ประวัติความเป็นมาของเพลงชาติไทย
ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้มีการใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงถวายความ เคารพพระมหากษัตริย์ต่างชาติที่เสด็จเยี่ยมประเทศสยามตามธรรมเนียมสากลแม้ เพลงดังกล่าวไม่ใช่เพลงชาติของประเทศสยามอย่างเป็นทางการก็ตามแต่ก็ถือ อนุโลมว่าเป็นเพลงชาติโดยพฤตินัยตามหลักดังกล่าว เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ. 2475คณะราษฎรได้ประกาศใช้เพลงชาติมหาชัย ซึ่งประพันธ์เนื้อร้องโดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นเพลงชาติอยู่ 7 วัน (ใช้ชั่วคราว ระหว่างรอพระเจนดุริยางค์แต่งเพลงชาติใหม่)แต่ไม่ได้รับความนิยมจากประชาชน ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาเป็นเพลงชาติฉบับที่แต่งทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการแทนเพลงสรรเสริญพระบารมี

พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)
ผู้ประพันธ์ทำนองเพลงชาติไทย
ที่มาของทำนองเพลงชาติปัจจุบันนั้น จากบันทึกความทรงจำของพระเจนดุริยางค์ได้เล่าไว้ว่า ราวปลายปี พ.ศ. 2474 เพื่อนนายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งของท่าน คือ หลวงนิเทศกิจ (กลาง โรจนเสนา) ได้ขอให้ท่านแต่งเพลงสำหรับชาติขึ้นเพลงหนึ่ง ในลักษณะของเพลงลามาร์แซแยสซึ่งพระเจนดุริยางค์ได้บอกปฏิเสธเพราะถือว่าเพลง สรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงชาติอยู่แล้วทั้งการจะให้แต่งเพลงนี้ก็ยังไม่ใช่คำ สั่งของทางราชการด้วย แม้ภายหลังหลวงนิเทศกลกิจจะมาติดต่อให้แต่งเพลงนี้อีกหลายครั้งก็ตามพระเจน ดุริยางค์ก็หาทางบ่ายเบี่ยงมาตลอด เพราะท่านสงสัยว่าการขอร้องให้แต่งเพลงนี้เกี่ยวข้องกับการเมืองประกอบกับใน เวลานั้นก็มีข่าวลือเรื่องการปฏิวัติอย่างหนาหูด้วย
ส่วนเนื้อร้องของเพลงชาตินั้น คณะผู้ก่อการได้ทาบทามให้ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) เป็นผู้ประพันธ์ โดยคำร้องที่แต่ขึ้นนั้นมีความยาว 2 บท สันนิษฐานว่าเสร็จอย่างช้าก่อนวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2475 เนื่องจากมีการคันพบโน้ตเพลงพร้อมเนื้อร้องซึ่งตีพิมพ์โดยโรงพิมพ์ศรีกรุง ซึ่งลงวันที่ตีพิมพ์ในวันดังกล่าวแม้เพลงนี้จะเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมจาก ประชาชนทั่วไปก็ตาม แต่เพลงนี้ก็ยังไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นเพลงชาติและมีการจด จำต่อๆ กันไปเรื่อยๆ โดยไม่มีใครรู้ที่มาชัดเจน ดังปรากฏว่ามีการคัดลอกเนื้อเพลงชาติของขุนวิจิตรมาตราส่งเข้าประกวดเนื้อ เพลงชาติฉบับราชการเมื่อ พ.ศ. 2476 โดยอ้างว่าตนเองเป็นผู้แต่งด้วย เนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราประพันธ์เริ่มแรกสุดก่อนที่จะมีการแก้ไขเมื่อมี การประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ ใน พ.ศ. 2476 มีดังนี้ (โปรดเทียบกับเนื้อร้องฉบับราชการ พ.ศ. 2477 ในหัวข้อเพลงชาติไทยฉบับ พ.ศ. 2475 และ พ.ศ. 2477)
ในปี พ.ศ. 2477 รัฐบาลได้จัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติใหม่ ผลปรากฏว่าเนื้อร้องของขุนวิจิตรมาตรายังคงได้รับการรับรองให้ใช้อีกต่อไป แต่มีการเพิ่มเนื้อร้องของนายฉันท์ ขำวิไล เข้าต่อท้ายอีก 2 บท (แต่ละบทมีความยาว 8 วรรค)ทำให้เนื้อร้องเพลงชาติยาวมาก เพราะเนื้อร้องของเดิมของขุนวิจิตรมาตรามีความยาวถึง 2 บท (16 วรรค)อยู่แล้ว เมื่อรวมกับเนื้อร้องของนายฉันท์ด้วยแล้วเนื้อร้องเพลงชาติทั้งหมดจะมีความ ยาวถึง 32 วรรคหากจะร้องเพลงชาติให้ครบทั้งสี่บทจะต้องใช้เวลาร้องถึง 3 นาที 52 วินาที (เฉลี่ยแต่ละท่อนรวมดนตรีนำด้วยทั้งเพลงตกที่ท่อนละ 35 วินาที)ในสมัยนั้นคนไทยส่วนใหญ่จึงนิยมร้องแต่เฉพาะบทร้องของขุนวิจิตรมาตรา และต่อมาภายหลังจึงไม่มีการขับร้อง คงเหลือแต่เพียงทำนองเพลงบรรเลงเท่านั้น
ในปี พ.ศ. 2478 รัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนาได้ออกระเบียบการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีและ เพลงชาติลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 (มีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ปีเดียวกัน)ระเบียบดังกล่าวนี้ได้มีการกำหนดให้แบ่งการบรรเลงเพลง สรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติออกเป็น 2 แบบ คือ การบรรเลงแบบพิสดาร (บรรเลงตามความยาวปกติเต็มเพลง) และการบรรเลงแบบสังเขป ในกรณีของเพลงชาตินั้น ได้กำหนดให้บรรเลงเพลงชาติฉบับสังเขปในการพิธีที่เกี่ยวข้องกับประชาชน สโมสรสันนิบาต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพิธีปกติ ส่วนการบรรเลงแบบเต็มเพลงนั้นให้ใช้ในงานพิธีใหญ่เท่านั้น
ท่อนของเพลงชาติที่ตัดมาใช้บรรเลงแบบสังเขปนั้น คือท่อนขึ้นต้น (Introduction) ของเพลงชาติ (เทียบกับเนื้อร้องเพลงชาติฉบับปัจจุบันก็คือตั้งแต่ท่อน สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี จนจบเพลง) ความยาวประมาณ 10 วินาทีไม่มีการขับร้องใดๆ ประกอบ
เพลงชาติไทย พ.ศ. 2482 – ปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2482 “ประเทศสยาม” ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ประเทศไทย” รัฐบาลจึงได้จัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติไทยใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการ เปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ โดยกำหนดเงื่อนไขยังคงใช้ทำนองของพระเจนดุริยางค์อยู่เช่นเดิมแต่กำหนดให้มี เนื้อร้องความยาวเพียง 8 วรรคเท่านั้น และปรากฏคำว่า “ไทย” ซึ่งเป็นชื่อประเทศอยู่ในเพลงด้วย ผลการประกวดปรากฏว่าเนื้อร้องของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งส่งประกวดในนามกองทัพบกได้รับรางวัลชนะเลิศรัฐบาลไทยจึงได้ประกาศรับรอง ให้ใช้เป็นเนื้อร้องเพลงชาติไทย โดยแก้ไขคำร้องจากต้นฉบับที่ส่งประกวดเล็กน้อย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2482 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เนื้อร้องของหลวงสารานุประพันธ์
ซึ่งส่งประกวดในนามกองทัพบกไทยก่อนแก้ไขเป็นฉบับทางการมีดังนี
ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย |
เป็นประชารัฐไผทของไทยทุกส่วน |
อยู่ยืนยงดำรงไว้ได้ทั้งมวล |
ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี |
ไทยนี้รักสงบแต่ถึงรบไม่ขลาด |
เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่ |
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี |
เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย ชโย |
การประกวดเพลงชาติครั้งนี้ได้ปรากฏหลักฐานว่ามีกวีและผู้มีชื่อเสียงในทาง การประพันธ์เพลงหลายท่านเช่น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี แก้ว อัจฉริยะกุล ชิต บุรทัต เป็นต้นซึ่งรวมถึงผู้ประพันธ์เนื้อเพลงชาติสองฉบับแรก (ขุนวิจิตรมาตรา และฉันท์ ขำวิไล) ได้ส่งเนื้อร้องของตนเองเข้าประกวดด้วย แต่ปรากฏว่าไม่ผ่านการตัดสินครั้งนั้นเฉพาะเนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราแต่ง ใหม่นั้น ปรากฏว่ามีการใช้คำว่า “ไทย” ถึง 12 ครั้ง
ฉบับปัจจุบัน
- ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)
- คำร้อง: พันเอก หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)
ในนามกองทัพบก
- ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
- เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
- อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล
- ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี
- ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด
- เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
- สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
- เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย
ฉบับ พ.ศ. 2477
ประพันธ์ทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ ใช้เป็นเพลงชาติไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 (ในลักษณะไม่เป็นทางการ) โดยช่วงแรกใช้คำร้องที่ประพันธ์โดย ขุนวิจิตรมาตรา(สง่า กาญจนาคพันธุ์) ต่อมาปลายปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลได้จัดการประกวดเนื้อร้องเพลงชาติ และประกาศรับรองเนื้อร้องที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยขุนวิจิตรมาตราและเนื้อ ร้องที่แต่งโดยนายฉันท์ ขำวิไล ซึ่งเป็นฉบับที่ชนะการประกวด เป็นเนื้อร้องเพลงชาติฉบับทางราชการ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2477
ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)คำร้อง:ขุนวิจิตรมาตรา
(บทที่ 1 และบทที่ 2)
แต่งเมื่อ พ.ศ. 2475
แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477
|
ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)คำร้อง:ฉันท์ ขำวิไล
(บทที่ 3 และบทที่ 4)
แต่งเมื่อ พ.ศ. 2477
ประกาศใช้เพิ่มเติมจากเนื้อร้องเดิมในปีเดียวกัน
|
- แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง
- ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า
- สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา
- รวมรักษาสามัคคีทวีไทย
- บางสมัยศัตรูจู่โจมตี
- ไทยพลีชีพร่วมรวมรุกไล่
- เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไท
- สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา
- อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย
- น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
- เอกราษฎร์คือเจดีย์ที่เราบูชา
- เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
- รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี
- ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
- เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย
- สถาปนาสยามให้เทอดไทยไชโย
|
- เหล่าเราทั้งหลายขอน้อมกายถวายชีวิต
- รักษาสิทธิ์อิสระ ณ แดนสยาม
- ที่พ่อแม่สู้ยอมม้วยด้วยพยายาม
- ปราบเสี้ยนหนามให้พินาศสืบชาติมา
- แม้ถึงภัยไทยด้อยจนย่อยยับ
- ยังกู้กลับคงคืนได้ชื่นหน้า
- ควรแก่นามงามสุดอยุธยา
- นั้นมิใช่ว่าจะขัดสนหมดคนดี
- เหล่าเราทั้งหลายเลือดและเนื้อเชื้อชาติไทย
- มิให้ใครเข้าเหยียบย่ำขยำขยี้
- ประคับประคองป้องสิทธิ์อิสรเสรี
- เมื่อภัยมีช่วยกันจนวันตาย
- จะสิ้นชีพไว้ชื่อให้ลือลั่น
- ว่าไทยมั่นรักชาติไม่ขาดสาย
- มีไมตรีดียิ่งทั้งหญิงทั้งชาย
- สยามมิวายผู้มุ่งหมายเชิดชัยไชโย
|
เนื้อหา : สำหรับนักเรียนทุกระดับชั้น
ที่ม่า : วีกีพีเดีย