*/
ปาย .. นานมาแล้ว | ||
![]() |
||
ปาย ..ความทรงจำที่ดีเสมอ |
||
View All ![]() |
<< | ธันวาคม 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
จากน้ำท่วมใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่าน จนล่าสุดเกิดกรณีจดหมายส่งต่อทางอินเตอร์เรื่องเขื่อนภูมิพลจะแตก ซึ่งก่อนหน้านี้ช่วงน้ำท่วมใหญ่ที่จ.ตาก ก็มีชาวบ้านวิตกกังวลว่าเขื่อนจะแตก เพราะน้ำล้น .. ถ้าเพียงน้ำล้นขนาดนี้แล้วเขื่อนจะแตกได้ง่ายๆ .. แล้วเขื่อนมิได้สร้างไว้เพื่อรองรับการกับเก็บน้ำตามปริมาตรความจุเช่นนั้นหรือ บางทีการแตกตื่นกับข่าวที่ออกมาแทนการตระหนัก ติดตามข้อมูลที่แท้จริง อาจช่วยให้เราไม่วิตกกังวล หวาดกลัวจนเกินไป ช่วงที่น้ำท่วมใหญ่ จ.ตาก ด้วยความที่ได้ยินเสี่ยงร่ำลือกลัวกันว่าเขื่อนจะแตก จึงอยากรู้ว่าความแข็งแรงของเขื่อนมีขนาดไหน ทำไมจึงแตกตื่น กังวลเรื่องเขื่อนจะแตก โชคดีที่มีโอกาสได้สอบถาม กับอดีตช่างที่เคยร่วมในการก่อสร้างเขื่อนยันฮี (ชื่อเดิมของเขื่อนภูมิพล) ตั้งแต่การเริ่มสำรวจจนกระทั่งก่อสร้างเสร็จ อดีตช่างท่านนี้ เป็นคุณ แม้จะอายุมากแล้วแต่มีความจำที่ดีมาก สามารถจำรายละเอียดขั้นตอนการก่อสร้างได้อย่างดี เช่นรายละเอียดของขนาดวัสดุ เหล็ก หรือขนาดของน๊อตที่ใช้ ช่วงเตรียมการจะก่อสร้าง รวมทั้งรายละเอียดบรรยากาศ ความยากลำบาก และความสามารถของบรรดานายช่างสมัยนั้น ที่ยังไม่มีเทคโนโลยีชั้นสูงเหมือนสมัยนี้ เสียดายว่าภาพถ่ายช่วงการก่อสร้าง ที่คุณตาเก็บรวบรวมไว้เป็นเล่มได้ถูกหยิบยืมแล้วสูญหายไป และต้องขออภัยที่ไม่ได้จดและจำและรายละเอียดที่ได้รับการบอกเล่ามาได้ทั้งหมด จึงขอนำเพียงบางส่วนในช่วงการก่อสร้างมากล่าวถึง ถ้าไม่ถูกต้องตรงส่วนไหน ผู้รู้ท่านใดจะช่วยบอกกล่าวเพิ่มเติมก็ขอขอบคุณค่ะ และถ้ามีโอกาสจะบันทึกคำบอกเล่าโดยละเอียดมาเล่าสู่อีกครั้ง อดีตช่างท่านนี้บอกว่า ก่อนการสร้างเขื่อนได้มีการสำรวจปริมาณน้ำที่จะไหลลงมายังแม้น้ำปิง ในพื้นที่ที่ความจุเขื่อนจะครอบคลุมถึง เช่นตั้งแต่ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน สำรวจปริมาณลำน้ำสาขาต่างๆว่าจะไหลลงมารวมกันเท่าไหร่ .. ในส่วนนี้การปล่อยน้ำครั้งใหญ่ที่ผ่านมาเห็นว่าคงไม่ใช่เพราะกลัวเขื่อนแตก เพราะคิดว่าการสร้างเขื่อนย่อมต้องมีการคำนวณการรองรับปริมาณและน้ำหนักของน้ำ ที่จะจุอยู่ในเขื่อนอย่างดีแล้ว เพราะคิดว่าเป็นแค่หลักพื้นฐานง่ายๆ คงไม่มีความเปราะบาง ขนาดที่เมื่อปริมาณเต็มเป็นเวลานานแล้วจะแตกได้ .. แต่คิดว่าที่ทางเขื่อนต้องปล่อยน้ำเพราะถ้าเกิดน้ำล้นเขื่อนจะเกิดการเสียหายต่อเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งคิดว่าข้อนี้ที่ผ่านมาทางเขื่อนน่าจะให้คำอธิบายที่ละเอียด และชัดเจนมากกว่านี้ และในช่วงที่น้ำท่วมได้ไปดูปริมาณน้ำที่ตัวเขื่อน ได้เจอกับเจ้าหน้าที่บางท่านจึงได้สอบถามว่า ทำไมจึงปล่อยน้ำปริมาณมากช่วงนี้ รอจนต้องปล่อยน้ำทางสปริงเวย์(ทางระบายน้ำล้น) ทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ใต้เขื่อนลงไป เจ้าหน้าที่เขื่อนบอกว่าก่อนหน้านี้ได้รับการประสานจากกรมชลฯว่า ยังไม่ให้ปล่อยน้ำ เพราะกลัวน้ำจะท่วมนาข้าวภาคกลาง .. นี่คือข้อมูลที่ได้รับทราบมา เท็จจริงอย่างไรความจริงก็ปรากฏให้เห็นแล้ว และตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนมามีการปล่อยน้ำทางสปริงเวย์เพียง 2- 3 ครั้ง อดีตช่างทานนี้บอกว่าหลังการสำรวจและมีการเตรียมก่อสร้างเขื่อน มีการสร้างเขื่อนดินกั้นแม่น้ำปิงเหนือบริเวณที่จะสร้างสันเขื่อน นอกจากนั้นก่อนการก่อสร้างฐานเขื่อนยังมีการขุดเจาะอุโมงค์ ๒ ช่อง ด้านข้างของสันเขื่อน เพื่อใช้ระบายน้ำระหว่างเตรียมการก่อสร้างตัวเขื่อน อุโมงค์มีความกว้างประมาณ ๑๑ เมตร มีความยาวประมาณ ๘๐๐ เมตร ใช้เวลาในการขุดเจาะ ก่อสร้างอุโมงค์ประมาณ ๒ ปี มีการทำงานตลอด ๒๔ ชั่วโมง คนงานหมุนเวียนสลับกันไป มีการทำรางรถไฟเข้าไปเพื่อขนถ่ายหินที่ระเบิดออกมา ต้องมีการต่อท่อความเย็นทุกระยะของการเข้าไปเจาะ มีการอัดซีเมนต์เข้าไปเพื่อไม่ให้มีช่องว่างในเนื้อหินรอบอุโมงค์ ท่อปลายอุโมงค์จะเฉียงขึ้นประมาณ ๔๕ องศา เพื่อกันไม่ให้น้ำพุ่งกระแทกลง ส่วนภูเขาบริเวณด้านข้างตั้งแต่แนวสันเขื่อนขึ้นไปยาวประมาณ ๒ กิโลเมตร มีการเจาะและอัดซีเมนต์เหลวเข้าไปในช่องเนื้อหินเพื่อป้องกันน้ำรั่วซึม ไม่ให้เนื้อหินภูเขาแตกหรือแยกได้ ในส่วนของตัวเขื่อน ฐานล่างเขื่อนมีความกว้าง ๕๒ เมตร (เท่ากับตึกแถว ๑๓ ห้องถ้าห้องแถวหนึ่งห้องมีความกว้าง ๔ เมตร) และไล่สโลปขึ้นไปบนสันบนสันเขื่อนกว้าง ๖ เมตร รัศมีความโค้งตัวเขื่อนประมาณ ๒๕๐ เมตร สูง ๑๕๔ เมตร ยาว ประมาณ ๕๐๐ เมตร (ตัวเลขที่อดีตช่างบอกมา โดยที่ท่านไม่ได้จดไว้ แต่จำรายละเอียดได้ทั้งหมด) น้ำหนักตัวเขื่อน ประมาณ ๔ พันล้านตัน (ตัวเลขนี้คงต้องขอคำยืนยันจากผู้รู้เป็นทางการค่ะ) จากการคำนวณโดยประมาณจากน้ำหนักแท่งคอนกรีตแต่ละแท่งรวมกัน ซึ่งบอกว่าสามารถทนแรงระเบิด แรงสั่นสะเทือนได้มหาศาล เพราะได้มีการออกแบบรองรับแผ่นดินไหวประมาณ ๗.๕ ริกเตอร์ แต่ท่านบอกว่า ด้วยการออกแบบ การก่อสร้าง น้ำหนักและการอัดแน่นของคอนกรีตน่าจะรับได้มากกว่านั้น คอนกรีตที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นชนิดพิเศษ ต้องใช้น้ำเย็นจากน้ำแข็ง ในการเป็นส่วนผสมคอนกรีต เพราะคอนกรีตมีความร้อนมาก ในส่วนของใต้ฐานเขื่อนมีการอัดคอนกรีตเหลวเพื่อเสริมความแกร่งถ้ามีหินที่ผุ หรือมีช่องในเนื้อหิน ท่านบอกว่าถ้ามีแผ่นดินไหวรุนแรงมาก ตัวเขื่อนคงไม่ร้าวง่ายๆ แต่ถ้าจะเป็นได้ก็คือรอยต่อระหว่างตัวเขื่อนกับภูเขา แต่การออกแบบก็ได้รองรับการรั่ว