ขณะนี้กระแสข่าววัคซีนป้องกันไวรัสโควิด19 ที่ออกมาหลายทิศทาง สร้างความสับสนและตื่นตัวให้กับผู้คนในสังคมจำนวนมาก ในประเทศไทยเรามีแผนซื้อวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากซิโนแวค ไบโอเทค (Sinovac Biotech) บริษัทผู้ผลิตยาของจีนจำนวน 2 ล้านโดส โดยไทยจะได้รับวัคซีนดังกล่าวล็อตแรกจำนวน 200,000 โดส ช่วงปลายเดือนก.พ.นี้ อีก 800,000 โดสช่วงปลายเดือนมี.ค. และอีก 1 ล้านโดสที่จะได้ช่วงปลายเม.ย. นี้ ไทยจึงอาจได้รับวัคซีนโควิดล็อตแรกจากจีนก่อนหน้าวัคซีนของแอสตราเซเนกา ซึ่งไทยสั่งซื้อในล็อตใหญ่ที่อาจได้รับล็อตแรกช่วงกลางปีนี้ แต่ล่าสุดวานนี้ มีกระแสข่าวว่า วัคซีน 'โคโรนาแวค' (CoronaVac) ได้กลายเป็นประเด็นข้อถกเถียงหลังสื่อบราซิลเปิดเผยว่า มีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อไม่ถึง 60% แต่ก็นับว่าอยู่ในระดับ "กลางๆ" แต่ถึงกระนั้นผลทดสอบดังกล่าว สร้างความวิตกกังวลให้คนในสังคมว่าวัคซีนดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อได้ผลแค่ไหน และประเทศไทยมีความจำเป็นมากแค่ไหนที่ต้องรีบนำมาฉีดให้ประชาชน เรื่องนี้ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ อาจารย์แพทย์เชี่ยวชาญไวรัสวิทยาฯ ได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องผลของประสิทธิภาพวัคซีนที่แตกต่างกัน "ผลของประสิทธิภาพวัคซีน (Vaccine Efficacy) ในการศึกษาต่างสถานที่ ต่างกลุ่ม ประสิทธิผลทำไมไม่เท่ากันเพราะการประเมินประสิทธิภาพจะประเมินอะไร ป้องกันการติดเชื้อ หรือ ป้องกันการเกิดโรค (ติดเชื้อได้แต่ไม่เป็นโรค) เป็นโรคแต่ไม่รุนแรง เช่นไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ไม่เสียชีวิต ประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 จะประเมินตรงไหนต้องชี้แจงให้ละเอียด ไม่ใช่บอกแต่ตัวเลข .
ประเด็นที่สอง ที่มีการประเมินผลวัคซีนเดียวกันทำในสถานที่และประชากรต่างกัน ขึ้นอยู่กับกลุ่มประชากรที่ศึกษา ทำให้ผลต่างกัน เช่นการศึกษาวัคซีน HIV ในประเทศไทยได้ประสิทธิภาพป้องกันกันโรคได้ 30% ศึกษาที่แอฟริกาได้ 0% เพราะแอฟริกามีความเสี่ยงสูงกว่าไทย ในทำนองเดียวกัน การศึกษาวัคซีนท้องเสียโรตาในแอฟริกา ประเทศมาลี ได้ประสิทธิภาพ 50% แต่ใช้วัคซีนเดียวกันทำในยุโรปได้ประสิทธิภาพสูง 83-90% เพราะแอฟริกาเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคและการติดโรคได้สูงกว่าในยุโรป
.
ทำนองเดียวกันการศึกษาโควิดวัคซีน ถ้าทำในกลุ่มเสี่ยงสูงเช่น บุคลากรทางการแพทย์ย่อมมีประสิทธิภาพป้องกันในการศึกษาต่ำกว่าการศึกษาในประชากรทั่วไปที่มีความเสี่ยงต่ำ การศึกษาของวัคซีนของจีนประสิทธิภาพที่ประเทศจีนประกาศ 79% โดยรวม ประเทศตุรกีประกาศผลประชากรทั่วไปได้ 91% และประเทศอินโดนีเซียได้ 65% ตัวเลขต่างกันคือ บราซิลในบุคลากรทางการแพทย์ ได้ 50.4%
.
ดังนั้นประสิทธิภาพของวัคซีนในแต่ละตัว การแปลผลจะต้องดูองค์ประกอบหลายอย่าง ไม่ใช่เพียงตัวเลข
ซิโนแวควัคซีนที่แม้เทคนิคเก่า แต่ก็ยังพอเก๋าใช้ได้อยู่ อันที่จริงแล้ว ผลการศึกษาของวัคซีนซิโนแวคครั้งนี้ที่ออกมาว่าประสิทธิภาพดูต่ำกว่าทุกเจ้า (อยู่ที่ 50-70%) เป็นเรื่องที่ไม่เหนือความคาดหมายมากนักในสายตานักเทคนิคทางการแพทย์ เนื่องจากเทคนิคที่ใช้นั้นถือเป็นวิธีการแบบดั้งเดิม เพราะผลิตด้วยกระบวนการเก่าแก่ ไม่มีความซับซ้อนมากเหมือนวัคซีนที่ผลิตจากฝั่งตะวันตก สิ่งที่น่าเป็นกังวลคือผลของการทำวัคซีนที่อัตราประสิทธิภาพและความสำเร็จอยู่ที่ประมาณ 50 กว่า ๆ ถึง 78 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะดูต่ำกว่าชาวบ้านอยู่พอประมาณ ด้วยเหตุผลทางเทคนิคในการกระตุ้นภูมิ แต่ก็แลกเปลี่ยนด้วยเทคนิคการเก็บรักษาที่ง่ายขึ้นในสภาพการเก็บภายในตู้เย็นธรรมดาได้ และถือว่าอยู่ได้นานพอสมควร ซึ่งเคยมีข่าวว่าเก็บได้นานถึง 3 ปี ความน่ากังวลของวัคซีนประเภทนี้มีค่อนข้างน้อย เพราะเรารู้จักกับวัคซีนเชื้อตายมานานมากแล้ว แต่สิ่งที่ยังต้องทดลองกันต่อไปก็เพื่อดูว่ามันมีผลกระทบอย่างไร ซึ่งวัคซีนปกติแล้วต้องใช้เวลาอย่างต่ำ 3-5 ปีกว่าจะมีการอนุมัติให้ใช้
อย่างไรก็ตาม โคโรนาแวค มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับเหนือกว่า 50% ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สามารถยอมรับได้ตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | มกราคม 2021 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |