*/
International-New | ||
![]() |
||
I'm John, i'm jaunt. |
||
View All ![]() |
มนต์รักจากเสียงกระดึง | ||
![]() |
||
เพลงของจิตร ภูมิศักดิ์ |
||
View All ![]() |
<< | มิถุนายน 2008 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 |
เงื่อนงำสำคัญ : เขตแดนไทย แลกผลประโยชน์ส่วนตนของใคร 1.แผนที่ประเทศ 2.หลังจากข้อพิพาทยาวนาน องค์การ UNESCO ให้ทั้งสองประเทศตกลงเรื่องเขตแดนกันบริเวณเขาพระวิหาร (ซึ่งอยู่นอกความรับผิดชอบของ UNESCO) แล้วจึงส่งแผนที่ของทั้งสองฝ่ายให้ UNESCO ภายใน 16 มิถุนายนนี้ โดย UNESCO จะตัดสินในวันที่ 2 กรกฎาคม ขณะที่กัมพูชาส่งไปแล้วในฉบับที่ตกลงกับรัฐบาลไทยในทางลับ แต่ทำไมรัฐบาลไทยไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ ก่อนเอาเข้าคณะรัฐมนตรีพิจารณาในวันที่ 17 มิถุนายนนี้ 3.มีผลประโยชน์แอบแฝงแลกเปลี่ยนกันหรือไม่ การลงทุน Casino และ Entertainment Complex บริเวณเขาตาเฒ่า เกาะกง และการลงทุนในธุรกิจพลังงาน ซึ่ง
ข้อเท็จจริงและความเห็น : กรณีปราสาทพระวิหาร ข้อเท็จจริง ๑. เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ ได้มีคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ตัดสินกรณีพิพาทระหว่างราชอาณาจักรไทย-ราชอาณาจักรกัมพูชา กรณีปราสาทพระวิหารเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๕ ดังนี้ ๑.๑ โดยคะแนนเสียง ๙ ต่อ ๓ ลงความเห็นว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา ๑.๒ โดยคะแนนเสียง ๙ ต่อ ๓ ว่าประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องถอนกำลังทหาร หรือตำรวจผู้เฝ้ารักษาหรือดูแล ซึ่งประเทศไทยส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารหรือในบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา ๑.๓ โดยคะแนนเสียง ๗ ต่อ ๕ ว่าประเทศไทยมีพันธะต้องคืนให้แก่กัมพูชา บรรดาวัตถุชนิดที่ได้ระบุไว้ในคำแถลงสรุปข้อที่ห้าของกัมพูชา ซึ่งเจ้าหน้าที่ไทยอาจจะได้โยกย้ายออกไปจากปราสาทหรือบริเวณพระวิหารนับแต่วันที่ประเทศไทยเข้าครอบครองเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ ในการปฏิบัติการตามคำสั่งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศต่อกรณีปราสาทพระวิหารนั้น ประเทศไทยโดยกระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดเขตแดนและเนื้อที่รองรับปราสาทพระวิหารที่ยกให้กัมพูชา ดังนี้ กำหนดไว้ไม่เกิน ๑๕๐ ไร่ สัณฐานเป็นรูปห้าเหลี่ยมคางหมู โดยกำหนดวัดจากบันไดนาคไปทางทิศเหนือ ๒๐ เมตร ทางทิศตะวันออกลากไปจรดหน้าผา ทางทิศตะวันตกวัดจากกึ่งกลางปราสาทและกึ่งกลางทางเดินออกไป ๑๐๐ เมตร โดยมีการล้อมรั้วลวดหนามรอบบริเวณ มีป้ายบอกเขตแดนเป็นภาษาไทย กัมพูชา และฝรั่งเศส โดยศาลกำหนดให้ไทยถอนกำลังลงมาภายในเที่ยงวันของวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๐๕ ฝ่ายไทยนำโดย พลเอก ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้บัญชาการถอนกำลัง ๒.ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศต่างกับศาลภายในในข้อที่ศาลระหว่างประเทศไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีความใดๆ ทั้งสิ้นนอกจากจะได้รับความยินยอมจากรัฐคู่กรณี ในคดีปราสาทพระวิหาร ไทยได้คัดค้านอำนาจศาลแล้วแต่แรกเริ่ม แต่ศาลได้มีคำพิพากษาเบื้องต้นเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๖๑ ยืนยันอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทั้งๆ ที่ได้เคยมีการกล่าวอ้างในศาลในคดีอื่นก่อนหน้านั้นว่าคำรับอำนาจศาลถาวรของไทยฉบับแรกมิได้โอนย้ายมาใช้ในศาลยุติธรรมปัจจุบันซึ่งรับช่วงปฏิญญารับอำนาจศาลจากศาลถาวรภายใต้องค์การสันนิบาตชาติตามความในข้อ ๓๖ วรรค๕ แห่งธรรมนูญศาลปัจจุบัน ทั้งนี้ เนื่องจากไทยมิได้เป็นสมาชิกที่ร่วมก่อตั้งสหประชาชาติมาแต่แรกเริ่มเมื่อ ค.ศ. ๑๙๔๕ คำฟ้องของกัมพูชาระบุเฉพาะอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ มิอาจขยายให้กว้างออกไปนอกพื้นที่จนครอบคลุมเขาพระวิหารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาดงรัก ฉะนั้น การกล่าวถึงข้อพิพาทในคดีว่าเป็น คดีเขาพระวิหาร หรือ คดีปราสาทเขาพระวิหาร จึงคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ที่ถูกต้องคือ คดีปราสาทพระวิหาร โดยจำกัดพื้นที่เฉพาะบริเวณที่ตั้งของปราสาท คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจึงจำกัดเฉพาะภายในกรอบคำร้องที่กัมพูชายื่นฟ้องโดยไม่อาจขยายพื้นที่นอกเหนือจากบริเวณที่ตั้งของปราสาท ๓. เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๑ เขมรแดงได้เข้าร่วมกับฝ่ายรัฐบาลพนมเปญ มีผลทำให้เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๑ มีการเปิดให้ขึ้นเที่ยวชมปราสาทพระวิหารอย่างไม่เป็นทางการ (โดยการตกลงของกำลังสุรนารีกับกองพลที่ ๑๒ ของกัมพูชา) ในช่วงนี้มีการย้ายตลาดขายสินค้า ซึ่งวางขายอยู่ระหว่างศาลาจัตุรมุขหลังที่ ๒ กับปราสาทหลังที่ ๑ ลงมาสร้างเพิงขายสินค้าที่บริเวณหน้าบันไดทางขึ้นปราสาทพระวิหาร และมีการขยายร้านค้าใหญ่โตในเวลาต่อมา จนกระทั่ง เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๔ ได้มีการห้ามมิให้ขึ้นเที่ยวชมปราสาทพระวิหารจากฝั่งประเทศไทย ด้วยเหตุผลทางการทหารด้านความมั่นคง (นัยว่าเพื่อบีบบังคับให้กัมพูชาย้ายชุมชนตลาดที่หน้าบันไดทางขึ้นปราสาทออกไป เพราะทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมแก่ประเทศไทย) แต่ก็ไม่เป็นผลแต่อย่างใด เพราะช่วงที่มีการปิดเขาพระวิหารทางการกัมพูชาก็ได้จัดส่งเครื่องอุปโภคบริโภคให้แก่ประชาชนที่อยู่อาศัยในชุมชนดังกล่าว ๔. ที่ประชุมระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ได้มีมติให้เปิดเขาพระวิหารเพื่อการท่องเที่ยว และได้ทำการเปิดอย่างเป็นทางการในวันเสาร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖ อำเภอกันทรลักษณ์ได้รับการมอบหมายจากจังหวัดศรีสะเกษ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ประสานจุดผ่อนปรนปราสาทพระวิหาร การเปิดเป็นจุดผ่อนปรนเพื่อการท่องเที่ยวปราสาทพระวิหาร เป็นการกำหนดเปิดจุดผ่อนปรนเฉพาะ ซึ่งไม่มีในสารบบจุดผ่านแดนของกระทรวงมหาดไทย (ซึ่งมีจุดผ่านแดนถาวรและจุดผ่อนปรนเพื่อการค้า) ๕. เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายสุรเกียรติ เสถียรไทย) ได้รายงานผลการประชุมกับฝ่ายกัมพูชา เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗ ณ กรุงพนมเปญ ให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีสรุปดังนี้ - ฝ่ายกัมพูชาได้รับข้อเสนอของไทยเรื่อง การพัฒนาร่วมเขาพระวิหาร โดยมุ่งให้ปราสาทพระวิหารเป็น สัญลักษณ์ แห่งมิตรภาพอันยั่งยืนระหว่างไทย-กัมพูชา - ทั้งสองฝ่ายตกลงในหลักการพื้นฐาน เกี่ยวกับการพัฒนาร่วมเขาพระวิหาร โดยฝ่ายกัมพูชารับจัดตั้งคณะอนุกรรมการ ๒ ชุด เพื่อสอดคล้องกับการดำเนินการของไทย - ตกลงกันที่จะไม่ให้ปัญหาเส้นเขตแดนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา? - ตกลงกันที่จะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่มีผลกระทบต่อสภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งสองฝ่าย อาทิ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ - ดำเนินการโครงการพัฒนาร่วมเขาพระวิหาร ให้สอดคล้องกับโครงการความร่วมมืออื่นๆ อาทิ สามเหลี่ยมมรกต เครือข่ายเชื่อมโยงคมนาคมทางบก - สนับสนุนให้ภาคประชาชน ประเทศที่สาม และองค์กรระหว่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์ และอนุรักษ์ปราสาทพระวิหาร - สำหรับช่องตาเฒ่า (ซึ่งเป็นพื้นที่ผลประโยชน์ ที่ฝ่ายกัมพูชาพยายามผลักดันให้เปิดเป็นจุดผ่านแดนเพื่อการค้าและการท่องเที่ยวมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีโครงการก่อสร้าง Entertainment Complex รองรับอยู่แล้ว) ฝ่ายกัมพูชาเห็นชอบที่จะเชื่อมโยง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาร่วมเขาพระวิหาร ๖. ปัจจุบัน แนวรั้วลวดหนามที่กั้นปราสาทพระวิหารส่วนที่ยกให้แก่กัมพูชา ตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรม ระหว่างประเทศเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ นั้น ได้ถูกประชาชนกัมพูชารื้อถอนนำไปจำหน่ายจนหมดไม่เห็นแนวรั้วเดิมแล้ว ส่วนที่เหลืออยู่ในฝั่งประเทศไทยเป็นเพียงรั้วที่เจ้าหน้าที่ทหารกั้นป้องกันมิให้ประชาชนเดินเข้าไป เพราะยังมีกับระเบิดเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก ปัญหาการกำหนดเส้นแดนซึ่งยังไม่มีข้อยุตินั้น แม้ว่าโครงการพัฒนาร่วมของทั้งสองประเทศ จะได้มีการกำหนดกรอบการพิจารณาว่าที่จะไม่ให้ปัญหาเส้นเขตแดนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาก็ตาม แต่เนื่องจากการที่กัมพูชาได้ครอบครองพระวิหารที่ยอดเขา และยังอ้างการถือเส้นเขตแดนบริเวณดังกล่าวตามแผนที่ท้ายฟ้องของกัมพูชา จึงก่อให้เกิดปัญหาการทับซ้อนเส้นเขตแดนขึ้น โดยที่กระทรวงการต่างประเทศไทยถือว่าอาณาเขตไทยต้องยึดตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ ซึ่งในปัจจุบันนี้มีพื้นที่หลายส่วนเช่น บริเวณทางทิศตะวันตกของปราสาทพระวิหาร กัมพูชาได้ก่อสร้างชุมชนและวัด รวมทั้งการการก่อสร้างถนนขึ้นมาจากประเทศกัมพูชา รวมทั้งกรณีชุมชนร้านค้า โรงแรม สถานบันเทิง คาราโอเกะ และที่ทำการช่องปราสาทพระวิหาร ก็อยู่นอกแนวเขต ๒๐ เมตร จากบันไดนาค ในกรณีดังกล่าว กรมแผนที่ทหารชี้ว่าเป็นดินแดนของประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศจึงได้ยื่นหนังสือประท้วงไปยังรัฐบาลกัมพูชา ในกรณีก่อสร้างใด ๆ ในพื้นที่ที่ยังไม่มีความชัดเจนในเส้นเขตแดน แต่ก็ไม่ได้รับการดำเนินการแก้ไขแต่อย่างใด ๗. วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ ๓๑ ที่เมืองไครส์เซริต์ ประเทศนิวซีแลนด์ ได้มีมติเกี่ยวกับการที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยเห็นว่าปราสาทพระวิหารมีคุณค่าที่เป็นสากลอย่างเด่นชัด และสมควรได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และรับทราบขั้นตอนการขึ้นทะเบียนอยู่ในระหว่างการดำเนินการ ซึ่งไทยและกัมพูชาตกลงที่จะร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งในการจัดทำแผนอนุรักษ์และบริหารจัดการบริเวณปราสาทพระวิหาร โดยเห็นชอบให้มีการพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนอีกครั้งหนึ่งในการประชุมคณะกรรมการฯ สมัยที่ ๓๒ ณ เมืองคิวเบกท์ ประเทศแคนาดา ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๑ โดยฝ่ายไทยจะให้การสนับสนุนอย่างแข็งขัน วันที่ ๓-๔ มกราคม ๒๕๕๑ คณะกรรมการมรดกโลกฝ่ายไทย โดยมีเจ้าหน้าที่จากกระทรวงการต่างประเทศ , กรมศิลปากร , กรมแผนที่ทหาร ร่วมกับคณะกรรมการมรดกโลกจากกัมพูชา และจากต่างประเทศร่วมเดินทางสำรวจภูมิประเทศ จัดทำแผนผังบริเวณภาพสลักนูนต่ำผามออีแดง , สถูปคู่ , สระตราวและแหล่งตัดหินในฝั่งประเทศไทย ปราสาทพระวิหาร , ช่องบันไดหัก และสระน้ำต่างๆ รอบบริเวณปราสาทพระวิหารฝั่งประเทศกัมพูชา เพื่อนำข้อมูลเข้าการร่วมประชุมที่จังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ในวันที่ ๑๒-๑๓ มกราคม ๒๕๕๑ เพื่อจัดทำแผนการนำเสนอขอขึ้นทะเบียนต่อคณะกรรมการมรดกโลก ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ผลการประชุม ที่เมืองเสียมราฐ เมื่อวันที่ ๑๒-๑๓ มกราคม ๒๕๕๑ อย่างไม่เป็นทางการทราบว่ารัฐบาลกัมพูชา โดย ฯพณฯ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรี แสดงท่าที่ไม่ยอมรับข้อเสนอฝ่ายไทย โดยยังย้ำถึงเส้นเขตแดนที่ปรากฏอยู่ในแผนที่ของฝรั่งเศส เมื่อปี ๒๔๕๑ และการนำเสนอปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ฝ่ายเดียว รวมทั้งการเปิดจุดผ่านแดนช่องตาเฒ่า เพื่อการพัฒนาพื้นที่ (เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ซึ่งการเลือกตั้งทั่วไปกัมพูชาจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๑) และในครั้งนี้คณะกรรมการมรดกโลกฝ่ายไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศ กรมแผนที่ทหาร กรมศิลปากร ได้จัดทำแนวทางการดำเนินการเสนอฝ่ายความมั่นคง กองทัพบก และรัฐบาลต่อไป ๘. เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑ การพบหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายนพดล ปัทมะ กับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา นายสก อัน ประเด็นกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างเทศยืนยันท่าทีของไทยในการสนับสนุนในหลักการในการขึ้นทะเบียนดังกล่าว แต่จำเป็นที่จะต้องมีการหารือถึงพื้นที่ทับซ้อนบริเวณรอบตัวปราสาทพระวิหารของกัมพูชานั้นทับซ้อน เข้ามาในพื้นที่ที่ไทยอ้างสิทธิ สาเหตุของปัญหาเกิดจากไทยและกัมพูชาตีความคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศคดีปราสาทพระวิหารเมื่อปี ๒๕๐๕ แตกต่างกัน