สมมติว่ามีใครเดินมาถามเราว่า วันวาเลนไทน์ตรงกับวันที่เท่าไร ผมคิดว่าทุกคนคงจะตอบได้โดยไม่ต้องใช้เวลาคิดมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่กำลังมีความรักอย่างครูมนูญ ที่มักบอกกับเพื่อนร่วมวงเสมอว่าตัวเองเป็นคนเดือนกุมภา เมื่อครั้งหนีออกจากบ้านในยุค 14 กุมภาในอดีต แต่หากถามว่าวันคณิตศาสตร์โลกตรงกับวันที่เท่าไร ??? ผมเชื่อว่าน้อยคนนักที่จะตอบได้ จริงไหมครับ เนื่องจากวันนี้ไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจเท่าใดนัก แค่ได้ยินคำว่าคณิตศาสตร์ก็ปวดหัวแล้ว คงไม่อยากจะจำสักเท่าไร แม้แต่ครูคณิตศาสตร์เอง บางคนบอกว่า เพิ่งรู้นะเนี่ย นักคณิตศาสตร์เขาได้ตกลงกันให้วันที่ 14 เดือน 3 ของทุกปี ซึ่งก็คือเดือนมีนาคม เป็นวันคณิตศาสตร์โลก (World Math Day) เนื่องจากว่าวันนี้เป็นวันที่มีการค้นพบค่าของ pi ไม่ทราบว่าเป็นความตั้งใจหรือความบังเอิญที่ pi มีค่าเท่ากับ 3.14 (วันที่ 14 เดือน 3) บางครั้งเราก็เรียกวันนี้ว่า Pi Day ค่านี้เราคุ้นเคยมาตั้งแต่สมัยเรียนประถมกันแล้ว เป็นค่าทีมีความสัมพันธ์กับวงกลม เกิดจากการนำความยาวของเส้นรอบวงกลม (Perimeter) หารด้วยความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมวงนั้น(Diameter) ค่าที่ได้คือ 3 กับเศษนิด ๆ ประมาณ 0.14159 นักคณิตศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้เป็นคนแรก ๆของโลก ก็คือ อาร์คิมีดิส นั่นเอง(Archimedes : 287-212 ก่อนคริสต์ศักราช) พูดถึง pi ถือว่าเป็นพี่ใหญ่ของค่าคงที่ในหลาย ๆ ตัวทางคณิตศาสตร์ เป็นตัวอักษรตัวหนึ่งของกรีกโบราณ นักคณิตศาสตร์คนแรกที่นำ pi มาใช้แทนค่า 3.14 ถ้าผมจำไม่ผิดน่าจะเป็นนักคณิตศาสตร์อังกฤษชื่อ William James ที่นำมาใช้เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นค่าคงตัวที่ไม่สามารถเขียนเป็นตัวเลขออกมาได้ทั้งหมด จำนวนนี้เรียกว่า จำนวนอตรรกยะ (Irrational Number) ซึ่งเมื่อเขียนเป็นทศนิยมจะเป็นทศนิยมแบบไม่รู้จบที่ไม่ซ้ำ ลองดูตัวอย่างครับ pi=3.14159265358979323846264338327950284197169 นี่เป็นเพียงทศนิยมไม่กี่ตำแหน่งในหลาย ๆ ล้านตำแหน่งที่ไม่ว่าเราจะมองที่ตำแหน่งใดจะไม่พบตัวเลขที่เป็นกลุ่มซ้ำกันเลย หากใครที่สนใจเกี่ยวกับค่า pi คลิกเข้าไปดูที่ www.piday.org มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมายครับ เป็นเว็ปไซต์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อค่า pi โดยเฉพาะ ผมเองมองว่าวันนี้มันเป็นวันที่มหัศจรรย์ของโลกอีกวันหนึ่งที่วันเกิดของนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก และตัวเลขที่มีความสำคัญมากที่สุดของโลก จะเป็นวันเดียวกัน ??? ตอนแรกผมได้นำเรื่องนี้คุยกับน้อง ๆ ในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ น่าจะจัดกิจกรรมวันคณิตศาสตร์โลก มีกิจกรรมให้นักเรียนได้ร่วมสนุก มองเห็นคุณค่าและความสำคัญของการเรียนคณิตศาสตร์ ให้มองว่าสิ่งเหล่านี้มันอยู่รอบ ๆ ตัวเรา ไม่ใช่เป็นเรื่องไกลตัวอย่างที่หลายคนเข้าใจ บังเอิญดูปฏิทินและแผนงานของโรงเรียนแล้ว ไม่น่าจะเหมาะสม เป็นช่วงที่มีการสอบวัดผลปลายภาคเรียนพอดี ยังไงปีหน้าคงจะได้จัดกิจกรรมวันคณิตศาสตร์โลกอย่างแน่นอน แล้วจะนำบรรยากาศมาเล่าให้ฟัง แต่วันนี้ขอเล่าเรื่องนี้ก่อนครับ ครูมนูญ มักจะมีคำถามเสมอเวลาได้ที่ วันนี้ก็เช่นกัน วันที่ฉลองวันเกิดให้กับ pi ที่หน้าบ้านผม ระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงใครน่ากลัวกว่ากัน ครูมนูญเข้าประเด็น ครูยอด ส่ายหัวเบื่อกับมุขเดิม ๆ ของครูมนูญ ที่ตัวเองไม่ได้อยู่ในตัวเลือก มันต้องเป็นผู้ชายสิ ครูกุ้งสาวสวยรีบตอบ ก่อนให้เหตุผลว่า เพราะผู้ชายพายเรือโบราณบอกว่าคบไม่ได้ ครูมนูญผู้ชายเดือนกุมภา สวนขึ้นทันทีกลางวง ไม่จริง พี่ว่าน่าจะเป็นผู้หญิง เพราะผู้หญิงชอบยิงเรือ พร้อมกับหัวเราะภูมิใจกับมุขพื้น ๆ ของตัวเอง ยอดว่าน่าจะเป็นกระเทยนะ ครูยอดอยากมีส่วนร่วมบ้าง หลังจากรอจังหวะอยู่นาน พูดขึ้น ทำไมล่ะ ??? ทุกคนในวงถามเป็นเสียงเดียวกัน เพราะกระเทยเขาชอบพายจ้ำพาย . หรือว่าพวกพี่อยากลอง ที่มาของภาพประกอบ จาก www.piday.org |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ Bar model | ||
![]() |
||
วิทยากรอบรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Bar model method ให้กับเพื่อนครู ณ จ.นครราชสีมา จ.มหาสารคาม จ.ศรีสะเกษ และ จ.ชัยภูมิ |
||
View All ![]() |
ยอดอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ | ||
![]() |
||
Johann Carl Friedrich Gauss (ค.ศ.1777-1855) |
||
View All ![]() |
<< | เมษายน 2008 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 |