Guido of Arezzo
นักทฤษฎีดนตรีคนสำคัญในสมัยยุคกลาง (เกิดเมื่อราว ค.ศ. 991/992 เสียชีวิต หลัง ค.ศ. 1033) ในยุคแรก Guido สร้างชื่อจากการฝึกสอนนักร้องเพลงสวดที่โบสถ์ในเมือง Pomposa เขาผู้คิดค้นการบันทึกโน้ตดนตรีโดยใช้เส้นบรรทัด4เส้นในการบอกระดับความสูงต่ำของเสียงซึ่งเรียกว่า Plainsong Notation โดยใช้กุณแจ C และ F แทนที่ระบบ neumatic แบบดั้งเดิม ซึ่งระบบต่างๆเหล่านี้ยังช่วยให้การร้องเพลงแบบ sight-singing สำหรับบทเพลงใหม่ๆทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งถูกระบุอยู่ในตำรา Micrologus ของเขาที่ถือเป็นตำราดนตรีที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับที่สองในยุคกลาง รองจากงานเขียนของ Boethius
เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีระบบบันทึกโน้ตที่ดีและแม่นยำ นักร้องเพลงสวดจะใช้วิธีจำเพลงต่อๆกันมาซึ่งผิดพลาดและสูญหายได้ เขาจึงได้คิดค้นระบบ Solmization ซึ่งเรียกโน้ตเป็นชื่อต่างๆ 6ชื่อ คือ ut, re, me, fa, sol, la ที่ มีต้นกำเนิดจากเพลงสรรเสริญ Ut Queant laxis ซึ่งเขาได้ให้โน้ตทั้งหกนี้อยู่ที่จุดเริ่มของวลีทั้งหกคือ
Ut queant laxis
Resonare fibris
Mira gestorum
Famuli tuorum
Solve polluti
Labii reatum
Sancte Joannes!
ซึ่งตอนจบของแต่ละวลีจะเป็นโน้ตของวลีถัดไป ระบบนี้ทำให้เกิดการเรียกโน้ตเป็นโดเรมีในปัจจุบัน ส่วนในฝรั่งเศสยังคงเรียกโน้ตตัวแรกเป็น Ut อยู่เช่นเดิม
ในตำราต่างๆของ Guido ยังมีการกล่าวถึงอิทธิพลของ mode ที่มีต่อความแตกต่างทางอารมณ์อีกด้วย และมี diaphony or orgnum ซึ่งเป็นบทความชิ้นสำคัญในประวัติศาสตร์ของการพัฒนาการใช้ counterpoint เขาได้คิดค้นเทคนิคการสอนแบบ Guidos hand ที่ระบุชื่อของโน้ตโดยอิงจากนิ้วมือทั้ง5 เพื่อง่ายต่อการจดจำและทำความเข้าใจ จากนั้นเขาได้พัฒนาระบบเหล่านี้ไปสู่ Hexachord ซึ่งหมายถึงบันไดเสียงจาก Ut ถึง La โดยใช้ whole tone เป็นหลัก โดยยกเว้น mi กับ fa ซึ่งห่างกันเป็น semitone ซึ่งปัจจุบันได้ถูกพัฒนาเป็นระบบ Solfege ที่ครอบคลุมทุกระดับเสียงมากขึ้น โดยเพิ่มตัว Si หรือ B และ เพิ่มการใช้Chromatic เข้ามา
ในภายหลังเขาได้มีโอกาสถวายการรับใช้แด่โป๊ป จอห์นที่19 ณ กรุงโรม ผู้ซึ่งชื่นชมในความรู้ทฤษฎีการสอนดนตรีของเขา และได้พำนักอยู่ที่เมือง Arezzo จนกระทั่งเสียชีวิต