ฝ่ายกัมพูชาเห็นว่านอกจากศาลตัดสินว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชาแล้ว แล้วยังตัดสินเรื่องเขตแดนด้วย ส่วนฝ่ายไทยเห็นว่าคำพิพากษาตัดสิน เฉพาะเรื่องอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารแต่มิได้ตัดสินบังคับคดีในเรื่องเขตแดนเนื่องจากศาลไม่มีอำนาจ อย่างไรก็ดีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า ในการเจรจาครั้งนี้ได้เริ่มเห็น แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ และอาจเป็นจุดหักเหที่ดี ทั้งนี้สองฝ่ายได้ทราบท่าทีที่ชัดเจนของกันและกัน บรรยากาศการเจรจาของทั้งสองฝ่ายเป็นไปอย่างฉันมิตร ขอเวลาอีก ๒ สัปดาห์ จะแจ้งความคืบหน้า (ข่าวสารนิเทศ) ๙. วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๑ รัฐบาลกัมพูชาได้ส่งแผนที่ให้ฝ่ายไทย ตามที่ได้ตกลงเบื้องต้นในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๑ แต่รัฐบาลไทยยังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดให้สาธารณชนและรัฐสภาได้รับทราบ ๑๐. ท่าทีของฝ่ายรัฐบาลกัมพูชาที่มีมาโดยตลอด ๑) รัฐบาลกัมพูชา พยายามผลักดันการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ฝ่ายเดียว ๒) รัฐบาลกัมพูชา เร่งพัฒนาเส้นทางขึ้นสู่ปราสาทพระวิหารจากฝั่งกัมพูชา เพื่อแก้ไขปัญหาการพึ่งพาไทย โดยมีโครงการตัดถนนจากจังหวัดเสียมราฐ ผ่านจังหวัดกัมปงธม ไปยังจังหวัดพระวิหาร เพื่อเชื่อมการท่องเที่ยวระหว่างกลุ่มปราสาทนครวัดกับปราสาทพระวิหาร ๓) การตีความ ปราสาทพระวิหาร น่าจะสร้างปัญหา เนื่องจากไทยถือว่ากัมพูชามีกรรมสิทธิ์เฉพาะตัวพื้นที่เฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้น แต่กัมพูชาอาจจะถือหลักวัฒนธรรมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตีความว่า รวมทั้งตัวปราสาท สระตาว สถูปคู่ และภาพสลักนูนต่ำตลอดจนผามออีแดง ซึ่งอยู่ในฝั่งประเทศไทย เป็นบริเวณทั้งหมดของปราสาทพระวิหาร ในลักษณะชุมชนโบราณ ๑๑. ท่าทีของฝ่ายไทย ๑) ไทยอยู่ในฐานะเสียเปรียบและยากที่จะขัดขวางการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ในปี ๒๕๕๑ เนื่องจากกัมพูชามีสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะดำเนินการเรื่องนี้แต่เพียงฝ่ายเดียว และรัฐบาลกัมพูชาก็แสดงท่าทีที่ชัดเจนว่าพร้อมที่จะสู้ไม่ถอย หากไทยขัดขวางอีกครั้งคงจะเผชิญกับการตอบโต้อย่างรุนแรง ๒) เส้นเขตแดนซึ่งปัจจุบันทั้งสองฝ่ายต่างอ้างเขตแดนทับซ้อนกัน เนื่องจากยังไม่มีการเจรจาปักปัน ต้องมีการตกลงให้ชัดเจนว่า การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาเขตแดน ๓) จัดทำและนำเสนอภาพสลักนูนต่ำ ตลอดจนบริเวณผามออีแดง สถูปคู่ สระตราว และแหล่งตัดหินเข้าไปสู่การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วม โดยจะให้มีการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน ๔) หาช่องทางแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกันในการพัฒนาพื้นที่ชายแดนร่วมกับกัมพูชา โดยเฉพาะการจัดการพื้นทีเขตชายแดนที่ทับซ้อนกัน ที่จะกำหนดขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และจัดการปัญหาชายแดน ๕) ใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือประสานผลประโยชน์กับฝ่ายกัมพูชา โดยอาจพิจารณาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบริเวณปราสาทพระวิหาร เพื่อเชื่อมการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับกัมพูชา ๖) ในกรณีไม่สามารถเจรจาในการนำเสนอดังกล่าวได้ กระทรวงการต่างประเทศอาจขอให้มีการดำเนินการเพื่อยับยั้งการดำเนินการในพื้นที่ที่กัมพูชาครอบครองอยู่ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ประเทศไทยยังอ้างสิทธิ์ในคำพิพากษาของศาลโลก (บริเวณตลาดกัมพูชา และถนนขึ้นสู่พระวิหารในฝั่งกัมพูชา) ความเห็น : (๑) ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตข้าราชการระดับสูงกระทรวงการต่างประเทศ ได้แสดงความเห็นเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๑ ว่า ๑.๑ ข้อ ๕๙ แห่งธรรมนูญศาลกำหนดไว้ว่า คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่มีผลผูกมัดผู้หนึ่งผู้ใดยกเว้นคู่กรณี ได้แก่ไทยและกัมพูชา และเฉพาะส่วนที่เป็นประเด็นในข้อพิพาทเท่านั้น ฉะนั้น คำพิพากษาจึงไม่อาจขยายไปถึงคำขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และไม่ผูกพันองค์การยูเนสโกหรือทะบวงการชำนัญพิเศษอื่นๆ รวมทั้งศาลซึ่งเป็นองค์กรของสหประชาชาติและศาลระหว่างประเทศอื่นๆ อาทิ ศาลกฎหมายทะเล ๑.๒ คำพิพากษาของศาลไม่มีกลไกบังคับคดี ในทางปฏิบัติจึงไม่อาจนำมาบังคับคดีได้ แต่ไทยก็ได้ปฏิบัติตามโดยไม่ขัดขืนหรือละเมิดคำพิพากษา ไทยได้ถอนบุคคลากรไทยผู้ทำหน้าที่ดูแลรักษาปราสาทพระวิหาร ย้ายเสาธงชาติไทยออกมานอกพื้นที่ปราสาทพระวิหารและสร้างรั้วล้อมตัวปราสาทไว้ เป็นการถอนการครอบครองปราสาทพระวิหารตามคำพิพากษา ๑.๓ เนื่องจากไทยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา จึงไม่ยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาและยื่นประท้วงคัดค้านคำพิพากษาดังกล่าวและตั้งข้อสงวนไว้ โดยไทยถือว่าปราสาทพระวิหารยังอยู่ในอำนาจอธิปไตยของไทย และจะกลับไปครอบครองปราสาทพระวิหารอีกเมื่อคำพิพากษาได้รับการพิจารณาทบทวนแก้ไขอีกครั้ง ๑.๔ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ไทยจึงไม่สมควรเปลี่ยนท่าทีหรือยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทพระวิหาร ซึ่งจะทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบในระดับรัฐบาลและประชามติ ๑.๕ หากพิจารณาตามความเป็นจริงทางภูมิศาสตร์ กัมพูชาไม่อาจเข้ามาครอบครองปราสาทพระวิหารได้โดยง่าย เพราะทางขึ้นเป็นหน้าผาสูงชัน การเดินทางไปปราสาทพระวิหารของชาวกัมพูชาจึงจำเป็นต้องใช้เส้นทางที่ผ่านประเทศไทย อย่างไรตาม ปัจจุบันปรากฏว่า ไทยได้ปล่อยปละละเลยและไม่เข้มงวดในการสงวนเส้นทางซึ่งเป็นของไทย และปล่อยให้ชาวกัมพูชาผ่านไปมาได้โดยเสรี ไม่มีการตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือเก็บค่าผ่านทางแต่ประการใด ฉะนั้น จึงสมควรที่จะนำมาตรการที่ถูกต้องและเหมาะสมในการเข้าออกประเทศมาใช้อย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันมิให้เกิดการเข้าใจผิดและถือสิทธิ์อันมิชอบ ทั้งนี้ โดยยึดหลักการปักปันเขตแดนดั้งเดิมตามเส้นสันปันน้ำซึ่งไม่มีการทับซ้อนโดยเด็ดขาด ๑.๖ คำพิพากษาของศาลในคดีนี้มิได้เป็นคำพิพากษาเอกฉันท์ เนื่องจากมีเสียงข้างมากเพียง ๙ ต่อ ๓ และ ๗ ต่อ ๕ ในบางประเด็น จึงถือได้ว่าเกือบครึ่งหนึ่งของศาลยังมีความเห็นว่าไทยสมควรมีอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหาร ทั้งนี้ โดยที่กฎหมายระหว่างประเทศมีการพัฒนาก้าวหน้าต่อเนื่อง จึงเป็นไปได้ที่ความเห็นจะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ซึ่งหมายถึงคำพิพากษาแย้งที่มีเหตุผลอาจเป็นที่ยอมรับนับถือและปฏิบัติตาม ๑.๗ หากพิจารณาในภาพรวมจะเห็นได้ว่าศาลเชื่อในหลักการว่าเส้นสันปันน้ำยังคงเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาในบริเวณเทือกเขาดงรัก เส้นสันปันน้ำที่เขาพระวิหารอยู่ที่ขอบหน้าผา ฉะนั้น ถ้าจะมีการสำรวจใหม่ เส้นแบ่งเขตน่าจะเป็นเช่นเดิมโดยใช้สันปันน้ำเป็นหลัก ปราสาทพระวิหารจึงยังอยู่ในเขตแดนไทย ๑.๘ เพื่อความเข้าใจในคำพิพากษาอย่างแจ่มแจ้ง จำเป็นต้องศึกษาโดยอ่านอย่างละเอียดเริ่มแต่หน้าแรกถึงหน้าสุดท้าย ในกรณีพิพาทคดีปราสาทพระวิหาร ตั้งแต่หน้า ๑ ถึงหน้า ๑๔๖ เป็นคำพิพากษาโดยรวม ประกอบด้วยคำพิพากษาของศาล คำพิพากษาแย้งและคำพิพากษาเอกเทศ จึงจำเป็นต้องอ่านโดยตลอดจึงจะเห็นภาพรวมที่สมบูรณ์ ๑.๙ ข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาเป็นคดี ปราสาทพระวิหาร ทั้งในภาษาไทย อังกฤษและฝรั่งเศส หาใช่คดี เขาพระวิหาร หรือ ปราสาทเขาพระวิหาร ไม่ (๒) รัฐบาลไทยน่าจะยืนยันเขตแดนปราสาทพระวิหาร ที่ได้เคยปฏิบัติตามคำสั่งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยล้อมรั้วลวดหนามในบริเวณที่เคยดำเนินการเมื่อปี ๒๕๐๕ ดังเดิม (๓) ดำเนินการโยกย้ายชุมชนตลาดหน้าบันได ที่ชาวกัมพูชามาตั้งร้านค้า ที่พักนักท่องเที่ยว สถานบันเทิง คาราโอเกะ วัด และที่ทำการช่องพระวิหาร ออกจากเขตดินแดนประเทศไทย มิเช่นนั้นอนาคตกัมพูชาอาจอ้างสิทธิ์ครอบครองที่ไทยไม่ได้โต้แย้งสิทธิ์ในเขตแดน ดังเช่นในอดีต (๔) รัฐบาลไทย ควรยืนยันเจตนาที่จะขอร่วมขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารและบริเวณสระตราว สถูปคู่ และภาพสลักนูนต่ำ ตลอดจนผามออีแดง ซึ่งอยู่ในฝั่งประเทศไทยเป็นบริเวณทั้งหมดของมรดกโลก และให้มีการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน (๕) หากการแสดงเจตนาที่จะขอร่วมขึ้นทะเบียนมรดกโลกตาม (๓) ไม่บรรลุผล ไทยควรขอให้มีการยับยั้งการดำเนินการ โดยเฉพาะพื้นที่ที่ประเทศไทยอ้างสิทธิ์ตามคำพิพากษาของศาลฯ (๖) รัฐบาลไทย ไม่ควรพิจารณาผ่อนผัน ผ่อนปรน เงื่อนไขของอาณาเขตเพื่อแลกกับประโยชน์ของคนไทยบางกลุ่มที่หวังไปร่วมลงทุนทางการค้า การท่องเที่ยว และ Entertainment Complex ที่บริเวณใกล้ช่องตาเฒ่า (ในเขตกัมพูชา) หรือหวังประโยชน์จากการลงทุนทางธุรกิจในอ่าวไทยหรือที่อื่นใดในประเทศกัมพูชา (๗) ก่อนที่จะบรรลุข้อตกลง และจะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน คณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญาและข้อตกลงนั้น และจะต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาด้วย ทั้งนี้เป็นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐ เอกสารจากเวทีสัมมนา ของคณะกรรมาธิการศาสนาฯ วุฒิสภา 16 มิถุนายน 2551 |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |