
นักยุทธศาสตร์ของพรรครีพับลิกันสรุปสาเหตุหลักๆ 6 ประการของความความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างถล่มทลายของวุฒิสมาชิกจอห์น แมคเคน ของรีพับลิกัน เมื่อ 4 พฤศจิกายน ขณะที่มีผู้วิเคราะห์ถึงจุดเปลี่ยน 6 จุด ที่ทำให้บารัก โอบาม่า ชนะถล่มทลายในการเลือกตั้งครั้งเดียวกัน
สาเหตุทั้ง 6 ประการ คือ เขาไม่ฉีกตัวออกห่างให้ชัดเจนและรวดเร็วจากประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ผู้มีคะแนนนิยมตกหนัก ,เขาไม่อาจฝ่าฟันบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่กำลังมีปัญหา,เขาไม่อาจทำให้ผู้มีสิทธิออกเสียง เชื่อใจว่าเขาคือผู้ที่จะนำพาชาวอเมริกันให้รอดพ้นวิกฤตต่างๆ ,เขายังผิดพลาดในการเลือกคู่ชิงรองประธานาธิบดี และในการโจมตีโอบาม่าว่าเป็นเพื่อนกับนักก่อการร้าย ก่อนจะปิดท้ายด้วยประเด็นที่ว่าสื่อเลิกปฏิบัติ รายงานข่าวในแง่ดีเกี่ยวกับโอบาม่า มากกว่ากับแมคเคน เริ่มจากประการแรกคือ "บุช" .......หลังจากรีพับลิกันภายใต้การนำของประธานาธิบดีบุชปกครองประเทศมา 8 ปี ปัญหาหลายๆเรื่องรวมทั้งสงครามอิรัก ได้ทำให้ชนกลุ่มน้อย คนหนุ่มสาว และผู้มีสิทธ์ออกเสียงที่มีการศึกษาตีจากไปมากขึ้น และฟางเส้นสุดท้าย คือการแปรพักตร์ของชนชั้นแรงงานจำนวนมาก ที่เจอปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ จนหมดรัก บุช แต่แมคเคนกลับรับมือกับปัญหาอย่างเชื่องช้าทั้งเรื่องบุชและเรื่องเศรษฐกิจ แมคเคนไม่เพียงไม่รีบฉีกตัวออกจากบุชแต่เนิ่นๆ เขายังไม่มีท่าทีหรือเสนอมาตรการรับมือกัเศรษบกิจที่น่าเชื่อถือ ทำให้ปัญหานี้ยิ่งลุกลามจนแย่ยิ่งกว่าประเด็นสงครามอิรักในสายตาของบรรดาผู้มีสิทธิ์ออกเสียง และส่งผลให้ในคำกล่าวสุนทรพจน์ยอมรับความพ่ายแพ้ที่รัฐอริโซน่า เมื่อคืนวันอังคาร แมคเคนได้กล่าวรับผิดชอบต่อความพ่ายแพ้แต่เพียงผู้เดียว จอห์น ฟีเฮอรี่ นักยุทธศาสตร์ของรีพับลิกันมองว่า ปัญหาใหญ่สุดปัญหาหนึ่ง คือแมคเคนไม่ตัดบุชให้เด็ดขาดแต่เนิ่นๆ แม้เขาจะออกมาตำหนินโยบายหลายอย่างของบุช แต่กลับว่าจ้างบรรดาที่ปรึกษาของบุชมาอยู่ข้างตัวเป็นจำนวนมาก ซึ่งคนเหล่านั้นก็จงรักภักดีกับบุช พอๆกับที่จงรักภักดีต่อแมคเคน และแม้แมคเคนจะยืนยันระหว่างหาเสียงเมื่อกลางเดือนตุลาคมว่า I'm not George Bush ก็สายเสียแล้ว ความผิดพลาดประการที่ 2 คือเศรษฐกิจ ช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของสหรัฐเมื่อกันยายน เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ทำให้โพลในช่วงนั้น ซึ่งระบุว่าแมคเคนกำลังมีคะแนนนำ กลายเป็นตามหลังโอบาม่า และไม่เคยหวนกลับมาตีตื้นได้อีกเลย วิกฤตเศรษฐกิจได้เปลี่ยนโครงสร้างทั้งหมดของการแข่งขัน และทำให้แมคเคนไม่อาจชนะใจผู้ออกเสียงอิสระ ผู้ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกใคร การที่แมคเคนระงับการรณรงค์หาเสียง เพื่อเดินทางกลับกรุงวอชิงตัน ดีซี ไปเป็นคนกลาง หรือ broker ในการพยายามทำให้แพกเก็จฟื้นฟูตลาดหุ้น วอลสตรีท ของรัฐบาลผ่านสภาคองเกรส กลายเป็นความผิดพลาดทั้งทางยุทธศาสตร์ และยุทธวิธี เมื่อแมคเคนขอเลื่อนการดีเบทรอบแรกกับโอบาม่า โดยอ้างว่า จะใช้เวลาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โอบาม่าปฏิเสธด้วยมาดสุขุมลุ่มลึก แถมสั่งสอนด้วยว่า คนที่จะเป็นประธานาธิบดี ต้องสามารถรับมือกับปัญหามากกว่า 1 อย่างในเวลาเดียวกันได้ ทำให้ในที่สุด แมคเคนก็ต้องสงบลง พอถึงเวลาดีเบท แมคเคนก็ขุดหลุมฝังตัวเอง เมื่อกล่าวว่าพื้นฐานเศรษฐกิจของสหรัฐฯแข็งแกร่ง และในตอนแรก เขาคัดค้านการใช้กฏระเบียบคุมเข้มสถาบันการเงิน แต่ต้องเปลี่ยนท่าทีเมื่อธนาคารทยอยกันล้มละลาย และวิกฤตในตลาดหุ้นขยายตัว ในที่สุด ผู้มีสิทธ์ออกเสียงจึงมองว่า โอบาม่าสงบเยือกเย็นยามเจอวิกฤต แต่แมคเคนลนลาน กลับไปกลับมา สตีฟ ชมิดท์ หัวหน้ายุทธศาสตร์เลือกตั้งของแมคเคน บอกนักข่าวสองสามชั่วโมงก่อนปิดคูหาเลือกตั้งเมื่อวันอังคารว่า แมคเคนหมดโอกาศชนะ เพราะเงื่อนไขทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ ไม่เคยมีผู้สมัครคนใด ต้องแข่งขันท่ามกลางบรรยากาศทางการเมืองเลวร้ายเท่ากับแมคเคน โอบาม่าเน้นโจมตีว่า หากชาวอเมริกันเลือกแมคเคน ก็คือเลือกรัฐบาลบุชสมัยที่ 3 แต่แมคเคนกลับฉีกตัวออกห่างจากบุชไม่มากพอ แถมยังถูกกระหน่ำด้วยปัญหาเศรษฐกิจ ก่อเกิดบรรยากาศคุกรุ่นทางการเมืองที่ยากลำบาก จนนักวิเคราะห์คนบอกว่า ถึงหากแมคเคนหาเสียงได้อย่างไม่มีที่ติ ในครั้งนี้ ก็ยังไม่ดีพอที่จะฝ่าอุปสรรคได้ การตัดสินใจผิดพลาดประการที่ 4 ของแมคเคน คือการเลือกนางซาราห์ เพ-ลิน ผู้ว่าการรัฐอลาสก้า ผู้ขาดประสบการณ์ มาเป็นรองประธานาธิบดี เพราะยิ่งทำให้หลายคนตั้งต่อสงสัยต่อความสามารถในการตัดสินใจของเขา ซึ่งในที่สุด เรื่องนี้ได้ผลักดันให้ผู้มีสิทธิออกเสียงหลายคนที่ยังไม่ได้ตัดสินใจออกไป แทนที่จะดึงเข้าหา การที่แมคเคนตัดสินใจเลือกเธอในนาทีสุดท้าย ได้กระตุ้นความตื่นตัวในหมู่นักอนุรักษ์นิยมก็จริง แต่กลับทำให้พวกอิสระหนีหาย เพราะพวกเขามองว่าเธอยังไม่พร้อม สมาชิกระดับสูงของรีพับลิกันบางคน อย่างพลเอก โคลิน พาวเวลล์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ ให้เหตุผลว่า สาเหตุหนึ่งที่เขาข้ามพรรคไปสนับสนุนโอบาม่า ก็เพราะแมคเคนเลือกเธอ นักวิเคราะห์คนหนึ่งบ่นว่า แมคเคนใช้เวลาตลอดฤดูร้อนตอกย้ำกับผู้มีสิทธ์ออกเสียง เพื่อเน้นว่าตัวเขาเปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ ซึ่งตรงกันข้ามกับโอบาม่า แต่การตัดสินใจเลือกนางเพ- ลิน ทำให้ความพยายามทั้งหมดในเรื่องเน้นประสบการณ์ของเขาสูญเปล่า เพราะเพ-ลิน อ่อนด้อยประสบการณ์ยิ่งกว่าโอบาม่าเสียอีก แต่ความพ่ายแพ้ในการชิงทำเนียบขาวครั้งนี้ของเขา ก็ไม่ใช่ความผิดของนางเพ-ลินเช่นกัน เธอได้เข้ามาช่วยเป็นสีสัน เป็นแรงกระตุ้นให้พรรคและฐานเสียงกระฉับกระเฉงตื่นตัวขึ้นด้วยซ้ำ หลังจากที่อืดอาด ไม่มีความตื่นตัวมาพักใหญ่ ความผิดพลาดประการที่ 5 คือ การที่แมคเคนพยายามโจมตีโอบาม่าว่าเป็นพวกสังคมนิยมที่จะมาขึ้นภาษีแถมยังเป็นเพื่อนเป็นนักก่อการร้าย แทนที่จะทำให้คนไม่ชอบโอบาม่า กลับทำให้ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงที่เป็นพวกสายกลางตีจาก และคนกลุ่มนี้คือผู้ที่ยื่นชัยชนะให้กับโอบาม่า คู่แข่งของเขา นอกจาก 5 ประการที่ว่า นิโคลล์ วอลเลซ ที่ปรึกษาอาวุโสของแมคเคน ยังเสริมด้วยประการที่ 6 ว่า นอกจากโอบาม่าจะได้เปรียบทางการเงินเพราะหาเงินบริจาคทางการเมืองได้มากใช้ซื้อโฆษณาหาเสียงและทุ่มเงินในรัฐสวิง สเตท ได้มากกว่าแมคเคนมาก โอบาม่ายังได้รับการปฏิบัติที่ดีกว่าจากสื่อด้วย มีผลสำรวจว่าสื่อรายงานข่าวดีๆเกี่ยวกับโอบามามากกว่าแมคเคน แต่คนที่ผู้ตอบผลสำรวจมองว่า ถูกสื่อรายงานข่าวแบบมีอคติมากที่สุด คือนางเพ-ลิน ส่วนสาเหตุที่ว่า เหตุใดโอบาม่าจึงชนะเลือกตั้งถล่มทลายนั้น นักวิเคราะห์มองว่าเป็นเพราะเขามีความสามารถในการพูดแบบสร้างแรงบันดาลใจ เขามีการจัดองค์กรอย่างชั้นยอด มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน มีวิธีการหาเงินสนับสนุนทางการเมืองชนิดไม่มีใครเทียบได้ รวมทั้งมีความสามารถในการรับมือกับปัญหาท้าทายต่างๆและพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ซึ่งเมื่อทุกอย่างประสานกัน ก็ไม่สามารถมีอะไรมาขัดขวางชัยชนะของเขา ผู้ซึ่งเมื่อเพียงไม่ถึง 1 ปีก่อนยังแทบจะไม่มีใครเคยได้ยินชื่อ นักวิเคราะห์ได้ระบุจุดเปลี่ยน (Turning points) สำคัญๆ 6 จุดที่นำไปสู่ชัยชนะโอบาม่า 1 ชัยชนะที่รัฐไอโอว่า (Winning Iowa) ชัยชนะของเขาในคอคัสที่รัฐไอโอว่า ช่วยเขี่ยคู่แข่งทั้งหมดในการเลือกตั้งขั้นต้นของพรรคเดโมแครตให้พ้นทาง เหลือเพียงนางฮิลลารี่ คลินตัน ซึ่งชัยชนะของเขาที่นั่นเป็นผลจากการจัดองค์กรอย่างเข้มแข็ง ที่ทำให้ผู้สนับสนุนเขา ยอมฝ่าความหนาวเย็นของค่ำคืนในเดือนมกราคม ออกไปชักชวนเพื่อนบ้านให้ไปลงคะแนนให้เขา ผู้ออกไปใช้สิทธ์หน้าใหม่ๆจำนวนนับหมื่นคนคือปัจจัยสำคัญของชัยชนะของเขาที่ไอโอว่า และนำไปสู่แผนการกระตุ้นให้คนจำนวนมากออกมาใช้สิทธิ์ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ด้วยการสร้างแนวร่วมพันธมิตรอย่างกว้างขวาง 2 คำประกาศสนับสนุนเขาของเท็ด เคนเนดี้ ( Ted Kennedy:) หลังชัยชนะที่ไอโอว่า ที่เหลือคู่แข่งเพียงเขากับนางฮิลลารี่ ที่จะไปชิงชัยในการเลือกตั้งที่หลายรัฐในวันเดียวกัน คือ Super Tuesday.ปรากฎว่า วุฒิสมาชิกเอดเวิร์ด หรือเทด เคนเนดี้ จากตระกูลเคนเนดี้ ซึ่งถือกันว่าเปรียบเสมือนราชวงศ์ในวงการเมืองของสหรัฐฯ ได้ออกมาประกาศสนับสนุนเขา ด้วยการเปรียบเทียบโอบาม่ากับพี่ชายผู้ล่วงลับ คือ อดีตประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี้ นับเป็นความเคลื่อนไหวที่เป็นสัญญลักษณ์สำคัญทั้งต่อสาธารณชนและต่อพรรคว่าพวกเขาสมควรสนับสนุนใคร 3 การรับมือกับความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ (Addressing race) สาธุคุณเจอเรอไมห์ ไรท์ ผู้ใกล้ชิดกับโอบาม่ามานาน ออกมาสร้างปัญหาด้สนการกล่าวถ้อยคำเหยียดผิว แสดงวามเกลียดชังด้านเชื้อชาติ ทั้งทางทีวีและอินเตอร์เน็ต ทำให้โอบาม่าเดือดร้อน เขาแก้ปัญหาด้วยสุนทรพจน์เมื่อเดือนมีนาคม ที่ได้รับคำชมว่าเป็นหนึ่งในสุนทรพจน์ชั้นยอดที่พูดเรื่องเชื้อชาติจากปากนักการเมืองสหรัฐฯ และเมื่อไรท์ไปไกลยิ่งกว่านั้น ด้วยการกล่าวว่าเหตุวินาศกรรม 11 กันยายนคือกรรมสนองต่อาวอเมริกัน โอบาม่าก็ออกมาตำหนิและลาออกจากโบสถ์ของเขาในทันที โดยมีผู้สนับสนุนผิวดำจำนวนมากออกมาสนับสนุนโอบาม่า 4. การหาเงินทุนสนับสนุน (Fundraising) โอบาม่าใช้เครือข่ายออนไลน์ทั่วประเทศ ระดมเงินบริจาคทางการเมืองทั้งรายเล็กรายใหญ่อย่างได้ผล ในตอนแรกเขาประกาศว่าจะขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล แต่เอาเข้าจริงๆ กลับเป็นผู้สมัครชิงประธานาธิบดีคนแรกที่หาเงินบริจาคจากสาธารณชนมาจ่ายเป็นค่าหาเสียง โดยไม่ขอเงินสนับสนุนจากรัฐบาลซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน นับจากมีการจัดตั้งวงเงินก้อนนี้เมื่อปี 2519 : แมคเคนซึ่งขอรับเเงินสนับสนุนจากรัฐบาลเพราะคิดว่าโอบาม่าด้วย ได้กล่าวโจมตีโอบาม่าในเรื่องนี้ แต่ไม่ได้รับความสนใจ และโอบาม่าก็ใช้เงินมหาศาลที่ได้มาในการรณงค์หาเสียงทั่วประเทศ 5. การทำงานร่วมกับคู่สามีภรรยาคลืนตัน (Working with Clinton:)การชิงชัยดุเดือดและยาวนานของการเลือกตั้งขั้นต้น ทำให้ผู้สนับสนุนหลายคนของนางฮิลลารี่ เกลียดโอบาม่า ...โพลล์ ของ CNN/Opinion Research Corp. ที่จัดทำ 1 เดือนหลังโอบาม่าได้เป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต พบว่าผู้สนับสนุนฮิลลารี่เกือบครึ่ง คิดจะไม่ลงคะแนนให้โอบาม่า ทำให้แมคเคนพยายามดึงคะแนนจากพวกนี้ แต่ในที่สุด พวกนี้ก็เปลี่ยนใจ หลังจากโอบาม่าพยายามร่วมกันกับคู่สามีภรรยาคลินตัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตอนที่นางฮิลลารี่เดินขึ้นเวทีที่ประชุมใหญ่พรรคเดโมแครต ที่นครเดนเวอร์ เรียกร้องให้พรรคใช้วิธีเปล่งเสียงสนับสนุนโอบาม่า ให้เป็นตัวแทนพรรคฯ โดยไม่ต้องนับคะแนน 6. การดีเบทของคู่ชิงประธานาธิบดี (The debates) โอบาม่าชนะแมคเคนในการดีเบททั้งสามครั้ง แม้จะไม่เฉียบคม จนถึงชั้นเรียกว่าชนะน็อคแมคเคน แต่ก็ทำให้เขาได้รับคำชื่นชมว่าสง่างาม ช่างคิด สุขุม มีสติและไม่เคยทำอะไรผิดเลยในการดีเบท
|