*/
<< | พฤษภาคม 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
Download & Save (ตามลิ้งก์) นำไปใช้ได้เลยครับ...แต่อย่าลืมอ้างอิง ที่มา เสียหน่อยครับ.. http://asiamuseum.co.th/upload/forum/10PrinciplesforLivableCommunities.pdf วันนี้บทความ Smart Growth Thailand (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) จะเป็นบทความของ อ.ศิวพงศ์ ทองเจือ นักวิชาการสำคัญเกี่ยวกับผังเมืองท่านหนึ่งของ Asiamuseum (เป็นอาจารย์ ม.ราชภัฎภูเก็ต ) อย่างไรก็แล้วแต่ครับ เนื้อหามากมายต่างๆ เกี่ยวกับ การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ท่านสามารถเยี่ยมชม และ Download ข้อมูลต่างๆ ได้ที่เว็บไซต์ตรง http://www.asiamuseum.co.th/ บทความ 10 หลักการออกแบบสำหรับชุมชนน่าอยู่ (10 Principles for Livable Communities) โดย ศิวพงศ์ ทองเจือ : สถาปนิกผังเมือง (ภ-สผ 162 สถาปัตยกรรมผังเมือง) เขียนเมื่อ 28-05-2555 http://www.compassblueprint.org/node/47
10 หลักการออกแบบสำหรับชุมชนน่าอยู่ (10 Principles for Livable Communities) เกิดขึ้นจากกลุ่ม “สถาบันสถาปนิกอเมริกัน” (The American Institute of Architects) โดยมีแนวคิดว่า สถาปนิกจะไม่ได้เป็นเพียงแค่การออกแบบเกี่ยวกับอาคารเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องเกี่ยวข้องกับผู้คนและการทำให้ชุมชนน่าอยู่ กลุ่มการออกแบบโดยชุมชน AIA ( AIA Communities by Design’s) จึงมีวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือประชาชนและผู้นำชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพของชุมชนผ่านกระบวนการออกแบบและการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่มีความสัมพันธ์ภายใต้วิสัยทัศน์เดียวกัน โดยเป็นศูนย์ข้อมูลเพื่อชุมชนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการออกแบบเกี่ยวกับกระบวนการทางสถาปัตยกรรม ที่สามารถส่งเสริมอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของชุมชนภายในประเทศ โดยมีความต้องการสร้างแนวคิดของชุมชนน่าอยู่ (Community Livability) ให้เป็นเรื่องธรรมดา และทำให้เมืองเกิดการพัฒนาโดยเฉพาะการมีทางเดินเท้า-ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ ซึ่งหลักการ 10 ข้อสำหรับชุมชนน่าอยู่ สามารถสรุปรายละเอียดได้ดังนี้ ![]() การออกแบบภายใต้สัดส่วนของมนุษย์ (Design on a Human Scale)
1. การออกแบบภายใต้สัดส่วนของมนุษย์ (Design on a Human Scale) ควรมีความกระชับ มีทางเดินที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ โดยให้การเชื่อมต่อระหว่างถิ่นที่อยู่อาศัยที่จะเดินไปยังร้านค้า ,ร้านบริการ ,แหล่งข้อมูลวัฒนธรรม ,และงานที่มีความหลากหลายมีความสะดวกสบาย ซึ่งสามารถลดความแออัดของจราจรและจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้คนในละแวกนั้น ![]() สิทธิในการเลือกหนทางเลี้ยงชีพ (Provide Choices)
2. สิทธิในการเลือกหนทางเลี้ยงชีพ (Provide Choices) ผู้คนมีความต้องการที่ความหลากหลายในการเลือกที่อยู่อาศัย, แหล่งช้อปปิ้ง, พื้นที่นันทนาการ, การขนส่ง, การจ้างงานและการสร้างสรรค์สังคมละแวกใกล้เคียงที่มีชีวิตชีวาและสามารถรองรับผู้อยู่อาศัยในแต่ละระดับของภายใต้ชีวิตของเขาเอง ![]() การสนับสนุนและกระตุ้นการพัฒนาพื้นที่แบบผสมผสาน (Encourage Mixed-Use Development)
3. การสนับสนุนและกระตุ้นการพัฒนาพื้นที่แบบผสมผสาน (Encourage Mixed-Use Development) การบูรณาการการใช้ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกันและประเภทของอาคารที่แตกต่างกัน สามารถสร้างสีสันชุมชนคนเดินเท้าที่เหมาะและมีความหลากหลายยิ่งขึ้น ![]() การปกปักรักษาศูนย์กลางชุมชนเมือง (Preserve Urban Centers)
4. การปกปักรักษาศูนย์กลางชุมชนเมือง (Preserve Urban Centers) การคืนสภาพฟื้นฟูและพื้นที่ศูนย์กลางชุมชนในเมือง สามารถที่จะได้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อของท้องถนนและอาคาร โดยหลีกเลี่ยงความจำเป็นสำหรับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ซึ่งจะช่วยลดการแผ่ของการกระจัดกระจายของเมืองและส่งเสริมความมั่นคงสำหรับละแวกใกล้เคียงภายในชุมชนเมือง ![]() การมีระบบคมนาคมขนส่งหลากหลายทางเลือก (Vary Transportation Options)
5. การมีระบบคมนาคมขนส่งหลากหลายทางเลือก (Vary Transportation Options) การทำให้คนที่มีตัวเลือกในการเดินหรือขับขี่จักรยาน และการใช้การบริการขนส่งสาธารณะ นอกจากจะช่วยลดปริมาณรถยนต์และลดความแออัดของการจราจร ซึ่งจะช่วยปกป้องสภาพแวดล้อมและกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางกายมากขึ้น ![]() การออกแบบสรรค์สร้างพื้นที่ว่างสาธารณะให้มีชีวิตชีวา (Build Vibrant Public Spaces)
6. การออกแบบสรรค์สร้างพื้นที่ว่างสาธารณะให้มีชีวิตชีวา (Build Vibrant Public Spaces) พื้นที่ต้อนรับถือเป็นความจำเป็นสำหรับประชาชน โดยจะต้องกำหนดสถานที่สาธารณะเพื่อกระตุ้นให้เกิดการปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัว, มีพื้นที่สำหรับเฉลิมฉลองและไว้อาลัย มีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมือง การชื่นชมศิลปะของพื้นที่สาธารณะ และการรวบรวมกิจกรรมภายในพื้นที่สาธารณะ ![]() การออกแบบสร้างสรรค์ละแวกชุมชนให้มีอัตลักษณ์ (Create a Neighborhood Identity)
7. การออกแบบสร้างสรรค์ละแวกชุมชนให้มีอัตลักษณ์ (Create a Neighborhood Identity) "การรับรู้ต่อสถานที่" ให้ชุมชนละแวกใกล้เคียงมีเอกลักษณ์ที่ไม่ซ้ำกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มสภาพแวดล้อมของการเดินและการสร้างความภาคภูมิใจในชุมชน ![]() การพิทักษ์รักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (Protect Environmental Resources)
8. การพิทักษ์รักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (Protect Environmental Resources) ที่สุดของการออกแบบ คือความสมดุลของธรรมชาติและการพัฒนาระบบการรักษาธรรมชาติ โดยจะช่วยปกป้องแหล่งน้ำจากมลพิษ การลดมลพิษทางอากาศและการปกป้องค่าสมบัติของส่วนรวม ![]() การสงวนรักษาภูมิสถาปัตยกรรม (Conserve Landscapes)
9. การสงวนรักษาภูมิสถาปัตยกรรม (Conserve Landscapes) ควรมีพื้นที่เปิดโล่ง ฟาร์มและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับการรักษาสิ่งแวดล้อม และการพักผ่อนหย่อนใจ รวมถึงภูมิวัฒนธรรมของชุมชน ![]() การออกแบบสิ่งที่มีความสำคัญและเป็นสัญลักษณ์ (Design Matters)
10. การออกแบบสิ่งที่มีความสำคัญและเป็นสัญลักษณ์ (Design Matters) ความเป็นเลิศทางด้านการออกแบบเป็นรากฐานของชุมชนที่ประสบความสำเร็จและมีสุขภาพดี
สรุปแนวความคิด แนวคิดของชุมชนเมืองน่าอยู่ ถือเป็นหลักการทางรายละเอียดของการออกแบบชุมชนเมือง ที่สอดคล้องกับแนวคิดของการวางผังเมืองยุคใหม่ตามแบบฉบับของ “แนวคิดของการเติบโตอย่างชาญฉลาด” (Smart Growth) ภายใต้เครือข่ายของ สมาคมวางแผนพัฒนาเมืองแห่งสหรัฐอเมริกา (American Planning Association-APA) และ U.S. Environmental Protection Agency (EPA) ซึ่งเป็นแนวคิดหลักใหญ่ของการพัฒนาเมืองประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเชื่อมโยงเป็นภาคีเครือข่ายกับกลุ่มสถาปนิกที่มีใจรักเมือง ภายใต้วิสัยทัศน์เดียวกันเพื่อให้ชุมชนน่าอยู่และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นำไปสู่แนวทางของเมืองยั่งยืนในอนาคต จากแนวทางดังกล่าว แนวโน้มในอนาคตอันใกล้วิชาชีพสถาปนิกจึงไม่ใช่เฉพาะแค่การออกแบบอาคาร แต่ควรใส่ใจรายละเอียดของการออกแบบที่ส่งผลต่อบริบทชุมชนเมืองมากขึ้น และควรเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับการออกแบบระบบความสัมพันธ์ของชุมชน, ผู้คนและสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะนำไปสู่วิสัยทัศน์ของชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป ชมวีดีโอ ![]() ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ https://www.facebook.com/SmartGrowthThailand อ่านเนื้อเรื่อง “ย้อนหลัง” ลิ้งก์ตามที่อยู่ด้านล่างนี้ (เพื่อจะได้รับทราบข้อมูล “ผังเมือง” ในระดับโลก เค้าไปถึงไหนกันแล้ว http://www.oknation.net/blog/smartgrowth |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |