ฉันทำงานห้องสมุดค่ะ
ตอนวันเด็ก หลาน ๆ มาร่วมกิจกรรมแล้วถามว่า
ที่นี่มีแต่หนังสือทำไมเรียกห้องสมุดทำไมไม่เรียกห้องหนังสือ
และเมื่อคราวร่วมประชุมส่งเสริมการอ่านระดับจังหวัด
มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งถามในที่ประชุมว่า
"ผมสงสัย...ก็มีแต่หนังสือเต็มไปหมดทำไมเรียกห้องสมุด...ใครจะตอบผมได้บ้าง"
ฉันจึงยกมือขึ้นและเล่าตามที่จำได้จากการอ่าน
ท่านพยักหน้า...อ้อ...แบบนี้พอเข้าใจ
ผ่านมาหลายปีก็ยังคงมีคำถามมาเนือง ๆ ว่า
ทำไมห้องสมุดที่มีแต่หนังสือ...จึงยังมีคนเรียกว่า "ห้องสมุด"
ทำไมไม่เรียกว่าห้องหนังสือ

การครั้งหนึ่งนานมาแล้ว....
สยามประเทศของเรายังไม่มีระบบการพิมพ์หนังสือใช้
เราใช้วิธีจะบันทึกตัวหนังสือโดยวิธีจารลงบนแผ่นไม้หรือใบลาน
เก็บไว้ใช้เล่าเรียนศึกษาโดยการบันทึกสรรพวิทยาต่าง ๆ
เช่นนิทาน ชาดก พระไตรปิฎก ไว้ให้ผู้อื่นศึกษา
เก็บโดยเจาะรูร้อยเชือก ประกบหัวท้ายด้วยไม้สลักลวดลาย ต่าง ๆ

ภาพจาก : 
และสิ่งที่ใช้การเขียน จารลงบนกระดาษแบบโบราณ
ทำด้วยกระดาษาจากต้นข่อยพับเป็นชั้น ๆ
มี ๒ สี คือ ขาวและดำเรียก มีแผ่นไม้ทับหัว ท้าย หน้า หลัง เรียกชื่อว่าสมุดไท...


เมื่อมีจำนวนมากขึ้นจึงต้องมีการเก็บรวบรวม
ไว้ในบ้านของเจ้านายหรือหอเก็บตำราของวัด
โดยที่สมัยก่อนชาวบ้านยังไม่มีการศึกษาเล่าเรียน
ผู้ที่จะสามารถเก็บรวมรวมสมุดไทยไว้ได้
จึงมีแต่เจ้านายผู้ใหญ่ หรือพระในวัด...
สถานที่รวบรวมจึงมีชื่อเรียกว่า "หอพระสมุด"



(ตำราคชลักษณ์ปกหน้าขาดหายไปเหลือเพียงปกหลังที่ยังสมบูรณ์อยู่)
ต่อมาความเจริญเรื่องการพิมพ์มีมากขึ้น
การจารลงบนกระดาษทำได้ช้า จึงหมดความนิยมไป
แต่การเรียกหอพระสมุดที่ใช้เก็บหนังสือตำรา
ยังคงเรียกกันจนติดปากว่า "หอพระสมุด"
และกร่อนคำจนเหลือเพียงคำว่า...หอสมุด...หรือห้องสมุดมาจวบจนปัจจุบัน
และห้องสมุดแห่งแรกของไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์คือ
"หอพระมณเฑียรธรรม" ตั้งอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
หรือวัดพระแก้วนั่นเอง
สวัสดีค่ะ...
|