ประถม - มัธยม ใคร? สร้างความแตกแยก
"การปลุกผี ประถม-มัธยม"
เหมือนเป็นการพายเรือในอ่าง การศึกษาไทยที่ผ่านมาติดอยู่กับการปฏิรูปโครงสร้างและอำนาจ
จนเนื้อหาการปฏิรูปไปไม่ถึงไหน การปฏิรูปการศึกษาต้องพัฒนาอย่างรอบด้าน
เอาเวลาและสมองมาคิดพัฒนาเด็กและผู้เรียนให้มากกว่าคิดเรื่องโครงสร้างอำนาจ
หากมองปัญหา ต้องมองจากรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อย่างมีคุณภาพ 12 ปี และทั่วถึง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
พรบ.กศ.2542/2545 ก็สอดรับกัน ส่วน พรบ.กศ.ภาคบังคับ บังคับ 9
ปี ดังนั้นโรงเรียนขยายโอกาสเดิม คือ โรงเรียนจัดการศึกษาภาคบังคับ 100
% แต่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ 75 % โรงเรียนประถมเดิม
จัดการศึกษาภาคบังคับได้ 66.76 % จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ 50
% ส่วนโรงเรียนมัธยมเดิม จัดการศึกษาภาคบังคับได้ 33.33% จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ 50 % จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า
การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาภาคบังคับยังขาดเอกภาพ
ถ้ามองช่วงอายุของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 จะไปซ้ำกับนักเรียนของ
กอศ. ในระดับ ปวช. ส่วนในระดับอุดมศึกษานั้นไม่มีปัญหา ดังนั้นการแก้ปัญหา คือ
จะต้องแก้รัฐธรรมนูญ 2550 ให้รัฐจัดการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพ
ทั่วถึง 9 ปี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (เดิมคนร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้ทำ
คนทำไม่ได้ร่าง)ดังนั้น ทุกโรงเรียนต้องจัดการศึกษาภาคบังคับตั้งแต่ชั้น ภ.1-9
(ไม่มีประถมมัธยม)เมื่อนักเรียนจบ ภ.9 แล้ว
สามารถเลือกศึกษาต่อได้ 2 สนง. คืออาชีวะฯ กับ อุดมฯ
กลุ่มที่ 1 เรียนอาชีวศึกษา ปวช. ปวส. ปริญญาตรีฯ กลุ่มที่ 2
เรียนเตรียมอุดม 3 ปี มอบให้ สนง.อุดมฯไป
ถามว่าแล้วมัธยมเดิมจะเหลือ 3 ชั้นหรือ? เปล่า โรงเรียนก็เปิดรับนักเรียนภาคบังคับ ภ.1,2,3,4,5,6,7,8,9 แล้วโรงเรียนที่เปิดสอน
ภ.1-6 ล่ะ ถ้าไม่สามารถเปิดถึง ภ.9 ก็เป็นโรงเรียนสาขาหรือเครือข่ายฯ
|