ไหล ซึมของน้ำให้มีทางออกไว้แล้ว ส่วนอายุการใช้งานของเขื่อนประมาณ ๓๐๐ ปี เมื่อตะกอนเต็มเขื่อน แต่ท่านบอกว่าความทนทานน่าจะได้ถึงพันปี เพราะการก่อสร้างในสมัยก่อนได้มาตรฐาน ไม่มีการกินหัวคิวจนคุณภาพงานต่ำกว่ามาตรฐานเหมือนสมัยนี้ ซึ่งคิดว่าในข้อมูลรายละเอียดความแข็งแกร่งของตัวเขื่อน และระดับความปลอดภัย น่าจะได้รับการอธิบายหรือการบอกกล่าวจากทางผู้รับผิดชอบโดยตรงมากกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อประชาชนจะได้ไม่มีความตื่นตระหนกมากเกินไป เพราะเพียงบอกว่าแข็งแรง เขื่อนไม่แตกแน่นอนดูอาจจะเบาเกินไป และยิ่งกว่านั้นคิดว่าทางผู้รับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นทางเขื่อน หรือเจ้าหน้าที่รัฐน่าจะมีการเตรียมแผนป้องกัน รองรับ ในกรณีที่ถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงเกินกว่าที่คาดหมาย เพราะที่ผ่านมาแม้แต่ประเทศญี่ปุ่นที่มีการก่อสร้างรองรับเรื่องแผ่นดินไหวอย่างดี ยังเกิดความเสียหายอย่างหนัก อย่างน้อยเราก็น่าจะเตรียมพร้อมในการรับมือ ให้ความรู้ กับประชาชน คิดว่าไม่ต้องถึงขนาดเขื่อนแตก เพียงเรื่องแผ่นดินไหวเรายังมีความรู้ในการรับมือแค่ไหน เพราะเท่าที่เคยประสบด้วยตัวเองในตัวจ.ตาก และอ.ท่าสองยาง ในรอบสิบปี มีแผ่นดินไหว อย่างที่รู้สึกได้มาหลายครั้ง และครั้งล่าสุดที่แผ่นดินไหวจากพม่าก็สั่นสะเทือนมาถึงประเทศเรา เป็นบริเวณกว้างและค่อนข้างจะรุนแรงกว่าปกติในบางพื้นที่ จึงคิดว่าเวลานี้ข่าวลือเรื่องเขื่อนแตกที่แพร่กระจายจนทำให้หลายคน หลายพื้นที่ตื่นตระหนก น่าจะใช้หันมาตระหนักในการหาความรู้ รับมือ ป้องกัน และวางแผนว่าจะบรรเทาเหตุความเสียหาย ให้น้อยที่สุดได้อย่างไร เราน่าจะใช้ความตื่นรู้มากกว่าความตื่นกลัว เพราะถึงที่สุดถ้าความไม่แน่นอนเกิดขึ้นก็อาจจะบรรเทาให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ใช่ตั้งรับปัญหาแบบไทยไทยเหมือนที่ผ่านมา ที่เตรียม(หา)กิน มากกว่า เตรียมการ ขอให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการศึกษาหาข้อมูลเพื่อเตรียมป้องกัน รับมือ มากกว่าจะเพียงตื่นตระหนกกลัว ใช้เวลากับความกลัวมากกว่าจะใช้เวลาหาความรู้ และถึงที่สุดถ้าอะไรจะเกิด เราก็ต้องยอมรับกับสิ่งนั้น ขอขอบคุณภาพสุดท้ายจากเวบไซต์pantip รายละเอียดข้อมูลการก่อสร้างบางส่วนตามอ่านได้จากลิงค์ด้านล่างค่ะ http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2011/11/X11287194/X11287194.html http://24webhost.com/portfolio/web/egat/power_p9.html- กฟภ. . . . -- ขอทุกใจ แข็งแกร่ง กับทุกความเปลี่ยนแปลง ความเป็นไป สุข สดชื่น ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ นะคะ --
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |