
สงขลาในวันที่ประสบอุบัติภัย
กล่าวคือมีทั้งอุทกภัยและวาตภัย กระหน่ำซ้ำลงในเวลาเดียวกัน แม้นว่าจะ “มาเร็วไปเร็ว”
แต่ความเสียหายอันรุนแรงก็ทิ้งร่องรอยไว้เป็นอนุสรณ์
ในห้วงเวลาอันทุกข์ยาก
ด้านหนึ่งก็มีพลังแห่งความดีงามจากเครือข่ายอาสาสมัครจากภาคส่วนต่างๆ
ได้เข้ามาช่วยเหลือโดยที่ไม่มีการจัดตั้งหรือรอการสั่งการณ์ ต่างเล็งเห็นความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์
ซึ่งบางท่านบอกว่า นี่คือเพื่อนร่วมชะตากรรม
ก่อนที่หน่วยงานภาครัฐจะตั้งหลักได้
ในความหมายถึงระบบ ที่จำเป็นจะต้องมีการสั่งการณ์ตามกลไกว่ากันไปตามอำนาจบังคับบัญชา
ทำให้เกิดช่องว่างในการรับมือกับอุบัติภัยที่มิได้เลือกเวลาหรือรอสายบังคับบัญชาสั่งการ
การเคลื่อนไหวของภาคเอกชนหรือภาคประชาชนที่มีจุดเด่นตรงที่อิสระและคล่องตัวกว่า
องค์กรอาสาสมัครเหล่านี้ทำหน้าที่ช่วยเติมเต็มช่องว่างดังกล่าวได้ดี

ทีมสันติอโศก กว่า 700 ชีวิตเข้าช่วยเก็บขยะหาดใหญ่

มีทีวี.ของตัวเอง

ยกตัวอย่าง...นับจากวินาทีที่การสื่อสารผ่านระบบไฟฟ้าหรือคลื่นดิจิตอลถูกตัดขาด
ระบบล่ม คงมีเพียงการสื่อสารผ่านระบบวิทยุบางแห่งที่พอส่งกระจายเสียงได้
หรือมีวิทยุสมัครเล่น และวิทยุที่เรียกขานกันว่า เครือข่ายวิทยุเครื่องแดงเท่านั้นก็พอจะช่วยเหลือส่งข่าวสาร
หรือกระจายความต้องการ แบ่งปันความทุกข์ยากให้กันและกันในภาวะคับขัน
สงขลาอาจมีวิทยุเครื่องแดงโดยการจัดตั้งของกองทัพภาคที่
4 รวมกันแล้วไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นเครื่อง
ในช่วงเวลาปกติ ได้ทำหน้าที่เฝ้าระวังในด้านความมั่นคง แต่ในภาวะอุบัติภัยเช่นนี้
เครือข่ายดังกล่าว ซึ่งว่าไปแล้วก็มีหลายกลุ่มหลายองค์กร
ได้ใช้เป็นช่องทางหลักในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ศูนย์วิทยุอินทรี
เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่มีบทบาทดังกล่าว ในภาวะปกติก็มีการลาดตระเวนเมืองหาดใหญ่ทุกศุกร์-เสาร์ร่วมกับกองทัพ แล้วก็ช่วยเหลือประชาชนในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะรถกุญแจหาย
ยางแบนฯลฯ ตามแนวทาง “เราพร้อมรับใช้สังคมด้วยจิตอาสา” คุณอนุชา อรรถธรรม
เล่าให้ฟังว่า นี่คือเครื่องมือสื่อสารของภาคประชาชนที่ทรงอานุภาพ
“ประชาชนทุกคนมีสิทธิ์ใช้วิทยุเครื่องแดง
เพียงแค่ไปจดทะเบียนขออนุญาตใช้และพกพาเท่านั้น ที่กสช. เราก็สามารถพกติดตัวมาใช้ประโยชน์ได้”
น้ำท่วมคราวนี้คุณอนุชาเอง
ติดอยู่ในบ้าน อาศัยวิทยุเครื่องแดงนี่แหละที่ได้สื่อสารกับคนอื่น
และก็ฟังวิทยุจาก วิทยุทรานซิสเตอร์ ใช้ถ่านแทนไฟฟ้า

ทีมนักศึกษาช่วยซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า

ผู้ว่าสงขลาผ่านมาเยี่ยมเยือน
วิทยุกระแสหลักของมอ. FM.88.00
MHz เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่ช่วยประสานความช่วยเหลือส่งต่อความต้องการไปยังผู้ที่ประสบเหตุและผู้ที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือ
หรือเป็นกระบอกเสียงประชาสัมพันธ์ เฝ้าระวัง ติดตามข่าวสารเพื่อการเตือนภัย ทั้งยังทำหน้าที่สมกับความเป็นสื่อ
ในยามเกิดเหตุคับขัน กลายเป็นช่องทางหลัก เป็นที่พึ่งให้กับคนสงขลาจำนวนมาก
ได้รับฟังข่าวสาร
คุณบัญชร
วิเชียรศรี คุณอรุณรัตน์ แสงละออง ทำหน้าที่จัดรายการ
เป็นสื่อกลางกระจายความช่วยเหลือไปให้ผู้ที่เดือดร้อน บางช่วงเวลาที่คับขัน
สถานีวิทยุแห่งนี้ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง
หลายเหตุการณ์ที่เข้าด้ายเข้าเข็ม หรือระหว่างความเป็นความตาย การสื่อสารผ่านสถานีก็เป็นอีกตัวช่วยทำให้สถานการณ์คลี่คลายไปได้
โรงบุญสัญจร
โดย อ.ภาณุ พิทักษ์เผ่า
ปีนี้ได้เข้ามาร่วมช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก เปิดโรงทานให้อาหารสด น้ำสะอาด
ช่วยเหลือคนทุกชนชั้นไม่ว่ายากดีมีจน 3 มื้อต่อวัน
ตั้งแต่เวลา 7 โมงเช้าจนถึง 1
ทุ่มของทุกวันเป็นเวลา 7 วันติดต่อกัน
จำนวนคนที่มาใช้บริการไม่ต่ำกว่า พันคนต่อวัน
“เราได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนสมบูรณ์กุลกันยาให้ได้ใช้สถานที่
บริษัทหาดทิพย์ให้เต็นท์ วิทยุมอ.ช่วยสื่อสารความต้องการ เทศบาลนครหาดใหญ่
ให้รถสุขาและไฟฟ้า มีเจ้าของบ่อน้ำบาดาลช่วยสนับสนุนเรื่องน้ำ
มีอาสาสมัครจากทั่วประเทศเข้ามาช่วยเหลือแบ่งเบาความทุกข์ บางคนมาช่วยร้องเพลง
สร้างสีสันคลายความทดท้อในชีวิต”
บทเรียนจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาทำให้อ.ภาณุตระหนักถึงความต้องการของผู้ประสบเหตุ
โดยเฉพาะเรื่องอาหารหรือน้ำ
“ทุกคนที่มากินอาหารที่โรงบุญ
จะได้ทานอาหารร้อน ไม่บูดเน่า
ทีมงานของเราจะซื้อถั่วเรายังต้องไปซื้อที่เป็นเมล็ดถั่วแล้วก็มาคั่วด้วยตัวเอง
ล้างผัก เราต้องใช้ผงล้างผักหรือน้ำส้มสายชู เราต้องใช้เงินซื้อวัตถุดิบวันละ 1-2 หมื่นบาท”
โรงบุญแห่งนี้มียอดบริจาคสูงถึง
8 หมื่นกว่าบาท
ไม่นับรวมการบริจาคที่เป็นวัตถุดิบอีกร่วมแสนบาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวก็ได้นำไปใช้ในการจับจ่ายซื้อของ
และนำไปช่วยเหลือผู้ประสบเหตุที่จำเป็นเร่งด่วน
การตั้งโรงบุญเป็นการทำให้คนรู้สึกว่ามีที่พึ่ง
และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในฐานะที่เกิดมาเป็นเพื่อนพี่น้องร่วมชะตากรรม

ผลงานของนักศึกษาที่บ้านดอนคัน


หรือแม้กระทั่งในมหาวิทยาลัย
นักศึกษาของหลายสถาบันมีโอกาสได้ร่วมกันลงมาช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ทั้งในส่วนที่เป็นการตั้งศูนย์บริจาคที่มอ. การช่วยเก็บขยะในเมืองหาดใหญ่
หรือการที่สถาบันการศึกษาจากนราธิวาส ได้แก่ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
ได้นำนักศึกษาในสายอาชีวะและการแพทย์ลงมาช่วยเหลือประชาชนในหาดใหญ่และคาบสมุทรสทิงพระ
มหาวิทยาลัยแห่งนี้เกิดขึ้นเมื่อปี
48 รวมเอาสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ได้แก่
วิทยาลัยพยาบาล วิทยาลัยเกษตร วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีพตากใบ
มายกระดับเป็นมหาวิทยาลัย
เน้นการเรียนรู้ในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
ในครั้งนี้ได้ช่วยเหลือชุมชน จัดตั้งศูนย์รับบริจาคในมหาวิทยาลัย นำสิ่งของไปบริจาคและลงมาตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือ
นำนักศึกษาร่วม 100 ชีวิตลงไปซ่อมแซมอาคาร
ซ่อมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
“นักศึกษาเหล่านี้จะได้ใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนมาได้ใช้ประโยชน์ให้เพื่อนมนุษย์
ผศ.ประทีป รองอธิการบดีกล่าว

อาคารหลังจากได้รับการซ่อมแซม





นักศึกษากำลังทำงาน


บทเรียนครั้งนี้
หลายฝ่ายมองเห็นว่าสิ่งที่จะต้องปรับปรุงระบบอาสาสมัครต่อไปมีหลายประเด็นที่น่าสนใจได้แก่
· การจัดการระบบเตือนภัย บทเรียนของเครือข่ายวิทยุเครื่องแดงบอกว่า
สิ่งแรกเราจะต้องจัดการข่าวลือ เครือข่ายที่จะรายงานข่าวจะต้องอยู่ในที่เกิดเหตุ
ประสบเหตุหรือมองเห็นเหตุการณ์ด้วยตัวเองเท่านั้น
การทำงานในอนาคตเราสามารถผนวกข้อมูลจากหน่วยงานราชการกับข้อมูลจากประสบการณ์ตรงในพื้นที่
ประมวลผลข้อมูลเตือนภัยได้ชัดเจนมากขึ้น
· นักเรียนนักศึกษา
ควรจะมีสาระวิชาด้านภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศในพื้นที่ของตน
เพื่อความรับรู้ความเข้าใจในการปรับตัวหรือรับมือกับภาวะอุบัติภัย
· ในขณะเกิดเหตุ
ควรมีการจัดระบบการจราจร การอพยพ ให้คล่องตัว ง่ายต่อการเข้าไปช่วยเหลือหรือการรับส่ง
· ใช้มาตรการทางผังเมือง
แก้ปัญหาการสร้างบ้านจัดสรร หรือการก่อสร้างที่ขวางทางน้ำ
รวมไปถึงการทำแผนที่เสี่ยงภัย จุดอพยพ
· มีศูนย์ Hotline
ให้คำปรึกษา เยียวยาจิตใจ
มีผู้นำทางจิตวิญญาณ(ทางศาสนา)มาช่วยให้คำแนะนำ ให้การปรึกษา
· มีกองบุญ
หรือกองทุนฟื้นฟูอาชีพช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ ให้การกู้ยืมโดยปลอดดอกเบี้ย
· มีระบบข้อมูลของศูนย์ประสานงานกลาง
รวบรวมองค์กรเครือข่าย ความต้องการในการรับความช่วยเหลือ
· มีโรงบุญ 4 มุมเมือง รับของบริจาค ให้ความช่วยเหลือ เป็นโรงทาน
ทั้งนี้สิ่งแรกที่จะดำเนินการต่อไปนับจากนี้ก็คือ
การร่วมมือกันจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูอาชีพช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ
โดยร่วมมือกับหลายองค์กร รับบริจาคอุปกรณ์ เครื่องใช้มือสอง
เพื่อนำมาขายในราคาถูกนำเงินเข้ากองทุน หรือระดมทุนจากผู้มีจิตสาธารณะ ร่วมการทำบุญช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก
ผู้สนใจให้ความช่วยเหลือ
สามารถบริจาคเงินได้ที่ ชื่อบัญชี...มูลนิธิชุมชนสงขลา ธนาคารกรุงเทพสาขาหาดใหญ่ใน
บัญชีเลขที่ 562-0-52250-7
โดย Fax สลิปการโอนเงินมาได้ที่ 074-474082
(โทร& Fax) หรือติดต่อคุณบุญเรือง ปลอดภัย
เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิชุมชนสงขลา 084-7484137 
อธิการบดีมหาวิทยาลัยนราํิธิวาสราชนครินทร์มาให้กำลังใจ

สภาพเมืองหาดใหญ่หลังน้ำลด



ขยะยังมีเต็มเมือง


ผู้คนเข้ามารุึมซื้อสินค้าราคาถูก


|