นาน ๆ ครั้งครับที่จะได้คุยกับคนที่มีแนวทางการทำงานคล้าย ๆ กัน บุคคลที่ผมกำลังพูดถึงคืออาจารย์ นี่เป็นผลงานที่ผมเห็นว่าขนาดของโรงเรียนไม่ใช่อุปสรรค ขอให้เรามีความรักในคณิตศาสตร์ ความสำเร็จก็อยู่แค่เอื้อมครับยิ่งปีนี้ยังสามารถนำนักเรียนฝ่าฟันอุปสรรคสอบผ่าน สสวท. รอบแรกของสาขาคณิตศาสตร์ ติด 1 ใน 700 คนของประเทศ ยิ่งน่าทึ่งครับ เท่าที่ได้คุยกันอย่างจริงจังกับอาจารย์แคล้วในวันนั้น เห็นเป้าหมายในการพัฒนาคณิตศาสตร์ เห็นการสร้างโอกาสให้กับนักเรียนในวงกว้าง สามารถสร้างเด็กบ้านนอก ที่ขาดโอกาสในหลายด้านให้ไปยืนอยู่ในเวทีระดับประเทศได้ บางทีคนที่มีอำนาจที่สามารถอำนวยโอกาสให้กับครูหรือนักเรียนได้อย่างเต็มที่ น่าจะดูเป็นตัวอย่างบ้างก็ดีนะครับ ??? คนที่รักและทุ่มเทให้กับคณิตศาสตร์โดยการถ่ายทอดความรู้นั้นให้กับลูกศิษย์ จนประสบผลสำเร็จ อย่างอาจารย์แคล้ว ปัจจุบันค่อนข้างหายากครับ ! ถ้าเรามองไปที่ข้างหลังภาพของความสำเร็จ ต้องถอนหายใจยาว ๆ เพราะกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ เหนื่อยเอาการเหมือนกัน เรื่องราวระหว่างทางของการทุ่มเท มันมีรายละเอียดเยอะมาก ที่ผมพูดแบบนี้ ไม่อยากให้มองเพียงแค่บรรทัดสุดท้ายเท่านั้นเองครับ มีภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า ความสำเร็จคือจุดบรรจบระหว่างโอกาสกับการเตรียมพร้อม โอกาสเป็นหน้าที่ของครูที่จะแสวงหาให้กับนักเรียน อย่าลืมว่าคนเรามีความสามารถแต่ถ้าขาดโอกาสก็ไร้ผล จริงไหมครับ ส่วนการเตรียมความพร้อมนั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของโรงเรียนหรือเขตพื้นที่ว่ามีเป้าหมายไปในทิศทางใด พร้อมที่จะสนับสนุนให้มาบรรจบกับโอกาสที่ครูเขาสร้างไว้รอได้หรือไม่ ? บุคลิกที่ไม่ยึดติดกับทรัพย์สิน ทำให้แอร์ดิชไม่รู้สึกเดือดร้อน และยังยินดีที่จะให้เงินรางวัลแก่ผู้ที่สามารถตอบปัญหาที่เขาตั้งได้เสมอ จุดนี้เองที่ได้รับการกล่าวขวัญถึง ตามประวัติที่ได้จากหนังสือเล่มนี้เล่าว่า ครั้งหนึ่งเมื่อยังมีชิวิตอยู่ เขาได้ทราบเรื่องราวของ เกลน วิทนีย์ (Glen Whitney) ซึ่งเป็นนักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน วิทนีย์ ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในสาขาคณิตศาสตร์ เขาได้ให้วิทนีย์ยืมเงิน 1,000 ดอลลาร์โดยไม่มีดอกเบี้ย โดยบอกว่าค่อยให้คืนเมื่อสามารถจบการศึกษาและมีงานทำ ต่อมา วิทนีย์ เรียนจนจบปริญญาเอก จึงติดต่อกับแอร์ดิช เพื่อคืนเงิน 1,000 ดอลลาร์นี้ แต่แอร์ดิชกลับตอบว่า "ขอให้เธอใช้เงินจำนวนนี้ เหมือนกับที่ฉันทำกับเธอ" นี่เป็นตัวอย่างของการให้โอกาสครับ ตัวอย่างนักคณิตศาสตร์ระดับโลก อย่างพอล แอร์ดิช และตัวอย่างครูผู้สอนคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียนเล็ก ๆ ที่ทุ่มเทและให้โอกาสอย่างอาจาย์แคล้ว ระดับของความยิ่งใหญ่ไม่ใช่ประเด็นที่เราจะนำมาเปรียบเทียบกัน แต่ความรักที่มีต่อคณิตศาสตร์ต่างหากที่ผมอยากให้ครูคณิตศาสตร์อย่างเรานำมาเป็นแนวทางในการทำงาน เหมือนผู้ชายที่หลงรักตัวเลขทั้งสองคนนี้ ครูยอด ผู้ชายที่หลงรักตัวเองมากกว่าตัวเลข ทักทายครูมนูญที่กำลังเดินมา ตัวเอง ตัวเอง เรียกพี่เหรอ ครูมนูญถาม ก็เรียกตัวเองนั่นแหละ ครูยอดสวนกลับ ครูมนูญ...ผู้ชายที่ระยะนี้มักจะหลงรักตัวเลขมากกว่าตัวเอง ยิ่งเมื่อคราวที่เงินวิทยฐานะออก สี่หมื่นห้า ครูมนูญได้มาปรึกษากับผมว่าอยากจะให้ทุนและสร้างโอกาสทางการศึกษา ให้กับเด็ก ๆ โดยไม่คิดดอกเบี้ย ยอดยืมตังค์พันสอง จ่ายค่าเหล้าเรียนหน่อยซิ ครูยอดรีบยื่นใบสมัคร พร้อมแย็บหมัดซ้ายที่กระเป๋าขวาครูมนูญ ครูมนูญมองไปข้างหน้า (เหล็ก ๆ ในร้านอาหารเมื่อคืน) แต่ยังพะวงหลัง เอาไปเลยสองพัน สามวันผ่านไป ผู้ชายที่หลงรักตัวเองมากกว่าตัวเลข ก็กลับมา ตัวเอง ตัวเอง...ยอดเอาตังค์มาคืน ครูมนูญปฏิเสธที่จะรับเงินคืน แต่หยิบวรรคทองของพอล แอร์ดิช ตอบกลับไป "ขอให้เธอใช้เงินจำนวนนี้พาพี่ไปมอบทุนการศึกษาทีร้านเมื่อคืนนี้หน่อย" |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ Bar model | ||
![]() |
||
วิทยากรอบรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Bar model method ให้กับเพื่อนครู ณ จ.นครราชสีมา จ.มหาสารคาม จ.ศรีสะเกษ และ จ.ชัยภูมิ |
||
View All ![]() |
ยอดอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ | ||
![]() |
||
Johann Carl Friedrich Gauss (ค.ศ.1777-1855) |
||
View All ![]() |
<< | กุมภาพันธ์ 2008 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |