*/
<< | มิถุนายน 2008 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 |
June 07, 2008 ที่มาของภาพราชสำนักสยาม ภาพประวัติศาสตร์สู่แผ่นดิน ของ กาลิเลโอ คีนี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จทรงเปิดงานThe Gallileo Chini Exhibition @ Central Chidlom 100 ปี มรดกศิลป์ กวลิเลโอ คีนี จิตรกรสองแผ่นดิน ผู้รังสรรค์งานศิลป์ในพระที่นั่งอนันตสมาคม เพื่อร่วมฉลองครบรอบ 140 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต และ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย อิตาลี ระหว่างปี พ.ศ. 2411 2551 งานนิทรรศการครั้งนี้จัดที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลชิดลม ระหว่างวันที่ 6 มิถุนายน 6 กรกฎาคม 2551 จะเป็นการย้อนรอยประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ผ่านงานศิลปะของ กาลิเลโอ คีนี ซึ่งเป็นจิตรกรเอกชาวอิตาเลียน ผู้ซึ่งได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้เขียนภาพจิตรกรรมตกแต่งภายในพระที่นั่งอนันตสมาคม นายอินญาซิโอ ดิ ปาเซ เอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย กล่าวถึง กาลิเลโอ คีนี ว่าเป็นศิลปินชาวอิตาเลียนที่มีความเป็นสากล นำเสนอผลงานทางวัฒนธรรมมากที่สุดของยุคนั้น (พ.ศ. 2416-2499) ด้วยความสนใจในวัฒนธรรมต่างแดนและพัฒนาการทางศิลปะ และตลอดระยะเวลาที่ที่เขาพำนักอยู่ในประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2454-2456 เขาได้รับมอบหมายให้รังสรรค์งานศิลปะในพระราชวังและอาคารต่างๆที่ราชสำนักสยามได้จัดสร้างขึ้น ทั้งงานศิลปะในพระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต นอกจากนี้เขายังได้สร้างสรรค์งานจิตรกรรมที่โดดเด่นหลายชิ้น ซึ่งรวมถึงการวาดพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบรมวงศานุวงศ์ ภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในท้องถิ่น รวมทั้งภาพภูมิประเทศและทิวทัศน์ของสยามประเทศ ผศ. ดร. หนึ่งฤดี โลหผล หัวหน้าสาขาวิชาภาษาอิตาเลียน ภาควิชาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับชีวิตและผลงานของ กาลิเลโอ คีนี มากว่า 16 ปี กล่าวว่า สำหรับประเทศอิตาลีแล้ว กาลิเลโอ ตีนี นับเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงมากในยุคปลายศตวรรษที่ 19 และศตวรรษที่ 20 และหากเทียบกับศิลปินในยุคนั้นแล้ว นับว่า คินีเป็นคนที่ไม่ปิดกั้นตัวเองอยู่ในกรอบ แต่เปิดกว้างต่อการสร้างงานศิลปะหลากหลายรูปแบบ เห็นได้จากผลงานศิลปะจำนวนมาก เช่น ภาพเขียนบนผืนผ้าใบที่นิยมกันในเวลานั้น จิตรกรรมฝาผนังประดับสถาปัตยกรรมร่วมสมัยมากมาย รวมถึงภาพเขียนแบบฉากอุปรากร ส่วนผลงานที่มาภาพในพระราชสำนักสยาม ผศ. ดร. หนึ่งฤดี โลหผล กล่าวว่า ปีสุดท้ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เรียก กาลิเลดอ คินี จากประเทศอิตาลีเข้ามาเขียนจิตรกรรมประดับท้องพระโรง พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งเขาเดินทางมาถึงสยาม เมื่อเดือนกันยายน 2454 ตรงกับปีแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทันเข้าร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในเดือนธันวาคม ในช่วงแรก คินี ใช้เวลาในการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองสยามในมิติที่ช่วยให้เขาได้เห็น ได้รู้จัก และเข้าใจปัจจัยต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อการออกแบบภาพจิตรกรรมประดับพระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งนับเป็นงานศิลป์ชิ้นเอกที่ศิลปินได้ทุ่มสร้างสรรค์อย่างเต็มกำลัง ดังจะเห็นได้จากจำนวนภาพถ่าย ภาพร่างแบบ ภาพจิตรกรรมที่เขียนเพื่อศึกษาและเตรียมงาน จำนวนมากมายหลายชิ้น โดยส่วนหนึ่งได้นำมาจัดแสดงในครั้งนี้ รวมทั้งพิมพ์เขียวต้นฉบับของพระที่นั่งอนันตสมาคม 9 ชิ้นงาน ซึ่ง มิสเปาลา โปลิโดริ คีนื หลานปู่คนเดียวของ กาลิเลโอ คีนี นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อปี 2547 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานพระราชานุญาตจัดแสดงในครั้งนี้เช่นกัน ผลงานศิลปะจำนวนมากมายที่ กาลิเลโอ คีนิ ได้เขียนขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2454 2456 ในช่วงที่เขาพำนักอยู่ในกรุงเทพนั้น เขาได้นำติดตัวไปยังบ้านเกิดด้วย ซึ่งในปีถัดมาภาพเขียนจากสยามได้ปรากฏต่อสายตามหาชนในยุโรป ผ่านห้องแสดงงานศิลปะนานาชาติ ณ งาน เวนิชเบียนนาเล (Venice Biennale) การที กาลิเลโอ คีนิ ได้เดินทางเข้ามาทำงานถวายให้กับพระมหากษัตริย์แห่งสยาม ซึ่งกลายเป็นจุดอ้างอิงหลักในชีวิตการเป็นศิลปินของเขา อย่างที่เรายกให้เขาเป็นจิตรกรสองแผ่นดิน หมายถึงแผ่นดินรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 อีกทั้งยังหมายความรวมถึง ราชอาณาจักรสยาม และราชอาณาจักรอิตาลี ด้วย หากเรามองผลงานศิลปะในยุคเมืองสยาม ของ กาลิเลโอ คีนิ เราจะเห็นภาพเมืองสยามเมื่อกว่า 100 ปีก่อน ซึ่งในวันนี้ได้กลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้ว เราจะได้เห็นภาพในอดีตผ่านปลายพู่กันและสีสันตระการตา เพื่อบันทึกบรรยากาศที่เงียบสงบ เช่น ภาพเขียนในวัด ภาพบ้านที่สงบอยู่ริมน้ำ หรือบางครั้งก็อาจจะเต็มไปด้วยพลังแห่งความเคลื่อนไหว เช่น ภาพวันตรุษจีนในเมืองพระนคร รวมไปถึงสีขาว-ดำ ของภาพถ่ายโบราณในชุดภาพถ่ายสะสมของคีนิอีกด้วย ในการจัดงานครั้งนี้ เปาลา โปลีโดริ คีนิ (Paolo Polidori Chini) ทายาทคนเดียวของกาลิเลโอ คีนิ ได้มอบสมบัติหลายชิ้นของกาลิเลโอ คีนิ ให้กับประเทศไทย เช่น ภาพถ่ายประวัติศาสตร์ทั้งหมดที่ กาลิเลโอ ตีนิ ได้นำไปจากเมืองสยาม นอกจากนี้จะมีการมอบภาพพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 1 ที่กาลิเอโอ คีนิ ได้เขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2455 สำหรับเตรียมการเขียนภาพจิตรกรรม ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นสมบัติของประเทศไทยต่อไปด้วย ที่ผ่านมา เคยมีการจัดแสดงผลงานของ กาลิเลโอ คีนิ ในประเทศไทยมาหลายครั้ง แต่จะมีการเน้นไปที่ผลงานบางด้าน เช่น ภาพถ่าย ภาพเขียน แต่นิทรรศการครั้งนี้จะเป็นการรวบรวมผลงานของคีนิไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แบบเป็นครั้งแรกในเอเชีย ผลงานหลายชิ้นหาดูได้ยาก บางชิ้นก็ไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน และยังมีผลงานบางส่วนที่ไม่เคยได้รับอนุญาตให้นำออกจากประเทศอิตาลีมาก่อน ผศ. ดร. หนึ่งฤดี กล่าวว่า กาลิเลโอ คีนิ เข่ามาสยามพร้อมช่างปิดทอง และช่างปูนปั้น 2 คน คีนิ ทำหน้าที่ช่างเขียน ติดต่อประสานงาน เพื่อให้รู้และเข้าใจและเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน ตามสัญญาดำเนินงาน 30 เดือน โดยภาพเขียนในพระที่นั่งอนันตสมาคมทั้งหมด เขียนจากเหตุการณ์สำคัญในพระราชวงศ์จักรี อาทิ ภาพเขียนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 6 ภาพรัชกาลที่ 1 เสด็จกลับจากการสงคราม และสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี ภาพรัชกาลที่ 5 ทรงเปิดการค้าสยามกับโลกตะวันตก การเลิกทาส และด้านหนึ่งเป็นพระที่นั่งอนันตสมาคมขณะก่อสร้าง และภาพรัชกาลที่ 4 ในฐานะทรงมีพระราชูปถัมภกต่อพระพุทธศาสนา ศ. ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กล่าวว่า กาลิเลโอ คีนิ เป็นศิลปินคนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงผ่านสู่ศิลปะสมัยใหม่ในสยามประเทศ และเชื่อมโยงมาถึงยุคของ ศ. ศิลป์ พีระศรี ศิลปินชาวอิตาเลียนอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีบทบาทสำคัญยิ่งในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร และผลักดันวงการศิลปะร่วมสมัยของไทย ผมอยากจะเน้นว่า ผลงานของคีนิ นั้นมีความสำคัญมากเชิงประวัติศาสตร์ศิลปะของไทยต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน คีนิ เข้ามาในบทบาทของช่างเขียน เข้ามาทำงานร่วมกับสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือด้านศิลปะระหว่างไทยกับอิตาลี การแสดงผลงานของ คีนิครั้งนี้ จึงถือว่าเป็นโอกาสสำคัญมากที่เราจะได้ชมผลงานของศิลปินท่านนี้ โซนต่างๆ ในนิทรรศการ The Galileo Chini Exhibition@Central Chidlom 100 ปี มรดกศิลป์ กาลิเลโอ คีนิ จิตรกรสองแผ่นดิน ผู้รังสรรค์งานศิลป์ในพระที่นั่งอนันตสมาคม โซนที่ 1 สู่สยามประเทศ พุทธศักราช ๒๔๕๓ กาลิเลโอ คีนิ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ให้รับหน้าที่เป็นช่างเขียนภาพจิตรกรรมตกแต่งพระที่นั่งอนันตสมาคม ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ปีแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เขาจึงได้เดินทางออกจากบ้านเกิดในประเทศอิตาลี โดยสารเรือเดินสมุทรสายยุโรปเหนือ-ตะวันออกไกล เดอร์ฟลิงเงอร์ มุ่งสู่พระนครหลวงของสยามประเทศ ระหว่างการเดินทางและการพำนักในประเทศสยามรวมเวลา โซนที่ 2 กาลิเลโอ คีนิ กับพระที่นั่งอนันตสมาคม ภาพเขียนจิตรกรรมและแบบร่างต้นฉบับในห้องนี้ แสดงให้เห็นถึงเบื้องหลังการเตรียมงานเพื่อการรังสรรค์งานศิลป์ชิ้นเอกของช่างเขียนกาลิเลโอ คีนิ ในพระที่นั่งอนันตสมาคม เดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๔๕๔ เมื่อกาลิเลโอ คีนิ เดินทางเข้ามาถึงสยามประเทศ กรมโยธาธิการได้ดำเนินการก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมเต็มองค์แล้ว แต่ยังไม่ได้มุงกระเบื้องทองแดงบนหลังคาและยังเพิ่งเริ่มการประดับตกแต่งอาคาร ในช่วงแรกคีนิได้เริ่มขั้นตอนการศึกษาเพื่อเตรียมการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังชนิดปูนเปียก (เฟรสโก) เล่าถึงพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจสำคัญในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแต่ละพระองค์ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ศิลปินชาวอิตาเลียนท่านนี้ ได้รับพระบรม ราชานุญาตผ่านเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ผู้อำนวยการก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้ศึกษาข้อมูลและรายละเอียดสำคัญต่างๆ อาทิ พระที่นั่งพระราชยานพุดตานทอง เครื่องราชกกุธภัณฑ์ และเครื่องแบบของข้าราชบริพารในตำแหน่งต่างๆ นอกจากนั้น เขายังได้มีโอกาสชมโบราณสถานสำคัญในบริเวณเมืองพระนครและกรุงศรีอยุธยา เพื่อเก็บข้อมูลอันจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในพระที่นั่งอนันตสมาคม เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖เมื่อกาลิเลโอ คีนิ ทำงานสำเร็จลุล่วงแล้ว เขาได้นำภาพศึกษาเหล่านี้ติดตัวกลับไปยังบ้านเกิดในประเทศอิตาลี ผลของการศึกษาและการทุ่มเททำงานในครั้งนั้น ปรากฎเป็นที่ประจักษ์ตราบจนทุกวันนี้ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งปรากฎงดงามวิจิตรด้วยภาพจิตรกรรมประดับเพดานและโดมจากบริเวณห้องโถงบันไดด้านทิศตะวันออกถึงท้องพระโรงด้านบนทั้งหมด ผลงานศิลปะของ คำบรรยายพิมพ์เขียว เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๓ เมื่อนายคาร์โล อัลเลกรี นายช่างใหญ่ผู้กำกับงานด้านวิศวกรรมในกองงานก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม ได้รับพระบรมราชโองการจากล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ โซนที่ 3 กาลิเลโอ คีนิ กับเมืองสยาม กาลิเลโอ คีนิ ในฐานะที่เป็นช่างเขียนหลวงเขายังได้รับมอบหมายให้เขียนภาพพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย ดังจะเห็นได้จากภาพศึกษาฉลองพระองค์รัชกาลที่ 6 และภาพศึกษาคทาจอมทัพรัชกาลที่ 6 แม้คีนิจะไม่มีโอกาสได้ทูลเกล้าฯ ถวายผลงานของเขา เอรอส คีนิ บุตรชายของเขาได้นำภาพดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ และในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ เปาลา โปลิโดริ คีนิ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายภาพที่สองแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตลอดระยะเวลาที่ กาลิเลโอ คีนิ พำนักทำงานอยู่ในสยามประเทศ เขาได้เขียนรูปลงสีแสดงภาพเมืองสยามในหลายมิติไว้อย่างงดงามเต็มไปด้วยพลังแห่งแสงและสีสัน ฝีแปรงอันเป็นอิสระของเขาสื่อถึงช่วงเวลาที่กาลิเลโอ คีนิ ได้หยุดพักจากกระแสศิลปะที่กำลังดำเนินเข้มข้นอยู่ในยุโรป ส่วนภาพในวิหาร ภาพยามค่ำที่วัดพระแก้ว ภาพบ่อนเล่นเบี้ยสันเป็น [สำเพ็ง] นั้น เป็นภาพชีวิตซึ่งมองจากมุมที่มีเสน่ห์ทีเดียว ราวกับว่าศิลปินกำลังบันทึกภาพเหล่านั้นด้วยระยะห่างออกมาหลายก้าว ประหนึ่งเป็นผู้สังเกตการณ์ที่ไม่ประสงค์จะรบกวนเรื่องราวที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนั้น ภาพจึงดูลึกลับน่ามองหาความหมายยิ่ง ภาพเมืองสยามในจิตรกรรมของคีนิ ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสนใจถึงองค์ประกอบต่างๆ ในความเป็นตะวันออกผ่านสายตาและการรับรู้ของเขา หลายภาพสื่อถึงสิ่งที่แปลกตาแตกต่างไปจากโลกตะวันตกหรือเป็นมิติชีวิตของโลกตะวันออกที่คีนิอยากจะถ่ายทอดถึงผู้คนในตะวันตก ตลอดเวลาในชีวิตของศิลปิน กาลิเลโอ คีนิยังคงระลึกถึงการเดินทางมายังเมืองสยาม ดังจะเห็นได้จากจิตรกรรมหลายภาพที่เขาได้เขียนขึ้นเมื่อกลับไปอิตาลีแล้วหรือแม้ในช่วงบั้นปลายชีวิตเช่น ภาพนางรำชาวสยาม ภาพหัวโขนและรูปบูชาจากสยาม ภาพหุ่นจีน เป็นต้น ผลงานศิลปะชุดภาพเมืองสยามของกาลิเลโอ คีนิ ได้ปรากฏต่อสายตามหาชน โซนที่ 4 แรงบันดาลใจ กาลิเลโอ คีนิ เป็นศิลปินที่เปิดกว้างสู่ศิลปะรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องเคลือบดินเผา ในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ เขาได้เริ่มกิจการโรงเซรามิกส์ในเมืองฟลอเรนซ์ร่วมกับเพื่อนศิลปินกลุ่มหนึ่ง ในนาม ลาร์เต เดลลา เชรามิคา โดย กาลิเลโอ คีนิ รับหน้าที่เป็นผู้กำกับงานฝ่ายศิลป์ ชิ้นงานของพวกเขามีรูปแบบ รูปทรงและเทคนิคที่โดดเด่นและทันสมัย นำมาซึ่งความสำเร็จในระดับยุโรปและได้รับรางวัลเกียรติยศในหลายโอกา เมื่อกิจการของโรงงานเซรามิกส์ ลาร์เต เดลลา เชรามิคา ต้องสิ้นสุดลง กาลิเลโอ คีนิ ยังคงสานงานในแขนงนี้ร่วมกับ คีโน คีนิ ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องของเขา โดยได้เปิดกิจการใหม่ในนาม ฟอร์นาชิ ซานลอเร็นโซ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ ณ เมืองบอร์โก ซาน ลอเร็นโซ นอกจากการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องเคลือบดินเผาชิ้นเล็กๆ แล้ว พวกเขายังได้รับโครงการตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ด้วยเซรามิกส์ที่งดงามราวอัญมณีประดับเช่น อาคารที่อาบน้ำแร่ แตร์เม แบร์ซิเยริ ในเมืองซัลโซมัจจอเร ถึงแม้ กาลิเลโอ คีนิ ได้ยุติบทบาทการกำกับศิลป์ลงในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ตระกูล ภาพนก นกยูง ปลา ลวดลายพรรณพฤกษา ได้รับการออกแบบอย่างประณีตและแต่งแต้มสีสันงดงามสะดุดตามาตั้งแต่ช่วงต้นคริสศตวรรษที่ ๒๐ ต่อมาเมื่อ กาลิเลโอ คีนิ ได้เดินทางกลับมาจากประเทศสยามแล้ว รูปทรง ลวดลาย และการใช้สีที่โดดเด่นเหล่านั้น ยิ่งมีการพัฒนาอย่างน่าตื่นตาตื่นใจด้วยอิทธิพลของแสงและสีสันแห่งตะวันออก โซนที่ 5 กาลิเลโอ คีนิ ในโลกแห่งละคร นามของ กาลิเลโอ คีนิ ได้รับการบันทึกไว้ในโลกแห่งการละคร ในฐานะศิลปินผู้รังสรรค์บรรยากาศของฉากขึ้นจากบทประพันธ์การละครและได้ถ่ายทอดเป็นภาพทัศนศิลป์ ในบรรดาผลงานด้านการละครของ กาลิเลโอ คีนิ การออกแบบฉากมหาอุปรากรเรื่องตูรันดอท ซึ่งเป็นผลงานการประพันธ์ของ จาโคโม ปุชชีนิ นั้น นับเป็นงานศิลป์ชิ้นเอกของเขา เรื่องราวของมหาอุปรากรเล่าถึงเจ้าหญิงตูรันดอท พระราชธิดาขององค์จักรพรรดิ หญิงผู้ปิดกั้นหัวใจตนเองจากความรัก แต่ในท้ายที่สุดนางก็ยอมรับในความรักของเจ้าชายคาลาฟ โซนที่ 6 จุดเชื่อมต่อจากอดีตสู่ศิลปะร่วมสมัย ศิลปะของกาลิเลโอ คีนิ ได้ก้าวเดินเคียงคู่ไปกับจังหวะชีวิตของเขาและได้เดินทางข้ามกาลเวลาผ่านงานศิลป์ในหลายรูปแบบ มรดกศิลป์ในอดีตยังคงเชื่อมโยงสู่การสรรค์สร้างผลงาน ร่วมสัมผัสประสบการณ์ศิลปะครั้งสำคัญครั้งนี้ ได้ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 6 กรกฎาคม 2551 ณ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ชิดลม เพื่อร่วมชื่นชม ดื่มด่ำกับสุดยอดงานศิลป์ล้ำค่า .. ที่หลายชิ้นได้ออกไปจากประเทศนี้มาเป็นเวลานาน .. จนวันนี้ .. ชิ้นงานเหล่านั้นได้กลับมาสู่อ้อมอกของแผ่นดินถิ่นกำเนิดงานอีกครั้ง งานนิทรรศการครั้งนี้ไม่อยากให้ท่านใดพลาดการไปชม เนื่องจากเป็นการรวบรวมผลงานของ กาลิเลโอ คีนิ ศิลปินเอกชาวอิตาเลียนไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดอย่างแท้จริง หลายผลงานไม่เคยถูกนำไปจัดแสดงที่ไหนมาก่อน หลายผลงานไม่เคยได้รับอนุญาตให้นำออกจากอิตาลีมาก่อน และหลายผลงานได้ถูกขายเป็นลิขสิทธิ์ของนักสะสมไปแล้ว แต่ผู้จัดได้ประสานงานขอนำมาจัดแสดงในครั้งนี้ และแม้ว่าจะเดินทางไปดูถึงประเทศอิตาลี ก็คงไม่มีโอกาสได้ดูผลงานอย่างครบถ้วนแน่นอน แคไปดูผลงานภาพถ่ายขาวดำของวิถีชีวิตชาวสยามในอดีตที่ไม่ได้นำมาให้ดูในบทความนี้ ก็คุ้มค่าแล้วล่ะค่ะ Note : ขอบคุณบทความบางส่วนจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และเดลินิวส์ รวมถึงเอกสาร Press Release สำหรับผู้สื่อข่าว |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |