รายงานเศรษฐกิจรายไตรมาส ฉบับที่ 61/2562 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังของปี 2562 15 พฤษภาคม 2562 บริษัท ไทยวิจัยและฝึกอบรม จำกัด การวิเคราะห์แนวโน้มของเศรษฐกิจไทยเป็นเรื่องไม่ซับซ้อน ด้วยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเดียว คือขาลง โดยตัวชี้วัดหลักทั้งหลายล้วนแสดงให้เห็นถึงการชะลอตัวเพิ่มขึ้นของภาคส่วนเศรษฐกิจต่างๆ ข้อยกเว้นจะเป็นตัวเลขเศรษฐกิจบางหมวดที่ขัดแย้งกับสภาพความเป็นจริง อาทิเช่น การสะสมสินค้าคงคลังจำนวนมากที่ไม่สอดคล้องกับการขยายตัวของสินเชื่อและปริมาณเงินภายในประเทศที่ต้องใช้จ่ายในการจัดซื้อสินค้าเข้าคลัง หรืออัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า Full Employment ตามมาตรฐานสากลที่ระดับ 2 เปอร์เซนต์ โดยอัตราการว่างงานของไทยอยู่ที่เพียง 1 เปอร์เซนต์ และหากเชื่อในตัวเลขอัตราการว่างงานของทางการ นักเศรษฐศาสตร์ทุกคนจะวิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจไทยมิได้ชะลอตัว หากแต่อยู่ในภาวะ Overheat ซึ่งตรงข้ามกับสภาวะเศรษฐกิจที่แท้จริง ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเป็นขาลงอย่างต่อเนื่องมีด้วยกัน 3 ปัจจัยคือ (1) การขยายตัวของสินเชื่อเพื่อการบริโภคลดลง, (2) การส่งออกที่ชะลอตัว และ (3) การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลง ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ปริมาณหนี้สินภาคครัวเรือนของไทยเพิ่มขึ้น 4.8 เท่าตัว คือจากยอดสินเชื่อคงค้าง 2.6 ล้านล้านบาทในปี 2546 เป็น 12.6 ล้านล้านบาทในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยปีละ 32.3 เปอร์เซนต์ ซึ่งเป็นการขยายตัวที่สูงกว่าอัตราการขยายตัวของ GDP มาก หมายความว่าเม็ดเงินที่ใช้ในการบริโภคสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจมิได้มาจากรายได้จากการผลิตที่เพิ่มขึ้น หากแต่มากจากการกู้ยืมที่เพิ่มขึ้นเกือบทั้งหมด โดยหลักการนี้ เมื่อใดที่การกู้ยืมชะลอตัว การขยายตัวของการบริโภคย่อมจะชะลอตัวลงเช่นกัน การกู้ยืมภาคประชาชนนี้ถึงจุดสูงสุดในไตรมาสที่ 3 ของปี 2558 ที่สัดส่วนของหนี้สินภาคครัวเรือนต่อ GDP (หนี้สินของประชาชนต่อรายได้รายปี) อยู่ที่ 80.2 เปอร์เซนต์ หากรวมหนี้สินนอกระบบด้วย ตัวเลขนี้อาจสูงเกิน 100 เปอร์เซนต์ ทำให้สถาบันการเงินเริ่มระมัดระวังในการให้สินเชื่อ จากความสามารถในการกู้ยืมที่ลดลง ทำให้อัตราส่วนนี้ก็ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องจนเหลือ 77.8 เปอร์เซนต์ในไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้ว(ตัวเลขล่าสุด) การลดลงของอัตราส่วนนี้สอดคล้องกับตัวเลขการขยายตัวของสินเชื่อของสถาบันการเงินที่เคยขยายตัว 6.0 เปอร์เซนต์ในไตรมาสที่ 1 ของปีที่แล้ว ขยายตัวเพียง 4.0 เปอร์เซนต์ในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ และแนวโน้มของการชะลอตัวของสินเชื่อนี้คาดว่าจะชะลอตัวต่อเนื่อง ซึ่งย่อมจะฉุดให้การบริโภคสินค้าชะลอตัวเพิ่มขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการบริโภคสินค้าคงทนที่ขยายตัวได้สูงถึง 10.6 เปอร์เซนต์ในไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้ว ขยายตัวลดลงเหลือ 5.2 เปอร์เซนต์ในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ อีก 2 ปัจจัยที่เหลือถูกมองว่าเป็นปัจจัยภายนอกที่เป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก แต่จะวิเคราะห์ต่อไปว่าปัจจัยภายในของประเทศไทยเองก็มีผลไม่น้อย หรืออาจเป็นเหตุหลักด้วยซ้ำไป ปัจจัยทั้งสองนั่นคือประเด็นของการชะลอตัวของการส่งออกสินค้า และการชะลอตัวของการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ การชะลอตัวของการส่งออกสินค้า(เชิงมูลค่า, ดอลลาร์สหรัฐ) ชัดเจนมากในตารางที่ 1 โดยที่การส่งออกสินค้าลดลงที่เคยขยายตัวสูงถึง 12.2 เปอร์เซนต์ในครึ่งแรกของปี 2561 กลายเป็นหดตัว 3.6 เปอร์เซนต์ในไตรมาสแรกของปีนี้ และเมื่อดูหมวดสินค้าย่อยของการส่งออกก็พบว่าแนวโน้มเป็นเช่นเดียวกันในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะหมวดสินค้าหลัก 4 หมวดที่ปรากฎในตาราง หมวดสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศ โดยรวมกันมีสัดส่วนในมูลค่าการส่งออกถึง 55.4 เปอร์เซนต์ จึงเป็นตัวแทนที่ดีที่จะแสดงให้เห็นภาพของอุตสาหกรรมการส่งออกของประเทศ ด้วยแนวโน้มของการส่งออกที่ชัดเจนเช่นนี้ สามารถคาดการณ์ได้ไม่ยากว่าการส่งออกทั้งปีของปี 2562 จะมีอัตราการขยายตัวติดลบ การวางเป้าหมายการส่งออกที่เพิ่มขึ้น 3-5 เปอร์เซนต์ เป็นการคาดหวังที่ขาดหลักการ ตารางที่ 1: อัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้า(ดอลลาร์สหรัฐ) เปอร์เซนต์
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย ปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ช่วยพยุงให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวอยู่ได้คือรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ จากข้อมูลของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในปี 2561 ประเทศมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2.01 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 12.2 เปอร์เซนต์ของ GDP เฉลี่ยแล้วมีการใช้จ่ายประมาณ 52,500 บาทต่อราย และได้ตั้งเป้าว่าในปี 2562 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น 7.5 เปอร์เซนต์ และจะมีการใช้จ่ายต่อหัวเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซนต์ หมายความว่าค่าใช้จ่ายต่อรายเพิ่มขึ้น 2.5 เปอร์เซนต์หรือราว1,300 บาท เป้าหมายนี้ไม่สอดคล้องกับตัวเลขจริงที่เกิดขึ้น (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2: อัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและรายได้จากการท่องเที่ยว เปอร์เซนต์
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย ตารางดังกล่าวนอกจากจะแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติต่ำกว่าเป้าหมายมาก ยังแสดงให้เห็นว่าการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นต่ำกว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวด้วย หมายความว่าค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวลดลง สาเหตุอาจมี 3 ประการ คือ หนึ่ง มีการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนที่มีงบประมาณการท่องเที่ยวต่ำกว่านักท่องเที่ยวจากประเทศอื่น สอง เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวทำให้นักท่องเที่ยวลดการใช้จ่าย และ สาม อัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลบาทที่แข็งค่าขึ้นกว่า 10 เปอร์เซนต์ภายในระยะเวลาเพียง 1 ปี ทำให้แม้นักท่องเที่ยวได้จัดงบประมาณการท่องเที่ยวเท่าเดิม แต่รายจ่ายในรูปเงินบาทลดลงตามค่าเงินที่แข็งค่า เศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปี 2562 ดังที่กล่าวมาแล้ว การเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจไทยเป็นขาลงอย่างต่อเนื่อง ตัวเลขเศรษฐกิจในหมวดหลักของไตรมาสที่ 1 ล้วนบ่งชี้ถึงการชะลอตัวเพิ่มขึ้น โดยที่ o ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวลดลงจากอัตราเฉลี่ย 4.7 เปอร์เซนต์ของทั้งปี 2561 เป็น 3.5 เปอร์เซนต์ในไตรมาสที่ 1 และมีอัตราการขยายตัวลดลงเหลือ 2.6 เปอร์เซนต์ในเดือนมีนาคม โดยมีอัตราการขยายตัวของสินค้าประเภทไม่คงทน (Non-Durable Goods) ติดลบ 0.8 เปอร์เซนต์ในเดือนดังกล่าว o ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวติดลบ 1.3 เปอร์เซนต์ในไตรมาสนี้ เทียบกับที่ขยายตัวบวก 3.5 เปอร์เซนต์ในปี 2561 o ดัชนีภาคการผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวติดลบ 1.1 เปอร์เซนต์ในไตรมาสที่ 1 และขยายตัวติดลบเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 เปอร์เซนต์ในเดือนมีนาคม o มูลค่าการส่งออกลดลง โดยขยายตัวติดลบ 3.6 เปอร์เซนต์ในไตรมาสนี้ เทียบกับการขยายตัวบวก 7.2 เปอร์เซนต์ของทั้งปี 2561 ท่ามกลางความวุ่นวายทางการเมืองหลังเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม การชะลอตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ความไม่แน่นอนของ Brexit และการแข็งค่าของค่าเงินบาท ไม่มีปัจจัยบวกใดที่จะเกื้อหนุนในเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 กระเตื้องขึ้นจากไตรมาสแรกที่ Leading Indicators ทุกตัวชะลอตัว กลับมีแนวว่าจะย่ำแย่กว่าไตรมาสแรก โดยเฉพาะจากปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน หากไม่พิจารณาตัวเลข GDP ของทางการ น่าจะเป็นที่แน่ชัดว่าเศรษฐกิจไทยได้เข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) อย่างเป็นทางการ ด้วยมีอัตราการขยายตัวติดลบ 2 ไตรมาสติดกัน แนวโน้มของเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังของปี 2562 หากจะพูดว่าเศรษฐกิจไทยขาดความแน่นอน จะเป็นการพูดแบบให้กำลังใจ เพราะเศรษฐกิจไทยแน่นอนว่าจะเป็นเป็นขาลงต่อไป ด้วยขาดปัจจัยบวกสนับสนุน อีกทั้งนโยบายการคลังและนโยบายการเงินของประเทศถึงทางตันแล้ว ไม่สามารถนำมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจได้ ด้วยเพียงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2562 รัฐบาลมีงบประมาณขาดดุลแล้ว 4.77 แสนล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเพดานการขาดดุลของงบประมาณที่กำหนดไว้ว่าสามารถขาดดุลได้ไม่เกิน 4.5 แสนล้านบาทของปีงบประมาณทั้งปี ทำให้ในครึ่งหลังของปีงบประมาณ หากไม่มีการแก้ไขพระราชบัญญัติงบประมาณแผ่นดินปี 2562 รัฐบาลจะต้องทำการใช้จ่ายแบบเกินดุลได้เท่านั้น ทำให้นโยบายการคลังนอกจากจะไม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ยังจะเป็นตัวชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังอีกโสตหนึ่ง ในส่วนของนโยบายการเงิน อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำที่ 1.75 เปอร์เซนต์แล้ว การปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทสะสมทรัพย์ติดลบได้ ที่สำคัญคือธนาคารแห่งประเทศไทยทราบดีว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะไม่ช่วยกระตุ้นให้มีการขยายตัวของสินเชื่อจากปัญหาหนี้สินที่เกินความสามารถในการชำระคืนของผู้บริโภค จากปัจจัยลบภายในประเทศและปัจจัยลบของเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงสูงที่จะเข้าสู่วิกฤติ วิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้จะเกิดจากภาวะการว่างงาน (Massive Unemployment) จากการปลดลดแรงงานขนานใหญ่ของระบบการผลิต และหากเกิดการว่างงานเป็นวงกว้างจริง จะส่งผลให้เกิดวิกฤติของสถาบันการเงินต่อเนื่อง ด้วยแรงงานไม่สามารถชำระหนี้สินที่มีอยู่เป็นจำนวนมากได้ ทำให้ระบบสถาบันการเงินเกิดปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้อย่างรุนแรง ณ ปัจจุบันส่วนของผู้ถือหุ้น (Capital Funds) ของระบบธนาคารพาณิชย์มีอยู่ 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งสามารถรองรับ NPLs ของสินเชื่อภาคครัวเรือนได้ไม่เกิน 15 เปอร์เซนต์ แต่หากเกิด Massive Unemployment จริง NPLs สามารถสูงถึง 25-50 เปอร์เซนต์ได้จากประสบการณ์ของหลายประเทศที่เข้าสู่ภาวะ Depression ซึ่งวิกฤติการเงิน Lehman Brothers เป็นหนึ่งในตัวอย่าง การประมาณการ GDP ของปี 2562 ด้วยปัจจัยลบที่กล่าวมา ไม่มีประสิทธิผลที่จะประมาณการอัตราการเติบโตของ GDP ในไตรมาสที่ 2 เพราะการประมาณการย่อมจะแสดงให้เห็นถึงอัตราการขยายตัวของ GDP ที่ติดลบทั้งในไตรมาสที่ 1 และ ที่ 2 ซึ่งจะขัดแย้งกับตัวเลขอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจของทางการมาก ซึ่งคาดเดาได้ว่าจะขยายตัวเป็นบวกราว 3.8 เปอร์เซนต์ เมื่อตัวเลขอัตราการขยายตัวของ GDP ไม่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์เศรษฐกิจ จึงขอใช้ตัวเลขการประมาณการ GDP ที่ได้ทำไว้ในครั้งก่อน ซึ่งแน่นอนว่าตัวเลขบางหมวดได้ผิดพลาดอย่างสิ้นเชิงแล้ว เช่น ตัวเลขการส่งออกที่ตัวเลขจริงจะมีอัตราการขยายตัวติดลบ ไม่เป็นบวก 3.8 เปอร์เซนต์ดังปรากฎในตาราง ตารางที่ 3: ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจรายปี ปี 2561 และปี 2562 เปอร์เซนต์
ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทย หากมองว่าการวิเคราะห์เศรษฐกิจที่นำเสนอเป็นการวิเคราะห์ในเชิงลบ ด้วยเศรษฐกิจมีทั้งขาขี้นและขาลง ดังนั้นหากประเทศมีนโยบายเศรษฐกิจที่ชัดเจน อาทิเช่น การปรับเปลี่ยนระบบการผลิตไปสู่ยุค 4.0 ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จะเปลี่ยนภาพเศรษฐกิจของไทยจากดำเป็นขาวได้ แต่ก่อนที่จะตั้งสมมุติฐานดังกล่าว ขอให้ตั้งคำถามก่อนว่า “เหตุใดเศรษฐกิจไทยจึงชะลอตัวต่อเนื่องมาหลายปี และมีความผันผวนสูงต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอก เช่น เศรษฐกิจโลก” เมื่อมีคำตอบแล้ว จึงสามารถตอบคำถามต่อไปว่า “เศรษฐกิจไทยจะสามารถฟื้นตัวได้หรือไม่” คำตอบของคำถามแรกอยู่ในรูปที่ 1 รูปที่ 1: การเคลื่อนไหวของ Labor Productivityของประเทศไทยในช่วง 10 ปี ตั้งแต่ปี คศ.2009 -2018
โดยปกติแล้ว กราฟของ Labor Productivity จะมีแต่ขาขึ้น เพราะการนำเทคโนโลยีและทุนมาใช้จะทำให้ผลผลิตต่อแรงงาน (Labor Productivity) เพิ่มขึ้น และในแต่ละช่วงของการนำเทคโนโลยีมาปรับปรุงระบบการผลิตจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างดีจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิต ซึ่งก็คือ Gross Domestic Product นั่นเอง ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนจากการทอผ้าด้วยมือเป็นทอผ้าด้วยเครื่องจักรกลที่เรียกว่า Spinning Jenny นำไปสู่การปฎิวัติอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงจาก Spinning Jenny เป็น เครื่องจักรทอผ้าขนาดใหญ่ นำไปสู่การปฎิวัติอุตสาหกรรมอีกรอบ แต่ประเทศไทยเดินสวนทางกับโลกที่พัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยที่ Labor Productivity ของไทย ณ ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 อยู่ที่ดัชนี 121.98 ลดลง 20.6 เปอร์เซนต์เมื่อเทียบกับ 5 ปีก่อนหน้า เกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ผู้เขียนไม่ขอตอบ ทุกคนในประเทศไทยทราบดี แต่ที่ทุกคนในประเทศไทยไม่ทราบคือประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกลดลง 20.6 เปอร์เซนต์ และหากรวมผลกระทบของการแข็งค่าของเงินสกุลบาทไปด้วยแล้ว ขีดความสามารถของประเทศไทยลดลง 37.5 เปอร์เซนต์ (กรณีคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนแบบ NEER) และลดลง 29.2 เปอร์เซนต์ (กรณีคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนแบบ REER) ดังนั้นเมื่อความต้องการสินค้าโลกลดลง ผลผลิตจากประเทศไทยคงจะเป็นประเทศแรกที่ตลาดโลกไม่ต้องการ เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าคู่แข่ง 30-40 เปอร์เซนต์ ความเสี่ยงของต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นคือผู้ผลิตไม่สามารถแข่งขันและอาจมีผลให้ต้องปิดกิจการหรือปลดลดคนงานดังที่กล่าวมาแล้วก่อนหน้า ตารางที่ 1 ยืนยันการวิเคราะห์นี้ เมื่อตอบคำถามแรกแล้ว คำถามถัดมาก็สามารถตอบได้ไม่ยาก ด้วยหากแนวโน้มของเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนจาก Recession เป็น Depression เนื่องจากมีการผลิตที่ลดลงและภาวะการว่างงานขนานใหญ่ที่กระทบการบริโภคภายในประเทศ การวางแผนที่จะก้าวไปสู่เศรษฐกิจ 4.0 จะไม่มีทางเป็นไปได้เพราะประเทศจะไม่มีเงินทุนและผู้ประกอบการพอที่จะก้าวไปสู่เศรษฐกิจยุคใหม่
บริษัท ไทยวิจัยและฝึกอบรม จำกัด |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
มาแนะนำตัวบริษัท และ ทีมงาน | ||
![]() |
||
มาแนะนำตัวค่ะ |
||
View All ![]() |
<< | พฤษภาคม 2019 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |