กบฏคือใคร ? ตามพจนานุกรม ให้ความหมายไว้ว่า กบฏ คือผู้ขัดขืนอำนาจปกครอง ประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๒ ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร มาตรา ๑๑๓ บัญญัติว่า “ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ (๑) ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ (๒) ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ หรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือ (๓) แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต”
ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ได้บรรยายไว้ในตำรา วิชากฎหมายอาญา ภาค ๒-๓ หมวด ๒ ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ความผิดตามมาตรา ๑๑๓ ของท่านไว้ ว่า ผู้ที่กระทำความผิดตามกฎหมายอาญามาตรานี้ จะต้องกระทำความผิดครบองค์ประกอบตามกฏหมาย ดังต่อไปนี้ องค์ประกอบภายนอก ใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย องค์ประกอบภายใน(๑) เจตนาธรรมดา (๒) มูลเหตุชักจูงใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ก.เพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ข.เพื่อล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ ค. เพื่อแบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร ท่านให้คำอธิบาย ว่า คำว่า “ใช้กำลังประทุษร้าย” หมายความว่า “ทำการประทุษร้ายแก่กายหรือจิตใจของบุคคล ไม่ว่าจะทำด้วยใช้แรงกายภาพหรือด้วยวิธีอื่นใด และให้หมายความรวมถึงการกระทำใดๆซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ไม่ว่าจะโดยใช้ยาทำให้มึนเมา สะกดจิต หรือใช้วิธีอื่นใดอันคล้ายคลึงกัน” คำว่า “ขู่เข็ญ” หมายความว่า แสดงออกให้ทราบว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายในอนาคต ส่วนจะได้ใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายต่อบุคคลใดไม่สำคัญ เพราะมาตรานี้ไม่จำกัดบุคคลผู้ถูกกระทำคือ จะเป็นเจ้าพนักงาน ตำรวจ ทหาร หรือบุคคลธรรมดาก็ได้ ความสำคัญอยู่ที่การกระทำและมูลเหตุชักจูงใจพิเศษที่มาตรานี้บัญญัติไว้ ถ้าไม่มีการกระทำคือใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายก็ไม่มีความผิด หรือถ้ามีการกระทำดังกล่าว แต่ผู้กระทำไม่มีมูลเหตุชักจูงใจตามมาตรานี้ก็ไม่มีความผิด คำว่า “ล้มล้างรัฐธรรมนูญ” หมายความว่า ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในขณะกระทำ หรือกระทำในทางข้อเท็จจริงไม่ให้รัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้บังคับได้ เช่น ยึดอำนาจการปกครองและประกาศเลิกสถาบันต่างๆของรัฐธรรมนูญ คำว่า “เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ” หมายความว่า คงรูปรัฐธรรมนูญเดิมไว้แต่แก้ไขเพิ่มเติมเป็นบางมาตรา คำว่า “ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ” หมายความว่าเลิกไม่ให้มีสภานิติบัญญัติ คำว่า “ล้มล้างอำนาจบริหาร” หมายความว่าเลิกไม่ให้มีคณะรัฐมนตรีในฐานะเป็นฝ่ายบริหาร คำว่า “ล้มล้างอำนาจตุลาการ” หมายความว่าเลิกไม่ให้มีศาลยุติธรรม คำว่า “ให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้” หมายความถึงการขัดขวางมิให้สถาบันซึ่งใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการใช้อำนาจตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ กล่าวคือขัดขวางไม่ให้สภานิติบัญญัติประชุมปรึกษาหารือในการบัญญัติกฎหมาย หรือควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินหรืออนุมัติงบประมาณ หรือขัดขวางมิให้คณะรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดิน หรือขัดขวางมิให้ศาลยุติธรรมดำเนินการพิจารณาพิพากษาคดี ไม่ว่าการขัดขวางจะได้กระทำโดยวิธีใด เช่น ให้ทหารมายึดรัฐสภานิติบัญญัติขณะประชุมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเป็นตัวอย่าง คำว่า “แบ่งแยกราชอาณาจักร” หมายถึงการแยกประเทศไทยออกเป็นหลายประเทศ เช่น ประเทศไทยเหนือและประเทศไทยใต้ ภาษาสามัญเรียกการกระทำดังกล่าวว่า “แบ่งแยกดินแดน” คำว่า “ยึดอำนาจปกครองในส่วนใดแห่งราชอาณาจักร” หมายถึงยึดพื้นที่ส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักรไว้ แล้วตั้งเป็นรัฐบาลอิสระโดยไม่ยอมขึ้นกับรัฐบาลกลาง ความผิดตามมาตรานี้สำเร็จเมื่อมีการใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ในเมื่อผู้กระทำมีเจตนาธรรมดาและกระทำโดยมูลเหตุชักจูงใจดังกล่าว ส่วนผลเช่นการล้มล้างรัฐธรมนูญจะเกิดขึ้นใหม่หรือไม่ ไม่สำคัญ
ในยุครัตนโกสินทร์ เคยเกิดกบฏในประเทศไทย มาแล้ว ๑๓ ครั้ง คือ กบฏ ร.ศ.๑๓๐(๒๔๕๕),กบฏบวรเดช(๒๔๗๖),กบฏนายสิบ(๒๔๗๘),กบฏพระยาทรงสุรเดช(๒๔๘๒),กบฏเสนาธิการ(๒๔๙๑),กบฏแบ่งแยกดินแดน (๒๔๙๑), กบฏวังหลวง(๒๔๙๒),กบฏแมนฮัตตัน(๒๔๙๔),กบฏสันติภาพ(๒๔๙๕),กบฏ๒๕๐๗(๒๕๐๗),กบฏ๒๕๒๐(๒๕๒๐),กบฏยังเติร์ก(๒๕๒๔),กบฏทหารนอกราชการ(๒๕๒๘) ปลายปี พุทธศักราช ๒๕๕๖ มีการแจ้งความดำเนินคดี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการปฎิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) และคณะ ว่ามีการกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ผลคดีจะเป็นเช่นไร ? ต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม ในอนาคต
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | ธันวาคม 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 |