เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม ??? เป็นเรื่องที่ตั้งใจจะเขียนมาตั้งนานแล้วครับ จนวันหนึ่งมีลูกศิษย์ในสังกัดมาถามวันที่เข้าค่ายเก็บตัวเพื่อเตรียมสอบคณิตศาสตร์นานาชาติ รอบระดับประเทศ ถามว่า sin cos tan เรียนไปทำไมครับ คำถามบางคำถาม ฟังดูง่ายแต่ตอบยาก อาจจะยากด้วยคำอธิบาย ยากด้วยตัวอย่างที่จะยกมาอ้างอิง ยากที่อายุของผู้เรียน เป็นต้น คนที่มีลูกกำลังหัดพูดหัดถาม คงเคยเจอกับคำถาม ทำไมต้องเป็นอย่างโน้น ทำไมต้องเป็นอย่างนี้ ถ้าเราตอบไม่ดี หรือไม่มีศิลปะในการตอบ เด็กอาจจะจำสิ่งที่ผิด คนเป็นพ่อเป็นแม่คงต้องมีคำตอบหรือเหตุผลอยู่ในใจกันทุกคน โดยเฉพาะคนที่มีเมียหนึ่งลูกสองอย่างครูชอิฐ ชิวชิว... กับคำถามแบบนี้ครับ กลับมาที่คำถามเริ่มต้น ที่ผมนำมาตั้งชื่อเรือง ก่อนตอบหากเราดูหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2542 ได้กำหนดโครงสร้างหลักสูตรออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือกลุ่มที่เป็นพื้นฐานการคิด การเรียนรู้และการแก้ปัญหา กลุ่มที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ และกลุ่มที่ช่วยเสริมสร้างสนับสนุนการเรียนรู้ จะเห็นว่าคณิตศาสตร์ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่เป็นพื้นฐานการคิด ตรงนี้อาจจะเป็นคำตอบหนึ่งที่เราอาจนำไปคลายความสงสัยของนักเรียนได้ แต่ภาษาแบบนี้ไม่เหมาะกับวัยคนถามแน่นอนครับ แต่หากเปรียบเป็นอาหาร คณิตศาสตร์ถือว่าเป็นอาหารสมองที่นักเรียนต้องได้รับ เพราะสมองจะต้องมีการคิด การคำนวณ สมองจึงจะเจริญเติบโต แบบนี้นักเรียนอาจจะเข้าใจมากขึ้น สำหรับผมคิดว่าสมองเป็นอวัยวะที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ต้องคิดโจทย์ หาวิธีการคิดใหม่ ๆ อยู่เป็นประจำ The best way to learn mathematics is to do mathematic ส่วนอาหารตา ที่ครูมนูญ ชอบอ้างว่าเป็นอาหารที่จำเป็นที่สุดสำหรับชีวิต เวลาเดินผ่านสาวสวย ๆ บริโภคจนตาเหล่กันไปข้าง ตรงนี้ก็ไม่ว่ากัน จริงไหมครับ แต่ในบางครั้งการทำอะไรก็ไม่จำจะต้องมีเหตุผลว่า เราทำเราเรียนไปเพื่ออะไร ตามประวัติศาสตร์ มีลูกศิษย์คนหนึ่งถามยูคลิดว่า เมื่อข้าเรียนเรขาคณิตแบบนี้ไปแล้ว ข้าจะได้รับสิ่งใดเป็นการตอบแทน ประมาณว่าเรียนไปทำอะไรว่ะ !!! ยูคลิด ( เจ้าจงเอาเงินนี่ไป เพราะเจ้าจะต้องได้สิ่งตอบแทน เมื่อเจ้าเรียนจบ คำตอบของยูคลิดน่าจะสื่อความหมายว่าการเรียนไม่จำเป็นว่าจะต้องเรียนไปทำไม แต่เรียนเพื่อความสุข เมื่อเห็นบทพิสูจน์ที่สวยงามของเรขาคณิต หรืออย่างเช่นมีคนถามว่าคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure Math) วิจัยไปแล้วนำไปใช้อะไรได้บ้าง นอกจากเก็บไว้ในตู้ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ผมมีตัวอย่างอีกหนึ่งตัวอย่าง ที่น่าจะอธิบายคำถามนี้ได้ คือ นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่อย่างอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein : ค.ศ.1879-1955) เจ้าของทฤษฏีสัมพัทธภาพ คณิตศาสตร์ที่เขาใช้เป็นเครื่องมือในการอธิบายทฤษฏีสัมพัทธภาพ เชื่อไหมครับว่าไอน์สไตน์ ไม่ได้คิดคณิตศาสตร์ขึ้นเอง แต่ได้ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่รีมันน์ (Bernhard Riemann : ค.ศ.1826-1866)ได้คิดเอาไว้เมื่อหลายปีก่อน มาประยุกต์ใช้ แสดงให้เห็นว่าเรื่องบางเรื่องอาจจะตอบไม่ได้ว่ามีประโยชน์อะไรในวันนี้ และไม่รู้ว่าจะเรียนไปทำไม แต่ในวันข้างหน้าคนที่นำไปใช้คงจะให้คำตอบนี้ได้ดีที่สุด มาถึงคำถามที่ตั้งไว้ตั้งแต่เริ่มต้นว่า sin cos tan เรียนไปทำไม กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว...มีเรื่องเล่าว่า ในชั่วโมงคณิตศาสตร์ ขณะที่ครูยอดกำลังสอนเรื่องตรีโกณมิติ เนื้อหาที่มีสูตรยุ่งยากและซับซ้อน เด็กชายมนูญ ขาซ่าประจำห้องก็ถามโพล่งออกมาว่า ครูครับ ทำไมผมต้องมานั่งเรียนอะไรยาก ๆ อย่างนี้ด้วย เพื่อช่วยชีวิตคนนะสิ ครูยอดตอบ เด็กชายมนูญ ตัวแสบนั่งเงียบครู่หนึ่ง แต่ยังไม่ลดละความซ่าลง แล้วตะโกนอีกว่า ครูครับ ตรีโกณมิตินี่นะ มันมีไว้ช่วยชีวิตคน เด็กชายมนูญเน้นเสียง ไม่เชื่อเหตุผลที่ครูยอดบอก ใช่ ครูยอดตอบหนักแน่น แต่นุ่มนวล ก่อนขยายความต่อว่า เอาไว้กันไม่ให้พวกโง่ ๆ อย่างเธอ Ent ติดคณะแพทย์น่ะสิ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ Bar model | ||
![]() |
||
วิทยากรอบรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Bar model method ให้กับเพื่อนครู ณ จ.นครราชสีมา จ.มหาสารคาม จ.ศรีสะเกษ และ จ.ชัยภูมิ |
||
View All ![]() |
ยอดอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ | ||
![]() |
||
Johann Carl Friedrich Gauss (ค.ศ.1777-1855) |
||
View All ![]() |
<< | พฤษภาคม 2008 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |