ก่อนปิดภาคเรียนที่โรงเรียนได้เกิดโรคระบาดขึ้น !!! อย่าเพิ่งตกใจไม่ใช่โรคร้ายแรงอะไรหรอกครับ แต่เป็นพฤติกรรมการเล่นของนักเรียนที่เก็บก้อนหินมาเล่นหมากเก็บ เล่นกันตั้งแต่ชั้น ป.1-ป.6 ทั้งนักเรียนหญิงนักเรียนชาย ไม่มีการแบ่งเพศแบ่งชั้นวรรณะ ขอให้มีเวลาว่าง เขาจะนั่งแบ่งกลุ่มกันประมาณกลุ่มละ 3-5 คน ผมรู้สึกดีอย่างหนึ่งที่เห็นนักเรียนเล่นอะไรที่มันไม่สิ้นเปลืองแต่ได้พัฒนาสมอง ดีกว่าไปเล่นเกมคอมพิวเตอร์ที่บางทีก็มีผลเสียมากกว่าผลดี ??? ผมนั่งสังเกตนักเรียนเล่นแล้วก็เกิดมุมมองเกี่ยวกับการเล่นหมากเก็บโรคระบาดที่กำลังเกิดขึ้น ผมมองว่าการเล่นหมากเก็บมันเป็นทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์อย่างหนึ่งและเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตรงตามเป้าหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ที่เรากำลังใช้กันอยู่ในสมัยปัจจุบัน แต่สำหรับในสมัยโบราณนั้นชาวโรมันเขาจะใช้ก้อนหินโดยที่เรียกก้อนหินนี้ว่า Calculi โดยนำมาใช้ในการคิดคำนวณซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า Calculate ต่อมาก็พัฒนามาเป็น Calculus คงจะพอคุ้น ๆ นะครับ คณิตศาสตร์นั้นถูกกำหนดให้อยู่ในกลุ่มสาระที่สร้างพื้นฐานการคิด การเรียนรู้และการแก้ปัญหา พอพูดถึงการ แก้ปัญหาก็ทำให้ผมนึกถึง จอร์จ โพลยา (George Polya : ค.ศ.1887-1985) นักคณิตศาสตร์ชาวฮังการี โพลยาได้แบ่งกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ออกเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกันคือ 1. เข้าใจปัญหา (Understand) 2. วางแผนอย่างชาญฉลาด (Devise a Plan) 3. ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ (Carry out the Plan) และ 4. มองย้อนกลับไป (Look Back) โพลยาเชื่อว่าความสามารถในการแก้ปัญหานั้นไม่ใช่เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดโดยกำเนิดเพียงอย่างเดียว แต่ความสามารถดังกล่าวเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ หรือถ้าใครได้อ่านหนังสือพิมพ์คงจะเคยเจอประโยคหนึ่งอยู่ในหน้าโฆษณา เขาเขียนไว้ว่าพันธุกรรมมีผลต่อความฉลาดของมนุษย์เพียง 42 %เท่านั้น อีก 52 %นั้นมาจากการเรียนรู้ ถ้าพูดแบบชาวบ้าน ๆ ก็คือว่าไม่มีใครเก่งมาตั้งแต่เกิดทุกอย่างเกิดจากการเรียนรู้ครับ ทำนองเดียวกันถ้าเรานำหลักการเหล่านี้มาใช้ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยให้นักเรียนได้ทำแบบฝึกหัดหรือแก้ปัญหาบ่อย ๆ ผมมั่นใจว่าลูกศิษย์ของเราต้องประสบความสำเร็จในการเรียนคณิตศาสตร์แน่นอนครับ The best way to learn mathematics is to do mathematics นอกจากการเล่นหมากเก็บที่กำลังระบาดอย่างหนักแล้ว การเล่นลูกแก้วของนักเรียนชาย หรือการกระโดดยางของนักเรียนหญิง ซึ่งทุกโรงเรียนคงจะมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ดีนะครับ เราลองพิจารณาหรือวิเคราะห์ดี ๆ แล้วจะเห็นว่ามันมีทักษะ/กระบวนการซ่อนอยู่เหมือนกันครับ . สิ่งสำคัญขอให้เรารู้จักมองการเล่นของนักเรียน เราก็สามารถนำสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโรงเรียนมาเป็นสื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ โดยหยิบสิ่งใกล้ตัวมาเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้นะครับ เพราะ Mathematics lives in everywhere แม้ว่าบางครั้งการเล่นของนักเรียนอาจจะดูไม่เหมาะสมหรือไม่สมเหตุสมผลในสายตาครู แต่หน้าที่ครูอย่างเราก็คงจะต้องแนะนำตักเตือนถึงความเหมาะสมของการเล่นให้อยู่ในขอบเขต รู้จักการแบ่งเวลา ไม่ใช่ว่าเวลาเรียนเราเล่นเวลาเล่นเรายิ่งเล่น ก่อนจบบทความผมมีตัวอย่างชีวิตของนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อว่า เอมานูเอล ลาสเกอร์ (Emanuel Lasker : ค.ศ.1868-1941) ตามประวัติเขาเป็นคนที่ชอบเล่นหมากรุกมาก เล่นมาตั้งแต่เด็กจนโต ที่สำคัญเล่นจนได้เป็นแชมป์โลก 27 สมัยติดต่อกัน (ค.ศ.1894-1921) สุดท้ายเขาก็เป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ ไม่แน่นะครับการที่เราเห็นนักเรียนเล่นหมากเก็บวันนี้ อาจจะมีอะไรเก็บไปให้เราได้ภูมิใจในอนาคตก็ได้ จริงไหมครับ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ Bar model | ||
![]() |
||
วิทยากรอบรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Bar model method ให้กับเพื่อนครู ณ จ.นครราชสีมา จ.มหาสารคาม จ.ศรีสะเกษ และ จ.ชัยภูมิ |
||
View All ![]() |
ยอดอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ | ||
![]() |
||
Johann Carl Friedrich Gauss (ค.ศ.1777-1855) |
||
View All ![]() |
<< | พฤศจิกายน 2007 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |