*/
คอลเลคชั่นหนังรัสเซีย | ||
![]() |
||
หนังรัสเซียที่เก็บไว้ |
||
View All ![]() |
แอนิเมชั่น 103 ปี | ||
![]() |
||
แอนิเมชั่นเรื่องแรกของรัสเซีย อายุ 103 ปี เพิ่งค้นพบฟิล์มเมื่อไม่นานมานี้ |
||
View All ![]() |
<< | พฤษภาคม 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
9 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันที่คนรัสเซียมีความสุขมากที่สุดวันหนึ่ง เพราะวันนี้เมื่อปี 1945 นาซีเยอรมันยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อน ทำให้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรปปิดฉากลง ตามจริงเยอรมัน ยอมแพ้กลางดึกวันที่ 8 พฤษภาคม ฝรั่งในยุโรปตะวันตกจึงฉลองกันไปตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม แต่ในช่วงเวลาที่เยอรมันยอมแพ้ รัสเซียได้เข้าสู่วันใหม่แล้ว ก็เลยมาฉลองกันในวันที่ 9 พฤษภาคม ![]() ในวันนี้ จะมีพิธีสวนสนามใหญ่กันที่จัตุรัสแดง แต่จริงๆแล้วก็มีการฉลองกันทั้งประเทศนั่นแหละครับ และก็เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่บรรดาเพลงมาร์ช และเพลงเกี่ยวกับสงครามต่างๆจะกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง วันนี้นำเพลงมาฝากกันเพลงหนึ่งครับ ผมว่าเพราะดี ทำนองคึกคัก สนุกสนาน เพราะเป็นเพลงมาร์ช แต่การที่ผมคุ้นกับเพลงนี้มาก ก็เลยไม่ได้สังเกตว่าวงโยธวาฑิต หรือวงดุริยางค์ในประ เทศอื่น รวมทั้งในบ้านเรา เคยนำเพลงนี้มาบรรเลงกันหรือไม่ แต่ตัวอย่างเพลงที่นำมาให้ฟังในเว็บไซต์วิกิพีเดีย ก็เป็นผลงานการบรรเลงของวงจากสหรัฐครับ ก็แสดงว่าเพลงนี้น่าจะเป็นที่รู้จักในต่างประเทศอยู่ไม่น้อย เพลงนี้มีชื่อว่า “ ปราชานนิเย สลาเวียนกิ “ หรือในภาษาอังกฤษว่า “ Farewell of Slavianka “ หรือในภาษาไทยที่ผมขอแปลว่า “ ลาก่อนแม่สาวสลาฟ “ เพลงนี้เป็นเพลงรัสเซีย ประพันธ์เมื่อปี 1912 ซึ่งยังอยู่ในยุคที่รัสเซียมีพระเจ้าซาร์เป็นประมุข ยังไม่เข้าสู่ยุคสังคมนิยม โดยผู้ประพันธ์ชื่อ วาซิลี อากับกิ้น ( เข้าใจว่า น่าจะเป็นคนเขียนทั้งเนื้อร้องและทำนอง ) เขาแต่งเพลงนี้เพื่ออุทิศให้บรรดาสาวๆชาวสลาฟ ซึ่งติดตามสามีของพวกเธอ เข้าร่วมรบในสงครามที่มีชื่อว่า “ สงครามบอลข่านครั้งแรก “ หรือ “ First Balkan War “ ซึ่งเป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิ์ออตโตมาน ( ตุรกี ) ฝ่ายหนึ่ง กับกลุ่มประเทศสันนิบาตบอลข่าน ( กรีซ , เซอร์เบีย , มอนเตเนโกร และ บัลแกเรีย ซึ่ง 3 ชาติหลังนี้ เป็นพวกที่มีเชื้อสายสลาฟ ) อีกฝ่ายหนึ่งในช่วงเดือนตุลาคม 1912 – พฤษภาคม 1913 ![]() เพลงนี้ถูกนำออกแสดงเป็นครั้งแรกที่เมืองตัมบอฟ ในรัสเซีย เมืองที่มันถูกเขียนขึ้นมาในช่วงปลายปี 1912 และพอถึงปี 1915 มันก็ถูกผลิตเพื่อออกจำหน่ายในรูปของแผ่นเสียง บางคนบอกว่าทำนองเพลงได้แรงบันดาลใจมาจากเพลงมาร์ชของรัสเซียอีกเพลงหนึ่ง แต่บางคนก็บอกว่า มันมีที่มาจากเพลงพื้นเมืองต่อต้านสงครามสมัยสงครามรัสเซีย – ญี่ปุ่น ซึ่งเกิดขึ้นช่วงปี 1904 – 1905 แต่จะอย่างไรก็แล้วแต่ เพลงนี้ได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในรัสเซียและประเทศอื่นๆในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ช่วงปี 1914 – 1918 โดยทหารรัสเซียจะเดินสวนสนาม ตบเท้า จากบ้านเกิดเมืองนอน เพื่อไปสู่สมรภูมิภายใต้การบรรเลงของเพลงนี้ และเมื่อเยอรมันบุกสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพลงนี้ก็เป็นหนึ่งในเพลงมาร์ช 4 เพลง ที่ส่งทหารโซเวียตที่มาเดินสวนสนามที่จัตุรัสแดง ฉลองวันครบรอบการปฏิวัติเมื่อ 7 พฤศจิกายน 1941 ให้ไปประจัญบานกับทหารเยอรมันที่มาตั้งท่ารออยู่ที่ชายขอบของกรุงมอสโก โดยผู้อำนวยเพลงในครั้งนั้น ก็คือคนแต่งนั่นเอง และในพิธีสวนสนามที่จัตุรัสแดง เพื่อฉลองชัยชนะปี 1945 เขาก็เป็นผู้อำนวยเพลงที่บรรเลงในงานนี้เช่นกัน ในช่วงหลังการปฏิวัติปี 1917 ที่ประเทศตกอยู่ในสงครามกลางเมือง ระหว่างพวกแดงกับพวกขาว เพลงนี้ก็ถูกนำไปเป็นเพลงชาติอย่างไม่เป็นทางการของพวกรัสเซียขาว ที่นำโดยพลเรือเอก อเล็กซานเดอร์ โกลชัค คือถ้าพวกรัสเซียขาวชนะ นายพลรายนี้ก็จะได้เป็นผู้นำประเทศนั่นเอง เนื่องจากเพลงนี้เป็นเพลงจากยุคพระเจ้าซาร์ บางคนก็เลยบอกว่ารัฐบาลโซเวียตแบนเพลงนี้ และเพิ่งอนุญาตเมื่อปี 1957 เท่านั้น แต่ข้อมูลที่ปรากฏว่า ระบุว่าไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด เพราะเพลงนี้เคยถูกวงออเคสตร้าของกองทัพแดง และวงออเคสตร้าของทหารวงอื่นๆนำไปบันทึกเสียงก่อนน้านั้น เพียงแต่เนื้อร้องถูกปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสม และความชอบใจ และเนื้อร้องที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เป็นเวอร์ชั่นที่วงประสานเสียงกองทัพแดงเคยร้องเอาไว้หรืออย่างในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็มีการประพันธ์เนื้อร้องเพลงนี้เป็นภาษาโปแลนด์ เพื่อใช้เป็นเพลงปลุกใจสำหรับชาวโปแลนด์ในช่วงที่ประเทศถูกเยอรมันเข้ายึดครองด้วย ล่วงเลยมาจนถึงยุคที่สหภาพโซเวียตสูญสลาย กลับมาเป็นรัสเซีย เพลงนี้ก็ยังตกเป็นข่าว เมื่อพรรคการเมืองหนึ่ง เคยเสนอให้นำเพลงนี้มาเป็นเพลงชาติรัสเซีย แต่ไม่สำเร็จ โดยเพลงชาติรัสเซียปัจจุบัน ก็ยังใช้ทำนองเพลงชาติโซเวียตเดิมมาใส่เนื้อร้องใหม่ และปัจจุบัน เพลง “ ลาก่อนสาวสลาฟ “ ถูกใช้เป็นเพลงประจำของแคว้นตัมบอฟ ที่เพลงนี้ถือกำเนิดขึ้นมา และเรือที่ล่องตามลำแม่น้ำโวลก้า รวมถึงรถไฟที่ออกจากมอสโก แล่นไปตามทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย เพื่อไปยังเขตตะวันออกไกลของประเทศ ก็จะเปิดเพลงนี้ก่อนออกเดินทาง เช่นเดียวกับขบวนรถไฟจากกรุงเคี๊ยฟของยูเครน ที่จะออกเดินทางมามอสโก |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |