รายงานเศรษฐกิจรายไตรมาส ฉบับที่ 52/2560 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2560 บริษัทไทยวิจัยและฝึกอบรมจำกัด 30 มกราคม 2560
ประเด็นปัญหา อุปสรรค และความเสี่ยงที่ท้าทายเศรษฐกิจไทยในปี 2560 ไม่แตกต่างกับประเด็นปัญหาของปี 2559 หากแต่มีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้น ประเด็นดังกล่าวแยกได้ 3 ประเด็นหลักคือ (1) ความผันผวนอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจไทยที่เป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกในสัดส่วนที่สูง (2) ความอ่อนแอของกำลังซื้อภายในประเทศจากภาระหนี้สินภาคครัวเรือนที่กระทบต่อการบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption) และ (3) การขาดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะนโยบายด้านการเงินและด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่มุ่งเน้นไปที่การรักษาเสถียรภาพมากกว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( IMF) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากอัตราการขยายตัว 3.1% ในปีก่อนหน้า เป็น 3.4% ในปีนี้ การขยายตัวที่เพิ่มขึ้นจะเป็นผลจากการเร่งการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศจีนที่ได้รับการกระตุ้นอย่างรุนแรงจากรัฐบาล ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศ Emerging Markets อื่น เช่น ประเทศอินเดียและประเทศแถบละตินอเมริกาจะมีอัตราการขยายตัวต่ำกว่าปี 2559 แต่สำนักวิจัยหลายสำนักกลับมีความเห็นตรงข้ามว่าเศรษฐกิจประเทศจีนในปี 2560 จะชะลอตัวเพิ่มขึ้น โดยจะมีอัตราการขยายตัว 6.3-6.5% เทียบกับอัตราการขยายตัว 6.7% ของปี 2559 เนื่องจากปัญหาฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ ภาระหนี้สินภาคเอกชน การส่งออกที่ชะลอตัว และการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อลด Excess Capacity ดังนั้นหากเศรษฐกิจประเทศจีนมิได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นดังที่ IMF คาดการณ์ เศรษฐกิจโลกในปี 2560 ย่อมจะชะลอตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลลบต่อให้การส่งออกของไทย ปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย ด้วยการบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption) มีสัดส่วนถึง 51.6% ของ GDP การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะเป็นไปได้ยากหากปัญหานี้ไม่ได้รับการเยียวยา จากการสำรวจของธนาคารแห่งประเทศไทยและศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทยพบว่าสัดส่วนของภาระหนี้สินภาคครัวเรือนต่อ GDP ในไตรมาสที่ 2 ปี 2559 อยู่ที่ 81.3% มียอดกู้ยืมเฉลี่ย 544,074 บาทต่อราย และมีหนี้ค้างชำระ 16.4% ของหนี้ทั้งหมด (อัตราส่วนดังกล่าวเป็นการคำนวณจากมูลหนี้ภาคครัวเรือนเฉพาะที่อยู่ในระบบสถาบันการเงิน ซึ่งพบว่าในระบบสถาบันการเงินมีผู้กู้ยืมภาคครัวเรือนเพียง 24% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ดังนั้นหากรวมภาระหนี้ภาคครัวเรือนนอกระบบสถาบันการเงิน ภาระหนี้สินภาคครัวเรือนที่แท้จริงจะสูงกว่าตัวเลขทางการมาก) ผลกระทบของภาระหนี้สินภาคประชาชนเห็นได้ชัดจากการลดลงอย่างต่อเนื่องของการบริโภคสินค้าคงทน (Durable Goods) ซึ่ง ณ เดือนพฤศจิกายนมีการบริโภคลดลงถึง 3.85% ทั้งๆ ที่การบริโภคในภาพรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นราว 3% ที่สำคัญคือมูลหนี้ภาคครัวเรือนเฉพาะที่อยู่ในระบบที่สูงถึง 8.7 ล้านล้านบาท ทำให้การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลังแบบปกติเป็นไปได้ลำบาก เพราะเพียงเพื่อชดเชยการชำระคืนหนี้เงินต้นและภาระอัตราดอกเบี้ย จำเป็นต้องใช้เม็ดเงินกว่า 1 ล้านล้านบาทต่อปี ในปี 2560 มีการคาดหวังสูงต่อผลกระทบของการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลัง แต่การจัดทำงบประมาณปี 2560 เป็นการจัดทำงบประมาณแบบทรงตัว ( Neutral Stance) มิใช่แบบขยายตัว (Expansionary Stance) ด้วยมีการขาดดุลงบประมาณเท่ากับปีก่อนหน้าที่ 3.9 แสนล้านบาท ที่สำคัญคืองบลงทุน 5.46 แสนล้านบาทนั้นเพิ่มขึ้นจากงบประมาณปีก่อนหน้าเพียง 0.4% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำกว่าการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่ 1.0% จึงสามารถสรุปได้ว่านโยบายการคลังจะไม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสำหรับปี 2560 ในขณะที่นโยบายการคลังมีผล Neutral นโยบายการเงินสำหรับปี 2560 ก็คาดว่าจะมีผล Neutral หรือไม่การเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน โดยในปี 2559 ที่ผ่านมาคณะกรรมการนโยบายการเงินมิได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายแต่อย่างใดแม้เศรษฐกิจจะชะลอตัว ด้วยธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญต่อการรักษาเสถียรภาพด้านราคา (Inflation Targeting) เป็นหลัก สำหรับปี 2560 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คาดการณ์ว่า Core Inflation ของปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.0% จาก 0.8% ของปีก่อนหน้า ทำให้ค่อนข้างมั่นใจได้ว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเพื่อรักษาเสถียรภาพของระดับราคา นโยบายสุดท้ายที่สำคัญอย่างยิ่งยวดต่อเศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกอย่างประเทศไทยคือนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน แต่เช่นเดียวกับนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยถือนโยบาย Neutral Stance ที่จะรักษาเสถียรภาพด้านอัตราแลกเปลี่ยน โดยไม่เน้นการใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นภาคการส่งออกสินค้าและบริการ โดยจะเห็นได้ว่าทั้ง Nominal Effective Exchange Rates (NEER) และ Real Effective Exchange Rates (REER) ที่เป็นดัชนีวัดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่ออัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลประเทศคู่ค้าต่างๆ ค่อนข้างคงที่ตลอดทั้งปี 2559 โดยที่ REER ของเดือนพฤศจิกายน 2559 อยู่ที่ระดับ 101.01 ซึ่งแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับ 100.87 ของสิ้นปี 2558 แม้ว่าการส่งออกของไทยจะมีอัตราการขยายตัวติดลบ ซึ่งต่างกับหลายประเทศที่พึ่งพาการส่งออกหลายประเทศที่มีการปรับลดอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อกระตุ้นการส่งออก เช่น ประเทศญี่ปุ่นและประเทศมาเลเซีย จากนโยบายที่อนุรักษ์นิยมเช่นนี้ คาดได้ว่าจะไม่มีการใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้เช่นกัน จาก 3 ประเด็นข้างต้น สรุปได้ว่าไม่มีการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญในปี 2560 และไม่มีการใช้นโยบายกระตุ้นนโยบายเศรษฐกิจเพิ่มเติม ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2560 จะเคลื่อนไหวในทิศทางใกล้เคียงกับปี 2559 โดยมีอัตราการขยายตัวรายไตรมาสที่ 3.1%, 2.9%, 2.8%, และ 3.2% ตามลำดับ (ตารางที่ 1) ทำให้มีอัตราเติบโตเฉลี่ยของทั้งปีที่ 3.0% ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยของปี 2559 ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่จะต้องเฝ้าระวังในปี 2560 คือการเคลื่อนไหวของตลาดแรงงานที่ได้เริ่มเห็นการปิดกิจการของหลายธุรกิจและการปรับลดการจ้างงานตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวต่อเนื่องหลายปี ตามทฤษฎีแล้วกลไกของระบบเศรษฐกิจตลาด (Market Economy) จะประกอบด้วย 3 ตลาดด้วยกันคือ ตลาดเงิน (Financial Market) ตลาดการผลิต (Production Market) และตลาดแรงงาน (Labor Market) การเกิดปัญหาเศรษฐกิจจะไล่เรียงไปตามลำดับของตลาด ซึ่งในทางปฎิบัติการแก้ไขปัญหาของตลาดการเงินจะไม่ยาก สามารถใช้นโยบายการเงินและการคลังแก้ไขได้โดยสะดวก ที่สำคัญคือวิกฤติในภาคการเงินจะมีผลระยะสั้น เช่น วิกฤติการเงินของประเทศไทยในปี 2540 และวิกฤติการเงิน Lehman Brothers ในปี 2551 การแก้ไขปัญหาของตลาดการผลิตจะยากกว่าและยาวนานกว่า ด้วยจำเป็นจะต้องปรับโครงสร้างการผลิต ดังนั้นนโยบายการเงินและการคลังโดยตรงจะไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา แต่ที่แก้ปัญหาได้ยากที่สุดคือการปัญหาในตลาดแรงงาน ด้วยมีความซับซ้อนทั้งประเด็นเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม อีกทั้งใช้ระยะเวลายาวในการแก้ไข ซึ่งทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์ทั่วไปจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ โดยจะเห็นได้ว่าทุกประเทศที่พัฒนาแล้วได้ใช้นโยบายการเงิน การคลัง และอัตราแลกเปลี่ยนอย่างแรงเพื่อป้องกันมิให้ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจขยายเข้าสู่ตลาดการผลิตและตลาดแรงงาน อาทิเช่น ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์จาก Inflation Targeting เป็น Unemployment Rate Targeting เพื่อปรับอัตราการว่างงานให้ต่ำกว่า 2% ที่ถือว่าเป็นระดับปกติตามทฤษฎี (Natural Rate of Unemployment) ส่วนประเทศจีนที่ได้ใช้นโยบายการเงินและการคลังเต็มที่แล้ว หันมาให้ความสำคัญต่อการปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อลดปัญหา Excess Capacity ก่อนที่ปัญหาจะรุกลามเข้าสู่ตลาดแรงงาน ตารางที่ 1: การประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจรายไตรมาสของปี 2560 (เปอร์เซ็นต์)
ปัจจัยเสี่ยงอีกประการสำหรับปี 2560 คือการเปลี่ยนแปลงในนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจากประธานาธิบดี Donald Trump ที่พึ่งเข้ารับตำแหน่งและมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ซึ่งมีการคาดเดาว่าจะเป็นนโยบายเศรษฐกิจแบบขยายตัว (Expansionary Economic Policies) ผ่านนโยบายการคลัง การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และนโยบายปกป้องเศรษฐกิจภายในประเทศจากการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม อย่างไรก็ดีนโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดี Trump ยังขาดความชัดเจนและอาจไม่สามารถนำมาปฎิบัติได้ตามต้องการ อาทิเช่น ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่เห็นด้วยกับการใช้นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะนี้กำลังมีภาวะการว่างงานที่พอเหมาะและมีความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ ส่วนนโยบายการกีดกัดการค้าของ Trump ยังขาดความเห็นชอบจากอีกหลายฝ่ายและติดขัดสนธิสัญญาการค้าระหว่างประเทศหลายฉบับ ประเด็นที่น่าเป็นห่วงสำหรับเศรษฐกิจไทยมิใช่การเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจรายปี ซึ่งหากไม่เกิดวิกฤติภายนอกและภายในประเทศ เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ราว 3.0% ในระยะสั้นจากแรงส่ง (Momentum) ที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ แต่เป็นการถดถอยของประสิทธิภาพการผลิตและการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติจากประเทศไทย ด้วยเศรษฐกิจกำลังสูญเสียความสามารถในการแข่งขันจาก (1) ต้นทุนการผลิตที่สุงกว่าประเทศคู่แข่ง เช่น ประเทศเวียดนาม ประเทศพม่า ประเทศกัมพูชา (2) ขาดตลาดการบริโภคภายในประเทศที่กำลังขยายตัวและมีขนาดใหญ่ เช่น ประเทศอินโดเนเซียและประเทศเวียดนาม (รวมถึงประเทศพม่าด้วย) และ (3) ไม่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตผ่านการลงทุน การลงทุนอย่างต่อเนื่อง การลงทุนของภาคธุรกิจเอกชนเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะรักษา (Maintenance) และการปรับปรุง (Upgrade) ประสิทธิภาพการผลิต แต่ประเทศไทยกลับมีการขยายตัวของการลงทุนติดลบต่อเนื่องหลายปี โดยในปี 2559 ดัชนีการลงทุน (Private Investment Index) ลดลง 1.3% การคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสำหรับปี 2560 เป็นแบบ Benefit of the Doubt คือไม่นำปัจจัยเสี่ยงมาพิจารณา ซึ่งเป็นหลักการเดียวที่ใช้ในการคาดการณ์ของหลายสำนักวิจัย รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ที่พบว่าเศรษฐกิจไทยไม่มีปัจจัยบวกในปี 2560 จึงล้วนคาดการณ์ว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2560 จะคงที่หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2559 เล็กน้อย แต่ในความเป็นจริง การที่ไม่มีปัจจัยบวก พื้นฐานของเศรษฐกิจจะอ่อนแอไปเรื่อยๆ จนอาจเกิดวิกฤติตลาดแรงงาน ตามทฤษฎี 3 ตลาดที่กล่าวมา ดังนั้นการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะยังสามารถขยายตัวได้ตาม momentum อาจจะเป็นการคาดหวังที่สูงเกินไป เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 2559 การเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจในไตรมาสนี้เป็นไปตามแนวโน้มของไตรมาสก่อนหน้า กล่าวคือการบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวในระดับต่ำจากภาระหนี้สินภาคครัวเรือน ทำให้ไม่สามารถกู้ยืมเพื่อการบริโภคได้เต็มที่ การขยายตัวของสินเชื่อจึงลดลงเหลือ 3.7% ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งสอดคล้องกับการชะลอตัวของการขยายตัวของเม็ดเงิน (Broad Money) ในระบบที่บ่งชี้ถึงธุรกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัว หากแต่ไตรมาสนี้ได้รับอานิสงค์จากการขยายตัวของการส่งออก โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศจีน ซึ่งคาดว่าเป็นการปรับตัวชั่วคราวตามฤดูกาล (Seasonal Adjustments) อาทิเช่นการ Restocking มีผลให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 นี้สูงกว่าของไตรมาสก่อนหน้า ประมาณการว่าอัตราการขยายตัวของ GDP ในไตรมาสนี้อยู่ที่ 3.2% และทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยของปี 2559 อยู่ที่ 3.0% ปัจจัยบวก
เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ปี 2560 แม้การบริโภคภาคเอกชนจะยังอ่อนแออยู่จากภาระหนี้สิน แต่ภาคการผลิตคาดว่าจะสามารถขยายตัวอยู่ได้จากการผลิตสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นหลังจากที่มีการใช้สินค้าคงคลังจำนวนมากในปี 2559 ส่วนภาคการส่งออกคาดว่าจะกลับมาชะลอตัวเหมือนเดิม โดยจะมีอัตราการขยายตัวลดลงเหลือ 0.3% หลังจากปัจจัยด้านฤดูกาลหมดลง ที่ยังน่าเป็นกังวลคือการลงทุนภาคเอกชนที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวติดลบ 2.2% ในไตรมาสนี้ จากการใช้กำลังการผลิตต่ำกว่าระดับ 70% ทำให้ในภาพรวมของเศรษฐกิจ ไตรมาสที่ 1 คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวของ GDP ที่ 3.1% ปัจจัยบวก
ปัจจัยลบ
ปัจจัยเสี่ยง
เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจหลัก
หมายเหตุ : รายงานเศรษฐกิจฉบับนี้เป็นรายงานที่บริษัท ไทยวิจัยและฝึกอบรม จำกัด จัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อกลุ่มทีซีซีเป็นรายไตรมาส
บริษัท ไทยวิจัยและฝึกอบรม จำกัด |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
มาแนะนำตัวบริษัท และ ทีมงาน | ||
![]() |
||
มาแนะนำตัวค่ะ |
||
View All ![]() |
<< | กุมภาพันธ์ 2017 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 |