|
|
|
|
|
ภาวนาวิธีการทำทาน หรือที่ส่วนใหญ่เรียกว่าทำบุญนั้น เป็นคนละส่วนกับการทำบาปอันหมายถึง บุญ(ทาน) ก็อยู่ส่วนบุญ บาปก็อยู่ส่วนบาป ไม่อาจจะทดแทนหรือชดใช้กันได้เพราะฉะนั้น ผู้ที่ได้ทำบุญ(ทาน) สลับกับการทำบาป จึงต้องได้รับผลแห่งบุญบ้างได้รับผลแห่งบาปบ้าง เช่นนี้เรื่อยไปนี่คือคติความเชื่อโดยทั่วๆไปของชาวพุทธเพราะฉะนั้น บุคคลที่ได้ทำบาปทำอกุศลไว้แล้ว ไม่ว่าในอดีตหรือในชาติปัจจุบันก็ตามหากประสงค์จะละบาปบำเพ็ญบุ.... |
สมาธิ 3 แบบการคิด เพ่ง และปล่อยเพื่อให้เกิดสมาธิการคิดที่จะให้เกิดสมาธิ เราต้องคิดในเรื่องเกี่ยวกับธรรมะ เช่น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ คิดอยู่ว่า อนิจจังซึ่งแปลว่า ไม่เที่ยง มันเป็นอย่างไร ในขณะที่คิดต้องมีสติสัมปชัญญะ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ อย่าให้จิตไปคิดเรื่องอื่น เมื่อจิตใจจดจ่ออยู่แต่เรื่องอนิจจังที่เราคิด จิตก็จะเป็นสมาธิขึ้นมาเอง คือ เมื่อสมาธิเกิดแล้วก็จะสิ้นสงสัยในเรื่องที่คิ.... |
อันดับแรก เอาอทิสมานกายยกใจขึ้นไปที่พระจุฬามณีเจดียสถาน พอไปถึงที่นั่นแล้วจะเห็นว่า กายใจในที่นั้นมันเป็นนามธรรม เทวดาหรือพรหมทั้งหมดเป็นกายนามธรรม พระอริยเจ้าที่เราเห็นเป็นนามธรรม ทุกคนไม่ปวดไม่เมื่อย ไม่ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ ไม่มีอะไรทั้งหมด สบายทุกอย่าง โรคภัยไข้เจ็บไม่มี และถ้าเราไปด้วยกำลังที่หนักแน่น มันก็ไม่เจ็บไม่ปวดไม่เมื่อยเหมือนกัน การไปก็คล่องตัว นึกปั๊บเดียวมันก็ถึง นี่กำไรในก.... |
เรื่องของวิปัสสนาญาณ -การขึ้นต้นของการเจริญพระกรรมฐาน ถ้าเอากันเต็มแบบจริง ๆ ท่านให้ใช้วิปัสสนาญาณก่อน คือว่าใช้อารมณ์วิปัสสนาญาณอย่างอ่อน ให้คิดถึงไตรลักษณญาณ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันดับแรก ท่านให้คิดถึงความเป็นจริงของไตรลักษณญาณ 1. ทุกขัง การเกิดมาในโลก การมีชีวิตของคนและสัตว์มันเต็มไปด้วยความทุกข์ ที่มันทุกข์ก็เพราะอา.... |
เรื่องของญาณ 4 -ปฐมฌานนี่เป็นฌานที่หนึ่ง ที่บรรดาพวกเราเหล่าพุทธบริษัทต้องทำให้ได้ เพราะเป็นฌานโลกีย์ อาการที่ทรงฌานที่หนึ่งนี้ไม่มีอะไรยาก เราใช้คำภาวนาและพิจารณาในขันธ์ 5 ก็ดี ภาวนาบทใดบทหนึ่งก็ดี หรือว่าจะพิจารณาลมหายใจเข้าออกก็ดี ให้จิตมันทรงอยู่อย่างนี้เป็นปกติ นี่หมายความว่าไม่ยอมให้ใจของเราเคลื่อนจากอารมณ์ที่เราต้องการ อย่างเราอยากจะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เ.... |
ทีนี้ตอนภาวนาตามหลักการปฏิบัติ ถ้าภาวนาจนถึงหลับ อย่าลืมว่าถ้าจิตยังไม่ถึงฌานมันไม่หลับ จิตน่ะถ้าสงบไม่ถึงฌานมันไม่หลับ จิตจะหลับได้ต่อเมื่อจิตเข้าถึงฌาน จะเป็นฌานไหนก็ตาม พอถึงฌานปั๊บมันจะตัดหลับ เราหลับกี่ชั่วโมงก็ถือว่าเราทรงฌานอยู่ ได้กำไรตรงนี้นะ แล้วก็เป็นที่สังเกตขั้นฌานนี่ ฌานอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด จะสังเกตว่าก่อนหลับเราเข้าฌานอย่างหยาบหรืออย่างกลาง อย่างละเอียด .... |
๓. ว่าด้วยเรื่อง ภาวนา 1. เรื่องของสมาธิ -ในตอนต้น บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทจะเริ่มเจริญพระกรรมฐาน ขอให้จุดธูปบูชาพระก่อน อันดับแรกนะ แล้วก็ตั้งใจจำรูปพระพุทธรูป ลืมตาดูท่านจำให้ได้ ไม่หลับตาก็ได้ ตั้งใจจำภาพพระไว้ แล้วก็บูชาพระตามที่เคยบูชา หลังจากนั้นแล้วก็สมาทานพระกรรมฐาน ถ้าสมาทานไม่ไหวก็ไม่ต้อง ตั้งนะโม 3 จบ ว่า พุทธัง ธัมมัง สังฆัง ใช้ได้ .... |
หัวใจของการปฏิบัติธรรม๒ ว่าด้วยเรื่อง ศีล ศีลข้อที่ 1 การไม่ฆ่าสัตว์ ทำร้ายสัตว์ ก็อาศัย 1. มีความรัก 2. มีความสงสาร ถ้าเห็นสัตว์ควรที่จะฆ่าได้เราก็ไม่ฆ่า ขณะใดที่เราไม่ฆ่าสัตว์ ขณะนั้นเราเป็นผู้มีศีลข้อที่ 1 ถ้าพบของที่เราจะทำร้ายได้ สัตว์ที่เราทำร้ายได้ คนที่เราจะทำร้ายได้ แต่เราไม่ทำ เราไม่ทำจัดเป็นอภัยทาน อย่างนี้มีศีลข้อที่ 1 ถ้าเรารักษาศีลข้อที่ 1 ได้ ช.... |
หัวใจของการปฏิบัติธรรม ๑. ว่าด้วยเรื่อง ทาน ท่านที่มีอารมณ์เข้าถึงพระนิพพาน ท่านผู้นั้นไม่มีอารมณ์ของความทุกข์ เพราะว่าเป็นผู้ยอมรับนับถือกฎของธรรมดา และที่เราต้องให้ทานก็เพราะว่า เราไม่ต้องการมีขันธ์ 5 เมื่อการมีขันธ์ 5 เป็นปัจจัยของความทุกข์ ที่เราต้องมีขันธ์ 5 ก็เพราะว่า เราติดอยู่ในวัตถุว่าสิ่งนั้นเป็นทรัพย์สินของเรา สิ่งนี้เป็นทรัพย์สินของเรา แล้วก็ธ.... |
การที่เรามาปฏิบัติธรรมการที่เรามาปฏิบัติธรรมจึงมาหัดภาวนา มาฝึกพุทโธไว้ ฝึกเป็นประจำ แค่พุทโธเราทำไม่ได้แล้วจะอะไร เราจะไปเอาสวรรค์วิมานอะไรได้ แค่ พุท ลมเข้า โธ ลมออก เรายังทำไม่ได้ แล้วเราจะไปเรียกร้องความสุขที่ไหน มันไม่มีแน่นอน แค่ พุทโธ เรายังทำให้เกิดขึ้นไม่ได้ แล้วเราจะไปเอาความสุขที่อื่นนั่นไม่มีหวังเลย พุท ลมเข้า โธ ลมออก สัก ๕ นาที ๑๐ นาที เรายังทำไม่ได้ เรายังหยุดใจไม่ได้ แล้วคว.... |
<< | มกราคม 2021 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |