฮอสตาร์ของตีมอร์เลสเตโดนลอบสังหารโดยกลุ่มกบฎ ซึ่งท้ายที่สุดทางการก็ควบคุมสถานการณ์ได้ ส่วนนายกรัฐมนตรีก็ถูนำตัวเข้าไปรักษาที่ประเทศออสเตรเลียในที่สุด ซึ่งตอนนี้อาการยังหน้าเป็นห่วงมาก
Jose Ramos Horta หากย้อนกลับไปสี่ถึงห้าปีที่แล้วประเทศนี้ก็เป็นประเทศที่อยู่ในสายตาของชาวโลกเพราเป็นประเทศเกิดใหม่ล่าสุดของศตวรรษที่ 21 วันนี้เพื่อเป็นการเพิ่มเติมความเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศติมอร์เลสเตได้ดีขึ้นผมจึงใคร่นำเสนอเรื่องราวของประเทศนี้โดยสังเขป
ประเทศติมอร์เลสเต หรือติมอร์ตวันออกตั้งในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ติดกับประเทศอินโดนีเซียคือรัฐติมอร์ตะวันตก มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 15,410 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น และที่สำคัญอยู่ใกล้กลับเมืองดาร์วินของออสเตรเลียเพียงประมาณ 640 กิโลเมตรเท่านั้น
คำว่าติมอร์เป็นภาษามลายูหรืออินโดนีเซียมีความหมายว่าตะวันออกซึ่งตามภาษามลายูจะออกเสียงว่าติโมร ซึ่งต่อมาเพื้ยนเป็นติมอร์ภายใต้การปกครองของโปรตุเกส ซึ่งประเทศนี้อยู่ทางตะวันออกของอินโดนีเซีย ทางอินโดนีเซียเลยเรียกว่าติมอร์ติโมร(ติมอร์ตะวันออก) และติมอร์บารัท(ติมอร์ตะวันตก)ซึ่งปัจจุบันยังเป็นจังหวัดหนึ่งของอินโดนีเซีย
เชื่อกันว่าผู้คนเดิมของติมอร์เป็นผู้อพยพย้ายถิ่นมาพร้อมๆกับกลุ่มพื้นเมืองอื่นๆของทางออสเตรเลียและนิวกีนี ชาวติมอร์เลสเตส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายมาเลนีเซียน(กลุ่มเดียวกับคนมาเลย์) ว่ากันว่ากลุ่มนี้เข้ามาตั้งถิ่นฐานประมาณ 40,000 ปีมาแล้ว ส่วนพวกที่สองคือกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรนีเซียน พวกนี้เข้ามาประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาลซึ่งมีบทบามมากในการเกษตรกรรมของติมอร์ ส่วนพวกที่สามคือโปรโตมาเลย์ซึ่งอพยพมาจากทางใต้ของจีน และทางเหนือของอินโดจีน
ติมอร์ได้ผนวกเข้ากับเครือข่ายด้านการค้าของจีนและอินเดียในศตวรรษที่สิบสอง นักสำรวจชาวยุโรปยุคแรกรายงานว่าในช่วงศตวรรษที่สิบหกมีกลุ่มชนเผ่าหลายกลุ่มที่มีผู้นำเผ่าหรือมีเจ้าชายปกครอง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือราชอาณาจักรเวหาเรตั้งอยู่ทางตอนกลางของติมอร์ มีเมืองหลวงคือ ลารันตั้งอยู่ทางตะวันตก
Xanana Gusmao ต่อมาเป็นยุคที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของโปรตุเกส โปรตุเกสเป็นชาติแรกที่เข้ามายึดครองพื้นที่ในคาบสมุทรมาเลย์ซึ่งพวกเขาได้เริ่มเข้ามาในศตวรรษที่สิบหก พวกเขาตั้งฐานไว้ที่เกาะโมลุกกะและที่ติมอร์ รวมทั้งเกาะรอบๆบริเวณนี้ด้วย
ต่อมาในช่วงที่แฮบสเบริกปกครองโปรตุเกสฐานต่างๆได้ถูกทำลายลงไปและยังตกอยู่ภายใต้การปกครองของดัชในช่วงกลางศตวรรษที่สิบเจ็ดอีกด้วย ต่อมาพื้นที่ดังกล่าวก็กลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของโปรตุเกสอีกในปี 1702 ต่อมาเนเธอร์แลนด์ได้ปกครองดินแดนครึ่งหนึ่งของเกาะทางตะวันตก โดยได้การปกครองอย่างเป็นทางการเมื่อได้ลงนามในสนธิสัญยาลิสบอนเมื่อปี 1859 และการแบ่งเขตแดนของสองติมอร์อย่างเป็นทางการนั้นอยู่ในสนธิสัญญากรุงเฮก เมื่อปี 1916 ซึ่งเส้นแบ่งเขตแดนดังกล่าวก็ยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน
ในปี 1941 ติมอร์ในส่วนของโปรตุเกสได้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมชั่วครวของดัชและออสเตรเลีย โดยที่ทั้งสองประเทศพยายามที่จะป้องกันการรุกเข้ามาในเกาะแห่งนี้ของกองทัพญี่ปุ่น ผู้ปกครองของโปรตุเกสได้ประท้วงการยึดครองดังกล่าว และกองทัพดัชได้กลับสู่ที่ตั้งในส่วนของติมอร์ตะวันตกในที่สุด กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ามาและขับกองทัพเล็กๆของออสเตรเลียออกไปจากเมืองดีลีอย่างง่ายดาย ซึ่งต่อมาพื้นที่ที่เป็นเนินเขาได้กลายเป็นสนามรบแบบกองโจรในที่สุดและที่แห่งนี้รู้จักกันในนามของ "สงครามแห่งตีมอร์" การศึกในครั้งนี้ที่มีความร่วมมือของสัมพันธ์มิตรและหน่วยกล้าตายชาวติมอร์ทำให้ชาวติมอร์เสียชีวิตไปประมาณ 40,000-70,000 คน ซึ่งต่อมาหลังจากสงครามยุติโปรตุเกสก็เข้ามายึดครองที่แห่งนี้อีกครั้ง
Mari Alkatiri โปรตุเกสปกครองติมอร์ตะวันออกอย่างหลวมๆ กระบวนการปลดปล่อยให้ติมอร์ได้รับอิสระเกิดขึ้นในปี 1974 ซึ่งในช่วงนั้นเกิดความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ(เกิดการปฏิวัติคาร์เนชั่น) จนในที่สุดโปรตุเกสก็สละติมอร์ และติมอร์ก็ได้ประกาศเอกราชในวันที่ 28 พฤศจิกายน 1975 หลังจากนั้นเพียงเก้าวันอินโดนีเซียก็ยกกองกำลังเข้ามายึดครองติมอร์ซึ่งแทบไม่มีการตอบโตใดๆได้ทัน ซึ่งเป็นเพียงไม่กี่วันก่อนที่ติมอร์ตะวันออกจะทันได้ประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการต่อนานาชาติ
ในช่วงเวลานั้นได้เริ่มมีการก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา กองทัพอินโดนีเซียก็สนับสนุนพรรคของนายอโพเดติผู้นำพรรคที่สนับสนุนแนวคิดสนับสนุนอินโดนีเซีย ซึ่งทำให้เกิดสงครามกลางเมืองในที่สุด อินโดนีเซียได้กล่าวหาว่าพรรค FRETILIN มีแนวคิดไปทางคอมมิวนิสต์ซึ่ีงพรรคดังกล่าวได้รับการสนับสนุนทางวาจาจากจีน ในช่วงนั้นตะวันตกที่นำโดยสหรัฐฯกำลังป้องกันมิให้เกิดปรากฎการณ์โดมิโนที่จะเกิดขึ้นในบริเวณนี้ ซึ่งก่อนหน้านั้นสหรัฐล้มเหลวกับปฏิบัติการณ์ในเวียดนาม ซึ่งทำให้ตะวันตกสนับสนุนอินโดนีเซียในการกระทำที่อ้างว่าเพื่อป้องกันการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งแม้แต่ในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเองก็ยังมีมติไม่เป็นเอกฉันท์ในการหยุดการลุกลำ้ติมอร์ตะวันออกและต้องถอนกำลังออกทันที แต่สหรัฐฯได้ทำขัดขวางการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจใดๆที่จะตามมาต่อมติดังกล่าว
และต่อมาพื้นที่แห่งนี้ก็ถูกประกาศให้เป็นจังหวัดที่ 27 ของอินโดนีเซียในเดือนกรกฎาคม ปี 1976 และสถานะตัวแทนในสหประชาชาติของประเทศนี้ก็ยังมีสถานะเป็นเขตที่มิได้ปกครองตนเองภายใต้การปกครองของโปรตุเกส การปกครองของอินโดนีเซียต่อติมอร์ตะวันออกเต็มไปด้วยเรื่องราวของการนองเลือดและความรุนแรง จำนวนผู้เสียชีวิตในช่วงการปกครองของอินโดนีเซียเชื่อว่ามีประมาณ 60,000 ถึง 200,000 คน กลุ่มกองกำลังที่เริ่มต่อสู้กับอินโดนีเซียตั้งแต่โดนปกครองจนได้รับเอกราชคือกลุ่ม ฟาลินติล ซึ่งกลุ่มดังกล่าวบางคนได้รับการฝึกจากกองทัพโปรตุเกส และเรื่องที่เป็นจุดเปลี่ยนที่ได้รับการจับตามองของทั่วโลกก็คือการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุที่ดิลี เหตดังกล่าวทำให้เริ่มมีประเทศต่างๆเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นในเรื่องเกี่ยวกับติมอร์
หลังจากนั้นสหประชาชาติได้มีการเข้ามามีส่วนผลักดันแกมบังคับให้อินโดนีเซียมีการเจรจาอย่างเป็นทางการกับผู้นำติมอร์ตะวันออก และท้ายที่สุดหลังจากการลงจากตำแหน่งอันยาวนานของผู้นำอินโดนีเซียอย่างซูฮาร์โตผู้ซึ่งเป็นคนสั่งการให้ยึดครองตีมอร์ อินโดนีเซียที่นำโดยศาสตาจารย์ด้านเครื่องบินอย่างฮาบีบีเข้ามารับช่วงต่อได้ตัดสินใจตกลงให้มีการลงประชามติในการเลือกว่าจะอยู่กับอินโดนีเซียต่อไปหรือไม่
และในวันที่ 30 สิงหาคม ปี 1999 เป็นวันที่จัดให้มีการลงประชามติ และผลที่ได้รับก็คือ 78.5% เลือกที่จะเป็นเอกราชมากกว่าจะยอมเป็นพื้นที่ปกครองพิเศษภายใต้การปกครองของอินโดนีเซีย แต่หลังจากนั้นก็ยังมีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นต่อไปในติมอร์ของกลุ่มที่มีแนวคิดต่างกัน ซึ่งต่อมากองกำลังเพื่อสันติภาพที่นำโดยออสเตรเลียก็เข้ามาจัดการให้สถานการสงบ หลังจากเหตุการดีขึ้นกองกำลังดังกล่าวก็ถูกแทนที่โดยกองกำลังตำรวจนานาชาติของสหประชาชาติซึ่งนำโดยเซอร์จิโอ เวียรา เดอ เมลโล ในช่วงเปลี่ยนถ่ายจากธันวาคม 1999 ถึง พฤษภาคม 2002
และในปี 2002 ได้มีการทำประชุมเชิงปฏิบัติการในเรื่องการกำหนดสถาบันต่างในตีมอร์ โดยตัวแทนชาวตีมอร์ที่นำโดย โจเซ รามอส ฮัตตา และ มารี อัลกาตารี ผลลัพท์ที่ได้คือแบบแผนในการบริหารร่วมกัน ซึ่งรวมถึงเหล่าผู้นำสภาแห่งชาติเพื่อสร้างชาติติมอร์ ซึ่งนำโดยนายซานานา กูสเมา และต่อมาได้มีการประชุมกันอีกหลายครั้ง และในวันที่ี 27 ตุลาคมปี 2002 ติมอร์ตะวันออกได้เข้าร่วมเป็นสามชิกใหม่ของสหประชาชาติ
หลังจากนั้นในเดือนเมษายนปี 2006 มีการจราจลเกิดขึ้นในเมืองหลวงดิลี และการแตกแยกกันระหว่างตำรวจกับฝ่ายทหาร จนทำให้มีผู้เสียชีวิตไปถึง 40 คนด้วยกัน และนอกจากนี้ยังมีประชาชนกว่า 40,000 คนต้องอพยพออกจากที่อยู่อาศัย การต่อสู้ระหว่างฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลและกองกำลังฤาลินทิลได้เกืดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2006 และนายกรัฐมนตรีของติมอร์ได้ขอความช่วยเหลือจากออสเตรเลีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ และโปรตุเกสในการสงกองกำลังมาเพื่อยุติความรุนแรงดังกล่าว
และในวันที่ 26 มิถุนายนปี 2006 นากรัฐมนตรี มารี อัลกาตีรีได้ลาออกจากตำแหน่งตามคำขอของประธานาธิบดีซานานา กุสเมาซึ่งได้ประกาศว่าหากมารีไม่ลาออกเขาจะลาออกเอง หลังจากนั้นนายโจเซ่ รามอส ฮอร์ตาได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแทนในวันที่ 8 มิถุนายน 2006 แต่ก็ยังมีเหตุการความรุนแรงเกิดขึ้นอีก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในช่วงเมษายน 2007 หลังจากเหตุการณ์นั้นไม่นานโจเซ รามอส ได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีต่ออีกสมัยหลังจากการคว้าชัยชนะในการเลือกตั้งในวันที่ 20 พฤษภาคม 2007 ในส่วนของซานานากุสเมาได้ปฏิเสธการเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกสมัยและต่อมาเขาก็เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อ 8 สิงหาคม 2007 และเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ได้มีความพยายามจะทำการปฏิวัติและลอบสังหารประธานาธิบดีโดยนายทหารชื่อ อัลเฟรโด เรนาโด ซึ่งเขาเองก็เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย ส่วนประธานาธิบดีขณะนี้ได้รับการส่งตัวไปรักษาที่เมืองดาร์วินของออสเตรเลีย ซึ่งอาการยังน่าเป็นห่วง จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ประเทศเล็กๆที่เกิดใหม่นี้กำลังเป็นที่จับตามองจากทั่วโลกในขณะนี้
สนต้นที่เก้า
ข้อมูลติมอร์แปลและเรียบเรียงจากวิกิ ที่มาของภาพประกอบ(ตามลำดับ) http://www.cbc.ca/gfx/images/news/photos/2006/07/08/ramos-horta-cp-10286239.jpg
http://www.worldpress.org/images/100102gusmao.jpg
http://www.worldpress.org/images/20060625-mari-alkatiri.jpg
|