รายงานเศรษฐกิจรายไตรมาส ฉบับที่ 50/2559 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังของปี 2559 Soft Landing หรือ Hard Landing บริษัทไทยวิจัยและฝึกอบรมจำกัด 26 กรกฎาคม 2559
พื้นฐานของเศรษฐกิจไทย (Economic Fundamentals) ยังคงอ่อนแอเหมือนที่ผ่านมาหลายไตรมาส ประการแรก เศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาความต้องการการบริโภคจากนอกประเทศเป็นหลัก ด้วยภาคการส่งออกสินค้าและบริการ (Exports of Goods and Services) มีสัดส่วนกว่า 70% ของ GDP ดังนั้นเศรษฐกิจไทยจึงผันผวนโดยตรงตามภาวะเศรษฐกิจโลก ประการที่สอง ผู้บริโภคส่วนใหญ่ของประเทศมีการออมไม่เพียงพอทำให้ความต้องการการบริโภคภายในประเทศ (Domestic Consumption) ผันแปรตามความสามารถในการกู้ยืมและภาวะสภาพคล่อง ประการสุดท้าย การบริโภคและการลงทุนภาครัฐมีสัดส่วนเพียง 18.5% ของ GDP อีกทั้งเกือบ 80% ของงบประมาณแผ่นดินเป็นงบรายจ่ายประจำ ทำให้ความสามารถในการใช้นโยบายการคลังมีจำกัด ด้วยโครงสร้างเศรษฐกิจที่มีตำหนิดังกล่าว เศรษฐกิจไทยจึงเป็นเศรษฐกิจที่ประสบความผันผวนสูงและยากที่จะเติบโตได้อย่างยั่งยืนหากไม่ได้รับการแก้ปัญหาโครงสร้าง แม้พื้นฐานของเศรษฐกิจไทยยังไม่เอื้อต่อการฟื้นตัว หากไม่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ/การเมืองจากภายนอกประเทศ คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถคงระดับการเติบโตได้ที่ราว 2.5 – 3.0 % ในปี 2559 ตามที่ได้เคยประมาณการในการวิเคราะห์ครั้งก่อนหน้า ซึ่งได้ประมาณการไว้ว่าอัตราการขยายตัวของ GDP เฉลี่ยของปี 2559 จะอยู่ที่ 2.7% ในการวิเคราะห์ครั้งนี้จะคงตัวเลขการประมาณการดังกล่าวไว้เนื่องจากพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยมิได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจากการวิเคราะห์ครั้งก่อน แม้มีการปรับตัวที่ดีขึ้นบ้างของตัวเลขเศรษฐกิจบางตัว เช่นการบริโภคสินค้าคงทนและจำนวนนักท่องเที่ยว แต่เห็นชัดว่าเป็นการปรับตัวชั่วคราวที่เป็นผลจาก Pent-up Demand ของการชะลอตัวการบริโภคสินค้าดังกล่าวหลายไตรมาส การวิเคราะห์ครั้งนี้จะไม่มีเหตุผลอันควรที่จะปรับการประมาณการเศรษฐกิจในภาครวมและรายไตรมาส หากแต่จะมีการปรับตัวเลขเศรษฐกิจของไตรมาสที่ 1 ตามตัวเลขจริงที่ได้ประกาศของสำนักงานคณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติล่าสุด แต่ตัวเลขจริงนี้มีความแตกต่างจากการประมาณการเดิมเพียงเล็กน้อย จึงไม่กระทบการประมาณการอัตราการขยายตัวของ GDP ในภาพเฉลี่ยของปี ตารางสรุปอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจรายไตรมาสปรากฎในตารางที่ 1 ข้างล่างนี้ ตารางที่ 1: การประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจรายไตรมาสของปี 2559 (เปอร์เซ็นต์)
แม้พื้นฐานและแนวโน้มของเศรษฐกิจไทยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่จะมีประเด็นที่จะต้องพึงระวังสำคัญเพิ่มเติมจากการวิเคราะห์ครั้งก่อนหน้าคือความเสี่ยงของปัญหาทางเศรษฐกิจและการเมืองจากภายนอกประเทศ ประเด็นความเสี่ยงที่จะต้องจับตามองคือ (1) วิกฤติเศรษฐกิจของประเทศจีน เศรษฐกิจไทยมีความผูกพันกับเศรษฐกิจจีนอย่างมากทั้งด้านการค้า การท่องเที่ยว และการลงทุน การเปลี่ยนแปลงทั้งทางบวกและทางลบของเศรษฐกิจจีนจะกระทบกับเศรษฐกิจไทยโดยตรง เศรษฐกิจจีนมักถูกมองว่าเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ดังนั้น การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนตามภาวะเศรษฐกิจโลกจึงเป็นไปตามความคาดหมาย ไม่มีอะไรน่ากังวล แต่แท้จริงแล้วการส่งออกสินค้าและบริการมีสัดส่วนเพียง 22% ของ GDP จีน (เคยสูงสุดที่ 40% ของ GDP ในปี 2549) หลังจากวิกฤติการเงินโลกในปี 2550 จีนได้เปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากการพึ่งพาการส่งออก (Export Oriented) เป็นการพึ่งพา Domestic Demand ผ่านการเร่งการลงทุนภาครัฐและการขยายตัวของสินเชื่อภาคเอกชน ซึ่งประมาณการว่ามีการลงทุนจากรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นกว่า 21 ล้านล้านหยวนในช่วงดังกล่าว การกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างรุนแรงท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ผลักให้เศรษฐกิจจีนเข้าสู่ภาวะฟองสบู่ โดยเห็นได้ชัดจากการลดลงของการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization) ที่ลดลงจากระดับ 80% ก่อนมีการกระตุ้นการลงทุน เป็นระดับ 60% ภายในระยะเวลาเพียง 4 ปี (ผลการศึกษาของ IMF ในปี 2555) แทนที่รัฐบาลจีนจะปล่อยให้เศรษฐกิจ Soft Landing ตามที่ควรจะเป็นเพื่อแก้ไขปัญหากำลังการผลิตล้น (Over Capacity) รัฐบาลกลับกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องผ่านการบริโภคภาคเอกชน จนนำไปสู่วิกฤติการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ในเดือนกรกฎาคมของปี 2558 เพื่อพยุงให้ภาคเอกชนของจีนยังบริโภคต่อเนื่อง รัฐบาลจีนสมยอมให้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสินเชื่อส่วนบุคคลนอกระบบที่เรียกว่า Peer to Peer Lending (P2P) ซึ่งเป็นการกู้ยืมผ่านระบบอินเตอร์เนต (On-line Lending) และไม่ได้ถูกควบคุมโดยธนาคารกลาง ด้วยบริษัทดังกล่าวไม่ใช่สถาบันการเงิน แม้จะไม่มีตัวเลขของการปล่อยสินเชื่อประเภทนี้อย่างเป็นทางการ เนื่องจากบริษัทไม่ต้องรายงานตัวเลขและบริษัทประเภทนี้คาดว่ามีกว่า 2 พันบริษัท แต่มีการประมาณโดยสำนักวิจัยท้องถิ่นว่าในปี 2558 ที่ผ่านมามีการปล่อยกู้ผ่านระบบนี้ราว 41 ล้านล้านหยวน หรือเติบโต 13 เท่าในระยะเวลา 4 ปี ซึ่งยอดการปล่อยสินเชื่อประเภทนี้สูงกว่าการปล่อยกู้ในสหรัฐอเมริกาถึง 5 เท่า มีการประมาณการต่อว่าการปล่อยสินเชื่อประเภทนี้ได้เพิ่มขึ้นอีกมากหลังการล่มสลายของตลาดหลักทรัพย์เมื่อเดือนมิถุนายน 2558 เนื่องจากมีการย้ายเงินลงทุนจากตลาดทุนมาสู่ระบบ P2P ที่ให้ผลตอบแทน 9% ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือมีการคาดการณ์ว่าราว 75% ของบริษัทสินเชื่อนอกระบบ P2P ณ ขณะนี้กำลังประสบปัญหาทางการเงินจากภาวะหนี้เสีย จากการวิเคราะห์จะเห็นว่าความเสื่ยงจากฟองสบู่ของเศรษฐกิจจีนเป็นสิ่งที่จะละเลยไม่ได้และมีความเป็นไปได้สูงที่ฟองสบู่จะแตกจนอาจนำไปสู่การไหลของของเงินทุนต่างประเทศอย่างฉับพลัน ความเสี่ยงนี้เป็นผลมาจากการเร่งลงทุนที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจและการกระตุ้นการบริโภคผ่านสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไร้การควบคุม แม้ฟองสบู่จีนจะยังไม่แตกและรัฐบาลจีนยังยืนยันตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ 6.5% แต่นักลงทุนต่างชาติเริ่มกังวลอย่างเห็นได้ชัด โดยในปี 2558 มีการไหลออกของเงินทุนสูงถึง 8 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ ณ เดือนมิถุนายน 2559 ประเทศจีนมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงเหลือ 3.21 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ จากที่เคยมีเงินทุนสำรองถึง 3.99 ล้านล้านหยวนในเดือนมิถุนายน 2556 (2) วิกฤติการเงินในประชาคมเศรษฐกิจยุโรป จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจยุโรปต่อเนื่องตั้งแต่วิกฤติการเงินโลกปี ค.ศ. 2007 ส่งผลให้ปัญหาหนี้เสียของธนาคารพาณิชย์ในประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเพิ่มพูนขึ้นจนใกล้ขั้นวิกฤติ เหตุการณ์นี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะประเทศที่ประสบภาวะวิกฤติแล้ว เช่น ประเทศไอซ์แลนด์ ประเทศกรีซและประเทศสเปน ประเทศที่กำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤติคือประเทศอิตาลี (อิตาลีมีขนาดของเศรษฐกิจอันดับที่ 8 ของโลก และอันดับที่ 3 ของยุโรปหากไม่นับรวมสหราชอาณาจักรอังกฤษ) ที่ระบบธนาคารพาณิชย์มีหนี้เสียกว่า 17% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ที่น่าเป็นห่วงคือธนาคารพาณิชย์ของอิตาลีได้ขายตราสารหนี้ด้อยสิทธิ์ (Sub-ordinated bonds) ให้แก่ประชาชนเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การล่มสลายของระบบธนาคารพาณิชย์จะกระทบผู้บริโภคเป็นวงกว้าง และอาจเป็นชนวนของวิกฤติการเงินโลกรอบใหม่ นอกจากปัญหาของธนาคารพาณิชย์ในอิตาลีแล้ว ยังมีข่าวลือเป็นระยะๆ ของปัญหาการขาดทุนระดับเดียวกับ Lehman Brothers จากการลงทุนของธนาคารพาณิชย์หลักของประเทศเยอรมันนีคือ Deutsche Bank ความเสี่ยงนี้แม้ค่อนข้างจะชัดเจน แต่เชื่อว่าธนาคารกลางยุโรปจะเข้าช่วยเหลือสถาบันการเงินที่มีปัญหา โดยคาดว่าจะเพิ่มทุนให้ธนาคารพาณิชย์ที่ประสบปัญหาเหล่านี้ที่ต้องการเงินทุนรวมกันประมาณ 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ดี ความคิดเห็นนี้เป็นความเชื่อก่อนที่จะทราบผลการลงคะแนนเสียงออกจากสมาชิกภาพประชาคมเศรษฐกิจยุโรปของประเทศอังกฤษ ทำให้เป็นที่แน่นอนว่าอังกฤษจะไม่รับภาระการเข้าเพิ่มทุนของสถาบันการเงินยุโรป เมื่อประเทศอังกฤษที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับที่ 2 ของยุโรปไม่ร่วมเข้าช่วยเหลือ และอาจมีผลให้สมาชิกของ EU บางประเทศ โดยเฉพาะสมาชิกประเทศในแถบสแกนดิเนเวียนไม่ต้องการรับภาระนี้เช่นกัน (3) การล่มสลายของประชาคมเศรษฐกิจยุโรป การลงคะแนนเสียงออกจากการเป็นสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (BritExit) ของสหราชอาณาจักรอังกฤษในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นอกจากจะมีผลให้เศรษฐกิจของอังกฤษและสหภาพยุโรปชะลอตัวในระยะสั้นแล้ว เนื่องจากขาดความชัดเจนในการปรับตัวของอังกฤษและผลกระทบจริงต่อเศรษฐกิจยุโรป ยังจะเกิดคำถามถึงความเป็นไปได้ของการล่มสลายของสหภาพยุโรปจากการออกจากสมาชิกภาพของประเทศสมาชิกอื่น เช่น เดนมาร์ก กรีซ สเปน และอาจจะรวมถึงอิตาลีหากประเทศเข้าสู่วิกฤติการเงิน ซึ่ง European Union (EU) อาจจะเปลี่ยนสภาพจาก Single Market Economy ไปเป็นกลุ่มการค้าหรือ Common Market ตามรูปแบบของ European Economic Community (EEC) การเปลี่ยนสภาพของประชาคมเศรษฐกิจยุโรปจะมีผลอย่างรุนแรงต่อการเคลื่อนไหวของเงินทุนต่างประเทศด้วยเงินยูโรจะหมดสภาพของการเป็นเงินสกุลหลักของโลก ทำให้เงินทุนต้องเคลื่อนย้ายไปหา Safe Haven และ Safe Assets