ในที่สุดทองของเคปเลอร์ก็มาถึง เมื่อเขาได้มีโอกาสพบบราห์ที่หอดูดาว ณ ปราสาทเบนเทค (Benatek Castle) ใกล้กรุงปราก เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1600 แม้บราห์จะค่อนข้างดูถูกเคปเลอร์ เนื่องจากฐานะอันต่ำต้อยของเขา แต่ในฐานะที่เคปเลอร์มีความมุ่งมั่นต่อวิชาชีพทางดาราศาสตร์มาก เขาจึงยอมให้เคปเลอร์ได้มีโอกาสดูเครื่องมือทางดาราศาสตร์ที่ล้ำค่าของเขา ซึ่งเครื่องมือแต่ละชิ้นสามารถวัดตำแหน่งดาวได้อย่างแม่นยำมากกว่าเครื่องมือที่รู้จักกันในสมัย โคเปอร์นิคัสถึง 10 เท่า ไม่ว่าจะเป็นเซกแตนซ์ (Sextants) ที่ทำด้วยไม้และโลหะขนาดใหญ่ ครอดแรนท์ (Quadrant) ทองเหลือง ที่ใช้วัดความสูงของดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ เคปเลอร์ถวายคำอธิบายด้านดาราศาสตร์แก่จักรพรรดิรูดอล์ฟที่ 2 นอกจากนี้ยังมีลูกทรงกลมท้องฟ้า ที่ทำด้วยทองเหลืองที่สลักตำแหน่งของดาวฤกษ์นับพันดวง ที่เขาวิเคราะห์ได้จากการสังเกตการณ์ เคปเลอร์ตื่นตะลึงกับเครื่องมือทางดาราศาสตร์ที่มีค่าอันมหาศาล และรู้สึกถึงความยากลำบากของบราห์ที่มีความอุตสาหะพยายามรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งของดาวเคราะห์และดาวฤกษ์เป็นจำนวนมากมายถึงเพียงนี้ เคปเลอร์ต้องการข้อมูลเหล่านี้เป็นอย่างมากเพื่อนำมาวิเคราะห์ตามทฤษฎีของเขา แต่เคปเลอร์ก็ต้องผิดหวังเมื่อบราห์ไม่ได้ให้ข้อมูลเหล่านั้นแก่เคปเลอร์แม้แต่น้อย เคปเลอร์ยังคงวนเวียนอยู่ที่หอดูดาวครั้งแล้วครั้งเล่า แต่บราห์ไม่เคยให้ข้อมูลของตำแหน่งดาวเคราะห์แก่เคปเลอร์เลย ทำให้เคปเลอร์ต้องรอคอยอย่างสิ้นหวัง จนกระทั่งเขามาพบกับลองโกมอนทานัส (Longomontanus) ซึ่งเป็นผู้ช่วยของบราห์ได้มอบหมายให้ศึกษาวงโคจรของดาวอังคารอย่างละเอียด แต่ลองโกมอนทานัสก็ประสบปัญหาอย่างมากเกี่ยวกับการวิเคราะห์วงโคจรของดาวอังคาร ที่มีลักษณะแตกต่างจากวงโคจรของดาวเคราะห์ดวงอื่นที่เคลื่อนที่ค่อนข้างเป็นวงกลม แล้ววันหนึ่งบราห์ก็เรียกเคปเลอร์มาที่ห้องทำงานของเขาแล้วกล่าวว่า ลองโกมอนทานัสยังประสบปัญหาเกี่ยวกับการวิเคราะห์วงโคจรของดาวอังคารอยู่ซึ่งบราห์ก็ได้ตัดสินใจจะให้ลองโกมอนทานัสไปศึกษาดวงจันทร์แทน และอยากให้ เคปเลอร์ลองวิเคราะห์แสงโคจรของดาวอังคารแทน เคปเลอร์รับคำเชื้อเชิญของบราห์ด้วยความยินดียิ่ง และบอกกับบราห์ว่าจะวิเคราะห์วงโคจรของดาวอังคารให้ได้ภายใน 8 วัน เคปเลอร์ เคปเลอร์ไม่อาจวิเคราะห์วงโคจรของดาวอังคารได้ภายใน 8 วันตามที่เขาตั้งใจไว้ ตลอดเวลา 18 เดือนเคปเลอร์หมกมุ่นอยู่กับวงโคจรของดาวอังคารแต่ไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้เคปเลอร์ก็ยังได้รับมอบหมายให้ทำงานประจำที่น่าเบื่อหลายอย่าง และไม่เคยได้รับข้อมูลการสังเกตการณ์ของดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ จากบราห์เลย จนในที่สุดเคปเลอร์ไม่อาจทนอยู่กับบราห์ต่อไปได้ จึงเดินทางกลับกรุงปราก ต่อมาบราห์ก็มาชักชวนให้ไปทำงานกับเขาอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งในวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1601 บราห์ล้มป่วยลงและเสียชีวิต ก่อนเสียชีวิตเขาร้องขอให้เคปเลอร์เป็นผู้สืบทอดของเขาอย่างเป็นทางการ ในที่สุดเคปเลอร์ก็ได้ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับดาวเคราะห์อยู่ เคปเลอร์หันมาวิเคราะห์วงโคจรของดาวอังคารอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง เขาพบว่าถ้ายังคงสมมติให้ดาวอังคารโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลมแล้วจะยากมากที่จะหาวงกลมที่เหมาะสมที่จะสอดคล้องกับผลการสังเกตการณ์ได้ เคปเลอร์ทราบดีว่าดาวอังคารไม่ได้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เท่ากันตลอดเวลา และอัตราเร็วของดาวอังคารไม่ได้อยู่คงที่ด้วย โดยเมื่อดาวอังคารอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่เร็ว ดังนั้นไม่ว่าวงกลมที่แทนวงโคจรของดาวอังคารจะเป็นอย่างไรก็ตาม ดวงอาทิตย์ไม่น่าที่จะมีตำแหน่งอยู่ที่จุดศูนย์กลางของวงกลม