รายงานเศรษฐกิจรายไตรมาส ฉบับที่ 49/2559 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยใน 3 ไตรมาสหลังของปี 2559 บริษัทไทยวิจัยและฝึกอบรมจำกัด 26 เมษายน 2559
ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยมิได้เปลี่ยนแปลงมากนักจากที่เคยได้วิเคราะห์มาก่อนหน้ากล่าวคือ 1.การบริโภคภาคเอกชนในประเทศ (Private Consumption) ชะลอตัวจากภาระหนี้สินภาคประชาชน โดยเห็นได้ชัดจากการชะลอตัวของการบริโภคสินค้าคงทนที่ดัชนีการบริโภคสินค้าคงทน (Durable Index) ขยายตัวในอัตราติดลบเฉลี่ย 8.9% ในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2. ภาคการส่งออกชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจากประเทศคู่ค้าหลักคือประเทศจีน ทำให้อัตราการขยายตัวเฉลี่ยของสินค้าส่งออกมีอัตราติดลบ 1.6% ใน 2 เดือนแรกของปีนี้ และมีแนวโน้มจะชะลอตัวเพิ่มขึ้นจากการอ่อนตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจจีน และ 3. การผลิตที่ลดลง ซึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวของการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก โดยที่ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index) มีอัตราการขยายตัว -1.6% การผลิตที่ชะลอตัวนี้ทำให้ภาคอุตสาหกรรมของมีอัตราการใช้กำลังการผลิต (Industrial Capacity Utilization) เพียง 65.7% ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งไม่เอื้อต่อการลงทุนและการจ้างงาน ที่น่าเป็นกังวลคือในเดือนกุมภาพันธ์ได้เห็นจำนวนของผู้มีงานทำ (Employed Persons) ลดลง 0.2% จึงต้องเฝ้าระวังว่าการชะลอตัวของภาคการผลิตจะมีผลกระทบทางลบต่อตลาดแรงงานในอนาคตเพียงใด ในขณะที่ประเทศประสบปัญหาเศรษฐกิจทั้งจากปัจจัยภายในและภาคนอกประเทศ รัฐบาลได้ทำการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ โดยเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเท่าที่สามารถกระทำได้ ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 (ไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ) รัฐบาลมีดุลงบประมาณ (Budgetary Balance) ติดลบ 2.9 แสนล้านบาท และมีการใช้จ่ายติดลบเพิ่มขึ้นอีก 1.04 แสนล้านบาทในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ของปีนี้ ทำให้ใน 5 เดือนแรกของปีงบประมาณรัฐบาลมีการใช้จ่ายติดลบถึง 3.9 แสนล้านบาท สูงกว่าการดุลงบประมาณติดลบทั้งปีของปีงบประมาณก่อนหน้าถึง 8.6 หมื่นล้านบาท หากแต่การเร่งใช้งบประมาณในครึ่งแรกของปีงบประมาณอาจทำให้รัฐบาลไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจในครึ่งหลังของปีงบประมาณได้เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณปี 2559 ได้กำหนดวงเงินที่รัฐบาลสามารถกู้ยืมไว้ที่ 3.9 แสนล้านบาท ซึ่ง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2559 รัฐบาลได้กู้ยืมไปแล้วรวม 2.9 แสนล้านบาท ทำให้เหลือความสามารถในการกู้ยืมเพียง 1 แสนล้านบาทใน 7 เดือนหลังของปีงบประมาณ การเร่งการใช้จ่ายภาครัฐแบบ Front Loaded นี้ ทำให้เศรษฐกิจไทยกระเตื้องขึ้นในไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 และไตรมาสแรกของปี 2559 โดยเฉพาะต่อการลงทุนภายในประเทศ ส่งผลให้การลงทุนถาวร (Gross Fixed Capital Formation) ขยายตัวเพิ่มขึ้น 10.1% และการบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption Expenditure) ขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.9% ในไตรมาสสุดท้ายของปีก่อนหน้า และการเร่งการใช้จ่ายของรัฐอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 1 ปี 2559 ก็ยังส่งผลบวกต่อการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศต่อเนื่อง การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการใช้จ่ายภาครัฐนี้ ทำให้ทั้งกองทุนระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย (ADB) ประเมินอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีไว้ที่ 3.0% ภายใต้เงื่อนไขว่ารัฐบาลจะสามารถใช้จ่ายเพิ่มขึ้นได้ 10% ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ในส่วนที่เหลือของปี ข้อจำกัดของงบประมาณแผ่นดินปี 2559 ที่กำหนดเพดานการกู้ยืมไว้ที่ 3.9 แสนล้านบาท ทำให้ความสามารถในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในส่วนที่เหลือของปีงบประมาณมีเพียง 1 แสนล้านบาท หรือ 1/3 ของที่ผ่านมา ส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวใน 3 ไตรมาสที่เหลือของปี แม้ในทางทฤษฏีรัฐบาลอาจผลักดันให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติงบประมาณปี 2559 ให้ปรับเพิ่มเพดานเงินกู้ยืม แต่รัฐบาลจะประสบปัญหาจาก 1. สภาพคล่องในระบบไม่พอเพียงให้มีการกู้ยืมเพิ่ม ซึ่งอาจจะทำไปสู่ภาวะ Crowding Out Effects ที่ภาครัฐดึงสภาพคล่องจากภาคเอกชน ซึ่งทำให้การกระตุ้นการลงทุนของรัฐถูกหักล้างด้วยการบริโภคและลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวติดลบ 2. รายรับที่ลดลงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ทำให้รายจ่ายของรัฐต้องลดลงตาม ซึ่งในงบประมาณประมาณการรายรับว่าจะมีอัตราการเพิ่มขึ้น 5.6% แต่ในเดือนกุมภาพันธ์มีอัตราการขยายตัวของรายรับเพียง 2.7% และ 3. การวิพากษ์จากประชาชน นักวิชาการ และต่างประเทศ ต่อวินัยการเงินการคลังของรัฐบาล ทำให้เป็นไปได้ยากที่รัฐบาลจะแก้ไขพระราชบัญญัติงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง ปัจจัยลบทั้ง 3 ของเศรษฐกิจไทย กล่าวคือ การบริโภคภาคเอกชน การส่งออก และการลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นใน 3 ไตรมาสที่เหลือของปี เครื่องชี้วัดที่ชี้ว่าเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวเข้าสู่ขั้นวิกฤติคืออัตราการขยายตัวของฐานเงิน (Monetary Base) และอัตราการขยายตัวของปริมาณเงินแบบกว้าง (Broad Money) เครื่องชี้วัดทางการเงินทั้ง 2 นี้แสดงถึงภาวะการจับจ่ายใช้สอยในระบบเศรษฐกิจ ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา อัตราการขยายตัวของ Monetary Base ลดลงเหลือ 1.5% (เมื่อหักอัตราเงินเฟ้อที่ 1.26% แล้ว การขยายตัวของ Real Monetary Base จะเหลือเพียง 0.24%) และอัตราการขยายตัวของ Broad Money ลดลงเหลือ 3.7% ซึ่งเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวของเครื่องชี้วัดทั้งสองเมื่อเดือนกันยายนของปีก่อนที่ขยายตัว 11.3% และ 5.6% ตามลำดับ จะพบว่าเป็นลดลงอย่างน่าเป็นห่วง
ตารางที่ 1: การประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจรายไตรมาสของปี 2559 (เปอร์เซ็นต์)
จากปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้เศรษฐกิจไทยอ่อนตัวและความสามารถในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ลดลงของรัฐบาล ทำให้ประมาณการว่าเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวใน 3 ไตรมาสที่เหลือของปี 2559 และจะไม่สามารถบรรลุอัตราการเติบโตที่ 3.0% โดยประมาณการว่าจะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ย(สูงสุด) 2.7% โดยมีอัตราการขยายตัวรายไตรมาสที่ 3.0%, 2.8%, 2.6% และ 2.2% ตามลำดับ รายละเอียดของอัตราการขยายตัวรายไตรมาสปรากฎในตารางที่ 1 ปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจมีอยู่ 2 ปัจจัยหลักคือ 1. การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน แม้รัฐบาลจีนจะกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างเต็มที่แล้ว การบริโภคและการลงทุนกลับชะลอตัวจากภาระหนี้สินภาคประชาชนทำให้มีการบริโภคสินค้าคงทนลดลง โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยและรถยนต์ และปัญหาด้าน Over Capacity ของอุตสาหกรรมทำให้ไม่เกิดการขยายตัวลงทุน นอกจากนี้มีกระแสว่ามีการไหลออกของเงินตราต่างประเทศอย่างรุนแรงจนอาจจะนำไปสู่วิกฤติค่าเงินหยวนได้ หากแต่ข้อมูลด้านเศรษฐกิจของจีนขาดความน่าเชื่อถือทำให้ไม่สามารถยืนยันข้อมูลนี้ได้ และ 2. ภาวะภัยแล้งอย่างรุนแรงที่กำลังประสบอยู่ มีผลโดยตรงต่อเกษตรกรจำนวน 24 ล้านราย ซึ่ง ณ เดือนกุมภาพันธ์พบว่ารายได้ภาคการเกษตร (Farm Income) ลดลง 9.4% และคาดว่าเหตุการณ์จะทวีความรุนแรงขึ้นตามระยะเวลาภัยแล้งที่เพิ่มขึ้น ทั้ง 2 ปัจจัยเสี่ยงนี้จะกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงกว่าที่ประมาณการไว้ หากไม่มีการไหลออกของเงินทุนต่างประเทศจากจากเหตุการณ์หรือความกังวลต่อค่าเงินหยวนแล้ว คาดว่าสภาพคล่องภายในประเทศจะมีเพียงพอ แต่ไม่เหลือเฟือ ด้วยมีการชะลอการบริโภคและการลงทุนทำให้ไม่ต้องการสินเชื่อและเพิ่มเงินออมในระบบ ส่งผลให้สภาพคล่องส่วนเกินของเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มมาอยู่ที่ 1.4 แสนล้านบาท ทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงินน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับปัจจุบัน ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทน่าจะคงได้ไว้ที่ระดับปัจจุบันก่อนที่จะอ่อนค่าลงบ้างในครึ่งหลังของปี สรุปภาวะเศรษฐกิจไตรมาสที่ 1 ปี 2559 ในไตรมาสนี้เห็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจจากการเร่งใช้งบประมาณของรัฐ โดยการใช้จ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 10.3% ในไตรมาสที่ 4 และเพิ่มขึ้น 12.5% และ 10.3% ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทำให้ประมาณการว่าการบริโภคภาคเอกชนของไตรมาสนี้ขยายตัวได้ในระดับดีที่ 1.8% และการลงทุนถาวรขยายตัวได้สูง 4.7% สำหรับภาคต่างประเทศ การส่งออกแม้จะมีการขยายตัวในอัตราติดลบแต่การลดลงของการนำเข้ามีอัตราลดลงที่สูงกว่าทำให้เป็นผลดีต่ออัตราการขยายตัวของ GDP คำนวณว่า Net Exports จะส่งผลให้อัตราการขยายตัวของ GDP เพิ่มขึ้น 0.5% จึงประมาณการว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาพรวมจะอยู่ที่ 3.0% อย่างไรก็ดีการลดลงของการนำเข้าเป็นการลดลงของการนำเข้าวัตถุดิบ(ไม่รวมน้ำมันเชื้อเพลิง)และสินค้าประเภททุนเป็นหลัก ซึ่งจะมีผลกระทบทางลบต่อการผลิตของประเทศในอนาคต ภาคต่างประเทศ (External Sector) ที่ดูดีเชิงตัวเลขนี้ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในไตรมาสที่ 1 จากการเกินดุลการชำระเงิน 1.15 หมื่นล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในสองเดือนแรกของไตรมาส ปัจจัยบวก
ปัจจัยลบ
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจของ 3 ไตรมาสหลังของปี 2559 ภาพเศรษฐกิจของ 3 ไตรมาสหลังจะแตกต่างจากภาพเศรษฐกิจของไตรมาสที่ 4 ปี 2558 และไตรมาสที่ 1 ปี 2559 พอควร เนื่องจาก 1. แรงกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐลดลงจากการติดเพดานการกู้ยืมที่กำหนดในพระราชบัญญัติงบประมาณแผ่นดินปี 2559 2. ภาวะหนี้สินภาคประชาชนที่ก้าวเข้าขั้นวิกฤติ 3. ผลกระทบต่อรายได้ภาคการเกษตรจากภาวะภัยแล้งยืดเยื้อ 4. การชะลอตัวเพิ่มขึ้นของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน นอกจากปัจจัยเศรษฐกิจที่เป็นลบแล้ว เศรษฐกิจของ 3 ไตรมาสหลังนี้ยังประสบความเสี่ยงจากปัจจัยเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจจะเปลี่ยนจากขาขึ้นเป็นขาลง ปัจจัยบวก
ปัจจัยลบ
ปัจจัยเสี่ยง
ตารางสรุปเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
หมายเหตุ : รายงานเศรษฐกิจฉบับนี้เป็นรายงานที่บริษัท ไทยวิจัยและฝึกอบรม จำกัด จัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อกลุ่มทีซีซีเป็นรายไตรมาส
บริษัท ไทยวิจัยและฝึกอบรม จำกัด |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
มาแนะนำตัวบริษัท และ ทีมงาน | ||
![]() |
||
มาแนะนำตัวค่ะ |
||
View All ![]() |
<< | เมษายน 2016 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |