รายงานเศรษฐกิจรายไตรมาส ฉบับที่ 58/2561 บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายไตรมาส: ประจำไตรมาสที่ 3 พศ. 2561 บริษัท ไทยวิจัยและฝึกอบรม จำกัด 25 กรกฎาคม 2561
ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ชี้ถึงการขยายตัวอย่างก้าวกระโดดในไตรมาสนี้ โดยมีอัตราการขยายตัวที่ 4.8% (ตารางที่ 1) ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวรายไตรมาสที่สูงที่สุดในรอบ 5 ปี การขยายตัวต่อเนื่องหลายไตรมาสแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย จนทำให้ธนาคารพัฒนาเอเซีย (Asian Development Bank) ทำการปรับการประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปีนี้เพิ่มขึ้นจาก 4.0% เป็น 4.2% สาเหตุหลักของอัตราการขยายตัวที่สูงนี้มาจากการเปลี่ยนแปลงในสินค้าคงคลัง (Change in Inventories) ที่มีการสะสมสินค้าคงคลัง 6.2 หมื่นล้านบาทในไตรมาสเทียบกับการใช้สินค้าคงคลัง 6.5 หมื่นล้านบาทในไตรมาสที่ 1 ของปีก่อนหน้า ในทางเศรษฐศาสตร์สามารถมองเหตุการณ์นี้ได้ 2 แบบ คือ ในเชิงบวกที่มีการผลิตสินค้าเข้าคลังเพื่อเตรียมจำหน่ายในไตรมาสถัดไป หรือในเชิงลบที่มีการผลิตสินค้าออกมาแต่จำหน่ายไม่หมดจนต้องนำสินค้าเข้าคลัง ดังนั้น จึงต้องพิจารณาควบคู่กับการใช้จ่ายภาคเอกชนและการใช้กำลังการผลิตของระบบเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี เชื่อว่าการเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลังในไตรมาสที่ 1 นี้ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ ด้วยเป็นการสะสมสินค้าปิโตรเลียมเป็นหลักเนื่องจากราคาน้ำมันดิบโลกอยู่ในช่วงปรับตัวสูงขึ้นจากนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ข้อสังเกตนี้สอดคล้องกับตัวเลขการนำเข้าเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้น 29.6% ในไตรมาสเดียวกัน การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของสินค้าคงคลังทำให้เกิดผลกระทบทางบัญชีเชิง Accounting Trick ทำให้อัตราการขยายตัวของ GDP (Contribution to Growth) ของการเปลี่ยนแปลงในสินค้าคงคลังสูงถึง 2.9% หรืออีกนัยหนึ่ง หากไม่มีการสะสมสินค้าปิโตรเลียมและสินค้าคงคลังอื่น เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 1 นี้จะมีอัตราการขยายตัวเพียง 1.9% ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขเศรษฐกิจรายสาขาอื่นที่ยังบ่งชี้ถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจไทย ตารางที่ 1: เปรียบเทียบ Contribution to Growth ของ GDP ไตรมาสที่ 3 และที่ 4 ปี 2560 และไตรมาสที่ 1 ปี 2561
ที่มา: คำนวณจากข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตัวเลขชุดแรกที่ยังไม่แสดงถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคือตัวเลขดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index: MPI) ที่มีอัตราการขยายตัวชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 1 นี้มีอัตราการขยายตัวลดลงเหลือ 4.1% จากอัตราการขยายตัว 5.0% และ 4.4% ของไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ปีก่อนหน้า หากแยกพิจารณาหมวดการผลิตที่สะท้อนความต้องการบริโภคภายในประเทศจะยิ่งน่าเป็นห่วง ด้วยอัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มขยายตัวเพียง 2.3% ภาคอุตสาหกรรมที่มีอัตราการขยายตัวสูงในระดับเลข 2 หลักจะเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก อาทิเช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องยนต์ ฮาร์ดดิสก์ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ตัวเลขชุดที่สองยังไม่ส่งสัญญาฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยคือดัชนีการบริโภคเอกชน (Private Consumption Indicators) ที่มีอัตราการขยายตัวรวมเพียง 2.8% และอัตราการขยายตัวของดัชนีการบริโภคจะอยู่ในหมวดสินค้าคงทนที่ขยายตัว 6.5% ในขณะที่หมวด Non-Durable ที่จำเป็นต่อการบริโภคพื้นฐาน มีอัตราการขยายตัวเพียง 0.5% ภาคการเงินก็ยังอ่อนแอเช่นกัน โดยมีการขยายตัวของสินเชื่อเฉลี่ยเ 4.4% ภาคเศรษฐกิจเดียวที่มีอัตราการขยายตัวที่สูงคือภาคการส่งออก ที่มีอัตราการขยายตัวสูงในหมวดสินค้าที่มีต่างชาติเป็นผู้ลงทุน กล่าวคือ สินค้าอิเลคโทรนิคส์ (13.6%) และยานยนต์ (15.8%) อีกหมวดสินค้าหนึ่งที่มีอัตราการขยายตัวของการส่งออกสูงคือหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น 26.2% ซึ่งอาจเป็นผลจากการที่กำลังการผลิตภายในประเทศเหลือ อย่างไรก็ดีการขยายตัวของการส่งออกมิได้ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของ GDP ดีขึ้น ในทางตรงกันข้ามกับทำให้ Contribution to Growth ของ Net Exports เป็นลบที่อัตรา -1.1% เนื่องด้วยสินค้าที่มีอัตราการขยายตัวของการส่งออกสูง เป็นสินค้าที่มี Import Contents สูงเช่นกัน โดยเฉพาะหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ตัวเลขเศรษฐกิจสำหรับไตรมาสที่ 2 มีตัวเลขจริงแล้วสำหรับเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม ทั้งสองเดือนเศรษฐกิจไทยเคลื่อนไหวไม่ต่างกับไตรมาสแรก จึงคาดว่าอัตราการขยายตัวของ GDP ในภาพรวมจะอยู่ในระดับสูงเช่นกัน จาก 1) มีการนำเข้าสินค้าปิโตรเลียมในอัตราที่สูงเนื่องจากราคาพลังงานโลกยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในไตรมาสนี้ โดยใน 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 2 มีการนำเข้าปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นถึง 47.3% คาดได้ว่าจะมีการสะสมสินค้าคงคลังของสินค้าประเภทนี้เพิ่มขึ้นมากเช่นกัน และ 2) หมวดสินค้าที่เคยส่งออกได้ดียังมีอัตราการขยายตัวของการส่งออกสูงไม่ต่ำกว่าไตรมาสที่ 1 คาดว่าตัวเลข GDP ของไตรมาสที่ 3 และการเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจไทยเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับไตรมาสที่ 1 และ ไตรมาสที่ 2 อย่างไรก็ดี ต้องจับตาดูความสามารถในการส่งออกของไตรมาสนี้ที่อาจชะลอตัวจากผลกระทบของนโยบายการค้าของสหรัฐอเมริกาและการเริ่มชะลอตัวของการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันดิบโลก กอรปกับการใช้จ่ายของรัฐบาลที่เริ่มชะลอตัวจากฐานะการคลังที่อ่อนแอ จากการสังเกตการพัฒนาของเศรษฐกิจไทยในหลายไตรมาสที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่าตัวเลขการขยายตัวของ GDP ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ ด้วยเป็นการขยายตัวในอุตสาหกรรมเฉพาะเจาะจงที่มีผลกระทบต่อรายได้ของผู้บริโภคภายในประเทศต่ำ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเลียม อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมอิเลคโทรนิคส์ คาดว่าการเพิ่มการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นการใช้กำลังการผลิตให้เกิด Economies of Scale เพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยอยู่ในระดับต่ำ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการใช้กำลังการผลิตสูงถึง 96.6% ในเดือนพฤษภาคม แต่เมื่อความต้องการบริโภคภายในประเทศไม่สอดคล้องกับระดับการผลิตดังกล่าว ผู้ประกอบการจึงนำผลผลิตส่วนเกินส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ สิ่งที่น่าสังเกตมี 2 ประเด็นคือ แม้อุตสาหกรรมเหล่านี้จะมีการใช้กำลังการผลิตเกิน 85% แต่จะไม่เห็นการลงทุนขยายกำลังการผลิต และสินค้าในหมวดเหล่านี้มีผู้ประกอบการที่มีตลาดชัดเจนในต่างประเทศ สามารถดำเนินการระบายสินค้าออกไปยังตลาดต่างประเทศได้โดยง่าย การเคลื่อนไหวเช่นนี้คงเป็นไปอีกหลายไตรมาส จนกระทั่ง ผู้ประกอบการมีกำลังการผลิตในประเทศอื่นที่ cost effective กว่าการผลิตสินค้าในประเทศไทย ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- บทความพิเศษ Thailand 4.0 : หนึ่งเดียวในโลก 25 กรกฎาคม 2561
โมเดลการพัฒนา 4.0 เป็นการวางเป้าหมายทางเศรษฐกิจให้ประเทศไทยก้าวพ้นระดับการพัฒนาของประเทศโลกที่ 2 ไปสู่ประเทศโลกที่ 1 โดยเครื่องชี้วัดที่สำคัญคือ Per Capita Income ซึ่งขณะนี้อยู่ที่ 6,125.7 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2017 ซึ่งยังต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำที่ 12,000 ดอลลาร์ของประเทศโลกที่ 1 พอควร เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เศรษฐกิจไทยจำเป็นที่ต้องมีอัตราการขยายตัวของ GDP ไม่ต่ำกว่า 5% ต่อเนื่อง 20 ปี ซึ่งรัฐบาลมีความเห็นว่าโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน ที่เรียกว่าเศรษฐกิจแบบ 3.0 ไม่สามารถจะบรรลุอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าวได้ จึงจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจแบบ 4.0 ที่สามารถให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงพอ บทความนี้จะวิเคราะห์ความหมายของโครงสร้างเศรษฐกิจแบบ 4.0 ความพร้อมของประเทศไทยที่จะก้าวไปสู่เศรษฐกิจแบบ 4.0 และความเป็นไปได้ของประเทศไทยที่จะบรรลุโครงสร้างเศรษฐกิจแบบ 4.0 คำนิยามของเศรษฐกิจ 4.0 ไม่มีทฤษฎีและรูปแบบมาตรฐานของเศรษฐกิจ 4.0 ในระดับสากล หากมี คงมีบทความทางวิชาการ ตำราเรียน และหลักสูตรการเรียนในมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ 4.0 นอกจากนี้คงจะได้ยินนโยบาย Germany 4.0, Mexico 4.0, South Korea 4.0, หรือ Singapore 4.0 ที่มีขั้นตอนและกระบวนการการพัฒนาเศรษฐกิจไปสู่รูปแบบ 4.0 อย่างชัดเจน ซึ่งก็ไม่ปรากฏ มีแต่ Thailand 4.0 ดังนั้นคำนิยามของเศรษฐกิจ 4.0 จึงเป็นการตีความของนักวิชาการและผู้เชียวชาญแต่ละท่าน อย่างไรก็ดี การตีความจะพ้องกันว่าเศรษฐกิจ 4.0 คือเศรษฐกิจที่ระบบการผลิตใช้นวัตกรรมเป็นปัจจัยการผลิตหลัก (Innovation Driven Economy) ซึ่งที่จริงแล้วก็มิใช่อะไรที่ใหม่ แนวความคิดเช่นนี้เป็นแนวความคิดดั้งเดิมตั้งแต่มนุษย์ชาติรวมตัวเป็นสังคม มีการทำศึกกับประเทศอื่นเพื่อชิงความมั่งคั่ง ทั้งจากทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ มีการค้นคิดนวัตกรรมเพื่อให้มีการผลิตที่มีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำลง มีการค้นพบเทคโนโลยีใหม่ๆ มีการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจรูปแบบใหม่เพื่อสร้างรายได้ ฯลฯ อาจเรียกได้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจ ระบบการผลิต และระบบตลาด เป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของมนุษย์ชาติ มิใช่ปรากฎการณ์ของทศวรรษนี้ ต้นกำเนิดของคำนิยาม เศรษฐกิจ 4.0 มาจาก อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) ที่เป็นแนวความคิดที่พัฒนาในประเทศเยอรมันนี ซึ่งการพัฒนาของอุตสาหกรรมแต่ละขั้นเป็นไปตามแผนภูมิข้างล่าง โดยเริ่มมาจากเทคโนโลยีการผลิตพื้นฐานคือ Steam Engine และเครื่องทอผ้าที่ชื่อ Spinning Jenny อุตสาหกรรมเด่นของยุคอุตสาหกรรมที่ 1 คืออุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมรถไฟ และอุตสาหกรรมเรือกลไฟ หลังจากนั้นก็เข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมที่ 2 ที่เป็นยุคของอุตสาหกรรมหนักที่มีฐานมาจากทรัพยากรเหล็กและการใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมเด่นของยุคนั้นคืออุตสาหกรรมรถยนต์ ในยุคอุตสาหกรรมที่ 3 ฐานการผลิตแทบจะมิได้เปลี่ยนแปลง ประเภทของสินค้าและบริการไม่แตกต่างจากยุคที่ 2 มาก ที่แตกต่างคือกระบวนการผลิตที่ปรับเปลี่ยนปัจจัยการผลิตจากแรงงานไปสู่คอมพิวเตอร์และระบบจักรกลอัตโนมัติ เหตุผลคือต้นทุนทางด้านแรงงานมีราคาแพงขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนด้านสวัสดิการ แต่มีปริมาณของแรงงานลดลง การก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมที่ 4 เป็นการก้าวเพิ่มจากระบบ automation ที่มนุษย์เป็นคนสั่งเครื่องจักรกล เป็นเครื่องจักรกลสั่งเครื่องจักรกลด้วยกันเองผ่านเทคโนโลยีอินเตอร์เนตและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ตัวอย่างที่สำคัญของเทคโนโลยีนี้คือ Self-driving Technologies ที่จะเปลี่ยนแปลงระบบโลจิสติคของอนาคตอย่างสิ้นเชิง ส่งผลให้มีการเปลี่ยนรูปแบบของกระบวนการผลิตและการตลาดใหม่ทั้งหมด แนวคิดของอุตสาหกรรม 4.0 ทำให้เกิดความแพร่หลายของคำว่า 4.0 เช่น Enterprise 4.0 และ Economy 4.0 ซึ่งหมายถึงยุคใหม่ที่จะต้องคิดใหม่ทำใหม่ ทิ้งแนวความคิดเดิม เช่น จากการพัฒนาธุรกิจแบบ Asset Base ไปสู่การพัฒนาแบบ Profit Base ที่เรียกว่า Less is More , จากการพัฒนาแบบ Centralized เป็นแบบ De-Centralized, และการพัฒนาธุรกิจแบบ Competition ไปสู่แบบ Collaboration 4.0 แบบไทยๆ เนื่องจากไม่มีทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ 4.0 อย่างชัดเจน จึงต้องสร้างที่มาที่ไปของทฤษฎีนี้ โดยได้มีการจัดกระบวนการวิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจเป็น 4 ขั้นตอน คือ
ตามแนวคิดของเศรษฐกิจ 4.0 รัฐบาลไทยได้กำหนดเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรม ประเภทอุตสาหกรรม อีกทั้งวิสาหกิจที่จะเป็นเจ้าของอุตสาหกรรมนั้นๆ ตามแผนภูมิข้างบน จะสังเกตได้ว่าระบุแต่เพียงประเภทอุตสาหกรรม/ผู้ประกอบการที่ต้องการ แต่มิได้ระบุถึงที่มาของเทคโนโลยี ระดับการลงทุนในอุตสาหกรรมนั้นๆ และผู้ใดจะเป็นผู้ประกอบการ ที่สำคัญคือไม่ได้พูดถึง GDP Impacts ของแต่ละอุตสาหกรรม กล่าวคือเป็นนโยบายที่เป็นนามธรรม ขาดความเป็นรูปธรรมเพื่อที่จะได้ประเมินความสำเร็จของแผนงานได้ ตัวอย่างเช่น หากต้องการให้อุตสาหกรรม 4.0 ข้างต้นมีสัดส่วน 20% ใน GDP และมีอัตราการเติบโตปีละ 10% เพื่อผลักดันให้ GDP ในภาพรวมขยายตัวได้ 5% ตามเป้าหมาย สามารถคำนวณจากตัวเลข Nominal GDP ของไทยในปัจจุบันว่าในปีที่ 5 จากนี้ไป ประเทศไทยจะต้องมีผู้ประกอบการ 4.0 จำนวน 10,000 ราย รายหนึ่งมีกำไรปีละ 370 ล้านบาท (จากผลกำไรประมาณ 20% คำนวณคืนได้ว่ารายได้ของแต่ละธุรกิจน่าจะประมาณ 1.8 - 2.0 พันล้านบาทต่อผู้ประกอบการต่อปี) คำถามคือทำเช่นไรจึงจะมีผู้ประกอบการในธุรกิจใหม่จำนวน 10,000 ราย และแต่ละรายมีขนาดธุรกิจปีละ 2,000 ล้านบาทต่อภายในระยะเวลาสั้นๆ 5 ปี ซึ่งขนาดของเศรษฐกิจไทยไม่สามารถสร้างธุรกิจขนาด 2 พันล้านได้จำนวนมากและรวดเร็วเช่นนี้ นอกจากประเทศไทยจะไม่สามารถผลักดันประเทศให้เป็นเศรษฐกิจ 4.0 ได้ จากตัวเลขที่เป็นไปได้ยากข้างบน ประเทศอื่นในโลกก็ไม่สามารถทำได้ เป็นเหตุให้ไม่มีประเทศอื่นกำหนดนโยบายเศรษฐกิจแบบ 4.0 ทุกประเทศล้วนพัฒนาเทคโลยีตามรูปแบบของ Indurstry 4.0 บนฐานของอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่มีการสร้างอุตสาหกรรมใหม่แบบเฉพาะเจาะจง อาทิเช่น Self-driving techologies ที่เป็นเทคโนโลยีของ 4.0 จะอยู่บนฐานของอุตสาหกรรมยานยนต์ แม้จะมีองค์กรอื่นที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีนี้เช่น Google ท้ายสุดต้องนำไปจำหน่ายให้บริษัทผลิตรถยนต์เพื่อติดตั้งในรถยนต์ที่คนผลิต หรือ On-line Distribution เช่น Amazon, Alibaba และอื่นๆ จำเป็นต้องอาศัยระบบการผลิตปัจจุบันที่ผลิตสินค้าและบริการราคาถูกมาจำหน่าย on-line ที่สำคัญคือยอดจำหน่ายสินค้า on-line ไม่สามารถกระตุ้นการบริโภคในภาพรวม ด้วยการบริโภคเป็นผลจากปัจจัยของรายได้และราคา (Income and Price Effects) ตามทฤษฎีการบริโภค
Missing Links ไปสู่ระบบเศรษฐกิจ 4.0 สำหรับประเทศไทย ในการก้าวไปสู่เป้าหมาย Thailand 4.0 ประเทศไทยขาดปัจจัยพื้นฐานหลัก 2 ประการ คือ ประการแรก ขาดผู้พัฒนาเทคโนโลยีต้นทางในระบบ 3.0 เหตุผลคืออุตสาหกรรมแกนกลาง (Core Industry) เกือบทั้งหมดเป็นการลงทุนจากต่างชาติ เทคโนโลยีการผลิตเป็นของต่างชาติ ไม่มี Technology transfer ใดๆ ตัวอย่างที่ชัดเจนคืออุตสาหกรรมรถยนต์ที่ไม่มีบริษัทไทยเป็นเจ้าของแม้แต่รายเดียว แม้จะมีการพัฒนามาเกือบ 60 ปี จนทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ของโลก ทำให้การคาดหวังว่าคนไทยจะสามารถพัฒนาเทคโนโยลีไปสู่ระดับที่สูงกว่าสำหรับ 4.0 เช่น Self-driving Technologies, Electric car batteries, และ Fuel-cell vehicles เป็นสิ่งที่เป็นได้ยากยิ่ง ประการที่ 2 ขาดฐานการผลิตขนาดใหญ่และขาดความสามารถในการทำการตลาดในระดับสากล ทำให้ไม่เกิด cost-effectiveness ในการพัฒนาเทคโนโลยี 4.0 ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีมีต้นทุนสูงมาก เช่น การพัฒนาตัวยาหนึ่งตัวอาจต้องมีการลงทุนหลายพันล้านบาท แต่พัฒนาแล้วไม่สามารถนำไปจำหน่ายในระดับสากลเพราะยังต้องไปผ่านการพิจารณาขององค์กรอาหารและยาของแต่ละประเทศ ทำให้การพัฒนาตัวยาไม่คุ้มทุน จะง่ายกว่าหากขายสิทธิบัตรยาดังกล่าวให้บริษัทยาระดับโลกนำไปพัฒนาต่อยอดและจัดจำหน่ายในระดับสากล หรือการพัฒนา Robotech หากพัฒนาได้แล้วจะนำไปจำหน่ายให้อุตสาหกรรมใดในประเทศ อุตสาหกรรมสัญชาติไทยล้วนมีขนาดเล็ก มีความต้องการหุ่นยนต์อุตสาหกรรมไม่มาก ส่วนอุตสาหกรรมข้ามชาติมักจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้เอง ไม่มึความจำเป็นที่จะต้องรอเทคโนโลยีจากประเทศไทย
นโยบายเศรษฐกิจที่เหมาะสม ด้วยฐานทรัพยากรที่มีจำกัด ขนาดของตลาดที่มีจำกัด และฐานการผลิตที่มีจำกัด การวางเป้าหมายให้อุตสาหกรรม 4.0 เป็นแกนของการพัฒนาเศรษฐกิจสำหรับประเทศไทยเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก แม้รัฐบาลจะกำหนดเป้าหมายได้ เช่น กำหนดให้มีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม 4.0 ถึง 10,000 รายในระยะเวลา 5 ปี แม้อาจจะประสบความสำเร็จในแง่ปริมาณ แต่จะทำให้แต่ละรายมีรายได้ปี 2 พันล้านบาทเพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่อัตราการเติบโต 5 % เกิดขีดความสามารถของขนาดเศรษฐกิจไทย ธุรกิจเหล่านั้นจะต้องเป็นธุรกิจข้ามชาติ ซึ่งจะทำให้การพัฒนามีความซับซ้อนเพิ่มขี้นอีกมาก หลักการคือต้องลดเป้าหมายทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่สอดคล้องกับทรัพยากร ขนาดของตลาด และฐานการผลิตที่มีอยู่ ประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณาร่วมด้วยคือ 1) Aging Population และ Shrinking Population ที่ทำให้ภาวะการขาดแคลนแรงงานหนุ่มสาวรุนแรงขึ้น 2) ฐานการบริโภคที่หดตัวภายในประเทศ และ 3) การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในระดับสากล อีกทั้งให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างการผลิตในระบบ 3.0 และยังให้เกิด Technolohy Transfer และสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการไทยรายใหญ่จำนวนมาก โดยเฉพาะธุรกิจไทยข้ามชาติ เพื่อเป็นฐานของการพัฒนาในอนาคต
หมายเหตุ : รายงานเศรษฐกิจฉบับนี้เป็นรายงานที่บริษัท ไทยวิจัยและฝึกอบรม จำกัด จัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อกลุ่มทีซีซีเป็นรายไตรมาส
บริษัท ไทยวิจัยและฝึกอบรม จำกัด |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
มาแนะนำตัวบริษัท และ ทีมงาน | ||
![]() |
||
มาแนะนำตัวค่ะ |
||
View All ![]() |
<< | กรกฎาคม 2018 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 |