การเคลื่อนไหวของเงินทุนขนาดมหาศาลระหว่างประเทศนี้จะทำให้เกิดความปั่นป่วนต่อตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลกในระดับที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ความเสี่ยงของการสลายตัวของประชาคมเศรษฐกิจยุโรปนี้จะยังขาดความชัดเจน แต่ปัญหาการก่อการร้ายที่ทวีความรุนแรงและกระจายไปสู่ประเทศสมาชิกอาจมีผลสำคัญที่จะกระตุ้นให้หลายประเทศพิจารณาการออกจากการเป็นสมาชิกภาพเพื่อลดแรงกดดันของการรับผู้อพยพจากตะวันออกกลาง (4) ความเสี่ยงของ Liquidity Overhang จากการที่ธนาคารกลางของหลายประเทศเศรษฐกิจหลักของโลกได้ทำการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ระบบการเงินเป็นจำนวนเงินมหาศาล โดยมุ่งหวังที่จะกระตุ้นการบริโภคและการลงทุน แต่สภาพคล่องจำนวนมหาศาลนี้กลับมิได้ถูกนำไปลงทุนในภาคการผลิตที่เป็น Productive Sector ตามที่คาดหวังทางทฤษฎี แต่กลับถูกนำไปใช้ใน Non-Productive Sector เช่น ภาคอสังหาริมทรัพย์และการเก็งกำไรในสินทรัพย์เสี่ยง โดยจะเห็นได้ว่าภาคการผลิตของโลกแทบไม่มีการเคลื่อนไหว ดัชนีการผลิตสินค้าโลก (Final Products Industrial Production Index) ของเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา คงที่ที่ระดับ 100.1 ซึ่งเป็นระดับเดียวกับค่าเฉลี่ยการผลิตของปีคศ. 2012 และ World Capacity Utilization อยู่ที่ระดับ 74.9% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระหว่างปี คศ. 1972-2015 ที่อยู่ระดับ 80% สภาพคล่องที่ถูกนำมาใช้อย่างผิดวัตถุประสงค์นี้ทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์ ความเสี่ยงทั้ง 4 ประการที่กล่าวมาทำให้การคาดการณ์แนวโน้มของเศรษฐกิจไทยอย่างแม่นยำเป็นไปได้ยาก ด้วยไม่ว่าความเสี่ยงใดเป็นจริงขึ้นมา เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจาก (1) การไหลออกของเงินทุนต่างประเทศ ซึ่ง ณ สิ้นเดือนมิถุนายนต่างชาติถือครองตราสารหนี้ไทย 7.2 แสนล้านบาท ซึ่งสูงกว่าสภาพคล่องส่วนเกิน (Excess Liquidity) ที่มีอยู่ในระบบเพียง 5 หมื่นล้านบาทหลายเท่า (2) การลดลงของการส่งออกสินค้าจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก และ (3) การลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะจากประเทศจีนและยุโรป ซึ่งในไตรมาส 1 ที่ผ่าน การเพิ่มขึ้นของรายได้จากภาคบริการที่ขยายตัวถึง 18.8%เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้เกิน 3% ในไตรมาสดังกล่าว การวิเคราะห์ครั้งนี้ตั้งสมมุติฐานว่าความเสี่ยงทั้ง 4 ประการไม่เกิดขึ้น และเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวแบบ Soft Landing ทำให้แนวโน้มของเศรษฐกิจไทยชะลอตัวตามการวิเคราะห์ในครั้งก่อนหน้า กล่าวคือมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจรายไตรมาสตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ 2.8%, 2.6% และ 2.3% ตามลำดับ และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยทั้งปีที่ 2.7% ปัจจัยบวก
ปัจจัยลบ
ตารางสรุปเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
หมายเหตุ : รายงานเศรษฐกิจฉบับนี้เป็นรายงานที่บริษัท ไทยวิจัยและฝึกอบรม จำกัด จัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อกลุ่มทีซีซีเป็นรายไตรมาส
บริษัท ไทยวิจัยและฝึกอบรม จำกัด
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
มาแนะนำตัวบริษัท และ ทีมงาน | ||
![]() |
||
มาแนะนำตัวค่ะ |
||
View All ![]() |
<< | สิงหาคม 2016 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 |