คุณคิดว่าระบบอุตสาหกรรมที่ดี ควรจะมีกระบวนการผลิตที่ช่วยลดสภาวะโลกร้อนใช่ไหม เอ่อ.....คุณใช้รถยนต์ส่วนตัวหรือเปล่า คุณจำเป็นต้องใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในห้องปรับอากาศหรือไม่ คุณคิดว่าเกษตรกรรม จะช่วยลดโลกร้อนได้ไหม แม้จะเป็นการปลูกต้นไม้เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมก็ตาม คุณรู้ไหมว่า กฏหมายของประเทศไทย ได้เอาผิดกับคนบุกรุกทำลายป่าของชาติอย่างจริงจังแล้วหลายราย มีกรณีที่กำลังฟ้องร้องอยู่อีกหลายสิบราย โดยมีข้อกล่าวหาเพิ่มเติมว่า ทำให้โลกร้อน ทั้งที่เขาเหล่านั้นมีอาชีพ ปลูกต้นไม้ คุณรู้ไหมว่า ในการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายนั้น นักวิชาการด้านป่าไม้และสิ่งแวดล้อม เขาคำนวณกันอย่างไร เขาบอกว่า.... 1.การทำให้ธาตุอาหารในดินสูญหาย คิดเป็นมูลค่า 4,064 บาท/ไร่/ปี (เป็นการคิดค่าใช้จ่ายในการซื้อแม่ปุ๋ยไนโตรเจน,ฟอสฟอรัสและโพแทสเซี่ยมขึ้นไปโปรยทดแทน) 2.การทำให้ดินไม่ดูดซับน้ำฝน
คิดเป็นมูลค่า 600 บาท/ไร่/ปี 3.การทำให้น้ำสูญเสียออกไปจากพื้นที่โดยการแผดเผาของดวงอาทิตย์
คิดเป็นเงิน 52,800 บาท/ไร่/ปี 4.การทำให้ดินสูญหาย
คิดเป็นมูลค่า 1,800 บาท/ไร่/ปี ( คิดจากค่าใช้จ่ายในการบรรทุกดินขึ้นไปและเกลี่ยไว้ที่เดิม) 5.การทำให้อากาศร้อนมากขึ้น
คิดเป็นมูลค่า 45,453.45 บาท/ไร่/ปี (มีค่าใช้จ่ายเป็นค่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้เดินเครื่องปรับอากาศชั่วโมงละ
2.10 บาท ซึ่งต้องใช้เครื่องปรับอากาศทั้งหมดเท่ากับ 5.93
ตัน/ชั่วโมงและกำหนดให้เครื่องปรับอากาศทำงานวันละ 10 ชั่วโมง(8.00น-18.00น.) 6.การทำให้ฝนตกน้อยลง
คิดเป็นมูลค่า 5,400 บาท/ไร่/ปี 7.และนอกจากนั้นยังมี
มูลค่าความเสียหายทางตรงจากป่า 3 ชนิดคือ 7.1การทำลายป่าดงดิบค่าเสียหายจำนวน
61,263.36 บาท 7.2การทำลายป่าเบญจพรรณค่าเสียหายจำนวน
42,577.75 บาท 7.3การทำลายป่าเต็งรังค่าเสียหายจำนวน
18,634.19 บาท เมื่อนำค่าเฉลี่ยของมูลค่าความเสียหายทางตรงจากป่าสามชนิด(ตามข้อ7.1-7.3)ของผลผลิตในรูปของเนื้อไม้และของป่ามีค่าเท่ากับ 40,825.10 บาทต่อไร่ต่อปี นำมารวมกับมูลค่าความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม (ข้อ1-ข้อ6)จำนวน 110,117.60 บาทต่อไร่ต่อปี รวมมูลค่าทั้งหมดเท่ากับ 150,942.70 บาท (แต่เพื่อความสะดวกกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
กรุณาลดราคาลงมา คิดค่าความเสียหายจำนวน 150,000 บาท/ไร่/ปี) คุณเชื่อไหมว่าหลักการคำนวณนี้ กำลังกลายเป็นปัญหาของสังคม มากกว่าปัญหาความร้อนของโลก เพราะเป็นหลักการคำนวณที่ชวนให้ข้อสงสัยว่าไม่มีความเป็นสากล และศาล(แพ่ง)ยังไม่ยอมรับข้อมูลทางเอกสาร เนื่องจากเป็นการคำนวณค่าเสียหายที่ใช้แบบจำลอง ไม่ได้ทำในสถานที่จริง และไม่ได้คำนวณมูลค่าโดยได้เห็นพื้นที่นั้น ก่อนที่จะถูกทำลายว่ามีสภาพป่าเป็นอย่างไร
คุณรู้ไหม พวกเราในหลายชุมชนที่มีสมาชิกถูกฟ้องร้องเป็นคดีความอยู่ขณะนี้ มีความตื่นตัวอยากจะรู้ว่าโลกร้อนคืออะไรกันแน่
และจะป้องกันแก้ไขได้อย่างไร เราจึงเริ่มเรียนรู้จากป่าชุมชนที่อนุรักษ์ไว้
ว่ามีความสำคัญอย่างไร และที่ว่าต้นไม้ช่วยกักเก็บธาตุคาร์บอนได้นั้น เป็นอย่างไร
แต่ละต้นสามารถเก็บได้ปริมาณเท่าใด ทั้งธาตุคาร์บอนที่ว่านี้สามารถมีอยู่ในที่ใดได้อีก
เราเริ่มเรียนรู้จากการวัดต้นไม้ที่มีความสูงเกิน 1.30 เมตร
ในเนื้อที่ 1 ไร่ (40x40 เมตร) วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง บันทึกชนิดต้นไม้ คาดสีน้ำมันไว้รอบต้น
แล้วติดหมายเลขประจำต้นบนแผ่นอลูมิเนียมเล็ก ๆ (เพื่อที่ปีหน้าต้องกลับมาวัดซ้ำอีกครั้ง)
และทำการชั่งน้ำหนักเศษใบไม้ตามพื้นป่า
พร้อมตัดพืชเล็ก ๆ เช่น ต้นหญ้า และลูกไม้ในแปลงตัวอย่างขนาด 1x1 เมตร เก็บตัวอย่างดิน
เพื่อนำไปวิเคราะห์ สภาพดิน ตามหลักวิชาการ กิจกรรมเหล่านี้ ทำให้เรารู้ว่า คาร์บอนอยู่ในพืชพรรณต่างๆ ในซากพืชตามพื้นป่า
ในดินก็มีการสะสมคาร์บอนอีกปริมาณหนึ่ง ในรูปของอินทรีย์คาร์บอน
และอนินทรีย์คาร์บอน เช่น ในรูปเกลือคาร์บอนเนต คุณรู้ไหม ป่าชุมชนของรา ที่เรียกว่าป่าเต็งรัง จากการสำรวจและร่วมคำนวณกับนักวิชาการที่มาเป็นพี่เลี้ยง พบว่า ป่าเต็งรังสะสมคาร์บอนอยู่ประมาณ 4.1 ตัน/ไร่ และเรามีป่าชุมชนอยู่ราว 1,500 ไร่ คุณลองคูณดูสิว่าป่าทั้งป่านี้สะสมคาร์บอนอยู่เป็นปริมาณเท่าไร คุณเชื่อไหมว่า โลกร้อน ได้ทำให้เรามีความรู้และรักในต้นไม้มากขึ้น เพราะมีโอกาสได้รู้จักคุณสมบัติของต้นไม้ที่ตัวเองปลูกไว้ หรือดูแลไว้ ในอีกมิติหนึ่ง ดังนั้น เราจึงต้องการรักษาต้นไม้ใหญ่ของหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็น ไทร
โพธิ์ ยางนา มะม่วงบ้าน ทุเรียนพื้นบ้าน หรือมะขามเฒ่า เพราะแม้เพียงต้นเดียวก็มีความหมายต่อการช่วยลดโลกร้อนได้
คุณคิดว่า คุณควรจะดูแลเรา คนที่ปลูกต้นไม้ให้กับคุณ ให้กับโลก หรือไม่ อย่างไร ![]() ![]() การวัดต้นไม้ หาปริมาณคาร์บอน ที่ชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมู จังหวัดตรัง ![]() ร่มเงาส่วนตัว
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
ไร่มงคล | ||
![]() |
||
บ้านไร่ |
||
View All ![]() |
Dewa Che | ||
![]() |
||
เพลงที่ 8 |
||
View All ![]() |
<< | มิถุนายน 2010 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 |