รายงานเศรษฐกิจรายไตรมาส ฉบับที่ 54/2560 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังของปี 2560 บริษัท ไทยวิจัยและฝึกอบรม จำกัด 25 กรกฎาคม 2560
เศรษฐกิจไทยยังขาดแรงกระตุ้นเพิ่มเติม อีกทั้งปัญหาพื้นฐาน คือ ภาระหนี้สินภาคประชาชนและการชะลอตัวของการลงทุนภาคเอกชนยังมิได้มีการแก้ไข หากแต่อัตราการขยายตัวของ GDP ในไตรมาสที่ 1 กลับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 3.3% โดยเฉพาะในหมวดการบริโภคภาคเอกชนและหมวดการส่งออกที่มีอัตราการขยายตัวในระดับที่ดีที่ 3.2% และ 2.7% ตามลำดับ ที่สำคัญ คือ ตัวเลขเศรษฐกิจยังขยายตัวต่อเนื่องในเดือนเมษายนและพฤษภาคม โดยที่ดัชนี Private Consumption Indicator (PCI) ขยายตัว 1.9% และ 2.4% และการส่งออก(ดอลลาร์สหรัฐ)ขยายตัวถึง 5.6% และ 10.6% ในสองเดือนที่กล่าวมา ที่เป็นประเด็นที่สุดคือการขยายตัวของดัชนีการบริโภคสินค้าคงทน (Durable Index) ซึ่งเป็นดัชนีหลักที่ชี้ถึงความมั่นใจของผู้บริโภคในระยะยาวสามารถขยายตัวได้ 11.9% และ 3.7% ในเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมาเช่นกัน (ในไตรมาสที่ 1 Durable Index นี้ขยายตัว 11.1%) ตัวเลขทางเศรษฐกิจเหล่านี้ชีชัดว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้วและกำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีเสถียรภาพแล้วหรือไม่? ที่จริงแล้วคำถามข้างต้นจะไม่เกิดหากสภาพเศรษฐกิจจริงไม่ขัดแย้งกับตัวเลขทางเศรษฐกิจ เพราะในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศโดยภาครัฐและหน่วยงานของภาครัฐดีขึ้นเรื่อยๆ ภาวะเศรษฐกิจรอบตัวผู้บริโภคกลับบ่งชี้ในทางตรงข้าม อาทิเช่น การชะลอตัวในภาคอสังหาริมทรัพย์ กิจการที่ทยอยปิดตัวอย่างต่อเนื่อง ความสามารถในการชำระหนี้ที่ลดลง ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน จำนวนผู้คนที่มาจับจ่ายใช้สอยในแหล่งการค้าตั้งแต่ตลาดสดจนถึงห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และเสียงบ่นของ ผู้ประกอบการในทุกระดับ ทำให้เกิดคำถามถึงสภาพที่แท้จริงของเศรษฐกิจไทย(และความน่าเชื่อถือของตัวเลขเศรษฐกิจของรัฐ) ที่สำคัญคือแนวโน้มของเศรษฐกิจไทยจะเป็นไปในทิศทางใดในครึ่งปีหลังของปี 2560 และหลังจากนั้น ก่อนที่จะตอบคำถามดังกล่าวได้ นักเศรษฐศาสตร์ต้องพิจารณา 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน โดยปกติแล้วเศรษฐกิจที่มีการบริโภคและการส่งออกเพิ่มขึ้น(อุปสงค์) เศรษฐกิจจำเป็นจะต้องมีการผลิตหรือการนำเข้าเพิ่มขึ้น (อุปทาน) มิฉะนั้นจะเกิดการขาดแคลนสินค้าในระบบ ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ประเด็นที่สองคือแหล่งเงินทุนที่นำมาบริโภคเพื่อจะได้พิจารณาถึงสาเหตุและความต่อเนื่องของการบริโภค ข้อมูลสำหรับประเด็นแรกปรากฎในตารางที่ 1 ตารางที่ 1: ความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทาน (Demand and Supply Unbalance) ปี 2560 (% เพิ่มจากเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า)
*การแบ่งแยกหมวดสินค้าระหว่างภาคการส่งออกและภาคการผลิต (Manufacturing Production Index) แตกต่างกันบ้าง ตัวเลขที่นำมาเปรียบเทียบจึงมาจากหมวดหมู่ที่ใกล้เคียงกัน ตารางที่ 1 แสดงถึงความไม่สมดุลระหว่างการส่งออก(อุปสงค์) และการผลิต(อุปทาน) ในแทบทุกหมวดการผลิตที่สำคัญ โดยอัตราการขยายตัวของการส่งออกจะสูงกว่าอัตราการขยายตัวของการผลิตสินค้าประเภทเดียวกันภายในประเทศมาก (ยกเว้นหมวดวงจร อิเลคโทรนิคส์ที่มีอัตราการการขยายตัวใกล้เคียงกัน) ซึ่งความไม่สมดุลระหว่าง Demand และ Supply นี้เป็นความไม่สมดุลต่อเนื่องตั้งแต่ ไตรมาสที่ 1 มิใช่เป็นการผันผวนของตัวเลขรายเดือน ทำให้อุปมานได้ว่าการขยายตัวของการส่งออกมิได้เกิดความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจโลกขยายตัว และ/หรือมีการทำการตลาดเพื่อการส่งออกที่เข้มแข็งขึ้น และ/หรือมีการปรับลดของอัตราแลกเปลี่ยน ฯลฯ แต่เป็นความจำเป็นของการอยู่รอด ทางธุรกิจที่จำต้องส่งออกสินค้าเพื่อทดแทนการหดตัวของการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งภาวะดังกล่าวสะท้อนในตัวเลขการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing Capacity Utilization Index) ที่คงที่ที่ระดับ 60% ตั้งแต่กลางปี 2559 โดยมีการใช้กำลังการผลิตที่ 59.8%, 60.3% และ 60.6% ในไตรมาสที่ 1, เดือนเมษายน และเดือนพฤษภาคม ของปีนี้ และสอดคล้องกับการหดตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่มีอัตราการขยายตัวของดัชนีเครื่องชี้วัดการลงทุนภาคเอกชน (Private Investment Indicator: PII) ที่ -0.9%, -0.4% และ -0.5% ในช่วงเวลาเดียวกัน ตารางที่ 2: อัตราการขยายตัวของดัชนีการบริโภคประเภทต่างๆ (% เพิ่มจากเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า)
ตารางที่ 2 เสนอภาพของเศรษฐกิจไทยที่สอดคล้องกับตารางที่ 1 และสอดคล้องกับการวิเคราะห์ภาพเศรษฐกิจในครั้งก่อนหน้า กล่าวคือภาคการบริโภคภายในประเทศอ่อนแออย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน โดยเห็นได้ชัดว่าการบริโภคสินค้า Non-Durable และสินค้า Semi-Durable ซึ่งเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันลดลง แต่เหตุที่ดัชนีการบริโภคในภาพรวม (PCI) ที่ยังผลต่อผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) มีการขยายตัวในระดับที่ดีเกิดจากการบริโภคสินค้าคงทน (Durable) ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีพ คาดว่าเหตุที่สินค้าประเภทนี้มีการบริโภคเพิ่มขึ้นเพราะผู้บริโภคมีรายได้”พิเศษ” หรือที่เรียกว่า Windfall รายได้พิเศษ ดังกล่าวคือรายได้ภาคการเกษตรที่ได้รับผลดีทั้งการขยายตัวของปริมาณการผลิตและราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะราคายางพารา (ราคายางแผ่นดิบชั้น 3) ที่เพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ย 48.81 บาทต่อกิโลกรัมในไตรมาสที่ 4 ของปีก่อนหน้า เป็น 76.09 บาท/กก และ 69.17 บาท/กก ในไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปีนี้ตามลำดับ ส่วนดัชนีการบริโภคภาคบริการ (Service)ได้รับผลบวกจากทั้งรายได้ที่เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษและการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวที่ขยายตัว 7.0% และ 4.6% ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม เมื่อพิจารณาในทุกมิติแล้ว เศรษฐกิจไทยมิได้ขยายตัวบนพื้นฐานของความแข็งแกร่ง แต่เป็นการขยายตัวชั่วคราวจากปัจจัยเฉพาะกิจคือ Windfall Income ที่มาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณผลผลิตการเกษตรและราคาสินค้าเกษตร ทำให้การบริโภคบิดเบี้ยวไปสู่สินค้าคงทนและสินค้าหมวดการบริการ ในพื้นฐานแล้ว สภาพเศรษฐกิจจริงกลับอ่อนแอเพิ่มขึ้นตามที่ได้เคยวิเคราะห์ไว้ พิจารณาได้จากการ หดตัวที่สูงขึ้นของสินค้าจำเป็น (Non-Durable และ Semi-Durable) และการไม่ขยายกำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งถูกกดดันให้ส่งออกสินค้าเพื่อทดแทนตลาดภายในประเทศ
สำหรับแนวโน้มในครึ่งหลังของปี 2560 มีประเด็นที่จะต้องพิจารณา 2 ประเด็น คือ
สำหรับประเด็นแรกสามารถตอบได้โดยง่าย เนื่องจากราคาพืชผลได้กลับมาสู่ในระดับที่ต่ำ โดยที่ราคายางแผ่นชั้น 3 มีราคาต่ำกว่ากิโลกรัมละ 50 บาทในเดือนกรกฎาคม อีกทั้งปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ทำให้ Windfall Factor หมดสิ้น ส่งผลให้การบริโภคในภาพรวมคาดว่าจะชะลอตัวอย่างรวดเร็วในครึ่งหลังของปี ซึ่งสัญญาการชะลอตัวของการบริโภคสินค้าคงทนนี้ได้เกิดขึ้นแล้วในเดือนพฤษภาคม ส่วนประเด็นที่ 2 เชื่อว่าแนวโน้มของการส่งออกจะอยู่ในอัตราการขยายตัวที่ใกล้เคียงกับครึ่งปีแล้วเนื่องจากผู้ผลิตยังจำเป็นที่จะต้องส่งออกสินค้าเพื่อทดแทนการ หดตัวของการบริโภคภายในประเทศ ตารางที่ 3: การประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจรายไตรมาสของปี 2560 (เปอร์เซ็นต์)
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา ได้มีการปรับการประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยสำหรับครึ่งแรกของปีเนื่องจาก Windfall Factor แต่ยังคงการประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังเหมือนการวิเคราะห์ครั้งก่อนหน้า ทำให้การประมาณการอัตราการเติบโตราย ไตรมาสของปี 2560 อยู่ที่ 3.3%, 3.4%, 2.5% และ 2.7% ตามที่ปรากฎในตารางที่ 3 และอัตราการเติบโตเฉลี่ยของGDP ทั้งปีอยู่ที่ 3.0% อย่างไรก็ดี การประมาณการนี้มิได้นำปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญมาพิจารณานั่นคือการออกพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย.2560 แม้จะมีการผ่อนปรนการบังคับใช้ไปจนถึงต้นปี 2561 แต่ พระราชกำหนดนี้ได้มีผลกระทบแล้วอย่างวงกว้างคือ 1. ทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานต่างด้าวชั่วคราว 2. ทำให้ต้นทุนแรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้นอย่างถาวร ด้วยแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายจะได้รับค่าจ้างเท่าแรงงานไทยและได้รับสวัดสิการเทียบเท่ากับแรงงานไทย ซึ่งต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้นนี้จะทำให้หลายกิจการไม่สามารถแข่งขันต่อไปได้และอาจนำไปสู่การปิดกิจการ
เศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปี 2560 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ได้รับผบกระทบทางบวก 2 ด้านคือ ด้านการบริโภคสินค้าคงทนที่ได้อธิบายแล้ว และด้าน ตัวเลขการใช้สินค้าคงคลัง ซึ่งมีผลทางเทคนิคต่อตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 1 ของปีก่อนหน้ามีการใช้สินค้า คงคลังสูงถึง 205,292 ล้านบาท แต่ในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้มีการใช้สินค้าคงคลังลดลงเหลือ 69,685 ล้านบาท อาจเป็นเพราะไม่มีสินค้าคงคลังเหลือให้ใช้มากเนื่องจากไม่ได้มีการผลิตสินค้าเพิ่ม แต่การเปลี่ยนแปลงในตัวเลขสินค้าคงคลังมีผลกระทบต่อตัวเลข GDP อย่างรุนแรง เพราะหากถอดผลกระทบจากสินค้าคงคลัง (Change in Inventories) ตัวเลขอัตราการขยายตัวของ GDP ในไตรมาสแรกจะติดลบ 0.4% ซึ่งนั่นคือสภาพที่แท้จริงของเศรษฐกิจ ปัจจัยบวก
ปัจจัยลบ
เศรษฐกิจในครึ่งหลังของปี 2560 เศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัดในครึ่งหลังของปีจาก 3 เหตุผลหลักคือ 1. Windfall ด้านราคาและปริมาณสินค้าเกษตรได้จบสิ้น ในทางกลับกัน ราคาสินค้าเกษตรจะอยู่ในระดับที่ไม่คุ้มทุน โดยเฉพาะหมวดสินค้ายางพารา 2. ธุรกิจที่ได้อดทนกับรายได้ที่ลดลงหลายไตรมาสไม่มีสภาพคล่องที่จะดำเนินธุรกิจต่อไป และ 3. การขาดแคลนแรงงานต่างด้าวและต้นทุนของแรงงานต่างด้าวที่เพิ่มขึ้นจะให้หลายธุรกิจไม่สามารถแข่งขันต่อไปได้ จึงประมาณการ (ในแง่บวก) ว่า อัตราการขยายตัวของ GDP ของครึ่งปีหลังนี้จะลดลงเหลือ 2.6% ปัจจัยบวก
ปัจจัยลบ
ปัจจัยเสี่ยง
หมายเหตุ : รายงานเศรษฐกิจฉบับนี้เป็นรายงานที่บริษัท ไทยวิจัยและฝึกอบรม จำกัด จัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อกลุ่มทีซีซีเป็นราย ไตรมาส |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
มาแนะนำตัวบริษัท และ ทีมงาน | ||
![]() |
||
มาแนะนำตัวค่ะ |
||
View All ![]() |
<< | กรกฎาคม 2017 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |