การวิเคราะห์และคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจภายในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ เช่น ภาวะสงคราม ภัยธรรมชาติขนาดใหญ่ และการแพร่ระบาดของโรคร้ายแรง เป็นการคาดการณ์ที่ขาดความแม่นยำเนื่องจากตัวแปรต่าง ๆ มีความแปรปรวนสูง เช่น มีการปิดแหล่งการผลิตเนื่องจากประสบภัยธรรมชาติ หรือการสู้รบระหว่างประเทศทำให้มีการขาดแคลนแรงงานและโรงงานผลิตถูกดัดแปลงไปผลิตอาวุธสงคราม การระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีการระบาดรุนแรงสู่ระดับ Pandemic ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเริ่มมีการระบาดมีการคาดการณ์ว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกจะเป็นระยะสั้นและจำกัดวงในกลุ่มประเทศที่ระบาด[1] คล้ายคลึงกับผบกระทบของการระบาดของไวรัส SARS และไวรัส MERS ก่อนหน้า แต่การตัดสินใจปิดนครอู่ฮั่น/มณฑลหูเป่ยและระงับการเดินทางของนักท่องเที่ยวจีนออกนอกประเทศส่งผลให้สถาบันวิจัยเศรษฐกิจทั้งระดับสากลและระดับประเทศมีการปรับเปลี่ยนการคาคการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของปี 2563 ในเดือนมกราคม กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวได้ราว 3.3 เปอร์เซ็นต์ แต่หลังจากเกิดการระบาดของโรคดังกล่าวในประเทศจีน IMF ได้ออกมาเตือนว่าเศรษฐกิจโลกแทนที่จะมีอัตราการขยายตัวเป็นบวกอาจะมีอัตราการขยายตัวเป็นลบ แต่ก็มิได้คาดการณ์ตัวเลขอัตราการขยายตัวใหม่เนื่องจากทราบดีว่าการระบาดของโรคโควิด-19 ยังไม่สิ้นสุด และเมื่อวันที่ 9 เมษายน Ms. Kristalina Georgieva, Managing Director ของ IMF ได้ออกแถลงการณ์ว่าการถดถอยของเศรษฐกิจโลกครั้งนี้จะรุนแรงที่สุดตั้งวิกฤติการณ์ Great Depression ในปี พศ.2472 โดยรายงาน World Economic Outlook (WEO) ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 เมษายน ที่ผ่านมา IMF คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกเฉลี่ยจะหดตัว 3 เปอร์เซ็นต์[2] และใน Worst Case Scenario เศรษฐกิจโลกอาจจะหดตัวได้ถึง 11 เปอร์เซ็นต์ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับลดการประมาณการเศรษฐกิจปี 2563 จากที่เคยประมาณการไว้ตอนต้นปีที 2.5 เปอร์เซ็นต์เป็น -5.3 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงปลายเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นการคาดการณ์ก่อนที่ IMF จะปรับการคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นลบ และมีการลดการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ อาทิเช่น การประกาศปิดสถานที่เสี่ยงของการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในกรุงเทพมหานครและทุกจังหวัดในประเทศไทย การประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินปี 2548 ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม ถึง 30 เมษายน 2563 การจำกัดการเดินทางระหว่างจังหวัด การควบคุมการดำเนินกิจการของสนามบิน ฯลฯ ซึ่งการจำกัดธุรกรรมทางเศรษฐกิจในรูปแบบของ Lockdown จะกระทบอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเกินกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คาดการณ์ไว้ และคงต้องมีการปรับการประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่ การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในเชิงสาธารณสุข ผู้วิเคราะห์เห็นด้วยกับแนวคิดของ IMF ว่าการวิเคราะห์เศรษฐกิจภายในภาวะเช่นนี้มีความคาดเคลื่อนสูง (tremendous uncertainty around the outlook) เพื่อให้การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์กระทำอย่างสมเหตุสมผล นักเศรษฐศาสตร์ไม่ควรตั้งข้อสมมุติฐานของการชะลอตัวของการแพร่ระบาดของไวรัสด้วยตนเอง[3] ควรศึกษาจากข้อมูลการระบาดในอดีต โดยเฉพาะความเห็นจากนักระบาดวิทยาและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จากการฟังและอ่านข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญระดับสากลของการแพร่ระบาดสามารถสรุปได้ดังนี้
การเสียชีวิตจากโรคระบาด Spanish Flu ในสหรัฐอเมริกา มีทั้งหมด 3 ระลอก ในระลอกแรกเกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิของปี 1918 มีผู้เสียชีวิตราว 6 พันราย และเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนการเสียชีวิตลดลงมากทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าการควบคุมการระบาดประสบความสำเร็จทำให้มีการยกเลิก/ผ่อนคลายมาตรการการควบคุมต่าง ๆ จนกระทั่งเกิดการระบาดใหญ่อีกครั้งในฤดูใบไม้ร่วงของปี 1918 ซึ่งมีการเสียชีวิตสูงและมีการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดกว่าระลอกก่อนหน้า ทำให้สามารถลดการเสียชีวิตจนเกือบจะเป็นศูนย์ในปลายปี 1918 ในช่วงนั้นมีการเฉลิมฉลองใหญ่ทั่วประเทศ ด้วยเชื่อว่าสามารถกำจัดการแพร่ระบาดได้ถาวร แต่การยกเลิก/ผ่อนคลายมาตรการการควบคุมการระบาดทำให้มีการแพร่กระจายของเชื้ออีกครั้งในต้นปี 1919 หลังจากนั้นชาวอเมริกันมีภูมิต้านทานไวรัสชนิดนี้ทำให้การแพร่ระบาดหมดสิ้นไป ตามหลักทฤษฎีของ Herd Community การแพร่ระบาดของ Swine Flu ในประเทศอังกฤษในปี 2006 มี 2 ระลอกเช่นกัน การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศสิงค์โปร์และญี่ปุ่นกำลังจะเลียนแบบกล่าวคือกำลังมีการระบาดระลอกที่ 2 แบบ Overshoot ทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อสูง หาแหล่งที่มายาก และกระจายการระบาดเป็นวงกว้าง ทั้ง 2 ประเทศจึงเลือกที่จะใช้มาตรการขั้นแข็งคือการ Lockdown ส่วนการแพร่ระบาดในประเทศไทยอาจเป็นไปได้ว่ายังอยู่ในปลายของระลอกที่ 1 ซึ่งในระลอกที่ 1 นี้การควบคุมจะเหมือนกับทุกประเทศที่เป็นการควบคุมแบบ Cluster เช่น กลุ่มสนามมวย กลุ่มผู้กลับจากต่างประเทศ กลุ่มสถานบันเทิง แต่การระบาดในระลอกที่ 2 มีความเป็นไปได้สูงที่จะตามมา เนื่องจากผลสำเร็จของการควบคุมแบบ Cluster จะมีการเรียกร้องให้มีการยกเลิก/ผ่อนคลายการควบคุมการแพร่ระบาดเพื่อคลายความกดดันต่อระบบเศรษฐกิจ จนอาจเกิดการแพร่ระบาดเปลี่ยนเป็นแบบ Overshoot แทน การบริหารการแพร่ระบาดของโควิด-19 เชิงเศรษฐศาสตร์ มีข้อถกเถียงมากมายระหว่าง Saving Lives และ Saving Livelihoods กล่าวคือรัฐบาลต้องเลือกและสร้างความสมดุลระหว่างมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มข้นและความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ในกรณีของ Total Lockdown เมืองอู่ฮั่นและมณฑลหูเป่ยประสบความสำเร็จอย่างมากในการควบคุมการแพร่กระจาย แต่ความสูญเสียทางเศรษฐกิจไม่มีการเปิดเผย ประเด็นสำคัญคือขนาดเศรษฐกิจของมณฑลหูเป่ยมีขนาดเล็กคิดเป็น 3.7 เปอร์เซ็นต์ของเศรษฐกิจจีน การปิดมณฑลเป็นระยะเวลา 2 เดือนเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของไวรัสมีผลต่อเศรษฐกิจจีนโดยในภาพรวมเพียง 0.62 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นการชดเชยทางเศรษฐกิจต่อประชาชน/ธุรกิจของมณฑลหูเป่ยจึงไม่ใช่ภาระหนักของรัฐบาลจีน ในทางกลับกัน ประเทศเดนมาร์กและประเทศออสเตรียพบว่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจของการ lockdown สูงเกินไป ทำให้ทั้ง 2 ประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตรการทางสาธารณสุขเพื่อลดภาระของรัฐบาลหลังจากทำการ lockdown ได้เพียงแค่ 1 เดือน[4] ทั้ง ๆ ที่การควบคุมการแพร่ระบาดยังไม่ประสบความสำเร็จ โดยมีผู้ติดเชื้อกว่าร้อยรายต่อวัน คาดว่าทุกประเทศในยุโรปจะผ่อนคลายมาตรการการ lockdown เริ่มต้นในเดือนพฤษภาคมเช่นเดียวกัน งานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการควบคุมการแพร่กระจายและผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่น่าสนใจที่สุดเป็นงานวิจัยเรื่อง The Macroeconomics of Epidemics ของ National Bureau of Economic Research ซึ่งผู้วิจัยสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัย Northwestern และ Freie Universitat, Berlin งานวิจัยใช้แบบจำลองเศรษฐศาสตร์มหภาคของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ผลของงานวิจัยสรุปว่า หากมีการปิดเมือง (Lockdown) ทั้งปี เศรษฐกิจสหรัฐฯจะถดถอย 22 เปอร์เซ็นต์ แต่หากไม่ปิดเมือง เศรษฐกิจจะถดถอยเพียง 7 เปอร์เซ็นต์ แต่จะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 5 แสนราย โดยในงานวิจัยดังกล่าวได้ประเมินมูลค่าชีวิตคนอเมริกันไว้ที่ 9.5 ล้านเหรียญสหรัฐต่อราย ทำให้มูลค่าการสูญเสียจากเศรษฐกิจหดตัวรวมกับมูลค่าชีวิตที่สูญเสียจากการไม่ปิดเมืองสูงกว่าในกรณีแรก งานวิจัยนี้จึงเสนอแนะให้สหรัฐอเมริกาใช้นโยบาย Total Lockdown อย่างไรก็ตาม เห็นได้ว่าหากประเมินมูลค่าชีวิตของคนอเมริกันลดลงเหลือ 5.7 ล้านเหรียญต่อคนแล้ว ทั้งสองทางเลือกคือปิดเมืองและไม่ปิดเมืองจะมีความเสียหายทางเศรษฐกิจไม่แตกต่างกัน มูลค่าชีวิตต่อรายไม่ว่าจะเป็น 9.5 ล้านเหรียญ (310.6 ล้านบาท) หรือ 5.7 ล้านเหรียญ (186.4 ล้านบาท) คงจะต้องเป็นเรื่องที่จะต้องถกเถียงกันมาก ผู้วิเคราะห์ไม่ทราบว่ากลุ่มผู้วิจัยใช้มาตรฐานอะไรในการกำหนดมูลค่าชีวิตของคนอเมริกัน แต่วิธีหนึ่งที่อาจน่าสนใจคือการนำ Per capita income คูณด้วยการประมาณการอายุที่เหลือ (Average life expectancy - Average age of infected patient) ซึ่งคงจะต่ำกว่าตัวเลขทั้งสองมาก ด้วย US per capita income คือ 6.3 หมื่นเหรียญต่อปี เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งว่าสถาบันวิจัยเศรษฐศาสตร์ทั้งของรัฐ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยและสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งสถาบันวิจัยเอกชนเช่นสถาบันวิจัยเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และ TDRI ไม่ทำการวิจัยในลักษณะดังกล่าวที่สามารถจะใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายทั้งทางด้านสาธารณสุขและทางด้านเศรษฐกิจที่เหมาะสมได้ ทำให้นโยบายเศรษฐกิจและมาตรการการลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อยู่ในลักษณะ”ตาบอดคลำช้าง” ในทางปฏิบัติการบริหารภายใต้สถานการณ์ของโรคระบาดรุนแรง รัฐบาลต้องสร้างความสมดุลระหว่าง
ซึ่งเป็นไปได้ยาก ด้วยรัฐบาลจะเลือกแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของแต่ละด้าน แทนที่จะบรูณาการนโยบายของทั้ง 3 ด้านเข้าด้วยกัน สำหรับการบริหารสถานการณ์แพร่ระบาดเชิงเศรษฐศาสตร์ IMF ได้แนะนำการบริหารจัดการของการแพร่ระบาดเป็น 4 มาตรการคือ
ซึ่งประเทศไทยและหลายประเทศล้วนปฏิบัติตามข้อแนะนำนี้ ยกเว้นข้อแนะนำที่ 4 ที่มีแต่ประเทศญี่ปุ่นที่มีมาตรการออกมา เช่น การสนับสนุนให้มีการย้ายฐานการผลิตจากประเทศจีนสู่ประเทศญี่ปุ่น มาตรการทั้ง 4 ไม่มีข้อโต้แย้งทางทฤษฎี แต่มีปัญหาในทางปฏิบัติเนื่องจาก
ผลกระทบและแนวโน้มของเศรษฐกิจไทยภายในการแพร่ระบาดของโควิด-19 การวิเคราะห์ผลกระทบของการแพร่ระบาดจะทำการวิเคราะห์เป็น 3 ส่วน คือ
เศรษฐกิจถดถอยได้อย่างไร ในการวิเคราะห์ผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสมักมุ่งเน้นไปที่ผลกระทบจากการ Lockdown ซึ่งมีผลต่อการบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption) ดังนั้นผู้วิเคราะห์เช่น IMF จึงให้ความสำคัญต่อระยะเวลาของการ lockdown เป็นหลัก แต่สำหรับเศรษฐกิจไทย การแพร่ระบาดครั้งนี้กระทบรายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยว (External Sector) มากกว่าการบริโภคภายในประเทศ (Domestic Demand) ด้วยภาคการส่งออกสินค้าและบริการมีสัดส่วนสูงถึง 60 % ของ GDP ในขณะที่ภาคการบริโภคภาคเอกชนมีสัดส่วน 50% ของ GDP ตรงกันข้ามกับกรณีของสหรัฐอเมริกาที่การบริโภคภาคเอกชนมีสัดส่วนสูงถึง 70% ของ GDP ทำให้การลดระยะเวลาการ Lockdown และกระตุ้น Domestic Demand จึงเป็นนโยบายที่เหมาะสม แต่มาตรการสากลดังกล่าวอาจมีประสิทธิผลต่ำกว่าสำหรับเศรษฐกิจไทย เนื่องจาก
ความเสียหายทางเศรษฐกิจประมาณการเท่าใด การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ควรวิเคราะห์แยกเป็นราย sector เพื่อจะเห็นภาพได้ชัด ผู้วิเคราะห์ได้ประเมินความเสียหายจากตัวเลขสมมุติฐานและการประมาณการของธนาคารแห่งประเทศไทยในการคาดการณ์เศรษฐกิจปี 2563 ครั้งล่าสุด ดังนี้
หากใช้ตัวเลขสมมุติฐานและการประมาณการของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าตัวเลขเศรษฐกิจที่คำนวณเป็นเม็ดเงินถดถอยไปจากปีก่อนหน้ารวมราว 2.2 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ดี การประมาณการนี้ละเลยผลกระทบจากมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่ออกมาภายหลังการประมาณการครั้งนี้ ซึ่งทำให้เกิด Business Disruption อย่างสูงในระบบเศรษฐกิจ หากใช้สมมุติฐานว่าการปิดสถานที่ดำเนินการทางธุรกิจ การกำหนดเวลาทำธุรกิจ การให้มีการทำงานจากบ้าน และการควบคุมการเดินการเข้าออกของจังหวัดต่าง ๆ ทำให้การบริโภคภาคเอกชนลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ ผลกระทบต่อ GDP จะเพิ่มขึ้นอีก 1.57 ล้านล้านบาท ทำให้เม็ดเงินที่ควรจะต้องใช้พยุงเศรษฐกิจมิให้เข้าสู่ภาวะถดถอยอยู่ที่ 3.77 ล้านล้านบาท รัฐช่วยได้เท่าใด มาตรการกระตุ้นเยียวยาผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระยะที่ 3 ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 มีมูลค่ารวมกัน 1.9 ล้านล้านบาท คือราว 12% ของ GDP มีองค์ประกอบหลัก 3 ประการดังนี้
จะเห็นได้ว่าเม็ดเงินที่จะเข้าไปช่วยพยุงเศรษฐกิจต่อผู้บริโภคโดยตรงคือเม็ดเงิน 1.a ที่มีอยู่เพียง 6 แสนล้านบาท (ถ้าสามารถใช้เต็มจำนวน) ซึ่งเป็นเพียงครึ่งเดียวของรายได้ที่หายไปจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ สามารถมองอีกนัยหนึ่งได้ว่า การชดเชยรายได้ 5,000 บาทต่อเดือน เทียบเท่ากับ 25% ของรายได้เฉลี่ยของคนไทยต่อเดือนที่อยู่ที่เดือนละ 2 หมื่นบาท (Per capita income per month) หมายความว่าผู้บริโภคยังคงต้องลดการใช้จ่ายลดถึง 75% การกระตุ้นด้วยเม็ดเงินเพียงเท่านี้จึงไม่นัยสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ นับเป็นเพียงมาตรการช่วยเหลือทางสังคมมากกว่าเศรษฐกิจ รัฐบาลกระตุ้นมากกว่านี้ได้หรือไม่ ทุกรัฐบาลในโลกย่อมต้องการพยุงระบบเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ให้ได้มากที่สุด แต่กำลังและฐานะทางเศรษฐกิจของแต่ละรัฐบาลต่างกันมาก รวมตั้งเสถียรภาพของระบบการเงินภายในประเทศและการพึ่งพารายได้จากต่างประเทศก็ต่างกันมาก ทำให้เม็ดเงินที่ใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของแต่ละรัฐบาลแตกต่างกันมาก ตั้งแต่สูงถึง 21.8% ของ GDP ของรัฐบาลเยอรมันนี จนต่ำเพียง 0.8% ของ GDP ของรัฐบาลอินเดีย มาตรการกระตุ้นของรัฐบาลไทยแม้จะดูว่าอยู่ในระดับที่สูงตามมาตรฐานสากลถึง 12% ของ GDP แต่ถ้านับมาตรการข้อ 1.a ก็จะคิดเป็นเพียง 3.7% ของ GDP ข้อจำกัดของการช่วยเหลือจากภาครัฐมีประเด็นต้องพิจารณา 2 ประเด็นหลัก คือ
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนดังกล่าวก็มีปัญหาในการใช้จ่ายจริง เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการมาก ด้วยรายได้ของปีงบประมาณ 62/63 ประมาณการด้วยสมมุติฐานรายได้เพิ่มขึ้นราว 5% จากการขยายตัวของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ หากยึดการคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทยล่าสุด รายได้ของรัฐน่าจะหดตัวลง 5% จากปีก่อนหน้า ทำให้รัฐบาลอาจมีรายได้ต่ำว่าประมาณการราว 2.7 แสนล้านบาท ทำให้ต้องออกพระราชกำหนดกู้เงินเพิ่มเติมอยู่ดี ดังนั้นความเป็นไปได้ของโครงการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับความสามารถกู้ยืมเงินของรัฐบาล ซึ่งพระราชกำหนดกำหนดเพดานเงินกู้ยืมในครั้งนี้ที่ 1 ล้านล้านบาท
ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ระบบการเงินไทยมีสภาพคล่องส่วนเกิน (Excess Liquidity) ไม่ถึง 3 แสนล้านบาท อีกทั้งมีแนวโน้มที่จะลดลงเรื่อย ๆ พิจารณาได้จากการไหลออกของเงินทุนที่ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนคงลงอย่างต่อเนื่อง ที่เป็นผลทั้งจากการขาดรายได้จากการท่องเที่ยวและการส่งออก ความผันผวนของตลาดทุน และความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะด้านอัตราแลกเปลี่ยน ข้อจำกัดนี้ทำให้รัฐบาลต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากในการออกพันธบัตรกู้ยืม ด้วยข้อจำกัดด้านสภาพคล่องภายในประเทศนี้ การใช้เงินเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของรัฐบาลจึงไม่น่ากระทำได้เต็มจำนวนที่ขออนุมัติ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2563 จากโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพารายได้จากต่างประเทศ ฐานะการคลังที่อ่อนแอ และสภาพคล่องในประเทศที่มีจำกัด เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวติดลบอย่างรุนแรงในปี 2563 นี้ แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจปีนี้จะมีอัตราการขยายตัวติดลบ 5.3% IMF ในการคาดการณ์รอบล่าสุด คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวติดลบถึง 6.7% จากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ +2.4% เมื่อช่วงต้นปีก่อนมีการแพร่ระบาด และจากตัวเลขเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียนที่ได้รับผลกระทบจากแพร่ระบาดจากไวรัสเช่นกัน (และรุนแรงกว่าประเทศไทยด้วยซ้ำ) จะมีอัตราการขยายตัวของ GDP เป็นลบอีกเพียง 2 ประเทศคือสิงคโปร์ (-3.5%) และมาเลเซีย (-1.7%)[7] ขอย้ำว่าการประมาณเศรษฐกิจโลกและรายประเทศของ IMF ในกรณีของ Base-case Scenario แท้จริงแล้วเป็น Best-case Scenario เนื่องจากใช้สมมุติฐานว่าการแพร่ระบาดของไวรัสมีระลอกเดียวและมีการชะลอตัวของการแพร่ระบาดในเดือนพฤษภาคม ที่สำคัญประเทศเศรษฐกิจหลักไม่มีการ Lockdown ในครึ่งปีหลัง ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่ยังต้องรอการพิสูจน์ อย่างไรก็ดี คงจะต้องยึดตัวเลขการประเมินอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ -6.7% เป็นหลัก ที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ -6.7% คาดหวังได้ว่า
อย่างไรก็ดี ในปี 2563 ปัญหาเศรษฐกิจมหภาพจะมีแรงกดดันน้อยกว่าปัญหาทางสังคมเพราะโครงสร้างเศรษฐกิจและรายได้ของประเทศไทยบิดเบี้ยว ทำให้ผลกระทบของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจแตกต่างกันมากระหว่างกลุ่มรายได้ จากข้อเท็จจริงที่
เศรษฐกิจไทยจำเป็นต้องมีอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเป็นบวกและอยู่ในระดับที่สูงตลอดเวลา และ/หรือมีการขยายตัวสินเชื่อบุคคลอย่างต่อเนื่องเพื่อชดเชยรายได้ที่ไม่พอเพียง มิฉะนั้นจะเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนที่มีรายได้ต่างกันในสังคม ดังนั้นการมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบเช่นปี 2563 จะเป็นการทดสอบโครงสร้างเศรษฐกิจ/สังคมของประเทศที่สำคัญ
หมายเหตุ : รายงานเศรษฐกิจฉบับนี้เป็นรายงานที่บริษัท ไทยวิจัยและฝึกอบรม จำกัด จัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อกลุ่มทีซีซีเป็นรายไตรมาส
บริษัท ไทยวิจัยและฝึกอบรม จำกัด [1] การระบาดของไวรัส SARS ในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน มีผลกระทบให้อัตราการขยายตัวของ GDP จีนลดลงจาก 11 เปอร์เซ็นต์ เป็น 9 เปอร์เซ็นต์เพียงไตรมาสเดียว ก่อนที่เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวเกินระดับ 10 %หลังจากนั้น [2] แยกการคาดการณ์ของเศรษฐกิจประเทศหลักดังนี้ สหรัฐอเมริกา -5.9 %, เยอรมันนี -7.0%, ญี่ปุ่น -5.2%, อังกฤษ -6.5%, และจีน +1.2% [3] ในการคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก IMF ทำการคาดการณ์ภายใน 4 สุมมติฐาน คือ Base Case ที่การระบาดมีระลอกเดียว ไม่มีการ lockdown ในครึ่งหลังของปี; Case 1: การ lockdown นานกว่าในกรณี Base Case 50%; Case 2: มีการระบาดระลอกที่ 2 ในครึ่งปีหลัง แต่ไม่รุนแรง; และ Case 3 (Worst Case): มีการระบาดไปจนถึงปี 2021 ซึ่งน่าจะคล้ายคลึงกับกราฟที่ 1 [4] เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อประชาชนในช่วง lockdown รัฐบาลเดนมาร์กชดเชยรายได้ให้แก่ผู้เป็นลูกจ้าง 75 เปอร์เซ็นต์ผ่านนายจ้าง โดยที่นายจ้างสนับสนุนรายได้ 25 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือ สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ รัฐบาลชดเชยรายได้ให้ 90 เปอร์เซ็นต์ [5] วงเงินนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นวงเงินที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าไปช่วยธุรกิจเอกชนสามารถ refinance หนี้เดิมที่จะครบกำหนดชำระได้ ด้วยนักลงทุนไม่มีความมั่นใจในระบบเศรษฐกิจและฐานะของธุรกิจเอกชน หากธุรกิจเอกชนไม่สามารถจะ refinance หนี้ที่จะครบกำหนดชำระได้ จะเกิดหนี้เสียเป็นวงกว้างจากการ cross default จนระบบธนาคารพาณิชย์และการเงินล่มสลายไม่ต่างจากวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ในแง่หลักการ ย่อมไม่เป็นการเหมาะสมที่ธนาคารกลางจะยุ่งเกี่ยวกับธุรกิจเอกชน แต่ในภาวะวิกฤติ ธนาคารกลางหลายแห่งละทิ้งหลักการนี้ รวมทั้ง Federal Reserve Board ของสหรัฐอเมริกาด้วย ปัญหาคือธนาคารกลางเมื่อเข้าไปรับภาระของเอกชนต้องปลดภาระนั้นให้ออกโดยเร็ว มิฉะนั้นธนาคารกลางจะไม่สามารถควบคุมระบบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างของการที่ธนาคารกลางเข้าไปอุ้มภาระหนี้ของภาคเอกชนเคยเกิดขึ้นแล้วกับ Bank of Philippines จนทำให้ธนาคารกลางดังกล่าวล้มละลาย IMF และ World Bank จึงต้องช่วยจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นใหม่ให้ประเทศฟิลิปปินส์ และมีชื่อใหม่ว่า Bankgo Sentral ng Pilipinas [6] ขณะนี้ 90 ประเทศจากจำนวนสมาชิก 189 ประเทศของ IMF ได้ขอยื่นกู้เงินเพิ่มเติมจากสถาบันเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 [7] เป็นที่น่าสังเกตว่าการประมาณการอัตราการขยายตัวของ GDP รายประเทศของ IMF จะย้อนแย้งกับนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ทั้งไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ล้วนมีการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในขนาดเกิน 10% ของ GDP กลับมีอัตราการขยายตัวเป็นลบ ส่วนอินโดเนเซียและฟิลิปปินส์ ที่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพียง 2.6% และ 1.5% ของ GDP ตามลำดับ กลับมีการประมาณการให้อัตราการขยายตัวเป็นบวก 0.5% และ 0.6% บ่งชี้ว่าโครงสร้างของเศรษฐกิจที่เป็น Outward-oriented มีผลกระทบต่ออัตราการเติบโตมากกว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชั่วคราว |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
มาแนะนำตัวบริษัท และ ทีมงาน | ||
![]() |
||
มาแนะนำตัวค่ะ |
||
View All ![]() |
<< | เมษายน 2020 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 |