แต่อาจอยู่เลยจุดศูนย์กลางมาทางด้านใดด้านหนึ่งเล็กน้อย เคปเลอร์ได้เขียนหนังสือชื่อ Astronomia Nova (New Astronomy) โดยตีพิมพ์เมื่อปี 1609 เคปเลอร์ได้นำเสนอกฎ 2 ข้อ ที่ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ซึ่งเป็นผลงานจากการทุ่มเทในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากที่บันทึกโดยทิโค เคปเลอร์ยังคิดว่าการที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ได้นั้น จะต้องมีแรงจากดวงอาทิตย์ดึงเอาดาวเคราะห์ไว้ แม้เขายังไม่รู้ว่าแรงดึงดังกล่าวคืออะไร แต่เขาเสนอว่าขนาดของแรงจะขึ้นอยู่กับระยะห่างจากดวงอาทิตย์ กล่าวคือ ถ้าดาวเคราะห์ยิ่งอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มาก แรงที่ดวงอาทิตย์ถึงดาวเคราะห์ไว้จะน้อยลง เคปเลอร์ยังคงพยายามที่จะปรับวงกลมทางทฤษฎีเข้ากับผลการสังเกตการณ์ดาวอังคาร ซึ่งเขามั่นใจว่าการสังเกตการณ์ของบราห์มีความแม่นยำอยู่ในช่วง 2 อาร์คนาที (ลิปดา) อย่างไรก็ตามข้อมูลบางค่าต่างจากทฤษฎีมากกว่า 8 อาร์คนาที ซึ่งทำให้เคปเลอร์สับสนอย่างมาก จนในที่สุดเคปเลอร์เริ่มมีความคิดว่าวงกลมอาจไม่สามารถนำมาอธิบายวงโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ได้ จนในปี ค.ศ. 1603 เขาเสนอวงโคจรของดาวเคราะห์ที่เป็น วงรี (Ellipse) และในปี ค.ศ. 1605 เขาสามารถพิสูจน์วงโคจรของดาวอังคารได้ในที่สุด การค้นพบของเคปเลอร์ทำให้ความเข้าใจเกี่ยวกับการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์กระจ่างชัด เขาพบว่าแท้จริงแล้ววงโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ (รวมทั้งโลกด้วย) ต้องเป็นวงรี (แต่เกือบเป็นวงกลม) โดยมีดวงอาทิตย์อยู่ที่จุดโฟกัสจุดหนึ่งของวงโคจรที่เป็นวงรีนั้น อย่างไรก็ตามในยุคของเคปเลอร์ก็ยังไม่มีความเข้าใจว่า ทำไมวงโคจรต้องเป็นวงรี ทำไมดาวเคราะห์เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วต่างกันในวงโคจร ทำไมดาวเคราะห์วงนอกจึงโคจรช้ากว่าดาวเคราะห์วงใน คำถามเหล่านี้กระจ่างขึ้นในอีก 80 ปีต่อมา เมื่อนักคณิตศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่มีชื่อว่า เซอร์ไอแซก นิวตัน เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ "แรงโน้มถ่วง" ขึ้น และทฤษฎีของเคปเลอร์ยิ่งได้รับการยืนยันมากขึ้น เมื่อเครื่องมือทางดาราศาสตร์ที่รู้จักกันในนามของ "กล้องโทรทรรศน์" ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาครั้งแรกโดยนักดาราศาสตร์ที่มีชื่อว่า กาลิเลโอ ในเวลาต่อมา เคปเลอร์กับโหราศาสตร์ นอกจากความรู้ด้านดาราศาสตร์แล้ว ย้อนกลับไปในขณะที่เคปเลอร์ศึกษาที่มหาวิทยาลัยทูบิงเงิน เคปเลอร์ได้ศึกษาด้านโหราศาสตร์จนมีทักษะประจักษ์แก่คนรอบข้าง และเมื่อเคปเลอร์ได้สังเกตการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์และตำแหน่งของดาวฤกษ์ เคปเลอร์ได้สังเกตตำแหน่งและการเคลื่อนที่ของดาวเหล่านี้และเทียบกับเรื่องราวของชีวิตประจำวันของตนเองว่า เมื่อดาวดวงนั้นโคจรไปอยู่ในราศีใดและมีเหตุการณ์อะไรเกิดกับเขาบ้าง จึงเป็นพัฒนาในการสะสมประการณ์ทางโหราศาสตร์ จากการสังเกตอย่างละเอียดและถูกต้องของเคปเลอร์ ทำให้เคปเลอร์ได้ทราบความจริงหลายอย่างที่ความรู้ทางดาราศาสตร์และโหราศาสตร์มีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นที่เชื่อถือกันอยู่ แผนภาพจากหนังสือ Mysterium Cosmographicum แสดงรูปแบบของการที่ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก วิกีพิเดีย และข้อมูลทาง internet แหล่งข้อมูลจากwww.astroschool.in.th/public/teacher/encyclodetail_ans_inc.php?id=27 http://www.space.mict.go.th/knowledge/astronomer/kepler.php ติดตามเรื่องราวของบุคคลสำคัญที่เป็นนักดาราศาสตร์และนักโหราศาสตร์อีกตอนต่อไปนะคะ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
tarot2 | ||
![]() |
||
tarot2 |
||
View All ![]() |
Tarot | ||
![]() |
||
ไพ่ยิปซี |
||
View All ![]() |
<< | มกราคม 2008 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |