*/
คอลเลคชั่นหนังรัสเซีย | ||
![]() |
||
หนังรัสเซียที่เก็บไว้ |
||
View All ![]() |
แอนิเมชั่น 103 ปี | ||
![]() |
||
แอนิเมชั่นเรื่องแรกของรัสเซีย อายุ 103 ปี เพิ่งค้นพบฟิล์มเมื่อไม่นานมานี้ |
||
View All ![]() |
<< | สิงหาคม 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
คนรัสเซียในเขตเมืองส่วนมากจะอาศัยอยู่ตามอพาร์ตเม้นต์เป็นหลัก ซึ่งก็เป็นแบบนี้มานมนานแล้วครับ นัยว่าเพื่อทำให้ระบบการจัดการภายในเมือง การจัดผังเมืองสามารถทำได้ง่ายขึ้น และเพื่อแก้ปัญหาความอุดอู้ เมื่อต้องอยู่แต่ในอพาร์ตเม้นต์ คนรัสเซียจึงนิยมไปสร้างบ้านพักในเขตนอกเมืองอีกหลังหนึ่งต่างหาก เพื่อเอาไว้พักผ่อน ผ่อนคลายจากบรรยากาศจำเจของ อพาร์ตเม้นต์ เพื่อให้ได้สัมผัสกับผืนดิน ต้นไม้ ใบหญ้า สายลม แสงแดด และสายน้ำกับเขาบ้าง ในยุคโซเวียตมีการก็แบ่งอพาร์ตเม้นต์ออกเป็น 3 สไตล์ใหญ่ๆตามรูปลักษณ์ของมัน คือสไตล์ สตาลินก้า , ครุชชอฟก้า และ เบรชเนฟก้า ซึ่งจริงๆแล้วก็แบ่งตามยุคของผู้นำ คือสตาลิน , ครุชชอฟ และ เบรชเนฟ นั่นเอง แต่วันนี้ ผมขอพูดถึงสไตล์เดียวก่อนครับ คือสไตล์ครุชชอฟก้า (Khrushchyovka ) เนื่องจากเป็นสไตล์ที่ได้รับความนิยม และมีการสร้างกันอย่างแพร่หลายที่สุด แต่ก่อนจะไปยังอพาร์ตเม้นต์สไตล์ครุชชอฟก้า ก็สมควรจะต้องพูดถึงสไตล์ก่อนหน้านั้น คือสไตล์สตาลินก้ากันเล็กน้อย เพื่อเราจะได้เห็นภาพความแตกต่างของอพาร์ตเม้นต์ 2 สไตล์นี้ อพาร์ตเม้นต์สไตล์สตาลินก้า ก็เกิดในยุคสตาลินครองเมืองนั่นแหละครับ อพาร์ตเม้นต์แบบนี้ยังใช้หลักการก่อสร้างแบบเดิมๆที่เรานิยมทำกันอยู่นี่แหละครับ คือการก่ออิฐโบกปูนธรรมดาๆ สตาลินก้า มีความสูงแค่ 4 ชั้น และมีพื้นห้องเป็นไม้ มีเพดานค่อนข้างสูง มีห้องน้ำห้องครัวในตัว อพาร์ตเม้นต์แบบนี้ให้ความรู้สึกที่ไม่คับแคบเกินไปนัก แถมยังมีระเบียงด้านหน้า ส่วนการตกแต่งภายนอก ผมก็ถือว่ามีสไตล์ทีเดียว สตาลินก้า แต่ปัญหาก็คือ อพาร์ตเม้นต์แบบสตาลินก้านั้น สร้างได้ช้า เพราะการก่อสร้างใช้เทคโนโลยี และเทคนิคการก่อสร้างแบบดั้งเดิม นอกจากนั้น มันก็ยังใช้งบมาก ไม่ทันกับความต้องการของประ เทศที่ต้องการขยายชุมชนเมืองออกไปอย่างรวดเร็ว พอปลายยุคสตาลิน ก็จึงเริ่มมีการมีการพูดถึงการก่อสร้างอพาร์ตเม้นต์สไตล์ใหม่ ซึ่งต่อมา มันก็ได้ชื่อว่าสไตล์ครุชชอฟก้า แต่ถ้าดูสภาพหอพักในเมืองมหาวิทยาลัย ก็จะเห็นการพัฒนาการของมันได้ดี เพราะหอแรกๆ คือตั้งแต่หอ 2 ขึ้นไป เห็นปุ๊ปก็รู้ว่าต้องสร้างมาก่อน เพราะมันเป็นอาคารรูปกล่องแนว นอน รูปร่างเหลี่ยมๆ เรียบๆไม่มีอะไรโดดเด่น มีความสูงแค่ 5 ชั้น แต่ละห้องไม่มีระเบียง เมื่อเข้าไปดูภายใน ก็ไม่มีอะไรเช่นกัน ไม่มีลิฟต์ ห้องน้ำในแต่ละห้องพักก็ไม่มี โดยห้องล้างหน้า ( ห้องซักล้าง ) และห้องส้วมจะไปอยู่ที่ด้านปลายทั้งสองด้านของแต่ละชั้น ส่วนห้องครัวอยู่ติดกับบันได ซึ่งขึ้นมาจากตรงกลางอาคาร สำหรับห้องอาบน้ำอยู่ชั้นใต้ดิน ห้องพักก็เรียงกันเป็นพรึ่ด 2 ฝั่ง หันหน้าเข้าหากัน ผมว่านี่แหละครับคืออาคารแบบ ครุชชอฟก้า ขนานแท้และดั้งเดิม ส่วนหอพักที่สร้างในยุคต่อมา ซึ่งอยู่ด้านท้ายๆของเมืองมหาวิทยาลัย ก็เป็นหอแบบแนวตั้ง คือมีความสูงมากกว่าความยาว และมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วนตามยุคตามสมัย รวมถึงลิฟต์ เพราะอาคารสูงเกินกว่าจะเดินขึ้นลงชั้นบนโดยไม่ปวดขาเสียก่อน ลักษณะเด่นของอาคารอพาร์ตเม้นต์ครุชชอฟก้า จะมีความสูงไม่เกิน 5 ชั้นครับ ต่ำสุดก็คือ 3 ชั้น ราคาค่าก่อสร้างอาคาร ดูแล้วก็น่าจะต่ำมาก และความรวดเร็วในการก่อสร้างก็น่าจะสูงมาก เพราะมันเป็นการเอาแผ่นปูนที่หล่อขึ้นมาเรียบร้อย หรือยกห้องทั้งห้อง มาแปะๆเข้าด้วยกัน มันไม่มีมุมโค้งมุมเว้าให้ช่างก่อสร้างต้องยุ่งยากใจ แทบทุกจุดมีแต่เหลี่ยมกับเหลี่ยม แทบไม่มีการตกแต่งเพื่อความสวยงามฟุ่มเฟือยอะไรเลย ตามประวัติบอกว่า ตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โซเวียตได้คิดหาวิธีสร้างอาคารที่อยู่อาศัยที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ แต่ทำได้รวดเร็วมาระยะหนึ่งแล้ว เพื่อเร่งสร้างที่อยู่อาศัยในเมืองใหญ่ให้กับประชาชน นอกจากนั้นโซเวียตก็เห็นว่าคู่กัดอมตะอย่างสหรัฐ มีปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยมาก ถึงกับมีปัญหาพวกคนไร้บ้าน ที่ต้องไปนอนตามข้างถนนมากมาย ถ้าโซเวียตแก้ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยได้ ก็จะถือว่าล้ำหน้าสหรัฐไปได้อีกเรื่องหนึ่ง และแล้ว ในการประชุมของบรรดาสถาปนิกต้นปี 1950 ครุชชอฟ ในฐานะผู้อำนวยการพรรคคอมมิวนิสต์สาขากรุงมอสโก ซึ่งเป็นผู้ดูแลการประชุมก็ประกาศเรื่องเทคโนโลยีใหม่ ที่จะนำมา ใช้แทนการก่ออิฐฉาบปูน ที่ต้องใช้แรงงานมาก และชักช้า โดยเทคโนโลยีใหม่นี้สามารถสร้างอาคารได้รวดเร็ว และราคาถูก ซึ่งในอีก 3-4 ปีต่อมาก็มีการสร้างโรงงานคอนกรีตขึ้น 2 แห่งในกรุงมอสโกและจากการทดสอบเทคนิคใหม่ที่นี่ พวกเขาสรุปว่า ระบบการหล่อแผ่นคอนกรีตที่โรงงาน หรือทำเป็นห้อง แล้วนำไปติดตั้งในสถานที่ก่อสร้างเป็นระบบที่ดีกว่าระบบอื่นที่คิดกันขึ้นมาในตอนนั้น ปี 1961 K – 7 ซึ่งเป็นดีไซน์ของอาคารครุชชอฟก้า ที่ถือว่าเป็นแบบคลาสสิก เพราะมีการนำมาสร้างกันอย่างกว้างขวาง ก็ถูกเปิดตัวออกมาหลังการทดสอบเป็นเวลาหลายปี K – 7 เป็นอาคารขนาด 5 ชั้น เพราะในยุคนั้นลิฟต์เป็นอะไรที่ถือว่าแพง และใช้เวลามากในการสร้าง ขณะเดียวกัน มาตรฐานด้านสุขภาพและความปลอดภัยของประเทศ ก็บอกว่าอาคารที่ไม่มีลิฟต์ ควรมีความสูงไม่เกิน 5 ชั้น ดังนั้น K – 7 จึงสูงแค่ 5 ชั้น ระหว่างปี 1961 – 1968 ในกรุงมอสโกแห่งเดียวมีการสร้างอาคารแบบนี้มากถึง 64,000 หลัง รวมพื้นที่ใช้สอย 3 ล้านตารางเมตร แต่ต่อมา จากปัญหาพื้นที่สร้างอาคารไม่เพียงพอ จึงมีการเพิ่มความสูงของอาคารเป็น 9-12 ชั้น ครุชชอฟก้าจึงไม่เป็นครุชชอฟก้าอีกต่อไป ครุชชอฟก้าขนาด 5 ชั้น ในกรุงมอสโกถูกหยุดสร้างไปในปี 1971 แต่ในที่อื่นๆของประเทศทั่วประเทศ มันก็ยังคงถูกสร้างกันต่อมาเรื่อยๆตลอดยุคคอมมิวนิสต์ จริงๆแล้ว ครุชชอฟ หวังให้ครุชชอฟก้าเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น หลังจากอะไรลงตัวแล้ว ก็จะสร้างอะไรที่มันดีกว่านี้มาทดแทน แต่หลายล้านตึกตอนนี้ก็ยังถูกใช้งานอยู่ แม้ว่าตามหลักการแล้ว พวกมันถือว่าหมดอายุแล้วก็ตาม ครุชชอฟก้า ที่ใช้เป็นอพาร์ตเม้นต์ยุคแรกๆ ผมคิดว่าน่าจะใช้ระบบห้องน้ำห้องส้วม รวมทั้งครัวเป็นระบบส่วนรวม แต่ต่อมาก็จะมีห้องน้ำห้องส้วมและครัวในตัวด้วย แต่ทุกอย่างจะเล็กและดูคับแคบไปหมดเพื่อประหยัดพื้นที่ใช้สอย สวนทางกับการเป็นคนตัวใหญ่ของคนรัสเซีย อย่างห้องครัว ที่คนโซเวียตใช้เป็นห้องกินอาหารด้วยนั้น มีขนาดแค่ 6 ตารางเมตรเท่านั้น ส่วนห้อง น้ำห้องส้วม ก็สร้างสำเร็จมาจากโรงงาน แล้วก็นำมาหย่อนใส่ลงไปในอาคารที่กำลังก่อสร้าง ก่อน ที่ช่างจะแค่เชื่อมต่อท่อต่างๆเข้าด้วยกันเท่านั้น
แม้จะดูไม่น่ามอง และขาดรสนิยม แต่ครุชชอฟก้า ก็สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อา ศัยของประชาชนได้เป็นอย่างดี จากความรวดเร็วสุดขีดในการก่อสร้าง และงบประมาณการก่อสร้างที่ต่ำมาก แบบแปลนเดียวกัน มักถูกนำใช้สร้างอาคารอพาร์ตเม้นต์หลายสิบหลัง ทำให้พวกมันมากมายหน้าตาท่าทางเหมือนกันอย่างกับแกะ เรื่องนี้ทำให้ในโซเวียตจึงมีหนังตลกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเก่ามากแล้ว แต่ผู้คนยังชื่นชอบกันจนถึงทุกวันนี้ หนังเรื่องนี้หยิบเอาเรื่องความเหมือนกันของอพาร์ตเม้นต์ในโซเวียตมาล้อเลียน โดยในหนัง คนเมาคนหนึ่ง เกิดผลัดหลงไปยังอีกเมืองหนึ่งเพราะความเมา และได้พยายามเข้าไปยังอพาร์ตเม้นต์ ของคนอื่น เพราะคิดว่าเป็นของตัวเอง เนื่องจากทุกอย่างของอาคาร เหมือนกันไปเสียหมด ฉลองบ้านใหม่ เบรชเนฟก้า
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |