รายงานเศรษฐกิจรายไตรมาส ฉบับที่ 59/2561 บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายไตรมาส: ประจำไตรมาสที่ 4 พศ. 2561 บริษัท ไทยวิจัยและฝึกอบรม จำกัด
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 และ 3 (ตัวเลขเศรษฐกิจของไตรมาสที่ 3 ยังมีเพียง 2 เดือน คือเดือนกรกฎาคมและเดือนสิงหาคม) แสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ทับถมมายาวนานของเศรษฐกิจไทยที่ไม่ได้รับการแก้ไข สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะเศรษฐกิจในภาพรวมดูดีและมีแนวโน้มที่จะขยายตัวในอัตราที่สูงต่อเนื่อง การเข้าไปแก้ไขเศรษฐกิจรายสาขาอาจหมายถึงการยอมรับปัญหาของเศรษฐกิจ ตัวเลขอัตราการขยายตัวของ GDP ของไตรมาสที่ 2 ก็เช่นกัน แม้จะแสดงอัตราการขยายตัวที่ถดถอยจากไตรมาสที่ 1 บ้าง แต่ยังอยู่ในระดับที่สูงที่ 4.6% (คาดการณ์ว่าอัตราการขยายตัวของ GDP ของไตรมาสที่ 3 จะเกิน 4%) หากแต่ปัญหาของเศรษฐกิจรายสาขา (Sectoral Economy) และภาคเศรษฐกิจระดับประชาชนได้ทวีความรุนแรงขึ้นจนเกิดความเสี่ยงในระบบเศรษฐกิจไทย ปัญหาพื้นฐานดังกล่าวมีอยู่ 3 ประการหลักคือ (1) กำลังซื้อภายในประเทศชะลอตัวเพิ่มขึ้น เมื่อรวมกับการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้การบริโภคสินค้าและบริการภายในประเทศมีปัญหาเพิ่มมากขึ้น ดังปรากฎในตารางข้างบน นอกจากภาระหนี้สินภาคครัวเรือนที่สูงเกินความสามารถในการชำระหนี้แล้ว อีกสาเหตุหนึ่งของการชะลอตัวในการบริโภคสินค้าจำเป็น (Non- Durable and Semi-Durable Goods) อาจมาจากการที่ราคาสินค้าในหมวดดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นตามราคาพลังงาน (ทั้งๆที่ตัวเลข Core Inflation ของทางการอยู่ที่ 0.75%) ในขณะที่รายได้ของประชาชนมิได้เพิ่มขึ้น (ทั้งๆ ที่ Nominal GDP Growth ของไตรมาสที่ 2 สูงถึง 5.9% และ 6.1% ในไตรมาสที่ 1 และ 2 ตามลำดับ) ตัวเลขที่น่าสนใจจากตารางดังกล่าวคือการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจนมีอัตราการขยายตัวติดลบในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมที่ผ่านมา แสดงให้เห็นชัดเจนถึงผลกระทบต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่กระทบการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว ที่น่าเป็นกังวลอย่างยิ่ง คือ การเพิ่มขึ้นของการบริโภคอย่างต่อเนื่องและในอัตราการขยายตัวที่สูงผิดปกติของหมวดสินค้าคงทน ที่มีอัตราการขยายตัวถึง 14.5% ในเดือนสิงหาคม ซึ่งอาจแสดงถึงภาวะ”ฟองสบู่”ของภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคยานยนต์ ด้วยมีอัตราการขยายตรงกันข้ามกับทฤษฎีและกำลังซื้อจริง (2) กำลังการผลิตของอุตสาหกรรมนำ (Leading Industries) ถูกใช้เต็มที่ทำให้โอกาสของการขยายตัวในอนาคตมีข้อจำกัด ในหลายปีที่ผ่านมาการขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม (วัดโดยใช้ Manufacturing Production Index) อยู่ในระดับที่ต่ำ โดยในอัตราการขยายตัวเพียง 2.5% ในปี 2560 และ 3.9% ในครึ่งแรกของปี 2561 ถ้าหากไม่มีการขยายตัวในระดับที่สูงของ 3 หมวดอุตสาหกรรมคือ ยานยนต์ Hard Disk Drive และปิโตรเลียม ที่อาจเรียกได้ว่าเป็น “อุตสาหกรรมนำ” แล้ว การขยายตัวของการผลิตของประเทศจะติดลบ ซึ่งนั่นคือภาพที่แท้จริงของระบบการผลิตของชาติที่ได้รับผลลบจากกำลังซื้อภายในประเทศที่อ่อนแอและความสามารถในการส่งออกที่มีจำกัด การขยายตัวของการผลิต, การใช้กำลังการผลิต, และการส่งออกในครึ่งแรกของปี 2561
ตารางข้างบนแสดงให้เห็นว่าในครึ่งแรกของปีนี้ 3 หมวดอุตสาหกรรมนำล้วนมีอัตราการขยายตัวสูงกว่า 10% ในขณะที่หมวดอุตสาหกรรมอื่นส่วนใหญ่มีอัตราการขยายตัวของการผลิตติดลบ ที่น่าสังเกตคือการผลิตที่เพิ่มถูกส่งออกไปยังต่างประเทศเป็นหลัก ด้วยกำลังซื้อภายในประเทศมีจำกัด แต่เนื่องจากหมวดอุตสาหกรรมทั้ง 3 ดังกล่าวมีอัตราการขยายตัวที่สูงต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้การใช้กำลังการผลิตหรือ Capacity Utilization Rate สูง จึงทำให้เกิดข้อจำกัดของการขยายการผลิตของ Leading Industries ในไตรมาถัดๆ ไป ส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจในภาพรวมจะไม่สามารถอยู่ในอัตราที่สูงได้เหมือนที่ผ่านมา ในระบบเศรษฐกิจปกติ เมื่อมีการใช้กำลังการผลิตเกิน 80% จะเกิดการลงทุนขยายกำลังการผลิตมารองรับความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้น ทำให้การเพิ่มผลผลิตและการขยายตัวของ GDP เป็นไปอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากความต้องการการส่งออกของทั้ง 3 หมวดอุตสาหกรรมเป็นความต้องการชั่วคราวหรือความต้องการเทียม จึงไม่เกิดการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิต โดยจะเห็นได้จากการที่การลงทุนมีอัตราการขยายตัวเพียง 1.9% และ 1.4% ในสองไตรมาสแรกของปี การขยายตัวของการลงทุนในปี 2560 ก็อยู่ในระดับต่ำที่ 0.87% เช่นกัน (3) ภาคการเงินมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ความเสี่ยงดังกล่าวมาจากคุณภาพของสินทรัพย์ (Asset Quality) และสภาพคล่องภายในประเทศที่ถดถอยลง ภาคการเงิน (Monetary Sector) เป็นภาคเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อสุขภาพของเศรษฐกิจจริง (Real Sector) เพราะเป็นผู้ให้สภาพคล่อง (Liquidity Provider) ที่จำเป็นต่อการผลิตและการบริโภค โดยทุกวิกฤติเศรษฐกิจจะถูกนำด้วยวิกฤติในภาคการเงิน ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ของประเทศไทยเอง หรือวิกฤติ Lehmann Brothers ที่นำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในปี 2551 ดังนั้นปัญหาของภาคการเงินจึงไม่สามารถละเลยได้ ภาคการเงินของไทยแม้จะมีอัตราการขยายตัวที่ต่ำไม่สอดคล้องกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงกว่า 4% โดยมีอัตราการขยายตัวของสินเชื่อเพียง 5.9% แต่มีคุณภาพของสินทรัพย์ที่ดี ด้วยระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) มีอยู่เพียง 2.92% ณ ปลายไตรมาสที่ 1 ปี 2561 แต่จากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการบริโภคสินค้าคงทน (Durable Goods) ซึ่งประกอบด้วยสินค้าหมวดอสังหาริมทรัพย์และยานยนต์เป็นหลัก และการขยายตัวของสินเขื่ออุตสาหกรรมที่มิได้นำเม็ดเงินไปลงทุนขยายกำลังการผลิต เป็นการเคลื่อนไหวที่สวนทางกำลังซื้อในภาครวม กอรปกับรายได้จากการท่องเที่ยวที่ลดลง จะทำให้คุณภาพของสินเชื่อในหมวดสินค้าคงทนและสินเชื่อภาคอุตสาหกรรมมีปัญหาอย่างแน่นอน ปัญหาคุณภาพของสินเชื่อ เป็นปัญหาระยะยาวที่สามารถแก้ไขได้ เช่น การเพิ่มทุนของสถาบันการเงินและการปรับโครงสร้างหนี้ แต่ปัญหาที่พึงระวังยิ่งกว่าคือปัญหาสภาพคล่องไม่พอเพียง (Liquidity Crunch) ที่เป็นเหตุให้ระบบการเงินไทยล่มสลายทั้งระบบในปี 2540 ขณะนี้สัญญาณของการไหลออกของเงินเริ่มชัดเจนขึ้น ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศกลับลดลงอย่างรวดเร็ว ดังปรากฎในตารางดุลการชำระเงิน (Balance of Payments) ข้างล่าง ตารางดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ฐานะการเงินระหว่างประเทศของไทยถดถอยเป็นอันมากจากที่เคยเกินดุลการชำระเงินอย่างต่อเนื่อง เป็นขาดดุลตั้งแต่เริ่มไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 นี้ ซึ่งการขาดดุลการชำระเงินมาจากการไหลออกของเงินทุนระหว่างประเทศ (Capital Outflows) ซึ่งจนถึงเดือนสิงหาคมมีการไหลออกไปแล้ว 10.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 3.5 แสนล้านบาท นั่นคือสภาพคล่องที่หายออกไปจากระบบการเงินของไทย ความเสี่ยงคือแนวโน้มคาดได้ว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นเนื่องจาก (1) อัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐอเมริกา โดยที่ Fed Funds Rate อยู่ที่ 2.25% (เดือนกันยายน) และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก 0.25% ในเดือนธันวาคม และอาจขึ้นอีก 0.5 -0.75 % ในปีหน้า แต่ Bank of Thailand’s Repo Rate มีอัตราอยู่ที่ 1.5% ณ ขณะนี้ อีกทั้งยังไม่แน่ชัดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อใดและในอัตราเท่าใด, (2) ความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทย จากการลดลงของอัตราการเติบโต จากปัญหาที่ได้กล่าวมา และ (3) สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งคาดว่าจะทวีความรุนแรงขึ้น จากทั้งปัญหาของการลดลงของการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่จะเป็นผลมาจากการส่งออกสินค้าที่ลดลงและรายได้จากการท่องเที่ยวที่ลดลง และการทวีความรุนแรงของการไหลออกของเงินทุนต่างประเทศ ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของระบบการเงินเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้ ตารางดุลบัญชีการชำระเงิน (Balance of Payments) จะเป็นตารางที่จะต้องจับตาดูใน 6 เดือนข้างหน้านี้ เศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปี 2561 ในรูปของเศรษฐกิจมหภาค เศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับที่ดีมากในครึ่งแรกของปี โดยที่มีอัตราการขยายตัวของ GDP ที่ 4.9% และ 4.6% ในไตรมาสที่ 1 และ 2 ตามลำดับ (ตารางที่ 1) โดยปัจจัยที่ผลักดันให้เศรษฐกิจมีอัตราการเติบโตในระดับที่สูง นอกจากการเปลี่ยนแปลงในสินค้าคงคลังที่คาดว่าเกิดจากการนำเข้าน้ำมันดิบเพื่อนำมาผลิตเพื่อการส่งออกแล้ว เป็นผลจากการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกสินค้าและบริการ ซึ่งได้อธิบายก่อนหน้าแล้วว่าการขยายตัวของบริโภคภายในประเทศในหมวดสินค้าคงทนและรายได้จากการท่องเที่ยว การลงทุนยังอยู่ในระดับที่ต่ำเนื่องจาก (ยกเว้นหมวดอุตสาหกรรมนำ) มีการใช้กำลังการผลิตต่ำกว่า 60% จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องลงทุนขยายกำลังการผลิต การใช้จ่ายภาครัฐมีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไม่มากจากข้อจำกัดด้านฐานะการคลัง ตารางที่ 1: เปรียบเทียบ Contribution to Growth ของ GDP ไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ปี 2561
*ไม่นับรวมการเปลี่ยนแปลงในสินค้าคงคลัง ที่มา: คำนวณจากข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หากไม่นำผลจากการเปลี่ยนแปลงในสินค้าคงคลังมาคำนวณร่วมแล้ว Adjusted GDP จะขยายตัวลดลงเหลือ 2.1% และ 3.3% ตามลำดับ และหากสามารถหักผลจาก “ฟองสบู่” ในหมวดสินค้าคงทนและการส่งออก”เทียม”ของ 3 หมวดอุตสาหกรรมนำแล้ว อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไม่น่าจะเกิน 1.0% ในทั้ง 2 ไตรมาส เศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังของปี 2561 ภาพเศรษฐกิจจริงของไทยจะเริ่มชัดเจนขึ้นในครึ่งหลังของปี ด้วยปัจจัยบวกที่ส่งผลดีให้เศรษฐกิจเริ่มลดลง อาทิเช่น การขยายตัวของอุตสาหกรรมนำ (Leading Industries) เจอปัญหากำลังการผลิตเต็ม การบริโภคสินค้าคงทนเริ่มมีการควบคุมจากธนาคารแห่งประเทศไทยที่เป็นกังวลต่อคุณภาพของสินเชื่อ ภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกและปัจจัยลบต่อนักท่องเที่ยวชาวจีน การตึงตัวของสภาพคล่องภายในประเทศ ฯลฯ อย่างไรก็ดีคาดว่าอัตราการขยายตัวของ GDP ในไตรมาสที่ 3 จะสูงกว่า 4.0% จาก momentum ของเศรษฐกิจ แต่อัตราการขยายตัวนี้จะเริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัดในไตรมาสสุดท้ายของปี ซึ่งคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตในระดับ 3.5 – 4.0% อย่างไรก็ดี ในไตรมาสที่ 4 มีปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยที่ต้องพึงระวัง เช่น (1) ความรุนแรงของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นก่อนการเลือกตั้งในประเทศอเมริกาที่จะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน (2) การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น (3) การล่มสลายของตลาดทุน (4) การตอบโต้ทางการค้ากับประเทศซาอุดีอาราเบีย ที่เป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก (5) ความวุ่นวายภายในประเทศจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำยาวนานและราคาพืชผลการเกษตรที่ลดลง (6) ความสามารถในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่จำกัดจากฐานะการคลัง ฯลฯ ดังนั้นจะต้องจับตามองว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถ Soft Landing ได้หรือจะเกิดอุบัติเหตุ
หมายเหตุ : รายงานเศรษฐกิจฉบับนี้เป็นรายงานที่บริษัท ไทยวิจัยและฝึกอบรม จำกัด จัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อกลุ่มทีซีซีเป็นรายไตรมาส
บริษัท ไทยวิจัยและฝึกอบรม จำกัด |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
มาแนะนำตัวบริษัท และ ทีมงาน | ||
![]() |
||
มาแนะนำตัวค่ะ |
||
View All ![]() |
<< | พฤศจิกายน 2018 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |